ตอบน้อง paaae + chuckwowz
ดีใจค่ะที่น้องได้ดู BIRTH OF THE SEANEMA
เคยแสดงความเห็นเล็กน้อยเกี่ยวกับหนังที่เหมาะฉายควบกับ BIRTH OF THE SEANEMA ไว้ในเว็บบอร์ด BIOSCOPE ค่ะ ก็เลยขอนำมาแปะอีกครั้งในที่นี่แล้วกันนะคะ
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=9802
ดู BIRTH OF THE SEANEMA แล้วทำให้นึกถึงอดีตบางส่วนของตัวเอง และก็ทำให้นึกถึงความสุขที่เคยได้รับจากการดูหนังบางเรื่องในอดีตด้วย หนังเหล่านี้ไม่ได้มีอะไรเหมือนหรือใกล้เคียงใดๆทั้งสิ้นกับ BIRTH OF THE SEANEMA เพียงแต่ว่าดู BIRTH OF THE SEANEMA แล้ว ทำให้หวนรำลึกถึงความสุขสุดๆที่เคยได้รับจากการดูหนัง 10 เรื่องนี้
หนังในกลุ่มนี้ มีบางเรื่องที่ “สถานที่” เป็นตัวละครหลักของหนังค่ะ และในบางเรื่องก็แทบไม่มีมนุษย์หรือแทบไม่มีตัวละครเลย หนังกลุ่มนี้ค่อนข้างช้า และแทบไม่มีเนื้อเรื่อง แต่หนังกลุ่มนี้สามารถถ่ายภาพสถานที่โล่งๆหรืออ้างว้างออกมาได้อย่างน่าหลงใหลสุดๆ
1.WINDOWS (1999, APICHATPONG WEERASETHAKUL) A+++++ 2.AGATHA AND THE UNLIMITED READINGS (1981, MARGUERITE DURAS) A+++++
หนังความยาว 2 ชั่วโมงเรื่องนี้นำเสนอชายหาดร้างๆและสถานที่ร้างๆริมชายหาด โดยมี BULLE OGIER กับผู้ชายคนนึงยืนโพสท่า หรือเดินไปเดินมาด้วยใบหน้าเป๋อเหลอ และมีเสียงอ่านจดหมายหรืออะไรบางอย่างประกอบไปด้วย
อย่างไรก็ดี หนังที่มีแต่ภาพสถานที่โล่งๆเรื่องนี้ กลับไม่ทำให้รู้สึกเบื่อเลย ไม่รู้เหมือนกันว่าดูราส์ทำยังไงถึงตรึงความสนใจของดิฉันไว้ได้ตลอด
3.ROUGH NIGHT (2001, สามารถ อิ่มขำ) A+++++
หนังสั้นเรื่องนี้นำเสนอรักร้าวของชายหญิงในคืนๆหนึ่ง หนังเงียบมาก และค่อนข้างช้า ภาพบางภาพในหนังดูเหมือนเป็นภาพนิ่งมากกว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหว
หนังเรื่องนี้ใช้เพลง WALK ON BY เป็นเพลงประกอบ และพอเพลงนี้ดังขึ้นมาในหนังในช่วงท้าย ดิฉันก็รู้สึกอยากร้องไห้ออกมา หนังเรื่องนี้เลือกใช้เพลงนี้ได้อย่างลงตัวมากๆ
4.กรุงเทพสามทุ่มสี่สิบสองนาที (2001, ธเนศร์ มณีจักร) A+++++
หนังสั้นเรื่องนี้ถ่ายภาพกรุงเทพและรถไฟฟ้าออกมาได้คล้ายๆหนังเก่า และถ่ายออกมาได้สวยน่าหลงใหลมากๆ
5.ILE DE BEAUTE (1996, ANGE LECCIA + DOMINIQUE GONZALEZ-FOERSTER, A+)
หนังยาวเรื่องนี้เต็มไปด้วยภาพสถานที่โล่งๆที่สวยงามมีมนตร์เสน่ห์
นี่คือความเห็นของ Nicole Brenez ที่มีต่อหนังเรื่องนี้ http://www.sensesofcinema.com/contents/00/3/images.html อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Dominique Gonzalez-Foerster ได้ที่นี่ http://www.findarticles.com/p/articles/mi_m0268/is_3_42/ai_110913975
6.FRONTIER (2003, JUN MIYAZAKI, A+)
หนังญี่ปุ่นเรื่องนี้เต็มไปด้วยภาพสถานที่โล่งๆในโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่ง ดูแล้วรู้สึกหลอนๆ
7.NEWS FROM HOME (1976, CHANTAL AKERMAN, A+/A) http://www.filmref.com/directors/dirpages/akerman.html
หนังเรื่องนี้ถ่ายภาพนครนิวยอร์คในแบบต่างๆ โดยมีเสียงชองตาล แอคเคอร์มานอ่านจดหมายที่เธอเขียนถึงแม่ หรือแม่เขียนถึงเธอแทรกเข้ามาในหนังเป็นบางครั้ง แต่เสียงอ่านจดหมายนี้ดูเหมือนจะไม่มีความสำคัญ เพราะในหลายครั้งชองตาลกลับปล่อยให้เสียงถนน เสียงรถรา หรือเสียงอื่นๆในโลเกชั่นดังจนกลบเสียงอ่านจดหมายไปเลย
หนังเรื่องนี้เป็นภาพเคลื่อนไหว แต่นักวิจารณ์บางคนบอกว่าหนังเรื่องนี้ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นการนำภาพนิ่งมาเรียงต่อๆกันมากกว่า
ช็อตสุดท้ายในหนังเรื่องนี้เป็นช็อตที่คลาสสิคมาก เพราะเป็นช็อตที่ถ่ายจากเรือที่แล่นออกจากเกาะ (ไม่แน่ใจว่าคือเกาะแมนฮัตตันหรือเปล่า) กล้องจะถอยห่างออกจากแผ่นดินมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเวลาราว 10 นาที โดยไม่มีอะไรเลยเกิดขึ้นในฉากนี้ นอกจากการมองเห็นแผ่นดินถอยห่างออกไปจากเรือมากขึ้นเรื่อยๆเท่านั้น
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NEWS FROM HOME ได้ที่
http://www.filmref.com/directors/dirpages/akerman.html
8.CHICAGO (1996, JURGEN REBLE, A+/A)
หนังเรื่องนี้ถ่ายภาพเมืองชิคาโกจากรถไฟลอยฟ้า โดยทำภาพออกมาให้ดูเหมือนกับว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายเมื่อ 100 ปีก่อน หนังเรื่องนี้ถ่ายภาพเมืองจริงๆในยุคปัจจุบัน แต่ทำให้เมืองในหนังดูเหมือนเป็นเมืองในอดีต โดยไม่จำเป็นต้องแต่งเรื่องแต่งราวขึ้นมาใหม่เลย
หนังเรื่องนี้อาจจะเหมือนกับ BIRTH OF THE SEANEMA ในจุดที่ว่า หนังเรื่องนี้ทำให้ “เมืองที่เราคุ้นเคย” กลายเป็น “เมืองที่เราไม่รู้สึกคุ้นเคย แต่รู้สึกว่ามันน่าพิศวงหลงใหล”
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ JURGEN REBLE และ CHICAGO ได้ที่
http://www.filmalchemist.de/publications/steven_ball.html
9.THE HOUSE OF THE FORTUNE TELLER (1999, PIERRE JEAN GILOUX, A)
หนังเรื่องนี้ถ่ายภาพฐานทัพทหารร้างๆออกมาได้ดูหลอนๆดี
10.IN PUBLIC (2001, JIA ZHANGKE, A/A-) http://www.sensesofcinema.com/contents/directors/03/jia.html http://www.sensesofcinema.com/contents/02/20/tsai_digital.html
หนังเรื่องนี้รวบรวมภาพเศษเสี้ยวชีวิตของคนในเมืองเล็กแห่งนึงในจีน โดยแทบไม่มีเนื้อเรื่องให้ปะติดปะต่อได้เลย
ตอบคุณแฟรงเกนสไตน์
พูดถึงหนังที่ทำจากการ์ตูนญี่ปุ่น ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่ามีการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องนึงที่ชอบสุดๆ และก็อยากให้มีคนนำมาดัดแปลงสร้างเป็นหนังใหญ่ค่ะ นั่นก็คือเรื่อง “แสงจันทร์ชโลมเลือด” หรือ DARKNESS OF THE SEA – SHADOW OF THE MOON ที่แต่งโดย SHINOHARA CHIE ไม่รู้เหมือนกันว่ามีใครนำการ์ตูนเรื่องนี้มาดัดแปลงเป็นหนังหรือละครทีวีไปแล้วหรือยัง
แต่ถ้าหากมีคนนำ “แสงจันทร์ชโลมเลือด” มาดัดแปลงเป็นหนังใหญ่ ก็อยากให้ดัดแปลงจนไม่เหลือเค้าเดิมเลยค่ะ อยากให้สร้างหนังโดยได้รับแรงบันดาลใจจากการ์ตูนเรื่องนี้เท่านั้น โดยไม่ต้องไปยึดติดกับบทประพันธ์เดิมแต่อย่างใด เพราะ
1.คนที่รู้เนื้อเรื่องมาแล้ว จะได้ดูอย่างสนุกมากขึ้น เพราะคาดเดาไม่ถูกว่าหนังจะจบแบบในการ์ตูนหรือเปล่า
2.ผู้สร้างหนังจะได้มีอิสระในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองได้อย่างเต็มที่
3.บทประพันธ์เดิมมีขนาดยาวและเหมาะนำมาสร้างเป็นละครทีวีมากกว่า ถ้าหากจะรักษาเนื้อเรื่องไว้ให้เหมือนเดิม
4.ดิฉันมักจะชอบหนังที่ไม่ยึดติดบทประพันธ์เดิมค่ะ อย่างเช่น ASHES OF TIME (WONG KAR-WAI, A+) ที่ดัดแปลงจาก “มังกรหยก”, “ทวิภพ” (A+/A) ของสุรพงษ์ พินิจค้า ที่ไม่ให้ความรู้สึกซ้ำซาก (แต่สิ่งที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้มากๆก็คือพระเอกไม่ใส่เสื้อ), FIRST NAME: CARMEN (JEAN-LUC GODARD, A) ที่ดัดแปลงจากอุปรากร CARMEN และ “เดชคัมภีร์เทวดา ภาคสอง” (A+) ที่ดัดแปลงจาก “กระบี่เย้ยยุทธจักร” ของกิมย้ง
ถ้าหากมีการสร้างหนัง “แสงจันทร์ชโลมเลือด” ดิฉันก็อยากให้มีการหยิบยกเอาช่วงที่รุกะกับรุมิ ต่อสู้กับหญิงสาวคนหนึ่งที่มีพลังจิตเหนือกว่าพวกเธอ มาขยายเป็นหนังใหญ่ค่ะ เพราะดิฉันรู้สึกว่าช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่สนุกลุ้นระทึกตื่นเต้นที่สุดในการ์ตูนเรื่องนี้
“แสงจันทร์ชโลมเลือด” มีเนื้อหาเกี่ยวกับรุกะและรุมิ สองสาวฝาแฝดที่มีหน้าตาเหมือนกัน พวกเธอเข้าไปเที่ยวในถ้ำโบราณ และควันพิษหรืออะไรบางอย่างจากในถ้ำนั้นทำให้พวกเธอกลายเป็นคนมีพลังจิต พวกเธอสามารถแพร่เชื้อในตัวเธอออกไปใส่คนอื่นๆ และคนที่ได้รับเชื้อจากพวกเธอก็จะกระทำตามที่พวกเธอต้องการ ซึ่งรวมถึงฆ่าคนตามที่พวกเธอสั่ง และต่อมาหนึ่งในสองสาวฝาแฝดก็สามารถควบคุมบงการประชากรได้ทั้งเมือง และฆ่าศัตรูตายไปมากมายหลายคน
