สรุปสิ่งที่เราวางแผนจะดูในช่วงหนึ่งสัปดาห์ข้างหน้า
A. หนังโรง
1.DORAEMON: NOBITA’S DIARY ON THE CREATION
OF THE WORLD (1995, Tsutomu Shibayama, Japan, animation, 97min)
หนังเรื่องนี้เป็น “ภาคที่ 16” แต่เราสงสัยว่า
ทำไมเขาถึงเอาภาคเก่าในปี 1995 มาลงโรงฉายในตอนนี้ มีใครรู้บ้างไหมคะ
แต่เอามาฉายก็ถือเป็นสิ่งที่ดีแล้วนะ เพราะเราก็ยังไม่ได้ดูภาคนี้
2.EMILIA PÉREZ (2024, Jacques Audiard, France/Mexico,
132min)
ดีใจที่จะได้ดูหนังเรื่องนี้
เพราะเราเคยดูหนังที่กำกับโดย Jacques Audiard ไปเพียงแค่ 5
เรื่อง ซึ่งได้แก่ SEE HOW THEY FALL (1994), A SELF-MADE HERO (1996),
READ MY LIPS (2001), THE BEAT THAT MY HEART SKIPPED (2005) และ DHEEPAN
(2015)
3.THE HAUNTED APARTMENT ผีนรก
610 (2024, Guntur Soeharjanto, Indonesia, 103min)
หนังเรื่องนี้เป็นภาคสอง ต่อจาก THE
HAUNTED HOTEL (2023, Guntur Soeharjanto)
4.THE LEGEND OF PHI TAKHON MASK ตำนานหน้ากากผีตาโขน
(2025, Tang Stuntman, 104min)
ฉายที่บิ๊กซี บางพลี กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
5.THE LITTLE FOXES จิ้งจอกลอกลาย (1992,
Marut Sarowat, filmed stage performance, 145min)
ฉายที่หอภาพยนตร์ ศาลายา
6.THE MOOGAI (2024, Jon Bell, Australia, 86min)
7.PINK FLOYD: LIVE AT POMPEII (1972, Adrian Maben,
documentary, Belgium/West Germany/France)
8.PRESENCE (2024, Steven Soderbergh, 84min)
9.A ROAD TO A VILLAGE (2023, Nabin Subba, Nepal, 106min)
10.SIKANDAR (2025, A.R. Murugadoss, India, 140min)
11.SPERMAGEDDON (2025, Rasmus A. Sivertsen, Tommy Wirkola,
animation, Norway, 80min)
12.TOOTSIE (1993, Marut Sarowat, filmed stage performance,
106min)
ฉายที่หอภาพยนตร์ ศาลายา
13.WONDERFUL PRETTY CURE! THE MOVIE! GRAND ADVENTURE IN A
THRILLING GAME WORLD (2024, Naoki Miyahara, Japan, animation, 71min)
14.A WORKING MAN (2025, David Ayer, UK/USA, 116min)
B. เรากะว่าจะดู หนังในโปรแกรม GIVE IT A
GO ที่จะฉายที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา ด้วย
https://web.facebook.com/photo?fbid=679397241265780&set=a.176539414884901
หนังในโปรแกรมนี้ประกอบด้วย
1.My Diary Does Not Exist / ปภัส เอื้อดิลกกูร (ปั๊ด 59) / 6.44
จากวิชา Personal Film
2.จากแมรี่ ถึงซือเจ๊: อินเตอร์เน็ต การรับรู้
และภาพยนตร์ / แทนปิติ สุภัทรวณิชย์ (จีโน่ 56) /
7.06
จากวิชา Advanced Film Analysis
3.In the Air ไปตามแรงลม /
ชนนพร ทับทัน (แมงปอ 57) / 6.29
จากวิชา Film Directing
4.Mukashi Mukashi / ณัชชา
สรรพวิชุ (เอิร์น 56) / 6.19
จากวิชา Film Directing
5.Vision of An Old Man / เปรม
ผลิตผลการพิมพ์ (ฟอย 58) / 11.23
จากวิชา Cinematography
6.20 21 22 / ปัณณฉัตร
วิรัตนพรกุล (เรน่า 57) / 13.41
จากวิชา Film Directing
7.แด่ผู้ครอบครองทุกรอยยิ้มในวัยเยาว์ / ศิระ
บูรณศรี (ศิระ 58) / 11.35
จากวิชา Short Filmmaking
8.Portrait of a Lady by the Sea / นงนภัส วีระผล (ส้ม 58) / 21.50
จากวิชา Short Filmmaking
C. เราอยากไปดูงาน “วังหนัง 9” ที่เมเจอร์
รัชโยธินในวันที่ 1 เม.ย.ด้วย
https://web.facebook.com/photo/?fbid=1223754023087412&set=a.530067242456097
D. งาน video installations ที่เรากะว่าจะดู
1.INTERVIEWS WITH FORMER THAI COMMUNIST PARTY MEMBERS WHO
RETURNED TO THE CITY (1985, produced by Kraisak Choonhavan, documentary, 705
min) ที่ฉายที่หอภาพยนตร์ ศาลายา และมีแววว่าจะเป็น ONE OF
MY MOST FAVORITE FILMS OF ALL TIME
ตอนนี้เราได้ดูหนังเรื่องนี้ไปเพียงแค่ 438
นาที ( หรือ 7 ชม. 18 นาที) ยังเหลืออยู่อีก 267 นาที หรือเหลืออยู่อีก 4 ชั่วโมง
27 นาทีที่เรายังไม่ได้ดู
2. KIM ASENDORF: COMPLEX at Goethe Institut
“Among the series on display are:
Monogrid (2021), one of his first blockchain-based works, establishes a minimal
yet mesmerizing aesthetic, with shifting grids and pixelated black-and-white
patterns that evoke the language of early computer art. The series will be
installed at the Goethe-Institut as an audiovisual multi-channel version.
