THE CITY & THE CITY: THE FOOL’S
GARDEN AND THE GLASS HUMAN (2022, Achitaphon Piansukprasert, Pitchapa
Wangprasertkul, exhibition with video installations)
งานนิทรรศการที่ ART4C มีศิลปะจัดวางและมีงานวิดีโออยู่ด้วย 5 จอ
เราเดาว่าจอที่เป็นถ่ายคนตามท้องถนนน่าจะเป็นของคุณ Pitchapa มั้ง ส่วนอีก 4 จอที่เหลือน่าจะเป็นของคุณ Achitaphon
ในบรรดา 4 จอนี้
มีอยู่จอหนึ่งที่ฉายแยกต่างหาก เป็นหนังสั้นเรื่อง IMITATION LEAKS (ชำรุดจำลอง) ที่มีเนื้อหาส่วนหนี่งเหมือนเป็นการถ่ายความชำรุดผุพังของบ้านหลังหนึ่งมั้ง
ดูแล้วนึกถึงภาพยนตร์ของ Chaloemkiat Saeyong และ
Teeranit Siangsanoh ด้วยเหมือนกัน หนังน่าจะมีความยาวราว 5-10 นาที
ส่วนอีก 3 จอที่เหลือนั้นจัดวางอยู่ใน
space เดียวกัน แต่แยกกันคนละฝั่งฝาผนัง และจัดระดับความสูงของแต่ละหน้าจอไม่เท่ากัน
เหมือนจอหนึ่งที่มีผีเสี้อตัวเล็ก ๆ บินจะมีความสั้นมากกว่าจออื่น ๆ เฉพาะจอนี้น่าจะใช้เวลาวนลูปไม่ถึง
10 นาที ส่วนอีก 2 จอที่เหลือนี่เราเดาว่าน่าจะใช้เวลาวนลูปเกือบถึง 25 นาทีมั้ง
ชอบผลงานทั้ง 3 จอนี้มาก ๆ
เหมือนพอดูไประยะหนึ่งก็จะจูนติด แล้วจะรู้สึกว่ามันสวยงามและทรงพลังมาก ๆ
ซึ่งแน่นอนว่าเราดูแล้วก็ไม่เข้าใจอะไร แต่รู้สึกว่าตัวเองเหมือนอยู่ในปะรำพิธีปลุกวิญญาณด้วยระบบ
electronic หรืออะไรทำนองนี้ 55555
พอดูผลงานภาพยนตร์/ภาพเคลื่อนไหวของคุณ
Achitaphon หลาย ๆ เรื่อง แล้วก็จะรู้สึกว่าคุณ Achitaphon
เก่งมาก ๆ ในการสร้างภาพอะไรหลอน ๆ โดยใช้เทคนิค digital หรือเป็นความหลอน ๆ ที่มีความเชื่อมโยงอะไรบางอย่างกับระบบ electronic
หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรืออะไรทำนองนี้ มันก็เลยไม่ใช่ความหลอนผี ๆ
แบบหนังผีทั่วไป แต่มันเป็น “ผีฟิสิกส์” หรือความเร้นลับเหนือธรรมชาติที่เรารู้สึกราวกับว่ามันเชื่อมโยงกับสิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติแต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
อย่างเช่นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นเสียง, คลื่นแสง อะไรทำนองนี้ รู้สึกว่ามันเป็นความหลอนที่มีลักษณะเฉพาะตัวบางอย่างที่น่าสนใจดี
ซึ่ง “ผี digital” นี้จริง ๆ แล้วก็ใช้นิยามผลงานภาพยนตร์หลาย ๆ
เรื่องของคุณ Saroot Supasuthivech ได้เหมือนกัน
คือเหมือนทั้งคุณ Achitaphon และคุณ Saroot นี่ถนัดมากในการสร้างภาพยนตร์หลอน ๆ แบบ digital หรือแบบ
electronic เหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ว่า ผีดิจิทัลในหนังของคุณ
Saroot นี่มักจะมีที่มาจาก “เรื่องเล่าในอดีต” โดยเฉพาะ “ประวัติศาสตร์บาดแผลในอดีต”
ส่วน “สิ่งเหนือธรรมชาติแบบ digital” ในหนังของคุณ Achitaphon
นี่มีความ abstract สูงกว่ามาก ๆ
ไม่รู้ว่ามันคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร 555
No comments:
Post a Comment