อย่างไรก็ดี ในช่วงแรกของเรื่องนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่รุกะและรุมิต่อสู้ห้ำหั่นกันเองนั้น ดิฉันรู้สึกว่ายังไม่ใช่ช่วงที่สนุกถึงขีดสุด การ์ตูนเรื่องนี้เข้าสู่ช่วงที่เรียกว่าสนุกสุดขีด เมื่อรุกะและรุมิต้องออกไปตามล่าผู้มีพลังจิตอันร้ายกาจอีก 5 ราย (ถ้าจำไม่ผิด) และต้องต่อสู้กับผู้มีพลังจิตเหล่านี้
หนึ่งในผู้มีพลังจิตที่เผชิญหน้ากับรุกะและรุมิ เป็นเด็กชายตัวเล็กๆที่ฆ่านักศึกษาตายไปทีละคนๆจนหมดหอพัก ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ดิฉันชอบมากค่ะ รู้สึกว่ามันน่ากลัวและสยองมากๆ แต่การที่ศัตรูคนนี้เป็นเพียงเด็กชายตัวเล็กๆ ก็เลยทำให้การต่อสู้กับรุกะและรุมิไม่ลุ้นเท่าไหร่
ช่วงที่ดิฉันลุ้นที่สุด ก็คือตอนที่รุกะและรุมิเผชิญหน้ากับหญิงสาวสวยคนหนึ่งที่มีพลังจิตคล้ายๆสองสาว แต่เหนือกว่าสองสาว เพราะพลังจิตที่รุกะและรุมิมีนั้น สามารถใช้ในการฆ่าคนได้อย่างง่ายดายราวพลิกฝ่ามือ แต่เป็นการฆ่าคนในระยะประชิดตัวเท่านั้น ในขณะที่สาวสวยพลังจิตรายนี้ สามารถฆ่าคนได้อย่างง่ายดายราวพลิกฝ่ามือเช่นกัน แต่สามารถฆ่าคนได้ทั้งแบบระยะประชิดตัว และระยะห่างจากตัวออกไปไกลมากๆ
ถ้าหาก “แสงจันทร์ชโลมเลือด” เป็นหนังฝรั่ง คนที่เหมาะรับบทเป็นรุกะและรุมิที่สุด คงไม่มีใครเกินสองสาวฝาแฝด แมรี-เคท โอลเสน กับแอชลีย์ โอลเสนค่ะ รู้สึกว่าสองสาวคู่นี้ เหมาะรับบท “ฝาแฝดจากนรกอเวจี” ในหนังเรื่องนี้มากๆ ส่วนบทพระเอกหนังเรื่องนี้ ขอมอบให้ MATEUS VERDELHO สามีของคุณอ้วนแล้วกันนะคะ
--ดีใจมากค่ะที่คุณแฟรงเกนสไตน์กลับมาเขียนอะไรยาวๆให้อ่านกันอีก
--ชอบรูปตัวจริงของคุณแฟรงเกนสไตน์ในกระทู้นี้มากค่ะ
http://xq28.net/s/viewtopic.php?p=93845#93845
--แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า “ฮีน” คือยายแก่ที่เล่นในโชคล้านดวง ดิฉันจำไม่ได้เลยค่ะ เพราะเห็นเธอในหนังและละครเรื่องอื่นๆ เธอก็ได้ทำตัวสวยงาม แต่ใน “โชคล้านดวง” เธอไม่เหลือเค้าเดิมเลยแม้แต่นิดเดียว
ตอนที่เธอเล่น “ตะลุมพุก” (B) ดิฉันก็เฉยๆกับเธอค่ะ เพราะบทของเธอไม่เอื้ออำนวยให้แสดงอะไรมากเท่าไหร่ แต่การแสดงของเธอในละครเวทีอย่าง “โชคล้านดวง” และ “กุหลาบสีเลือด” เปิดโอกาสให้เธอได้แสดงฝีมืออย่างเต็มที่
ส่วนใน “สีดา: ศรีราม?” นั้น เธอได้รับบทเป็นตัวละครที่สวยสง่าค่ะ ซึ่งเธอก็ดูสวยสง่าดี แต่บทหนักๆ อารมณ์แตกในเรื่องจะตกเป็นของคนอื่นๆมากกว่า
ชอบคนที่เล่นเป็น “ลักษมี” ในเรื่องนี้มากค่ะ ไม่แน่ใจว่าคนเล่นชื่อ “จิดาภา ฝ้ายเทศ” หรือเปล่า รู้สึกว่าเธอดูสง่าน่าเกรงขามมาก และเธอมีพลังของ “ความนิ่งสงบอย่างแข็งกล้า” รู้สึกว่าเธอสามารถรับมือกับ TILDA SWINTON ได้
อิจฉาคุณแฟรงเกนสไตน์มากค่ะที่ได้ดูละครหลายเรื่องที่คุณสุมณฑา สวนผลรัตน์แสดง เพราะเธอเป็นเจ้าแม่มากๆ เธอเก่งมากค่ะ ดิฉันรู้สึกว่าจะเคยเห็นตัวจริงของเธอ ซึ่งดูแตกต่างจากใน QUARTET อย่างรุนแรง
--ส่วนหนังการ์ตูนญี่ปุ่นที่อยากดูมากในตอนนี้คือเรื่อง MIND GAME (2004, MASAAKI YUASA) ค่ะ รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับนิชิ นักวาดการ์ตูนที่ไม่ประสบความสำเร็จในการจีบสาว ต่อมาเขาก็ถูกยากูซ่ายิงตาย และวิญญาณของเขาก็ขึ้นสวรรค์ไปถกเถียงกับพระเจ้าที่ชอบแปลงโฉมตัวเองไปเรื่อยๆ
นิชิกลับลงมายังโลกมนุษย์อีกครั้งและหนียากูซ่าเข้าไปอยู่ในท้องปลาวาฬ ในนั้นเขาได้พบกับชายชราคนหนึ่งที่ติดอยู่ในท้องปลาวาฬมานาน 30 ปี และปักหลักสร้างบ้านอยู่ในนั้น
http://search.japantimes.co.jp/print/features/film2004/ff20040728a3.htm
หนังการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการเปรียบเทียบกับหนังการ์ตูนยุคฮิปปี้พี้ยา อย่างเช่นเรื่อง FRITZ THE CAT, FANTASTIC PLANET และ YELLOW SUBMARINE และได้รับคำวิจารณ์ว่าโครงสร้างด้าน “เวลา” ในหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึง SLAUGHTERHOUSE-FIVE (1972, GEORGE ROY HILL) ด้วย
SLAUGHTERHOUSE-FIVE ดัดแปลงมาจากนิยายของ KURT VONNEGUT และมีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ชายคนหนึ่งที่พบว่าเหตุการณ์ในอดีต, ปัจจุบัน, อนาคตของเขากำลังเกิดขึ้นพร้อมกัน ทั้งอดีตของเขาในช่วงสงครามที่ถูกระเบิดถล่มใส่ในเมืองเดรสเดน, ชีวิตปัจจุบันในฐานะชนชั้นกลางในอเมริกา และชีวิตในอนาคตในแบบไซไฟ/แฟนตาซีบนดาวเคราะห์ tralfamadore
http://images.amazon.com/images/P/6305077592.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
ตอบคุณ OLIVER
ว้าย อยากดู RED RIVER (1948, HOWARD HAWKS) มากค่ะ เพราะว่า
1.หนังเรื่องนี้กำกับโดย HOWARD HAWKS ดิฉันเคยดูเรื่อง ONLY ANGELS HAVE WINGS (A+) ของเขา แล้วชอบสุดๆ
2.หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย MONTGOMERY CLIFT ดาราหนุ่มสุดหล่อขวัญใจของดิฉัน แถมเขายังเป็นเกย์ในชีวิตจริงอีกด้วย
RED RIVER ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของ BORDEN CHASE เกี่ยวกับการสร้างเส้นทางรถไฟ โดยมีจอห์น เวย์น รับบทเป็นเผด็จการที่เอาแต่ใจตัวเอง และเขาต้องปะทะกับชายหนุ่ม (คลิฟท์) หัวเสรีนิยมที่มีฐานะคล้ายกับเป็นลูกบุญธรรมของเขา โดยมี WALTER BRENNAN รับบทที่คล้ายๆกับคอรัสในละครเวทีกรีกในเรื่องนี้ เพราะเขาคอยทำหน้าที่ตำหนิจอห์น เวย์นเวลาจอห์น เวย์นฆ่าคน
RED RIVER เหมือนกับหนังอีกหลายๆเรื่องของ HAWKS เพราะหนังเรื่องนี้พูดถึงประเด็นเรื่องการนับถือตัวเอง, การทำงานอย่างมืออาชีพ และการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังเป็นหนังอีพิคที่พูดถึงความมุ่งมั่นตั้งใจจะนำอารยธรรมมาสู่แดนเถื่อน
การที่ตัวละครของคลิฟท์ปฏิเสธที่จะใช้ปืนในเรื่องนี้ แสดงให้เห็นว่านั่นคือการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องและจำเป็น เมื่อเทียบกับตัวละครของเวย์นที่มักตัดสินปัญหาด้วยปืน
RED RIVER ถ่ายภาพได้ดีมากด้วยฝีมือของ RUSSELL HARLAN และมีความเป็นตลกร้ายอยู่ในเรื่อง
นักวิจารณ์ยกย่องให้ RED RIVER เป็นหนึ่งในหนังคาวบอยที่ยอดเยี่ยมที่สุดในทศวรรษ 1940
http://images.amazon.com/images/P/6304696612.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://www.montyclift.com/shrine/images/11monty.jpg
http://www.montyclift.com/shrine/images/pic107.gif
http://www.meredy.com/vinbw/redriver.jpg
http://images.amazon.com/images/P/0879101350.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
ตอบคุณ kit
ดีใจที่คุณ kit ชอบ A VERY LONG ENGAGEMENT ค่ะ ชอบตัวละครสาวนักฆ่าในเรื่องอย่างสุดๆเลยค่ะ เป็นตัวละครที่ดูแล้วสะใจมาก
ยังไม่ได้ดู FRIENDS AND FAMILY (KRISTEN COURY, 2001) เลยค่ะ แต่ก็รู้สึกน่าสนใจดีที่ในระยะนี้มีการนำเสนอตัวละครมาเฟียเกย์ในทางบวกมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ตัวละครมาเฟียเกย์มักอยู่ฝ่ายผู้ร้ายในหนังยุคเก่าๆ
http://www.imdb.com/title/tt0206762/
หนังที่มีตัวละครมาเฟียเกย์ รวมถึง
1.SONATINE (TAKESHI KITANO, A+)
มีลูกสมุนยากูซ่าชายสองคนในหนังเรื่องนี้ที่หนุงหนิงกันได้น่ารักสุดๆ
2.BLUES HARP (1998, TAKASHI MIIKE, A-)
3.BRING ME THE HEAD OF ALFREDO GARCIA (1974, SAM PECKINPAH, A-)
มาเฟียเกย์สองคนในเรื่องนี้อยู่ฝ่ายผู้ร้าย
4.THE BIG COMBO (1955, JOSEPH H LEWIS)
http://images.amazon.com/images/P/B0002W4SV8.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
หนังฟิล์มนัวร์เรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับตำรวจหนุ่มคนหนึ่ง (CORNEL WILDE) ที่ถูกฝ่ายมาเฟีย (RICHARD CONTE) ตามล่า โดยทั้งสองต่างก็หลงใหลในผู้หญิงคนเดียวกัน (JEAN WALLACE) และก็พยายามแก้แค้นกันอย่างโหดร้าย
หนังเรื่องนี้อัดแน่นไปด้วยความเจ็บปวด และฉากเด่นในเรื่องนี้คือฉากการทรมานโดยใช้เครื่องช่วยฟัง
จุดเด่นของหนังคือฝีมือการถ่ายภาพยามค่ำคืนอันมืดมนของ JOHN ALTON และลูกสมุนมาเฟียที่เป็นเกย์หนุ่มสองคนที่ดูเหมือนเป็นคู่รักกัน
หนังเรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่ายอดเยี่ยมกว่า GUN CRAZY (JOSEPH H LEWIS) ที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว
ตอบคุณ CHRIS’S GIRLFRIEND
ฉากแม่จูบตรงนั้นของลูกชายใน DECIDUOUS TREE ก็เป็นฉากที่ติดตามากๆเหมือนกันค่ะ ดีใจค่ะที่คุณ CHRIS’S GIRLFRIEND จำฉากนั้นได้เหมือนกัน
พอพูดถึงหนังที่เกี่ยวกับแม่แล้ว ก็นึกขึ้นมาได้ว่าผู้กำกับหญิงหลายคนชอบทำหนังเกี่ยวกับแม่ของตัวเอง อย่างเช่นเรื่อง
1.A PORTRAIT OF GA (1952, MARGARET TAIT)
http://www.luxonline.org.uk/tours/Ali_Smith/ali5.html
http://www.luxonline.org.uk/images/tours/Ali_Smith/portrait-of-ga14.jpg
มาร์กาเร็ต เทท หนึ่งในผู้กำกับหญิงที่น่าสนใจที่สุดในอังกฤษ บันทึกภาพแม่ของตัวเองในหนังเรื่องนี้ ฉากเด่นในเรื่องนี้คือฉากที่กล้องโคลสอัพไปที่ภาพมืออันเหี่ยวย่นของแม่ของเธอและแสดงให้เห็นถึงความระมัดระวังของแม่ในการแกะพลาสติกออกจากขนมที่เหนียวหนึบ โดยนักวิจารณ์บอกว่าฉากนี้สามารถบอกเราทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับผู้หญิงคนนี้
2.THE TIES THAT BIND (1984, SU FRIEDRICH)
http://www.sensesofcinema.com/contents/directors/02/friedrich.html
ซู ฟรีดริช หนึ่งในเจ้าแม่ภาพยนตร์เลสเบียน สำรวจความสัมพันธ์ของเธอกับแม่ในหนังเรื่องนี้ แม่ของเธอชื่อลอร์ ลอร์เติบโตขึ้นมาในเยอรมนีในทศวรรษ 1930 และย้ายไปอยู่อเมริกาหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
ลอร์เคยใฝ่ฝันอยากเข้าเรียนในวิทยาลัยดนตรี แต่ความฝันของเธอก็ต้องสลายเมื่อพ่อของเธอตาย และเธอถูกส่งไปเข้าโรงเรียนเลขานุการเพราะเหตุผลทางการเงิน อย่างไรก็ดี ลอร์เริ่มมีความหวังว่าจะได้เรียนดนตรีอีกครั้งเมื่อเธอได้แต่งงานกับชายหนุ่มชื่อพอล แต่หลังจากที่เธอมีลูกกับพอลถึง 3 คน พอลก็ทิ้งเธอกับลูกๆไปโดยแทบไม่เหลือเงินไว้ให้ลอร์เลย
หลังจากลอร์เลี้ยงลูก 3 คนตามลำพังจนเติบใหญ่ และหลังจากอายุของเธอเริ่มเข้าสู่วัยชรา ในที่สุดลอร์ถึงได้มีโอกาสทำในสิ่งที่เธอใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็กๆ นั่นก็คือซื้อเปียโนมาและเริ่มเรียนรู้เรื่องบันไดเสียง
3.SHADOWS OF MEMORY (2000, CLAUDIA VON ALEMANN)
http://www.wmm.com/catalog/pages/c569.htm
ในหนังเรื่องนี้ คลอเดีย ฟอน อเลมานน์ ได้เปิดโอกาสให้แม่ของเธอซึ่งมีอายุ 84 ปี ได้พูดถึงอดีตของตัวเองในฐานะของคนที่เคยบูชาฮิตเลอร์
ส่วนหนังของผู้กำกับชายที่นำเสนอแม่ของตัวเองได้อย่างน่าสนใจมากๆ ก็คือเรื่อง NO PLACE TO GO (OSKAR ROEHLER, A+)
แม่ของออสการ์ โรห์เลอร์เป็นนักเขียนในเยอรมันตะวันตกที่เลื่อมใสในระบอบคอมมิวนิสต์ ดังนั้นเมื่อกำแพงเบอร์ลินล่มสลายลงในปี 1989 แม่ของเขาจึงเกิดอาการจิตแตกอย่างรุนแรง เธอออกตระเวนไปตามที่ต่างๆรวมทั้งแวะเวียนไปหาสมาชิกแต่ละคนในครอบครัว อย่างไรก็ดี การได้พบกับสมาชิกครอบครัวไม่สามารถช่วยให้เธอรู้สึกดีขึ้นได้ ดังนั้นเธอจึงฆ่าตัวตาย
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ NO PLACE TO GO ได้ที่
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=1880
รูปจาก NO PLACE TO GO (ชอบวิกผมของนางเอกหนังเรื่องนี้มากๆเลยค่ะ)
http://www.novemberfilm.com/bildsidor/oberor/do5.jpg
OSKAR ROEHLER เป็นผู้กำกับหนังที่ชอบ RAINER WERNER FASSBINDER เป็นอย่างมาก ผลงานที่น่าสนใจของเขารวมถึง SUCK MY DICK (2000)
http://www.german-cinema.de/archive/film_view.php?film_id=629
และ AGNES AND HIS BROTHERS (2004) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกย์ และนำแสดงโดย MORITZ BLEIBTREU สุดที่รักของดิฉัน
http://www.german-cinema.de/archive/film_view.php?film_id=1024
http://www.german-cinema.de/magazine/2004/02/germactors/moritz.bleibtreu.html
http://www.kinoweb.de/film2001/Experiment/pix/ex17.jpg
หนังที่ได้ดูในช่วงนี้
1.PHANTOM (2001, MATTHIAS MULLER, A+)
2.DOG STAR MAN (1964, STAN BRAKHAGE, A+)
3.WINDOW WATER BABY MOVING (1962, STAN BRAKHAGE, A+)
4.THE STARS ARE BEAUTIFUL (1974, STAN BRAKHAGE, A+)
5.NIGHT MUSIC (1986, STAN BRAKHAGE, A+)
6.MOTHLIGHT (1963, STAN BRAKHAGE, A)
7.DEAR FRANKIE (2004, SHONA AUERBACH, A/A-)
8.WHITE NOISE (2005, GEOFFREY SAX, A-)
9.STUDY IN COLOR AND BLACK AND WHITE (1993, STAN BRAKHAGE, A-)
DESIRABLE ACTOR
GERARD BUTLER—DEAR FRANKIE
http://img.photobucket.com/albums/v235/natasha925/Misc/Gerard11-2.jpg
http://storage.msn.com/x1pxzZ39wV--_eQzjo7YMW72dCplKLOyHtehMsA-A4_ZcxKAXTUp3kmMNkWfrCt4ESvu3gFDjrqXf8fyahPgW_RFgKIu10XvPWB
--รู้สึกว่าดีวีดีหนังหลายเรื่องของ LINA WERTMULLER มีเข้ามาขายในไทยแล้ว ก็เลยเอาข่าวเก่าของเธอมาให้อ่านกันค่ะ
ในทศวรรษ 1970 ลีนา เวิร์ทมุลเลอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลีกลายเป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และเธอได้รับการยกย่องว่าเป็นเฟเดอริโก เฟลลินีคนถัดไปเนื่องจากเธอสร้างภาพยนตร์การเมืองแบบเบาสมองได้อย่างทรงพลังไม่แพ้เฟลลินี
ดูรายชื่อผลงานของเวิร์ทมุลเลอร์ได้ที่
http://www.imdb.com/name/nm0921631/
อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์บางคนให้ความเห็นว่าภาพยนตร์ของเวิร์ทมุลเลอร์ขาดความเข้มข้นหลังจากทศวรรษ 1970 และชื่อของเธอก็แทบไม่ได้ปรากฏในหน้าวิจารณ์ภาพยนตร์อีก แต่มักปรากฏในหน้าปริศนาอักษรไขว้ในฐานะคำเฉลยของคำถามที่ว่า "ใครคือผู้หญิงคนแรกที่ได้ชิงรางวัลออสการ์ผู้กำกับยอดเยี่ยม"
ถึงแม้เวิร์ทมุลเลอร์ไม่โด่งดังอีกต่อไป เธอก็ยังคงสร้างภาพยนตร์ใหม่ออกมาเรื่อยๆในขณะที่เธอมีอายุ 78 ปี โดยภาพยนตร์ใหม่ของเธอคือเรื่อง TOO MUCH ROMANCE…IT’S TIME FOR STUFFED PEPPERS ในปี 2004 โดยภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาในชีวิตสมรส โดยมีเอฟ. เมอร์เรย์ อับราฮัมรับบทเป็นสามีชื่อเจฟฟรีย์ และโซเฟีย ลอเรนรับบทเป็นภรรยาชื่อมาเรีย
สามีภรรยาคู่นี้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันมานานแล้วและแทบไม่มีความรักหลงเหลือให้แก่กันอีก ลูกๆของทั้งสองโตหมดแล้ว และมาเรียก็รู้สึกว่าเธอไม่มีเป้าหมายในชีวิตหลงเหลืออยู่อีก ส่วนเจฟฟรีย์เองนั้นก็ใช้ชีวิตจมอยู่กับความรู้สึกเศร้าเสียใจกับอดีต เขามักใช้เรือหาปลาของเขาเป็นสถานที่หลับนอน และมักครุ่นคำนึงถึงแต่เรื่องที่ว่าชีวิตของเขาจะเป็นอย่างไรถ้าหากเขายังคงยึดอาชีพนักข่าวต่อไป แทนที่จะเปลี่ยนมาเป็นชาวประมงเหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
แม่ของมาเรียซึ่งเป็นโรคหลงๆลืมๆแบบคนชรากำลังจะจัดงานวันเกิด และลูกๆทั้ง 3 คนของมาเรียก็จะกลับบ้านมาร่วมงานนี้ โดยที่แต่ละคนต่างก็มีปัญหาในชีวิตรักของตัวเอง
เนื้อหาในหนังเรื่องนี้เกิดที่ชายฝั่งอมาลฟี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองเนเปิลส์ ดูแผนที่ของอมาลฟีได้ที่
http://www.ictam.com/Common_F-N/country_pix/ITALY/ITALIE%20amalfi%20map.jpg
นอกจาก TOO MUCH ROMANCE…IT’S TIME FOR STUFFED PEPPERS แล้ว หนังเกี่ยวกับสมาชิกครอบครัวที่กลับบ้านมาตบกัน รวมถึงเรื่อง
1.THE CELEBRATION (1998, THOMAS VINTERBERG, A+)
2.THOSE WHO LOVE ME CAN TAKE THE TRAIN (PATRICE CHEREAU, A+)
3.A SUNDAY IN THE COUNTRY (1984, BERTRAND TAVERNIER, A+/A)
4.LA PETITE LILI (CLAUDE MILLER, A-)
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=3741
5.EULOGY (2004, MICHAEL CLANCY, A-/B+)
http://www.imdb.com/title/tt0349416/
6.HOME FOR THE HOLIDAYS (1995, JODIE FOSTER, B)
7.MILOU IN MAY (1989, LOUIS MALLE)
http://www.imdb.com/title/tt0097884/
