พอเกิดเหตุตึกถล่มเมื่อวานนี้แล้ว
เราก็เลยนึกถึงหนึ่งในเหตุการณ์ที่ฝังใจและสร้างความหวาดกลัวให้เราอย่างสุดขีดมาก
ๆ เมื่อ 32 ปีก่อน นั่นก็คือเหตุการณ์ตึกโรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่มที่นครราชสีมาในวันที่
13 ส.ค. 1993 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 137 ราย จำได้ว่าตอนนั้นเรากับเพื่อนๆ
ติดตามข่าวนี้ด้วยความระทึกขวัญมาก เพราะอยู่ดี ๆ มันก็ถล่มลงมาเอง โดยไม่มีปัจจัยภายนอกอย่างเช่น
แผ่นดินไหวใด ๆ มาเป็นแรงผลักดัน ข่าวนี้ก็เลยเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึก
paranoid มาก ๆ เวลาเห็นรอยร้าวตามอาคารต่าง ๆ
ข้างล่างนี้เป็นข้อมูลที่ copy มาจาก
https://www.thairath.co.th/scoop/flashback/2716230
https://www.sanook.com/news/8973934/
“หลังจากเกิดเหตุ
เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ได้ตรวจพบหลักฐานการประชุมเมื่อปี 2530 ระบุว่าได้เกิดรอยร้าวตามฝาผนัง ซึ่งกรรมการบริหารทราบดี
แต่ปกปิดและโบกปูนปิดไว้ กระทั่งปี 2534 ได้ต่อเติมห้องพักบนชั้น
5-6 เพื่อให้ทันกับการประชุมไลออนส์
ต่อมาก็มีรอยร้าวที่บันไดขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่ได้รับความสนใจที่จะแก้ไข”
“ ได้มีการต่อเติมอาคารจาก
3 ชั้น เป็นอาคาร 6 ชั้น
พร้อมห้องประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ที่ชั้น 6 และยังมีอีก 3
โครงการที่จะทำเพิ่ม คือ ปรับปรุงคาเฟ่ใหม่ทั้งหมด
และจะสร้างอาคารจอดรถ สูง 8 ชั้น จอดรถได้ 400 คัน ด้วยงบสูงถึง 30 ล้านบาท
กับเตรียมจัดงานใหญ่ฉลองครบรอบ 10 ปีโรงแรมฯ
ในเดือนพฤศจิกายน 2536 แต่กลับมาเกิดเหตุการณ์สลดโรงแรมพังถล่มขึ้นเสียก่อนในวันที่
13 สิงหาคม 2536 จากสาเหตุการก่อสร้างอาคารและการอนุญาตแบบแปลนก่อสร้างอาคารที่ไม่ถูกต้องตามหลัก
พรบ.ควบคุมอาคาร ต่อเติมโรงแรมเพิ่มอีก 3 ชั้น
ทำให้เสารับน้ำหนักตัวอาคารไม่ไหว อีกทั้งโครงสร้างเสายังไม่ได้เชื่อมยึดติดกัน
ทำให้เสาที่ตั้งอยู่บนคาน แบกรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้คานหลุดออกจากหัวเสาที่ชั้น
2 และโครงสร้างอาคารบนหัวเสายุบตาม
ส่งแรงดึงรั้งกระทบเสาต้นข้างเคียงให้หักล้มตามมาในที่สุด”
“ช่วงเวลาชุลมุนพบหญิงตั้งครรภ์รายหนึ่ง
แพทย์ลงความเห็นจำเป็นต้องทำคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากท่อนแขนซ้าย
ถูกของหนักทับอาการสาหัส การทำคลอดกลางเศษซากตึกถล่มเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ทุกคนเฝ้าลุ้นและภาวนาให้แม่และเด็กรอดปลอดภัย
แต่ไม่กี่อึดใจเสียงดีใจของทีมกู้ภัยดังขึ้น หลังเด็กชายลืมตาดูโลก โดยตั้งชื่อว่า
ด.ช.ปาฏิหาริย์ แต่มีชีวิตได้เพียง 9 วัน ก็สิ้นลม”
WHY I AM PARANOID WHEN I SEE CRACKS ON A WALL
พอเราเจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวานนี้ และเห็นคลิปเหตุการณ์ตึกถล่มในกรุงเทพเมื่อวานนี้