Sabotage (2022) visualizes the interplay between order and chaos, with rows
shifting and a ‘saboteur ’moving pixels to manipulate patterns of grids, lines,
and gradients, producing ever-changing arrangements. Alternate (2023) shows a
growing complexity in compositional layering and color interplay with pulsing
glitch effects and dynamic distortion. PXL DEX (January 2025) extends his
abstract animations into architectonic, dense and object-like 3D systems.”
https://www.goethe.de/ins/th/en/ver.cfm?event_id=26478018
E. มีหนังออนไลน์จำนวนมากที่เราอยากดูใน MUBI
และ Festival Scope ที่ใกล้จะหมดอายุ
แต่เราถอดใจไปแล้ว รู้สึกว่าตามดูยังไงก็ไม่ทัน เพราะฉะนั้นก็เลยเลิกตามดูดีกว่า
แค่ตามดูหนังที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ เราก็ไม่เหลือเวลาไปทำมาหาแดกอะไรแล้ว 55555
1. อยากดูหนัง Bolivia กับ
Ecuador หลายเรื่องใน Festival Scope
เพราะเราแทบไม่เคยดูหนังจากสองประเทศนี้เลย
https://www.festivalscope.com/page/transcinema-festival-internacional-de-cine/
2. หนัง MUBI
ที่ใกล้จะหมดอายุ
https://mubi.com/en/th/collections/leaving-soon
มีวี่แววว่า ภาพยนตร์เรื่อง “สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า”
หรือ INTERVIEWS WITH FORMER THAI COMMUNIST PARTY MEMBERS WHO RETURNED TO
THE CITY (1985, produced by Kraisak Choonhavan, documentary, 705 min) ที่ฉายที่หอภาพยนตร์ ศาลายา อาจจะเป็น ONE OF MY MOST FAVORITE
FILMS OF ALL TIME
ตอนนี้เราได้ดูหนังเรื่องนี้ไปเพียงแค่ 438
นาที ( หรือ 7 ชม. 18 นาที) ยังเหลืออยู่อีก 267 นาที หรือเหลืออยู่อีก 4 ชั่วโมง
27 นาทีที่เรายังไม่ได้ดู
มีข้อมูลหลายอย่างในหนังเรื่องนี้ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนเลย
ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่เราเพิ่งรู้ก็คือว่า คอมมิวนิสต์ยุคนั้นมองว่า “กีตาร์”
เป็นเครื่องมือของนายทุน ส่วนเครื่องดนตรีที่ดีสำหรับสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์
ก็คือ “ไวโอลิน”
หงา คาราวานเป็นคนให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้
เขาได้เล่าถึงประสบการณ์ตอนเข้าป่าไปอยู่กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ในไทยในทศวรรษ 1970 ซึ่งในตอนนั้นก็มีทั้งวงคาราวาน,
วงกรรมาชน, วงต้นกล้า ฯลฯ แต่พอเขาได้เข้าไป เขาก็พบว่า คอมมิวนิสต์ต่อต้านการเล่น
“กีตาร์” คอมมิวนิสต์บอกว่ากีตาร์เป็นเครื่องมือของนายทุน และบอกว่าดนตรีร็อคแอนด์โรลคือ “ศิลปะที่ถ่อยปัญญา”
เพราะฉะนั้นทางพรรคคอมมิวนิสต์ในป่าไทยก็เลยให้หงา
คาราวาน, วงคาราวาน และวงดนตรีเพื่อชีวิตต่าง ๆ ที่ไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในป่าในยุคนั้น
ไปเรียน Cello, เรียน Violin, เรียน Trumpet