แม่ของมิลู (มิเชล ปิคโคลี จาก BELLE DE JOUR) เสียชีวิตในขณะที่นักศึกษาในกรุงปารีสกำลังก่อเหตุจลาจลในเดือนพ.ค.ปี 1968 ดังนั้นสมาชิกครอบครัวของมิลูก็เลยกลับบ้านมาร่วมงานศพของเธอในไร่องุ่นของมิลู พวกเขาทะเลาะทุ่มเถียงกันเรื่องมรดก แต่บรรยากาศในชนบทและสภาพอากาศในเดือนพ.ค.ก็ทำให้พวกเขารู้สึกผ่อนคลายในเวลาต่อมา
หนังเรื่องนี้ได้รับคำวิจารณ์ว่ามีความคล้ายคลึงหนังของ CLAUDE GORETTA หนึ่งในผู้กำกับกลุ่มนิวเวฟของสวิตเซอร์แลนด์
บทหนังเรื่องนี้เขียนโดย JEAN-CLAUDE CARRIERE อ่านบทความของเขาได้ในหนังสือ “ฟิล์มไวรัส 2”
ลีน่า เวิร์ทมุลเลอร์ซึ่งมีผมสีขาวไว้ผมทรงกะลาครอบในปัจจุบัน เธอกล่าวว่าวิสัยทัศน์ทางศิลปะของเธอยังคงแข็งแกร่ง ถึงแม้ว่าไม่มีบริษัทใดในสหรัฐรับจัดจำหน่ายภาพยนตร์ของเธอมานานสิบปีแล้ว
"แม้แต่ศิลปินชาวสหรัฐเองก็ยังต้องหวาดเกรงกับอำนาจทางการตลาด และถ้าหากไม่มีคนได้ชมภาพยนตร์ของฉัน ฉันก็เหมือนกับนกปีกหัก"
"ฉันไม่กังวลกับเรื่องนี้อีกต่อไป เพราะฉันมุ่งความสนใจไปที่การสร้างภาพยนตร์ บางทีในวันหนึ่งข้างหน้าใครบางคนอาจค้นพบขุมสมบัติที่จมอยู่ และเขาก็จะนำภาพยนตร์ 35-36 เรื่องของฉันขึ้นมาสำรวจคุณค่าใหม่ แต่ฉันหวังว่าฉันจะกำกับภาพยนตร์ได้ถึง 40 หรือ 50 เรื่องก่อนตาย”
อับราฮัมซึ่งได้รับรางวัลออสการ์สาขาดารานำชายยอดเยี่ยมในปี 1984 จาก Amadeus กล่าวว่าประสบการณ์ส่วนตัวสอนให้เขารู้ว่าความนิยมของสาธารณชนเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน และกล่าวว่าแม้แต่เบตตี เดวิสซึ่งเป็นตำนานแห่งวงการภาพยนตร์ก็ต้องพบกับภาวะตกต่ำทางอาชีพในระยะหลัง
อับราฮัมยังเปิดเผยอีกด้วยว่าในช่วงที่เขาเพิ่งได้รับรางวัลออสการ์นั้น พนักงานต้อนรับคนใหม่ที่สำนักงานของเอเยนต์ของเขายังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าเขาคือใคร
ดูรายชื่อผลงานการแสดงของอับราฮัมได้ที่
http://www.imdb.com/name/nm0000719/
อับราฮัมเคยเล่นหนังเรื่อง THE BRIDGE OF SAN LUIS REY (2004), THIRTEEN GHOSTS (C+), FINDING FORRESTER (GUS VAN SANT, B+/B), CHILDREN OF THE REVOLUTION (1996, PETER DUNCAN, B+), MIGHTY APHRODITE (1995, WOODY ALLEN, A-)
อับราฮัมกล่าวว่าเวิร์ทมุลเลอร์ยังคงเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังในการสร้างสรรค์ โดยเธอทำงาน 12-14 ชั่วโมงต่อวันในกองถ่าย และกล่าวว่า "เธอเป็นเจ้านาย เธอเข้มงวดมาก"
เวิร์ทมุลเลอร์เห็นด้วยกับคำพูดนี้ โดยเธอกล่าวว่า"ถ้าหากไม่มีกัปตัน แล้วเรือจะแล่นไปได้อย่างไร ถ้าหากเรามีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเล่าเรื่องแล้วล่ะก็ สิ่งนั้นจะช่วยทำให้เราเข้มแข็งมาก"
"ฉันเข้มแข็งแต่ก็ร่าเริง ฉันเป็นคนแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่มีความเบิกบานซ่อนลึกอยู่ข้างใน”
เวิร์ทมุลเลอร์เกิดในครอบครัวชาวสวิสที่ร่ำรวย และเข้าสู่วงการภาพยนตร์เนื่องจากเธอเคยเป็นเพื่อนกับภรรยาของมาร์เซลโล มาสโตรยานนี นักแสดงชาวอิตาลีผู้โด่งดัง เธอเคยทำงานเป็นผู้ช่วยของเฟเดอริโก เฟลลินี เมื่อเขากำกับภาพยนตร์เรื่อง 8 1/2 ในปี 1962 และต่อมาเธอก็กำกับภาพยนตร์เรื่องแรกชื่อ The Lizards(1963) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มคนขี้เกียจในเมืองเล็กที่ชอบวางแผนหาเงิน แต่ก็มักไม่ประสบความสำเร็จเพราะพวกเขาเฉื่อยชาเกินไป
THE LIZARDS ได้ ENNIO MORRICONE มาทำดนตรีประกอบให้ และได้รับการเปรียบเทียบกับหนังเรื่อง I, VITELLONI (1953, FEDERICO FELLINI) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชายขี้เกียจเหมือนกัน
http://www.dvdfile.com/software/review/dvd-video_11/ivitelloni.html
เวิร์ทมุลเลอร์มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลกในทศวรรษ 1970 เมื่อเธอสร้างภาพยนตร์การเมือง ซึ่งรวมถึงเรื่อง The Seduction of Mimi และ Swept Away by an Unusual Destiny in the Blue Seas of August หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า Swept Away
Seven Beauties ส่งให้เวิร์ทมุลเลอร์ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดยภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายคนหนึ่ง (จานคาร์โล จานนินี) ที่ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองมีชีวิตรอด ซึ่งรวมถึงการล่อลวงผู้บังคับบัญชาค่ายกักกันหญิง
นักวิจารณ์หลายคนมักยกย่องให้ Seven Beauties ติดอยู่ใน 100 อันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาล
จานนินีเคยให้สัมภาษณ์ในปี 2001 ว่า "ผมมีปฏิกิริยาทางเคมีที่แปลกประหลาดกับเวิร์ทมุลเลอร์ในความสัมพันธ์แบบนักแสดง-ผู้กำกับ แต่หลังจากนั้นความสัมพันธ์ก็ดับมอดลง"
เวิร์ทมุลเลอร์ได้ร่วมงานกับจานคาร์โล จานนินีในภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยส่วนใหญ่เธอจะให้เขารับบทเป็นตัวละครที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตเหมือนที่ชาร์ลี แชปลินเคยแสดง
ผลงานการแสดงของ GIANCARLO GIANNINI รวมถึงเรื่อง
http://www.imdb.com/name/nm0316284/
1.MAN ON FIRE (2004, TONY SCOTT, B)
2.FOREVER (2003, B-)
3.MY HOUSE IN UMBRIA (2003) ที่แพร่ภาพทาง HBO ในระยะนี้
4.THE HEART IS ELSEWHERE (2003, PUPI AVATI, A+)
5.DARKNESS (2002, JAUME BALAGUERO, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0273517/
ในปี 2002 มาดอนนานำ Swept Away ของเวิร์ทมุลเลอร์มาสร้างใหม่ โดยให้กาย ริทชีซึ่งเป็นสามีของเธอเป็นผู้กำกับ อย่างไรก็ดี ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเสียงวิจารณ์ในทางลบอย่างมาก
เวิร์ทมุลเลอร์กล่าวถึงการที่เธอตัดสินใจให้สิทธิในการสร้างภาพยนตร์แก่มาดอนนาว่า "ฉันทำในสิ่งที่ผิดพลาด ถ้าพูดกันตามจริงแล้ว ฉันเคยรู้สึกนับถือมาดอนนาอย่างมากถึงแม้ไม่เคยรู้จักเธอเป็นการส่วนตัวมาก่อน"
"มาดอนนาเป็นผู้หญิงที่ไม่สวยและไม่มีเสียงที่ยิ่งใหญ่ แต่ประสบความสำเร็จในการทำให้ตัวเองกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพล เธอเหมือนกับเป็นอนุสาวรีย์ของผู้หญิงที่ฉลาดมากๆ ตอนนั้นฉันก็เลยคิดว่ามาดอนนาคงจะมีไอเดียบางอย่างในการนำหนัง cult เรื่องนี้มาสร้างใหม่"
Swept Away และภาพยนตร์อีกหลายเรื่องของเวิร์ทมุลเลอร์มักจะมีฉากของการใช้ความรุนแรง อย่างเช่นฉากการตบหน้ากันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายที่กำลังจะรักกัน และเวิร์ทมุลเลอร์ก็ไม่คิดว่าฉากเหล่านี้เป็นสิ่งผิดแต่อย่างใด เธอกล่าวว่า "คุณไม่เคยตบหน้าผู้หญิงมาก่อนหรือ หรือคุณไม่เคยโดนตบมาก่อนเลยหรือ ไม่ต้องเป็นห่วงหรอก ยังมีเวลาสำหรับคุณ คุณจะเจอประสบการณ์นี้เองในอนาคต"
ผู้เชี่ยวชาญบางคนถกเถียงกันว่าการที่เวิร์ทมุลเลอร์ไม่โด่งดังในปัจจุบันเป็นเพราะว่าภาพยนตร์ของเธอมีคุณภาพลดลง หรือเป็นเพราะว่าผู้ชมมีรสนิยมเปลี่ยนแปลงไปหลังทศวรรษ 1970
จอห์น เวลล์ อาจารย์สอนวิชาอิตาเลียนศึกษาในมหาวิทยาลัยนอตเตรอะ ดามในรัฐอินเดียนาของสหรัฐกล่าวว่า "ในแง่หนึ่งโชคชะตาของเวิร์ทมุลเลอร์ก็เหมือนกับโชคชะตาของวงการภาพยนตร์อิตาลีในวงกว้าง เพราะภาพยนตร์การเมืองในทศวรรษ 1970 ได้รับความนิยมจากผู้ชมจำนวนมากแม้แต่ในสหรัฐเอง แต่หนุ่มสาวในทศวรรษ 1980 และ 1990 ลดความสนใจในประเด็นการเมืองลง"
ทางด้านมิลลิเซนท์ มาร์คัส ผู้เขียนหนังสือ Italian Film in the Light of Neorealism เชื่อว่า ลีน่า เวิร์ทมุลเลอร์สูญเสียความสามารถของตัวเอง โดยเธอกล่าวว่า "สไตล์ภาพยนตร์แบบเพี้ยนประหลาดของเวิร์ทมุลเลอร์ที่นำเอาประเด็นเรื่องเพศกับแนวคิดทางการเมืองมาผสมเข้าด้วยกัน เป็นสไตล์ที่ตรงกับรสนิยมของผู้ชมจำนวนมากหลังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่ในปี 1968 ดังนั้นเวิร์ทมุลเลอร์จึงถ่ายทอดความนิยมของยุคสมัยนั้นไว้ได้อย่างแท้จริง"