เราก็เลยย้อนนึกถึงความหวาดกลัวสุดขีดของเราที่มีต่อเหตุการณ์ “ตึกถล่ม” ตั้งแต่เรายังเป็นเด็ก
ซึ่งในตอนเด็ก ๆ นั้น ความหวาดกลัวของเราที่มีต่อเหตุการณ์ตึกถล่ม ก็น่าจะมีสาเหตุมาจากละครโทรทัศน์เรื่อง
“คอนโดมิเนียม” (1984, กำกับโดย สุพรรณ บูรณะพิมพ์) ที่ออกอากาศทางช่อง 7 และภาพยนตร์เรื่อง
THE TOWERING INFERNO ตึกนรก (1974, John Guillermin,
165min)
และความหวาดกลัวของเราที่เกิดจาก fiction
อย่างเช่นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ก็เพิ่มพูนขึ้นไปอีกเมื่อเราได้รับรู้
“ข่าว” ตึกถล่มจริง ๆ ในเวลาต่อมา โดยเฉพาะข่าว
1.เหตุการณ์โรงแรมนิวเวิลด์ถล่มที่สิงคโปร์ในปี
1986 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 33 ราย โดยก่อนเกิดเหตุโรงแรมถล่มนี้ มี “สัญญาณเตือน”
ปรากฏขึ้นมาก่อนในรูปแบบของรอยร้าวตามตัวอาคาร ก่อนที่อาคารโรงแรมจะถล่มในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา
2. เหตุการณ์โรงแรมรอยัล พลาซ่าถล่มที่จังหวัดโคราชในปี
1993 ซึ่งก่อนเกิดเหตุนี้ก็มีสัญญาณเตือนปรากฏออกมาในรูปแบบของ “รอยร้าว” ตามตัวอาคารเช่นกัน
เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 137 ราย
3.เหตุการณ์ห้างสรรพสินค้า Sampoong
ถล่มที่กรุงโซล เกาหลีใต้ในวันที่ 29 มิ.ย. 1995 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต
502 คน โดยก่อนที่ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้จะถล่มนั้น ก็มี “สัญญาณเตือน” ปรากฏขึ้นในรูปแบบของรอยร้าวที่เพดานชั้น
5 ของห้างสรรพสินค้าในเดือนเม.ย.ปี 1995
เหตุการณ์ห้างสรรพสินค้าถล่มนี้เคยถูกนำเสนอในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง
NON-FICTION DIARY (2013, Jung Yoon-suk, 90min,
A+30) ที่เคยเข้ามาฉายในกรุงเทพด้วย
4. เหตุการณ์ตึกเวิลด์เทรดถล่มที่นครนิวยอร์คในวันที่
11 ก.ย.ปี 2001 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3000 คน
แต่เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของฝ่ายอาคาร
ก็เลยสรุปได้ว่า การที่เรากลายเป็นคนที่ paranoid
เวลาเห็นรอยร้าวตามอาคารต่าง ๆ ก็มีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ในข้อ 1-3
นี่แหละ ทั้งเหตุการณ์ “โรงแรมนิวเวิลด์” ถล่มที่สิงคโปร์ในวันที่ 15 มี.ค. 1986
ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 33 ราย, เหตุการณ์โรงแรมรอยัล พลาซ่าถล่มที่จังหวัดนครราชสีมาในปี
1993 และเหตุการณ์ห้างสรรพสินค้าถล่มที่กรุงโซลในปี 1995 เพราะทั้งสามเหตุการณ์นี้
มันมี “สัญญาณเตือน” ก่อนถล่ม ซึ่งได้แก่รอยร้าวตามจุดต่าง ๆ ของอาคาร
Before the Hotel New World (Lian Yak Building) in Singapore
collapsed on March 15, 1986, signs of structural problems included persistent
cracks in columns, walls, and floors, as well as crumbling concrete.