อะไรพวกนี้ เพื่อที่วงดนตรีเพื่อชีวิตเหล่านี้จะได้ประสานกันกลายเป็นวง
Symphony วงเดียวกันอะไรทำนองนี้
คือเราไม่เคยรู้เรื่องพวกนี้มาก่อนเลย
คือก่อนที่เราจะได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ เรามองว่ากีตาร์เป็นเครื่องดนตรีสำหรับชาวบ้าน
และ Violin กับ Cello คือเครื่องดนตรีสำหรับ
elites น่ะ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เราได้รับรู้ความจริงว่า
คอมมิวนิสต์มองว่ากีตาร์เป็นเครื่องดนตรีสำหรับนายทุน เป็นศิลปะที่ถ่อยปัญญา และคอมมิวนิสต์ในป่าไทยมองว่า
violin กับ cello คือเครื่องดนตรีสำหรับคอมมิวนิสต์
คือถ้าหากมีโลกคู่ขนาน
ที่พรรคคอมมิวนิสต์นำการปฏิวัติในไทยแล้วได้รับชัยชนะตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา
เราก็อาจจะได้เห็นหงา คาราวานนั่งเล่น Cello ในวงดนตรีซิมโฟนีบนเวทีตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาก็ได้
55555
ซึ่งคุณหงาก็ได้ให้สัมภาษณ์ว่า
เขาก็พยายามโต้แย้งกับทางพรรคคอมมิวนิสต์ในป่านะ เหมือนเขาโต้แย้งว่า
กีตาร์มันก็เหมือนกับ “ปืนเอ็ม 16 ที่ผลิตโดยสหรัฐ” อะไรทำนองนี้น่ะ คือถึงแม้มันเป็นอาวุธที่ผลิตในสหรัฐ
มันก็ไม่สำคัญว่า มันเป็นอาวุธที่ผลิตโดยประเทศอะไร สิ่งที่สำคัญก็คือว่า
ผู้ถืออาวุธนั้น เอาอาวุธนั้นมาใช้ต่อสู้กับอะไรต่างหาก เพราะฉะนั้นเราก็สามารถเอากีตาร์มาใช้ในการแต่งเพลงเชิดชูคอมมิวนิสต์ได้
อะไรทำนองนี้
ตอนแรกที่เราได้รับรู้ข้อมูลดังกล่าวจากภาพยนตร์เรื่องนี้
เราก็ตกใจนะ คืองง ๆ กับทัศนคติของคอมมิวนิสต์ในยุคนั้น แต่พอนึกย้อนกลับไป
เราก็เข้าใจได้ เพราะว่า ถ้าหากพูดถึง “สหภาพโซเวียต” เราก็นึกถึง “บัลเล่ต์” น่ะ
เราไม่ได้นึกถึง “ดนตรีร็อค” และ “ดนตรีแร็ป” เหมือนอย่างสหรัฐอเมริกา คือสหภาพโซเวียต
ซึ่งเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ กลับเป็นประเทศที่เป็นเอกในด้านบัลเลต์
หรือดนตรีคลาสสิค ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะดูเหมือนผูกพันกับ
elites ในประเทศอื่น ๆ ก็ตาม
ส่วนประเทศทุนนิยมอย่างสหรัฐอเมริกา กลับมีชื่อเสียงด้านดนตรีร็อค, ดนตรีแร็ป
ที่ดูเหมือนผูกพันกับคนจน ๆ แทน
ตอนนี้หนังเรื่องนี้สามารถดูได้ที่หอภาพยนตร์
ศาลายาในสองช่องทางครับ
1. ดูในนิทรรศการ ARCHIVAL TIME ON OUR
RETINA ที่ชั้นสองของหอภาพยนตร์ ในวันอังคารถึงวันอาทิตย์ เวลา 09.30-17.30
น. โดยนิทรรศการนี้จะจัดแสดงจนถึงวันที่ 1 มิ.ย.
2. ดูได้ที่จอคอมพิวเตอร์ของห้องสมุดหอภาพยนตร์ครับ
ตัวห้องสมุดอยู่ที่ชั้น 4 ผมก็ดูทางช่องทางนี้เป็นหลักครับ ทยอยดูวันละ 20-90 นาที
ถ้าหาหนังเรื่องนี้ไม่เจอในคอมพิวเตอร์
ก็อาจจะขอให้บรรณารักษ์ช่วยหาหนังเรื่องให้ได้ครับ
ส่วนผมใช้วิธีพิมพ์คำว่า “D4” เวลาเสิร์ชหาหนังเรื่องนี้ครับ เหมือนพอพิมพ์คำว่า D4 เข้าไปในคอมพิวเตอร์ มันก็จะมีหนังเรื่องนี้ขึ้นมาให้เลือกดูครับ โดยไฟล์หนังเรื่องนี้ใช้ชื่อว่า
D4-07029 ครับ
No comments:
Post a Comment