"แต่เมื่อยุคสมัยนั้นผ่านพ้นไป เวิร์ทมุลเลอร์กลับไม่สามารถจับกระแสวัฒนธรรมของยุค 1980 และยุค 1990 ได้อีก" มาร์คัสกล่าว
อย่างไรก็ดี เวิร์ทมุลเลอร์กล่าวว่านักวิจารณ์ที่มองเธอในด้านลบเช่นนี้คือนักวิจารณ์ที่ไม่ได้ชมภาพยนตร์ของเธอในระยะหลังๆ โดยเป็นผลจากการที่ภาพยนตร์ของเธอแทบไม่ได้รับการจัดจำหน่าย ดังนั้นนักวิจารณ์เหล่านี้จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะมาตัดสินภาพยนตร์ของเธอได้
อิตาลีในทศวรรษ 1970 ผลิตภาพยนตร์การเมืองที่น่าสนใจออกมามากมาย ซึ่งรวมถึงภาพยนตร์ของผู้กำกับดังต่อไปนี้
1.MARCO BELLOCCHIO เจ้าของผลงานอย่าง VICTORY MARCH (1976) ที่พูดถึงความบ้าคลั่งของชีวิตทหาร
http://www.imdb.com/title/tt0074864/
2.ELIO PETRI เจ้าของผลงานอย่าง INVESTIGATION OF A CITIZEN ABOVE SUSPICION (1970, A-) และ THE WORKING CLASS GOES TO HEAVEN (1971)
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ELIO PETRI ได้ที่
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=1471
3.FRANCESCO ROSI เจ้าของผลงานอย่าง THE MATTEI AFFAIR (1972) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเอนริโก แมตเตอิ นักสังคมนิยมในอิตาลี ที่ต่อสู้กับกลุ่มทุนนิยมอเมริกันจนตัวเขาต้องเสียชีวิตลงอย่างลึกลับ
http://www.imdb.com/title/tt0068346/
4.ETTORE SCOLA เจ้าของผลงานอย่าง A SPECIAL DAY (1977) ที่นำแสดงโดยโซเฟีย ลอเรน ในบทของแม่บ้านที่ได้พบกับเกย์ (มาร์เซลโล มาสโตรยานนี) ในยุคที่ฟาสซิสต์กำลังเถลิงอำนาจในอิตาลี
5.BERNARDO BERTOLUCCI เจ้าของผลงานอย่าง THE SPIDER’S STRATAGEM (1970) และ THE CONFORMIST (1970)
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ THE SPIDER’S STRATAGEM ได้ที่
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=5122
6.+7.JEAN-MARIE STRAUB + DANIELE HUILLET เจ้าของผลงานอย่าง FROM THE CLOUD TO THE RESISTANCE (1979) ที่สำรวจอดีตความเป็นฟาสซิสต์ของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
http://www.imdb.com/title/tt0079023/
8.PIER PAOLO PASOLINI ผู้กำกับเกย์แถวหน้าของอิตาลี เจ้าของผลงานอย่าง SALO, OR 120 DAYS OF SODOM (A+)
9.NANNI MORETTI เจ้าของผลงานอย่าง I AM SELF-SUFFICIENT (1976) และ ECCE BOMBO (1978) โดยโมเรตตินำแสดงเองในหนังสองเรื่องนี้ในบทของผู้ชายที่เคยเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสังคมมาก่อน และหนังสองเรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นถึงภาวะสูญสิ้นอุดมการณ์ของคนที่เคยเป็นหนุ่มเลือดร้อนในช่วงที่เกิดเหตุการณ์วุ่นวายทั่วยุโรปในปี 1968 (หนังของ PHILIPPE GARREL ก็มักสะท้อนจุดนี้เช่นกัน)
http://www.villagevoice.com/film/0123,romney,25324,20.html
10.MARCO FERRERI เจ้าของผลงานอย่าง DON’T TOUCH THE WHITE WOMAN! ที่ใช้ฉากหลังเป็นกรุงโรม แต่มีรูปแบบคล้ายหนังคาวบอย และมีเนื้อหาพาดพิงถึงปธน.ริชาร์ด นิกสัน
DON’T TOUCH THE WHITE WOMAN! นำแสดงโดยมาร์เซลโล มาสโตรยานนี, แคเธอรีน เดอเนิฟ, มิเชล ปิคโคลี และฟิลิป นัวเรต์
http://www.mondo-digital.com/ferreri.html
MARCO FERRERI เคยกำกับหนังที่น่าสนใจหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึง BYE BYE MONKEY (1978) ที่เปิดเรื่องด้วยฉากเจอราร์ด เดอปาร์ดิเออถูกหญิงสาวกลุ่มหนึ่งรุมข่มขืน
นอกจาก LINA WERTMULLER แล้ว ผู้กำกับภาพยนตร์หญิงชาวอิตาลีที่น่าสนใจรวมถึง
1.LILIANA CAVANI ผู้กำกับ RIPLEY’S GAME (A+) และ THE NIGHT PORTER (B+)
2.CRISTINA COMENCINI ผู้กำกับ THE BEAST IN THE HEART ที่ทำให้ยัย GIOVANNA MEZZOGIORNO คว้ารางวัลดาราหญิงยอดเยี่ยมในเวนิซไปได้
http://www.imdb.com/name/nm0173724/
3.FRANCESCA COMENCINI ผู้กำกับ “CARLO GIULIANI, A BOY” ที่ได้ฉายนอกสายการประกวดในคานส์ปี 2002 หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับคาร์โล จูเลียนี เด็กหนุ่มที่ถูกฆ่าตายในระหว่างการประท้วงที่เมืองเจนัว โดยหนังเรื่องนี้ได้ให้แม่ของคาร์โลได้มีโอกาสพูดถึงลูกชายของเธอ
http://www.festival-cannes.fr/films/fiche_film.php?langue=6002&id_film=3157401
นอกจาก CARLO GIULIANI, A BOY แล้ว หนังอีกเรื่องที่พูดถึงเหตุการณ์นองเลือดที่เจนัวคือเรื่อง BELLA CIAO ที่กำกับโดยมาร์โก จุสติ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=14217
นอกจากนี้ FRANCESCA COMENCINI ยังกำกับหนังเรื่อง I LIKE TO WORK อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=7466
4.ROBERTA TORRE ผู้กำกับหนังเรื่อง ANGELA อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=5102
5.FRANCESCA ARCHIBUGI ผู้กำกับหนังเรื่อง BY NIGHTFALL (1990) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาจารย์มหาลัย (มาร์เซลโล มาสโตรยานนี) ที่ชีวิตพลิกผันเมื่อหลานสาวของเขาและแม่ของหลานสาว (ซองดรีน บอนแนร์) มาพักอาศัยในบ้านของเขา เขาต้องทบทวนลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆในชีวิตของตัวเอง
อ่านบทสัมภาษณ์ FRANCESCA ARCHIBUGI ได้ที่
http://www.kinema.uwaterloo.ca/lavi2-032.htm
6.FIORELLA INFASCELLI ผู้กำกับ THE MASK (1988) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักแสดงร่อนเร่ (เฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีเพลย์บอยคนหนึ่ง (Michael Maloney) มาตกหลุมรักเธอ แต่เธอปฏิเสธเขา และหันไปหลงใหลในตัวบุรุษลึกลับคนหนึ่งแทน
7.DONATELLA MAIORCA ผู้กำกับหนังเรื่อง VIOL@ (1998) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิโอล่า สาววัย 27 ปีที่ทิ้งคู่หมั้นของตัวเองในงานแต่งงาน เธออาศัยอยู่ตัวคนเดียวกับหมา และเธอก็หันมาทุ่มเทชีวิตให้กับการแชทกับชายหนุ่มทางอินเทอร์เน็ต
http://www.mostra.org/23/english/filmes/20.htm
DONATELLA MAIORCA เคยทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับผู้กำกับหลายคน ซึ่งรวมถึง MARIO MONICELLI, LUIGI COMENCINI, BIGAS LUNA, MARCO BELLOCCHIO และ ALESSANDRO DI ROBILANT ผู้กำกับหนังเรื่อง FOREVER (B-) ที่เพิ่งมาฉายในกรุงเทพเมื่อต้นปีนี้
http://www.bangkokfilm.org/2005/film-detail.aspx?id=3000658
8.GIADA COLAGRANDE ผู้กำกับหนังเรื่อง OPEN MY HEART (2003) ที่เพิ่งเข้ามาฉายในกรุงเทพเมื่อต้นปีนี้เหมือนกัน หนังเกี่ยวกับพี่สาวน้องสาวเรื่องนี้ได้รับการเปรียบเทียบกับผลงานของ INGMAR BERGMAN + BRIAN DE PALMA
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B0006SSSUK/102-4200249-6708167?v=glance
9.MONICA STAMBRINI ผู้กำกับหญิงวัย 35 ปี เจ้าของหนังเลสเบียนเรื่อง GASOLINE (2001)
http://www.imdb.com/title/tt0302309/
ตอบคุณ homogenic
--ฮือ ฮือ ฮือ พอดีช่วงสายๆวันอาทิตย์ รู้สึกปวดหัว ก็เลยล้มตัวลงนอนหลับปุ๋ย ตื่นขึ้นมาอีกทีก็ไม่ทันไปดู IN THE SHADOW OF THE SUN เสียแล้ว เสียดายมากๆเลยค่ะที่พลาดดูหนังเรื่องนี้
--พอดีคุณอ้วนแห่งเว็บบอร์ด screenout เขียนถึงหนังเรื่อง THE ANGELIC CONVERSATION ที่กำกับโดยดีเรค จาร์แมนเหมือนกัน ก็เลยก็อปปี้ความเห็นของคุณอ้วนที่มีต่อ THE ANGELIC CONVERSATION มาให้อ่านไปพลางๆแล้วกันนะคะ
ความเห็นของคุณอ้วน
เมื่อคืนนี้ได้ดูหนังของผู้กำกับเกย์ ดีเร็ค จาร์แมน เรื่อง THE ANGELIC CONVERSATION (A+) แล้วค้นพบว่าตัวเองคงต้องกลับมานั่งทำรายชื่อ 10 หนังที่ชื่นชอบที่สุดตลอดกาลเสียใหม่ โดยครั้งนี้อาจจะต้องบรรจุ THE ANGELIC CONVERSATION ลงไปในรายชื่อนั้นด้วย THE ANGELIC CONVERSATION เป็นหนังเล็กๆเรื่องหนึ่งที่มีงานด้านภาพที่น่าทึ่งที่สุดเท่าที่จะหาดูได้ ภาพในหนังเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีจังหวะหยุดนิ่งเป็นระยะ และไม่ชัดเจนคมชัดเหมือนภาพในหนังเรื่องอื่นๆ กล่าวคือเกรนสีหยาบแตก ดิบ และดูกระด้าง แต่ก็งดงามมาก เหมือนนั่งดูภาพจิตรกรรมชั้นเยี่ยมที่เคลื่อนไหวกระดุกกระดิกไปมาได้ อ้วนเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาใช้เทคนิควิธีในการถ่ายภาพอย่างไร และภาพในหนังเรื่องนี้ก็แทบจะไม่มีเรื่องราวอะไรเลย แต่อารมณ์ที่ได้รับจากภาพในหนังเรื่องนี้มันสุดยอดมาก เหมือนได้หลุดออกไปอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ทางสังคมทั้งมวล และนั่นเป็นภาวะที่เลิศที่สุดเมื่อเราเข้าไปอยู่ในหนังของ ดีเร็ค จาร์แมน