ข้อมูลในย่อหน้าข้างล่างนี้ มาจาก
https://www.nlb.gov.sg/main/article-detail?cmsuuid=ea8bc1f2-ae27-4208-beb6-7ff88715f3ea
On 22 March 1986, then President Wee
Kim Wee appointed a commission of inquiry to investigate the cause of
the collapse. In the final report released on 16 February 1987, the panel
concluded that the collapse was due to the inadequate structural design of the
building. The problem was further exacerbated by new installations on the
roof, and the appearance of persistent cracks in columns, walls and floors
weeks before the collapse.
ข้อมูลในย่อหน้าข้างล่างนี้ มาจาก
https://news.northeastern.edu/2021/07/02/what-are-the-warning-signs-before-a-building-collapses/
Q:You’ve spoken of the 1986 collapse of the Hotel New World
in Singapore that killed 33 people as another kind of warning example.
A: In that
building the occupants were seeing that concrete on the garage floor
is crumbling. They were going to the owner, who happened to be the building
designer, and he was telling them, ‘No, it’s fine.’ And then the building
collapsed. So if you see something is wrong, you need to take action.
สาเหตุของการถล่มของโรงแรมนิวเวิลด์ จาก wikipedia
“ the original structural engineer had made an error in
calculating the building's structural
load. The structural engineer had calculated the building's live load (the weight of the building's
potential inhabitants, furniture, fixtures, and fittings) but the
building's dead load (the weight of the building itself)
was completely omitted from the calculation. This meant that the building as
constructed could not support its own weight. Three different supporting
columns had failed in the days before the disaster, the other columns –
which took on the added weight no longer supported by the failed columns –
could not support the building.”
หลังจากเกิดเหตุการณ์โรงแรมนิวเวิลด์ถล่ม รัฐบาลสิงคโปร์ก็เลยตรวจสอบอาคารหลายแห่ง
และก็พบว่าอาคารหลายแห่งไม่ปลอดภัย ทางรัฐบาลก็เลยอพยพคนออกจากอาคารเหล่านั้น
และทำลายอาคารเหล่านั้นทิ้ง
“Following this disaster, all buildings
built in the 1970s in Singapore were thoroughly checked for structural faults,
with some of them declared structurally unsound and evacuated for demolition,
including the main block of Hwa Chong Junior College and Catholic High School campus at
Queen Street.”
ในส่วนของห้างสรรพสินค้าที่กรุงโซลนั้น
สัญญาณเตือนในรูปแบบของรอยร้าวก็เกิดขึ้นเช่นกัน
“In April 1995, cracks began to appear
in the ceiling of the fifth floor in the south wing, but the only response by
Lee Joon and staff management was to move merchandise and stores from the top
floor to the basement.
On the morning of June 29, the number of cracks in the area
increased dramatically, prompting store management to close parts of the top
floor. However, the management failed to shut the building down or issue formal
evacuation orders, as the number of customers in the building at the time
was unusually high, and management did not want to lose the day's revenue. When
civil engineering experts were invited to inspect the structure, a cursory
check revealed that the building was at risk of collapse. The facility's
manager also examined the slab in one of the fifth-floor restaurants only hours
before the collapse. Five hours before the collapse, the first of several loud
bangs was heard emanating from the top floors, as the vibration of the air
conditioning caused the cracks in the slabs to widen further. Amid customer
complaints about the vibration, the air conditioning was turned off, but
the cracks in the floors had already grown to 10 cm (3.9 in) wide.
An emergency board meeting was held when it became clear
that the building's collapse was inevitable. The directors suggested that all
staff and customers should be evacuated, but Lee Joon violently refused to do
so for fear of revenue losses. However, Lee Joon and the executives left the
building safely before the collapse occurred.”
https://en.wikipedia.org/wiki/Sampoong_Department_Store_collapse#Documentary
++++++++++++++
ขอสารภาพตามตรงว่า ตอนที่เราดูหนังสารคดีเรื่อง “สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า”
INTERVIEWS WITH FORMER THAI COMMUNIST PARTY MEMBERS WHO RETURNED TO THE
CITY (1985, produced by Kraisak Choonhavan, documentary, 705 min) ที่หอภาพยนตร์ ศาลายานั้น เรารู้สึกว่าคุณหมอเหวงตอนวัยหนุ่มน่ารักมาก ๆ
ดูแล้วเราก็แอบรู้สึกอิจฉาคุณธิดา ถาวรเศรษฐ อยู่ในใจ 55555
No comments:
Post a Comment