โดยรูปธรรมแล้ว หนังเรื่องนี้อาจจะเป็นหนังที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความรักของชายคนหนึ่งที่เดินทางค้นหาความรักจากผู้ชายอีกคน เนื้อเรื่องจริงๆอาจจะมีอยู่เพียงเท่านี้ หรือไม่อีกทีหนังเรื่องนี้ก็อาจจะไม่มีพล็อตเรื่องอะไรเลย แต่ ดีเร็ค จาร์แมน ก็ถ่ายทอดอารมณ์เหล่านี้ออกมาได้บรรเจิดสวยงามและทรงพลังตลอดทั้งเรื่อง THE ANGELIC CONVERSATION อาจจะไม่ใช่หนังที่มีเนื้อหาทะเยอทะยานอะไรมากนัก แต่ตัวของมันเองก็ได้สะท้อนให้เราเห็นถึงความทะเยอทะยานใน “เลือดเนื้อและจิตวิญญาณ” ของ ดีเร็ค จาร์แมน ในการใช้ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร “นามธรรม” ในตัวของศิลปิน และ THE ANGELIC CONVERSATION ก็เป็นอะไรบางอย่าง ที่ไม่น้อยไปกว่า “บทกวีทางจิตวิญญาณ” ที่ว่าด้วยความรักและกามารมณ์ของผู้ชายที่มีต่อผู้ชาย อนิจจา ถ้าแม้ ดีเรค จาร์แมน ยังไม่ลาจากโลกนี้ไปตั้งแต่อายุ 52 เสียก่อน โลกของเราคงจะมีงานศิลปะชั้นเยี่ยมเพิ่มขึ้นอีกมากมายเป็นแน่ อย่างไรก็ดีการปรากฏตัวของ THE ANGELIC CONVERSATION ก็ทำให้เราไม่ต้องสงสัยแล้วว่า ดีเร็ค จาร์แมน คือหนึ่งในผู้กำกับที่ทำหนังได้บริสุทธิ์ งดงาม และทรงพลัง มากที่สุดคนหนึ่งของโลก ....โลกที่ถูกสร้างขึ้นด้วยภาษาที่งดงามของฑูตสวรรค์ เพื่อให้มนุษย์ได้ดิ้นรนแสวงหา ไขว่คว้า และเกื้อกูลแก่ความเย้ายวนของความรัก
อ่านเพิ่มเติมเรื่องของดีเรค จาร์แมนได้ที่
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=8061
--ได้อ่านคำวิจารณ์เกี่ยวกับ IN THE SHADOW OF THE SUN (1980) เขาบอกว่าหนังเรื่องนี้เป็นการนำโฮมมูฟวีที่จาร์แมนถ่ายเพื่อนๆไว้ในปี 1972-1974 มา SUPERIMPOSE ลงบนฟุตเตจที่ถ่ายไว้ในปี 1980 ที่เป็นการบันทึกภาพการเดินทางด้วยรถไปที่ AVEBURY โดยจาร์แมนทำเอฟเฟคท์หนังเรื่องนี้ขณะที่อยู่ในรูปแบบของฟิล์มขนาด 8 มม. ก่อนจะแปรสภาพหนังเรื่องนี้เป็นฟิล์ม 16 มม.อีกที
สิ่งที่อยู่ในหนังเรื่องนี้รวมถึง
1.คนที่อยู่ที่เครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งอาจจะกำลังแต่งเรื่องหรือกำลังฝันถึงประสบการณ์เรื่องนี้
2.การเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าของตัวละครที่เหมือนอยู่ในตำนาน
3.เปลวไฟ
4.เนินทราย
5.ผู้หญิงคนหนึ่งส่ายกระโปรง
6.คู่รักเต้นรำกัน
7.คนที่ใส่หน้ากากและเคลื่อนไหวไปมา
8.รูปปูนปั้นศีรษะคนแบบกรีก
9.ฉากแสดงความรู้สึกกังวลทุกข์ใจ ที่นักวิจารณ์บอกว่าเหมือนกับโฆษณายาแก้ปวด
10.ดนตรีประกอบแนวอิเล็กโทรนิกโดย THROBBING GRISTLE ซึ่งเต็มไปด้วยเสียงที่มีความหมาย ในขณะที่นักสับไพ่ทาโรต์ค้นพบกุญแจโบราณดอกหนึ่งและชูกุญแจนั้นให้ผู้ชมดู
11.อิทธิพลจากการรำมวยไท้เก๊ก
12.อิทธิพลจากภาพยนตร์เรื่อง NOSFERATU (A-) ของ F.W. MURNAU
13.ความรู้สึกอัศจรรย์ใจที่มีต่อเครื่องซีร็อกซ์สี
14.ชุดนิรภัยที่ใส่กันในโรงปฏิกรณ์ปรมาณูที่เมืองวินด์สเกล (ปัจจุบันคือเมืองเซลลาฟิลด์) โรงปฏิกรณ์แห่งนี้เคยประสบเหตุเพลิงไหม้จนส่งผลให้สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลในปี 1957
15.ร้าน MAGIC SHOP ของ ALAN ALAN ใน HOLBORN
--ส่วนหนังของ MATTHIAS MULLER เป็นหนังที่ชอบมากค่ะ หนังดูหลอนๆดี รู้สึกว่าเขาจะนำฟุตเตจหนังเก่าหลายๆเรื่องที่เป็นฉากคนเปิดปิดรูดผ้าม่าน มาฉายลงบนฉากหลังที่พลิ้วไหวคล้ายๆผ้าม่าน
เทคนิคภาพสวยๆที่พลิ้วไหวเหมือนอยู่บนผ้าม่านนี้ทำให้นึกถึงมิวสิควิดีโอเพลง EVENING FALLS (1989, MICHAEL GEOGHEGAN, A+) ของ ENYA ค่ะ
การนำฟุตเตจหนังเก่าๆมาเรียงต่อกันเช่นนี้ เป็นเทคนิคที่นักทำหนังหลายคนชอบทำกัน ตั้งแต่ MY FIRST FILM (1991, SASITHORN ARIYAVICHA), PHOENIX TAPES (2000, MATTHIAS MULLER, A+) ที่พูดถึงวัตถุที่มักพบบ่อยๆในหนังของฮิทช์ค็อก และ LOVE (2003, TRACEY MOFFATT, A+) ที่นำฉากการแสดงความรักในหนังฮอลลีวู้ดยุคเก่ามาเรียงต่อๆกัน
http://www.wmm.com/news/Announcement/announcement_MOMA.htm
ฟุตเตจฟิล์มที่มึลเลอร์นำมาใช้ใน PHANTOM น่าจะมาจากหนังในทศวรรษ 1950 ซึ่งเป็นยุคที่น่าจะมีอิทธิพลต่อหนังหลายๆเรื่องของแมทธิอัส มึลเลอร์ และดิฉันเดาว่ายุค 1950 น่าจะมีอิทธิพลต่อหนังของเดวิด ลินช์ด้วย สิ่งที่น่าสังเกตก็คือว่า หนังของเดวิด ลินช์บางเรื่องอย่างเช่น TWIN PEAKS ก็มี “ผ้าม่าน” ที่ดูลึกลับมากๆเช่นกัน แต่ผ้าม่านในหนังของเดวิด ลินช์จะคล้ายๆกับผ้าม่านบนเวทีการแสดง ส่วนผ้าม่านใน PHANTOM เป็นผ้าม่านที่บานหน้าต่าง
หนังในทศวรรษ 1950 หลายเรื่องนำเสนอภาพผู้หญิงในยุคเก่าก่อนที่ภาพลักษณ์ของผู้หญิงจะเปลี่ยนไปมากในทศวรรษ 1960 และในยุคฮิปปี้ ผู้หญิงในหนังทศวรรษ 1950 ดูเหมือนเป็นแม่บ้านที่ถูกกักขัง ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพและทางเลือกในชีวิต ดิฉันไม่รู้เหมือนกันว่ามึลเลอร์ต้องการสะท้อนจุดนี้ในหนัง PHANTOM ด้วยหรือเปล่า แต่ภาพในหนังของเขาทำให้นึกถึงแม่บ้านในหนังอย่าง ALL THAT HEAVEN ALLOWS (DOUGLAS SIRK, A+) และ FAR FROM HEAVEN (TODDY HAYNES, A+/A)
จุดที่ทำให้ชอบ PHANTOM มาก ก็คือช่วงกลางเรื่องที่นำภาพตัวละครหลายๆตัวรูดเปิดม่านอย่างรุนแรงมาเรียงต่อๆกัน พวกเธอรูดเปิดม่านและมองออกไปนอกหน้าต่าง แต่เนื่องจากมันเป็นภาพเนกาทีฟ เราก็เลยไม่เห็นดวงตาของเธออย่างเด่นชัด และการที่เราไม่เห็นดวงตาของเธออย่างเด่นชัด มันก็เลยทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่าพวกเธอกำลังจ้องเขม็งมาที่ผู้ชม ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่าพวกเธอถูกกักขังไว้ในบ้าน และจ้องมองมาที่ผู้ชมด้วยความรู้สึกคล้ายๆกับโกรธแค้นที่พวกเธอถูกกักขังไว้ข้างใน ไม่สามารถออกมาจากบ้านหรือออกมาจากจอภาพยนตร์ได้
--ส่วนหนังของ STAN BRAKHAGE นั้น ไม่เคยดูมาก่อนเลยค่ะ เพิ่งได้ดูในงานนี้เป็นครั้งแรก ทั้งๆที่ดีวีดีและวิดีโอหนัง STAN BRAKHAGE มีเข้ามาขายในกรุงเทพนานแล้ว และ BIOSCOPE ก็เคยลงข้อมูลเกี่ยวกับ BRAKHAGE ไปแล้วตอนที่เขาตายในช่วงต้นปี 2003 โดยลงไว้ในเล่ม 17 หน้าปกโคลิน ฟาร์เรล คิดว่าหลายๆคนในที่นี้น่าจะมีความรู้เรื่อง BRAKHAGE ดีกว่าดิฉันหลายเท่าค่ะ
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ STAN BRAKHAGE ที่คุณสาวรกโลกเคยนำมาลงไว้ได้ที่นี่ค่ะ
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=1391
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ BRAKHAGE ได้ที่
http://www.deep-focus.com/flicker/bybrakha.html
Stereolab เคยทำเพลงอุทิศให้กับสแตน แบรคเกจ ผู้กำกับภาพยนตร์แนวทดลองชื่อดัง โดยเพลง Brakhage บรรจุอยู่ในอัลบัมชุด Dots and Loops (เพลงที่ดิฉันชอบที่สุดในอัลบัมชุดนี้คือเพลง Refractions of the Plastic Pulse ค่ะ ฟังได้ไม่เบื่อเลย และก็ชอบชื่อเพลง "Flower Called Nowhere" ในอัลบัมชุดนี้ด้วย)
ดูภาพจากหนังของ STAN BRAKHAGE ได้ที่
http://www.fredcamper.com/Film/BrakhageS.html
ความรู้สึกส่วนตัวที่มีต่อหนังของ STAN BRAKHAGE
1.STUDY IN COLOR AND BLACK AND WHITE (1993, STAN BRAKHAGE, A-)
รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เร็วและสั้นเกินไปจนจดจำอะไรไม่ค่อยได้เท่าไหร่
2.MOTHLIGHT (1963, STAN BRAKHAGE, A)
หนังเรื่องนี้สวยและเก๋ไก๋ดีมาก แถมเป็นหนังที่สร้างขึ้นโดยไม่ใช้กล้องอีกด้วย
มีหนังอีกมากมายที่สร้างขึ้นโดยไม่ใช้กล้อง ทั้งหนังของแบรคเคจประเภทที่ระบายสีลงไปบนฟิล์มโดยตรง, หนังที่เกิดจากการขูดขีดเส้นสายต่างๆลงบนฟิล์ม และหนังกลุ่มที่คุณสนธยา ทรัพย์เย็นเรียกว่า “กระทำชำเราฟิล์ม” โดยหนังกลุ่มนี้เกิดจากการกระทำทารุณกรรมต่อฟิล์มภาพยนตร์ด้วยวิธีการต่างๆ
อ่านตัวอย่างหนังในกลุ่มนี้ได้ที่
http://www.coolidge.org/balagan/handmade_spring2002.html
หนังเรื่อง WHAT THE WATER SAID (1998, DAVID GATTEN, A+) ที่อยู่ในกลุ่มนี้ เคยเข้ามาเปิดฉายที่สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้ในปี 1999 ด้วย หนังเรื่องนี้เกิดจากการนำฟิล์มภาพยนตร์ไปใส่ในกระชังปูและเอาไว้ทิ้งไว้ที่ชายหาดในรัฐเซาธ์แคโรไลน่า และหนังเรื่องนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน โดยส่วนแรกเป็นฟิล์มภาพยนตร์ที่เอาไปแช่ในกระชังปูในเดือนม.ค.ปี 1997, ส่วนที่สองเป็นฟิล์มภาพยนตร์ที่เอาไปแช่ในกระชังปูในเดือนต.ค.ปี 1997 และส่วนที่สามเกิดจากการทำอย่างเดียวกันในเดือนส.ค.ปี 1998
ภาพและเสียงที่เราเห็นและได้ยินในหนังเรื่องนี้ เกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่ฟิล์มภาพยนตร์มีต่อน้ำทะเล, ทราย, หิน, ปู, ปลา และสัตว์ใต้น้ำต่างๆ
3.NIGHT MUSIC (1986, STAN BRAKHAGE, A+)
สีสันในหนังเรื่องนี้สวยมากๆ
4.THE STARS ARE BEAUTIFUL (1974, STAN BRAKHAGE, A+)
อยากได้บทบรรยายของหนังเรื่องนี้มากเลย รู้สึกว่าบทบรรยายของหนังเรื่องนี้เก๋ไก๋ดี ที่พูดเปรียบเทียบดวงดาวกับอะไรต่างๆมากมาย แต่จำภาพในหนังเรื่องนี้ไม่ค่อยได้เท่าไหร่
หนังที่สร้างความประทับใจอย่างมากในด้าน “บทบรรยาย” รวมถึง
4.1 HIGH KUKUS (1973, JAMES BROUGHTON, A+)
หนังเรื่องนี้นำเสนอภาพนิ่งๆภาพเดียวตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง โดยเสียงบรรยายเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ “เคลื่อนไหวอย่างเห็นได้ชัด” ในหนังเรื่องนี้ ดิฉันจำไม่ได้แล้วว่าเสียงบรรยายในหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร แต่จำได้ว่ามันให้อารมณ์ที่สุดยอดมากๆ ไม่นึกเลยว่าอะไรที่เรียบง่าย (ด้านการถ่ายทำ) ขนาดนี้จะให้อารมณ์ที่สุดยอดได้ถึงขนาดนี้
http://www.canyoncinema.com/B/Broughton.html
4.2 THE WATER CIRCLE (1975, JAMES BROUGHTON, A+)
หนังของเจมส์ บรอห์ตันเรื่องนี้มีการนำเสนอด้านภาพมากขึ้นหน่อย โดยเป็นภาพน้ำต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ แต่ปรากฏว่าพลังของหนังอาจจะสู้ “ภาพนิ่งๆภาพเดียว” แบบ HIGH KUKUS ไม่ได้
4.3 THIS IS IT (1971, JAMES BROUGHTON, A+)
หนังเรื่องนี้มีภาพเคลื่อนไหว, เนื้อเรื่อง และตัวละครมากกว่าสองเรื่องข้างบน แต่จุดเด่นของเรื่องคือบทบรรยายและท่วงทำนองการอ่านบทบรรยายที่ให้ความรู้สึกที่ดีมากๆๆๆ น่าเสียดายที่ดิฉันไม่มีบทบรรยายเรื่องนี้เก็บไว้ เพราะข้อเสียของการดูหนังที่มี “บทบรรยายดีๆ” อย่างนี้ก็คือว่า ในบางครั้งดิฉันคิดตามบทบรรยายไม่ทัน, จินตนาการตามบทบรรยายไม่ทัน และทำอารมณ์ซาบซึ้งไปกับบทบรรยายได้ไม่ทัน แต่ถึงแม้ว่าจะเก็บเกี่ยวอารมณ์จากบทบรรยายได้เพียงราว 50 % ของหนัง ก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ให้ความรู้สึกที่สุดยอดมากๆแล้ว
อ่านบทวิเคราะห์หนังเรื่อง THIS IS IT ได้ที่
http://people.wcsu.edu/mccarneyh/fva/B/This_Is_It.html
5.WINDOW WATER BABY MOVING (1962, STAN BRAKHAGE, A+)
เป็นหนังที่กล้าหาญดี และมีความเป็น “หนังสารคดีเกี่ยวกับครอบครัวผู้กำกับ” อยู่ในหนังเรื่องนี้ด้วย
เคยดูฉากคลอดลูกใน DR. T AND THE WOMEN (2000, ROBERT ALTMAN, B+) ก็รู้สึกตกใจอยู่เหมือนกัน แต่พอมาได้ดูฉากคลอดลูกในเรื่องนี้แล้ว ถึงได้รู้ว่าบางทีฉากคลอดลูกใน DR. T อาจไม่ใช่อะไรที่น่าตกใจมากนัก
6.DOG STAR MAN (1964, STAN BRAKHAGE, A+)
รู้สึกว่าชื่อหนังเรื่องนี้เป็นที่มาของชื่อวง DOGSTAR ที่มี KEANU REEVES เป็นมือเบส วงนี้เคยออกอัลบัมชื่อ HAPPY ENDING ในปี 2000
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00004U05T/qid=1127443277/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/102-4200249-6708167?v=glance&s=music
แต่ไม่รู้ว่าชื่อหนังเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับอัลบัมชุด DOG MAN STAR (1994) ของ SUEDE หรือเปล่า
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B000002AWR/qid=1127443215/sr=1-1/ref=sr_1_1/102-4200249-6708167?v=glance&s=music
ตอนช่วงต้นๆของหนังเรื่องนี้รู้สึกปรับตัวไม่ทัน เพราะช่วงแรกๆของหนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยการตัดภาพที่รวดเร็วหรือการเคลื่อนกล้องที่ฉวัดเฉวียนมาก รู้สึกเหมือนตัวเองถูกกระหน่ำด้วยพายุเฮอริเคนทางภาพในช่วงต้นๆของหนังเรื่องนี้ โดยเฉพาะช่วง PROLOGUE
แต่ช่วงต่อๆมาของหนังก็เริ่ม “จับต้นชนปลาย” ได้มากขึ้น เพราะช่วงต่อๆมาของหนังจะมีภาพบางภาพที่พอดูรู้เรื่องปรากฏขึ้นซ้ำๆกัน โดยเฉพาะภาพของผู้ชายไต่เขา และภาพเด็กทารก
ช่วงท้ายๆของหนังรู้สึกว่าดูง่ายขึ้นมาก รู้สึกว่าสามารถปรับอารมณ์ของตัวเองให้เข้ากับหนังได้แล้ว แต่ก็ประหลาดใจเหมือนกันพอได้ฟังบทสัมภาษณ์ เพราะรู้สึก BRAKHAGE จะบอกว่าหนังช่วงต้นๆไม่ค่อยมีการ SUPERIMPOSITION เท่าไหร่ แต่ช่วงท้ายๆของหนังมีการ SUPERIMPOSITION หลายชั้นมากๆ ซึ่งถ้าฟังอย่างนี้ก็จะนึกว่าช่วงท้ายของหนังคงดูแล้วงงมากๆ แต่พอได้ดูจริงๆกลับรู้สึกว่าช่วงท้ายของหนังดูราบรื่นกว่าช่วงต้นๆมาก
การดู DOG STAR MAN เป็นเหมือนการได้ก้าวล่วงเข้าสู่มิติแห่งความรื่นรมย์ที่น่าหลงใหลอีกมิตินึง เป็นหนังที่ดูแล้วเพลิดเพลินดี และการที่หนังมีขนาดยาว ก็เลยทำให้รู้สึกเหมือนได้ก้าวเข้าไปดูดดื่มกับความรู้สึกในหนังได้อย่างเต็มที่
ประเด็นเรื่องมนุษย์กับธรรมชาติในหนังเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง QUICK BILLY (1971, BRUCE BAILLIE, A+) ที่มีการแบ่งหนังเป็นช่วงๆเหมือนกัน แต่รู้สึกว่า QUICK BILLY น่าจะดูง่ายกว่ามาก
อ่านบทสัมภาษณ์ BRUCE BAILLIE เกี่ยวกับ QUICK BILLY ได้ที่
http://www.roberthaller.com/firstlight/baillie.html
ดูหนังเรื่อง DOG STAR MAN แล้วก็ทำให้อยากอ่านหนังสือเรื่อง WALDEN, OR LIFE IN THE WOODS ของ HENRY DAVID THOREAU ด้วย เพราะหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ชายที่ใช้ชีวิตในป่า และรู้สึกว่าหนังสือเรื่องนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยนานแล้ว
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/0486284956/qid=1127444506/sr=8-1/ref=pd_bbs_1/102-4200249-6708167?v=glance&s=books&n=507846
ในบทสัมภาษณ์ของ BRAKHAGE เขาบอกว่าเขาใส่ตำนานหลายๆตำนานเข้าไปใน DOG STAR MAN แต่ขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันไม่รู้เลยแม้แต่นิดเดียวว่ามีตำนานอะไรบ้างสอดแทรกเข้าไปในหนัง คงต้องให้คนอื่นๆมาช่วยอธิบายเรื่องนี้ แต่ถึงแม้ไม่รู้จักตำนานในหนังเรื่องนี้ หนังเรื่องนี้ก็ดูเพลินอยู่ดี
ถ้าเข้าใจไม่ผิด BRAKHAGE ท่าทางจะชอบ EZRA POUND เป็นอย่างมาก EZRA POUND เป็นกวีที่มีบทบาทสำคัญมากในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม IMAGISM และมีส่วนช่วยเหลือ T.S. ELIOT + JAMES JOYCE อย่างไรก็ดี POUND เป็นพวกฟาสซิสต์ และเข้าโรงพยาบาลบ้าเป็นเวลานานถึง 12 ปี
ผลงานสำคัญของ POUND คือหนังสือชื่อ CANTOS รู้สึกว่า BRAKHAGE จะโชว์หนังสือเล่มนี้ให้ผู้ชมดูในระหว่างการให้สัมภาษณ์ด้วย
อ่านประวัติของ EZRA POUND (1885-1972) ได้ที่
http://www.kirjasto.sci.fi/epound.htm
Pound's short "one-image poem" 'In a Station of the Metro' is among the most celebrated Imagist works:
"The apparition of these faces in the crowd;
Petals on a wet, black bough."
STAN BRAKHAGE ได้รับอิทธิพลจาก JACKSON POLLOCK ซึ่งเป็นจิตรกรชื่อดังด้วย แต่ดิฉันยังไม่ได้ดูหนังเรื่อง POLLOCK เลยค่ะ
http://mcclure-manzarek.com/brakhage.html
ในห้องสมุดมหาลัยธรรมศาสตร์ มีหนังสือเกี่ยวกับ VALIE EXPORT ผู้กำกับหญิงชื่อดังชาวออสเตรีย ดิฉันเคยลองเปิดอ่านคำนำหนังสือเล่มนี้ เห็นมีพูดถึง JACKSON POLLOCK ด้วยเหมือนกัน ก็เลยรู้สึกประหลาดใจมากที่จิตรกรคนนี้ท่าทางจะมีอิทธิพลต่อแนวทางในการสร้างภาพยนตร์มากพอสมควร
จากการได้ดูหนังของ BRAKHAGE มา 6 เรื่อง ดิฉันก็รู้สึกชอบเขามาก หนังของเขาบางเรื่องใช้วิธีการที่แปลก แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาคือความงดงาม และหนังของเขาก็อาจจะมีลักษณะเฉพาะตัว มีแนวทางบางอย่างเป็นของตัวเอง อย่างไรก็ดี จาก 6 เรื่องที่ได้ดูมานี้ ทำให้รู้สึกว่าแนวทางหนังของแบรคเคจ อาจจะไม่ใช่แนวทางหนังที่ดิฉันชอบอย่างสุดๆ เพราะหนังของเขาตัดภาพเร็วเกินไป ดิฉันมีแนวโน้มที่จะชอบหนังช้าๆนิ่งๆหลอนๆมากกว่า
ถ้าหากพูดถึงผู้กำกับหนังแนวประหลาดๆแล้ว แบรคเคจก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นผู้กำกับที่ดิฉันชอบมาก แต่ก็ยังมีผู้กำกับหนังแนวประหลาดๆ (หรือหนังแนวไม่ค่อยจะเล่าเรื่อง) อีกมากมายหลายคนที่ทำหนังเข้าทางดิฉันมากกว่าแบรคเคจ อย่างเช่น
1.MARGUERITE DURAS
2.SASITHORN ARIYAVICHA
3.APICHATPONG WEERASETHAKUL
4.ทศพล บุญสินสุข
5.อุรุพงศ์ รักษาสัตย์
6.MATTHIAS MULLER
7.BRUCE BAILLIE
8.BRUCE CONNER
9.JAMES BROUGHTON
10.MAYA DEREN
--ดีใจที่ได้ดูสารคดีเกี่ยวกับ ABSTRACT CINEMA ที่ห้องสมุดมหาลัยธรรมศาสตร์ด้วย รู้สึกว่าในสารคดีนี้ คำว่า ABSTRACT CINEMA ที่เขาใช้ จะเป็นการใช้คำอย่างมีความหมายแคบมาก เพราะหนังในกลุ่มนี้จะไม่มีเนื้อเรื่องอะไรอยู่เลย เรียกได้ว่าเป็นซับเซทที่ย่อยมากๆของหนังแนวประหลาดๆอีกทีนึง หนังของแบรคเคจหลายๆเรื่องก็ไม่ได้จัดอยู่ในซับเซทนี้
หนังในกลุ่มนี้อาจจะรวมถึงหนังของ LEN LYE (1901-1980) อ่านประวัติของเขาได้ที่
http://mcclure-manzarek.com/brakhage.html
He pioneered 'direct film', film made without a camera by painting and scratching images directly onto celluloid.
อย่างไรก็ดี ดิฉันไม่ได้สนใจแม้แต่นิดเดียวว่าคำจำกัดความของ ABSTRACT CINEMA คืออะไร และอะไรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งว่าหนังเรื่องใดอยู่ในกลุ่มนี้หรือไม่ เพราะความรู้ดังกล่าวคงไม่ได้ทำให้ความสุขในการดูหนังของดิฉันเพิ่มขึ้นเลยแม้แต่น้อย ขอเพียงหนังเรื่องนั้นทำให้ดิฉันมีความสุข นั่นก็พอแล้ว มันจะเป็นหนังกลุ่มใดก็ไม่สำคัญเลยแม้แต่นิดเดียว
--ในสารคดีเกี่ยวกับ ABSTRACT CINEMA มีการตัดภาพจากหนังเรื่อง THE CENTRAL REGION (1970, MICHAEL SNOW) มาให้ดูด้วย รู้สึกว่าการเคลื่อนกล้องในหนังเรื่องนี้จะพิสดารมาก หนังเรื่องนี้มีการเคลื่อนกล้องหมุนวนเป็นวงกลมในบางช่วง และนักวิจารณ์บอกว่าการเคลื่อนกล้องในหนังเรื่องนี้เป็นการทำลายกฎแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก และเป็นการลบเลือนเส้นขอบฟ้าและทำให้เส้นขอบฟ้าถูกหลงลืม
นักวิจารณ์บอกว่าไมเคิล สโนว์ใช้อุปกรณ์กล้องที่ทำขึ้นเป็นพิเศษในการถ่ายทำหนังเรื่องนี้ โดยกล้องนี้สามารถเคลื่อนได้ในทุกทิศทาง ทั้งในทางขนานกับพื้นโลก, ตั้งดิ่งจากพื้นโลก, เคลื่อนไปข้างๆ หรือหมุนควงเป็นวงกลม หนังเรื่องนี้เป็นการเคลื่อนผ่านพื้นที่ว่างอย่างต่อเนื่อง โดยสโนว์ถ่ายทำหนังเรื่องนี้ในแคว้นควีเบคของแคนาดาในพื้นที่ที่ไม่มีร่องรอยว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ ผู้ชมจะเห็นแต่เพียงพื้นที่ราบที่แทบไม่มีต้นไม้ แต่มีภูเขาล้อมรอบ
นักวิจารณ์บอกว่าในหนังเรื่องนี้ ไมเคิล สโนว์พาผู้ชมเข้าไปอยู่กลางโลกที่ไร้คำพูด โลกที่ไม่มี “การประกอบกันขึ้นเป็นความหมาย” โลกที่ไม่มีแม้แต่ “subject” ไมเคิล สโนว์ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ชมต้องทบทวนความหมายของ “ภาพยนตร์” ใหม่เท่านั้น แต่ทำให้ผู้ชมต้องทบทวนความหมายของคำว่า “จักรวาล” ใหม่ด้วย
การถ่ายภาพใน THE CENTRAL REGION ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง THE LAST SKY PASSENGER (2004, ทศพล บุญสินสุข, A) ด้วยเหมือนกัน หนังสองเรื่องนี้น่าจะเหมาะฉายควบกัน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ THE CENTRAL REGION ซึ่งมีความยาว 3 ชั่วโมงได้ที่
http://www.medienkunstnetz.de/works/region-central/
http://www.canyoncinema.com/S/Snow.html
--ถ้าหากคุณ homogenic ชอบหนังแนวนี้ ก็อยากลองแนะนำให้คอยติดตามข่าวงานแสดงศิลปะตามแกลเลอรีต่างๆในกรุงเทพค่ะ เพราะหนังแนวนี้จะมีความใกล้เคียงกับงาน VIDEO ART ที่ชอบมาเปิดฉายตามแกลเลอรีในกรุงเทพ โดยวิดีโอเหล่านี้มักจะมาเปิดฉายพร้อมกับงานจิตรกรรม และงาน INSTALLATION ART ที่พูดถึงประเด็นเดียวกัน
ดิฉันเองเป็นโรคขี้เกียจอย่างรุนแรงสุดๆค่ะ ก็เลยแทบไม่เคยไปดูวิดีโอประเภทนี้เลย รู้สึกเสียดายอยู่เหมือนกัน เพราะงานเหล่านี้คงหาดูได้ยากมากๆ
ช่วงเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ก็มีงานวิดีโออาร์ทมาเปิดฉายในแกลเลอรี่บางแห่งโดยเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลฝรั่งเศส เห็นบางคนบอกว่างานที่สุดยอดมากๆ คือวิดีโอชุด EST UNE BONNE NOUVELLE ที่มาฉายที่บ้านศิลปะรชฏ รู้สึกว่าจะเป็นวิดีโอที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางอารมณ์อย่างรุนแรงจนสุดขีดคลั่ง
และเมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ก็รู้สึกว่าจะมีนิทรรศการ BANGKOK-BARCELONA จัดที่ ABOUT CAF E ดิฉันไม่ได้ไปดูเหมือนกัน ถ้าเข้าใจไม่ผิด งานศิลปะในนิทรรศการนี้มีการใช้สื่อวิดีโอมาผสมด้วย
Friday, September 23, 2005
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment