เคยเป็นอยู่หลายครั้งเหมือนกันค่ะที่รู้ว่าตัวเองกำลังอยู่ในความฝัน
1.กรณีที่พบบ่อยในช่วงระยะหลายปีมานี้ ก็คือรู้สึกตัวว่าตัวเองกำลังอยู่ในความฝัน และพบว่าตัวเองกำลังอยู่ในห้องอพาร์ทเมนท์ของตัวเอง พบว่าอพาร์ทเมนท์ของตัวเองในความฝันมีสภาพเหมือนของจริงมาก ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากของจริงเลย แต่ตัวเองสามารถเหาะขึ้นๆลงๆในห้องได้ตามใจชอบ อย่างไรก็ดี พอตัวเองพยายามจะเหาะออกนอกห้อง ไม่ว่าจะเหาะทะลุออกไปทางประตูห้อง หรือเหาะออกไปทางระเบียง ก็มักจะพบว่าพอเหาะออกจากห้องไปได้ไม่ไกลนัก ก็จะตื่นขึ้นมาทุกที ไม่สามารถเหาะไปไหนได้ไกลๆตามที่ใจตัวเองต้องการ เหาะได้ในรัศมีประมาณไม่เกิน 100 เมตรรอบห้องของตัวเองเท่านั้น
2.บางครั้งก็รู้ตัวว่าตัวเองกำลังอยู่ในความฝัน และอยู่ในสถานการณ์ประเภทหนีศัตรูหรือหนีอะไรบางอย่างอยู่ การรู้ตัวนี้มักจะเกิดขึ้นเพราะสังเกตเห็นว่าอะไรหลายๆอย่างมันไม่ตรงกับความเป็นจริง พบว่าอะไรหลายๆอย่างในโลกความฝันมันบิดเบี้ยวผิดไปจากที่เราจดจำได้ พอเราสังเกตเห็นความผิดปกติปุ๊บ เราก็รู้ตัวทันทีว่าเรากำลังอยู่ในความฝัน ชอบความฝันแบบนี้มาก เพราะพอรู้ตัวทีไรว่าตัวเองกำลังอยู่ในความฝันประเภทนี้ ก็จะเหาะหนีศัตรูไปเลย แทนที่จะวิ่งหนีกระเซอะกระเซิงหลบๆซ่อนๆเหมือนช่วงก่อนที่จะรู้ตัว และก็มักจะพยายามเสกผู้ชายหล่อๆขึ้นมาในความฝัน แต่ก็ทำอะไรได้ไม่มากนัก เพราะพอรู้สึกตัวว่าตัวเองกำลังอยู่ในความฝันได้ประมาณ 15-30 วินาที ก็จะตื่นขึ้นมาทุกที
3.กรณีนี้เกิดขึ้นไม่บ่อย อาจจะประมาณปีละ 2-3 ครั้ง ก็คือรู้สึกตัวว่าตัวเองกำลังอยู่ในความฝัน และอยู่ในสถานการณ์คับขัน ประเภทรถเมล์กำลังจะวิ่งมาชน, ฆาตกรกำลังจะฆ่าเรา หรือรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างที่น่ากลัวมากๆกำลังคุกคามเรา อันนี้พอรู้สึกตัวว่าตัวเองอยู่ในความฝัน ก็จะพยายามบังคับให้ตัวเองตื่นนอนขึ้นมาเลย เพื่อจะได้หลุดออกจากสภาพน่ากลัวนั้น และก็พบว่าตัวเองตื่นนอนขึ้นมาจริงๆ หลุดออกจากสภาพน่ากลัวมาได้ แต่อยู่ไปได้ไม่นาน ก็เจออะไรเพี้ยนๆประหลาดๆอีก ก็เลยรู้ว่าจริงๆแล้วตัวเองยังไม่ได้ตื่นนอนขึ้นมาจริงๆ ตัวเองกำลังฝันซ้อนฝันอยู่ ตัวเองเพียงแค่ “ฝันไปว่าตัวเองตื่นนอนขึ้นมาแล้ว”เท่านั้น ก็เลยต้องพยายามตั้งสติรวบรวมจิตใจทำให้ตัวเองตื่นนอนขึ้นมาอีกรอบ และก็ตื่นนอนขึ้นมาได้ในที่สุด
http://hairballoracle.com/images/goya-sleep-of-reason.jpg
ตอบน้อง merveillesxx (ต่อจากกระทู้ 21513)
เนื่องจากกระทู้เดิมตอบมาถึงความเห็นที่ 41 แล้ว ก็เลยขอถือโอกาสมาตั้งเป็นกระทู้ใหม่เลยแล้วกัน จะได้ไม่ต้องใช้เวลาโหลดนาน และจะได้ไม่หวาดเสียวว่าจะถูก reset ใหม่เวลาเข้าใกล้เลข 50
ภาค 1
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=19170
ภาค 2
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=19753
ภาค 3
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=20489
ภาค 4
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=21057
ภาค 5
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=21513
--เห็น FILM COMMENT เล่มใหม่ออกแล้วที่ร้านคิโนะคุนิยะ สาขาเอ็มโพเรียม
ดูรายละเอียดของเล่มใหม่ได้ที่
http://www.filmlinc.com/fcm/fcm.htm
--เห็นบทภาพยนตร์เรื่อง YES ของ SALLY POTTER มีขายด้วย แต่รู้สึกว่าราคาเล่มละประมาณ 779 บาท
ตอบน้อง merveillesxx
ขออวยพรวันเกิดให้น้อง merveillesxx นะคะ ขออวยพรให้น้อง merveillesxx พ้นจากสภาพความเป็น virgin โดยเร็วที่สุดค่ะ โฮะ โฮะ โฮะ โฮะ โฮะ
WAY OF BLUE SKY
--ฉากประทัด+ดอกไม้ไฟที่จำติดตาในภาพยนตร์ ก็รวมถึงฉากที่ค่อนข้างโหดร้ายใน MYSTERIOUS SKIN และฉากที่น่าประทับใจในหนังสั้นออสเตรเลียเรื่อง CRACKER BAG (2003, GLENDYN IVIN, A) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กหญิงอายุประมาณ 12-13 ปีที่พยายามเก็บตังค์ไปซื้อดอกไม้ไฟ
--แหะ แหะ ชอบฉากสุดท้ายบนดาดฟ้าค่ะ (แต่ก็ไม่ได้ชอบสุดๆ) รู้สึกว่ามันไม่สมจริง แต่ก็ชอบที่ทุกคนรักกัน แทนที่จะตบตีกัน รู้สึกชอบฉากนี้มากกว่าฉากดาดฟ้าใน “เกิร์ลเฟรนด์ 14 ใสกำลังเหมาะ” (A-)
--รู้สึกว่าฉากการร่ำลาบนดาดฟ้าใน “เกิร์ลเฟรนด์ 14 ใสกำลังเหมาะ” ให้อารมณ์มากไปนิดนึง แต่หนังเรื่องอื่นๆที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเพื่อนก็มักจะประสบปัญหาแบบเดียวกัน มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ดิฉันรู้สึกว่าฉากการร่ำลาให้อารมณ์ค่อนข้างเว่อ นั่นก็คือ BOUCE KO-GALS (1999, MASATO HARADA, A-) รู้สึกว่าอารมณ์ในช่วงอื่นๆของเรื่องออกมาใช้ได้ดีมาก แต่ช่วงท้ายของเรื่องเมื่อตัวละครร่ำลากัน อารมณ์มันดูจงใจให้ซึ้งมากเกินไป
--แต่บางทีดิฉันก็ชอบฉากการร่ำลาที่จงใจให้ซึ้งเหมือนกัน อย่างเช่นฉากตอนจบใน DEAD POETS SOCIETY (A+)
ส่วนใน MONA LISA SMILE (B+) นั้น รู้สึกว่าฉากการร่ำลาในช่วงท้ายไม่ซึ้งมาก แต่นั่นก็อาจจะเป็นการดีแล้ว เพราะดิฉันเดาว่าผู้กำกับคงรู้ตัวดีอยู่แล้วว่าหนังเรื่องนี้ต้องถูกเปรียบเทียบกับ DEAD POETS SOCIETY อย่างแน่นอน และคงจะเป็นเรื่องที่ยากมากๆที่จะทำฉากจบให้ซึ้งทัดเทียมกับ DEAD POETS SOCIETY ได้ เพราะฉะนั้น เพื่อความปลอดภัย ก็ไม่ต้องพยายามทำฉากจบให้ซึ้งมากก็แล้วกัน เพราะทำไปก็ยากที่จะสำเร็จ แค่ทำฉากจบให้ดูซึ้งๆเล็กน้อยพอเป็นพิธีให้มันจบๆไปน่าจะปลอดภัยกว่า (ดิฉันเดาเอาเองค่ะ ไม่รู้เหมือนกันว่าผู้กำกับเขาคิดอย่างนี้หรือเปล่า)
--สำหรับปัญหาของทากาฮาชิกับชินจินั้น ดิฉันก็เดาไม่ออกเหมือนกันค่ะว่าเกิดอะไรขึ้น แต่พอพูดถึงปัญหานักเรียนชายทะเลาะกันในโรงเรียนไฮสกูล ดิฉันก็มักจะนึกถึงหนังเรื่อง YOUR FRIENDS & NEIGHBORS (1998, NEIL LABUTE, A) ค่ะ http://www.imagesjournal.com/issue06/reviews/friends.htm
ในหนังเรื่อง YOUR FRIENDS & NEIGHBORS เจสัน แพทริค รับบทเป็นชายหนุ่มที่เคยรุมโทรมเพื่อนผู้ชายในโรงเรียนไฮสกูลค่ะ เขากับเพื่อนๆผู้ชายกลุ่มนึงไม่ชอบหน้าเพื่อนผู้ชายอีกคนด้วยสาเหตุอะไรบางอย่าง เขากับเพื่อนๆผู้ชายกลุ่มนั้นก็เลยเรียงคิวข่มขืนเพื่อนผู้ชายคนนั้น และนั่นก็เป็นประสบการณ์ทางเพศที่สร้างความประทับใจให้เขามาก เพราะเขาต่อคิวเป็นคนท้ายๆ และเมื่อถึงตาของเขา เพื่อนผู้ชายที่ตกเป็นเหยื่อ ก็….(ไม่บอก ให้ไปดูกันเอาเอง)
http://www.epenthesis.org/archives/jason_patric_001.jpg
อย่างไรก็ดี กรณีนี้คงไม่เกี่ยวข้องกับ WAY OF BLUE SKY แต่อย่างใด โฮะ โฮะ โฮะ
--พูดถึงหนังเรื่อง LIKE GRAINS OF SAND (1995, RYUSUKE HASHIGUCHI, A-/B+) แล้ว ก็เลยนึกถึงหนังที่อยากดูมากๆที่มีชื่อเรื่องคล้ายๆกันค่ะ นั่นก็คือหนังสารคดีเรื่อง EVERYONE THEIR GRAIN OF SAND ที่กำกับโดย BETH BIRD
EVERYONE THEIR GRAIN OF SAND มีเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนชาวบ้านยากจนแห่งหนึ่งในเม็กซิโกที่มีชื่อว่าชุมชน MACLOVIO ROJAS พวกเขาต่อสู้เพื่อรักษาที่ดินของตัวเองมาเป็นเวลานาน 15 ปีแล้ว พวกเขาอยู่ในบริเวณปริมณฑลของเมือง TIJUANA ซึ่งอยู่ใกล้กับพรมแดนสหรัฐ
รัฐบาลรัฐนั้นของเม็กซิโกพยายามขับไล่ชาวบ้านกลุ่มนี้ออกไป เพื่อจะได้เอาที่ดินของพวกเขามาให้บริษัทเอกชนเอาไปทำประโยชน์ และในเดือนธ.ค.ปี 2002 รัฐบาลก็ได้จับกุมตัวผู้นำชุมชนคนหนึ่ง และพยายามจะจับคนอื่นๆอีก ดังนั้นคนในชุมชนนี้ก็เลยต้องหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่จนถึงปัจจุบันนี้
ชาวบ้านกลุ่มนี้ต้องต่อสู้กับหน่วยงานราชการในเรื่องน้ำประปา, ไฟฟ้า และการศึกษาด้วย
อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์กล่าวว่า จุดที่ดีที่สุดใน EVERYONE THEIR GRAIN OF SAND คือการถ่ายทอดชีวิตประจำวันและความเป็นมนุษย์ของชาวบ้านกลุ่มนี้ มากกว่าจะเป็นการโจมตีกระแสโลกาภิวัฒน์อย่างตรงไปตรงมา โดยฉากที่น่าประทับใจที่สุดในเรื่องนี้คือฉากงานสำเร็จการศึกษา, ฉากการฉลองวันหยุด, ฉากที่คนบางคนยิ้ม หรือฉากที่คนบางคนแสดงความรู้สึกโกรธแค้นต่อความอยุติธรรมที่พวกเขาได้รับ
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EVERYONE THEIR GRAIN OF SAND ได้ที่
http://www.freewaves.org/artists/b_bird/
http://www.filmmakermagazine.com/archives/online_features/laff2005.php
อ่านคำวิจารณ์ EVERYONE THEIR GRAIN OF SAND แล้วก็นึกถึงหนังอีกเรื่องนึงค่ะ นั่นก็คือเรื่อง AFTERSHOCKS (2002, RAKESH SHARMA, A+) เพราะว่าหนังสารคดีสองเรื่องนี้นำเสนอปัญหาชาวบ้านผู้ยากจนถูกไล่ที่หรือถูกโกงที่ดินทำกินเหมือนกัน
ดิฉันได้ดู AFTERSHOCKS ที่สยามดิสคัฟเวอรีในเดือนต.ค.ปี 2002 ค่ะ ได้ดูโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะหนังเรื่องนี้ฉายในเทศกาลของคุณ BRIAN BENNETT ซึ่งไม่ค่อยมีหนังให้เลือกมากนัก ดิฉันไม่ใช่คนที่รู้สึกสนใจจะชม “หนังสารคดีเกี่ยวกับอินเดีย” แต่เนื่องจากไม่มีหนังเรื่องอื่นๆให้เลือก ก็เลยตัดสินใจซื้อตั๋วดูหนังสารคดีอินเดียเรื่องนี้เพื่อฆ่าเวลาขณะรอดูหนังเรื่องอื่นๆ
ปรากฏว่าพอดู AFTERSHOCKS จบ ดิฉันต้องขังตัวเองในห้องน้ำสยามดิสคัฟเวอรีเพื่อร้องไห้ประมาณครึ่งชั่วโมงค่ะ หนังเรื่องนี้โดนใจดิฉันอย่างรุนแรงมาก และเป็นหนึ่งในสิบหนังที่ชอบที่สุดในปี 2002
AFTERSHOCKS มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่ประสบภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในอินเดีย พวกเขาสูญเสียบ้านเรือนและทรัพย์สมบัติไปเกือบหมดแล้วในเหตุการณ์แผ่นดินไหว แต่พวกเขาก็ยังมีที่ดินเหลืออยู่เพื่อให้ตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ อย่างไรก็ดี บริษัทเอกชนผู้ละโมบโลภมากและเจ้าหน้าที่รัฐบาลที่ละโมบโลภมาก ได้ถือโอกาสนี้ร่วมกันหาทางขับไล่ชาวบ้านกลุ่มนี้ออกไป เพื่อจะได้ยึดที่ดินของชาวบ้านมาเป็นสมบัติของตัวเอง
AFTERSHOCKS นำเสนอความทุกข์ทรมานของชาวบ้านได้อย่างดีมาก แต่สิ่งที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ เป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้ไม่ได้พยายามจะ “ส่งสาร” อย่างตรงไปตรงมาในทุกๆฉาก มีอยู่บางฉากที่ฝังใจดิฉันมากๆ อย่างเช่นฉาก “เด็กๆกวาดลานบ้าน” ซึ่งดิฉันรู้สึกว่ามันไม่ได้ส่งสารอะไร มันไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับธีมของภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ฉากเหล่านี้กลับทำให้รู้สึกว่าตัวเองได้เข้าไปสัมผัสกับความร้อน, พื้นดิน, ฝุ่นผง, ไอแดด; ทำให้รู้สึกผูกพันกับชาวบ้านกลุ่มนี้, ทำให้รู้สึกว่าชาวบ้านเหล่านี้เป็นมนุษย์ธรรมดา และความรู้สึกสงสารเห็นใจชะตากรรมของชาวบ้านกลุ่มนี้จึงเกิดตามมาโดยไม่รู้สึกว่าถูกยัดเยียดมากเกินไป
สรุปว่าการใส่ฉากเหล่านี้เข้ามา ทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่า ผู้กำกับ AFTERSHOCKS ไม่ได้ชี้นิ้วมาที่คนดู และบอกคนดูว่า “แกต้องสงสารชาวบ้าน” ในทุกๆฉาก เขาปล่อยให้คนดูได้ดูชีวิตประจำวันของชาวบ้านเหล่านี้ และปล่อยให้ความสงสารเกิดขึ้นในใจของคนดูเอง
รู้สึกว่าเหตุการณ์แบบที่เกิดขึ้นใน EVERYONE THEIR GRAIN OF SAND + AFTERSHOCKS ก็เกิดขึ้นในประเทศไทยเหมือนกัน แต่ดิฉันยังไม่ค่อยได้มีโอกาสดูหนังแบบนี้มากนัก หนังสารคดีไทยที่นำเสนอชีวิตชาวบ้านที่ประสบปัญหาได้อย่างดีมากๆ ก็รวมถึง BEHIDE THE WALL (อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา, A+) และ VIOLET BASIL (ศุภโมกข์ ศิลารักษ์, A+)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AFTERSHOCKS ได้ที่
http://www.rakeshfilm.com/aftershocks.htm
--เคยดูแต่ FINAL FANTASY: THE SPIRITS WITHIN (2001, HIRONOBU SAKAGUCHI + MOTO SAKAKIBARA, B) ซึ่งก็รู้สึกว่าเป็นหนังการ์ตูนที่ใช้ได้ และพระเอกหล่อมากๆ (ถึงจะเป็นแค่ตัวการ์ตูนก็เถอะ)
http://www.utusan.com.my/utusan/SpecialCoverage/finalfantasy/images/gray_edwards.jpg
http://www.k-ff.com/Finalftsw/Grafika/capitangrayedwards2.jpg
--ชอบเพลงของ TETSUYA KOMURO มากค่ะ รู้สึกว่าเมื่อราว 10-15 ปีก่อน เขาถนัดทำเพลงแดนซ์เพราะๆจังหวะเร็วๆให้นักร้องหลายคน ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่าเขาเป็น C+C MUSIC FACTORY ของฝั่งญี่ปุ่น
--TAKUYA NAKAYAMA หน้าตาดี แต่ตัวละครที่เขาเล่นใน WAY OF BLUE SKY ดูยังไงก็ไม่รู้ ไม่ใช่ผู้ชายแบบที่ชอบ (หมายถึงตัวละครนะ ไม่ใช่นักแสดง)
--RYO HASHIDUME ดูไม่หล่อ แต่มีบุคลิกโดดเด่นดี เห็นแล้วนึกถึงนักแสดงประเภท ITTOKU KISHIBE พระเอกหนังเรื่อง THE STING OF DEATH (1990, KOHEI OGURI, A+) ที่ตาของเขาดูเหมือนคนตาปรือ นักแสดงแบบนี้อาจจะไม่ได้เล่นเป็นพระเอกบ่อยนัก แต่ก็อาจได้โชว์ความสามารถในหนังคุณภาพหลายเรื่อง
รูปของ ITTOKU KISHIBE
http://videogirlai.free.fr/images/film/ittoku%20kishibe02.jpg
--ประทับใจคอร์สเรียนของรศ.ดร. merveillesxx มากๆเลยค่ะ ฮามากๆๆๆๆ
--อ่านที่น้อง merveillesxx เขียนว่าจะลักพาตัว AYUMI HAMASAKI แล้วทำให้นึกถึงหนังสั้นเรื่อง “ราโจมอน” (2005, อุดมคลัง วัฒนาพรรณิกร, A+) ค่ะ เพราะหนังสั้นเรื่องนี้มีสภาพคล้ายหนังล้อเลียนสารคดี โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของชายหนุ่มไทยคนหนึ่งที่เป็นลูกของ AKINA NAKAMORI !?!?! และที่หลังบ้านของเขา ก็ชอบมีสาวๆสวยๆมาร่ายรำ โดยในบางครั้งก็ร่ายรำไปตามจังหวะเพลงของ AKINA NAKAMORI ดูหนังเรื่องนี้จบแล้วก็งงมากๆว่าตกลงประเด็นของหนังเรื่องนี้คืออะไร หนังเรื่องนี้สร้างขึ้นเพื่ออะไร อะไรจริง อะไรแต่ง อะไรฝัน ส่วนไหนเป็นสารคดี ส่วนไหนเป็นเรื่องแต่ง ส่วนไหนเป็น FOUND FOOTAGE แต่ความไม่เข้าใจหนังเรื่องนี้ไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับดิฉันแต่อย่างใด เพราะหนังเรื่องนี้ดูเพลินดี, ฮาดี และตอ-แหลดีมาก ก็เลยให้ A+ ไปเลย
--พูดถึงหนังเกี่ยวกับสาวๆญี่ปุ่น นอกจากเรื่อง LINDA LINDA LINDA แล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่อยากดูมากก็คือ JAPANESE GIRLS AT THE HARBOR (1933, HIROSHI SHIMIZU)
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ JAPANESE GIRLS AT THE HARBOR ได้ที่
http://www.midnighteye.com/features/hiroshi_shimizu.shtml
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ HIROSHI SHIMIZU ได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/04/32/hiroshi_shimizu.html
รู้สึกว่าจะมีผู้กำกับชื่อ HIROSHI SHIMIZU มากกว่าหนึ่งคน คนหนึ่งอยู่ในรุ่นเดียวกับ YASUJIRO OZU ส่วนอีกคนเป็นศิษย์เอกของ TAKESHI KITANO โดยคนที่สองได้กำกับหนังเรื่อง IKINAI และ CHICKEN HEART
อ่านบทสัมภาษณ์ HIROSHI SHIMIZU คนที่สองได้ที่
http://www.filmfestivals.com/cgi-bin/fest_content/festivals.pl?debug=&channelbar=&fest=karlovy_v&page=read&partner=&year=2002&lang=en&text_id=22913
--พูดถึง THE HOURS ก็เลยนึกถึง VIRGINIA WOOLF และพอพูดถึง VIRGINIA WOOLF ก็เลยนึกถึงหนังสือใหม่ชื่อ THE BODY NEVER LIES: THE LINGERING EFFECTS OF CRUEL PARENTING ของ ALICE MILLER ค่ะ
http://www.amazon.co.uk/exec/obidos/ASIN/0393060659/qid=1127581475/sr=2-1/ref=sr_2_11_1/026-0856559-8466820
http://images-eu.amazon.com/images/P/0393060659.02.LZZZZZZZ.jpg
THE BODY NEVER LIES เป็นหนังสือสารคดีเชิงจิตวิทยา ที่มีเนื้อหาบางส่วนเป็นการสำรวประวัติชีวิตนักเขียนชื่อดังอย่าง Marcel Proust, Virginia Woolf, Friedrich Nietzsche และแสดงให้เห็นว่าความทุกข์ทรมานทางอารมณ์ในวัยเด็กและความโกรธแค้นที่เก็บซ่อนเอาไว้ สามารถแสดงตัวออกมาในภายหลังเมื่อเด็กคนนั้นเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ โดยจะปรากฏออกมาในรูปของปัญหาด้านสุขภาพ
THE BODY NEVER LIES พูดถึงผลเสียหายอย่างเลวร้ายจากความเชื่อบางความเชื่อทางศาสนาที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ THE BODY NEVER LIES: THE LINGERING EFFECTS OF CRUEL PARENTING สามารถอ่านได้ที่
http://www.naturalchild.com/alice_miller/booklist.html
ALICE MILLER เขียนหนังสือมากมายหลายเล่มเกี่ยวกับพ่อแม่ที่ชอบทรมานลูกๆของตัวเอง อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือของเธอได้ที่ลิงค์ข้างบนค่ะ
--เคยเก็บตั๋วหนังเหมือนกันช่วงที่ดูหนังครั้งแรกๆ (ประมาณปี 1987) แต่เก็บไปได้ประมาณ 2-3 ปีก็โยนทิ้ง เพราะขี้เกียจเก็บ
สรุปหนังที่ได้ดูในวันนี้
1.RICE RHAPSODY หรือ “อร่อยรัก ข้าวมันเกย์” (ชอบชื่อที่น้อง merveillesxx ตั้งให้มากค่ะ) (KENNETH BI, A+)
2.WAY OF BLUE SKY (MASAHIKO NAGASAWA, A)
3.TRANSPORTER 2 (B-)
4.คนระลึกชาติ (C+)
เว็บไซท์ของ RICE RHAPSODY
http://www.kenbiroli.com/HCR-HOME.html
RICE RHAPSODY เป็นหนังที่ถูกใจผิดคาด หลังจากที่ผิดหวังกับหนังอย่าง FORMULA 17 (B) ตอนแรกๆรู้สึกกลัวเหมือนกันว่าหนังเรื่องนี้จะออกมาอย่าง FORMULA 17 เพราะว่าตัวละครที่ปรากฏออกมาใน RICE RHAPSODY ในช่วงแรกๆ ดูเป็นตัวละครที่ STEREOTYPE มาก
แต่พอเนื้อเรื่องดำเนินไปเรื่อยๆ ความน่ารักของตัวละคร และการที่หนังรู้จักรักษาสมดุลทางอารมณ์ ไม่ให้ “ซึ้ง” จนเกินเหตุ (แต่ก็เกือบๆจะเกินเหตุ) ก็เลยทำให้ชอบหนังเรื่องนี้มาก หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่จงใจออกแบบมาให้ซึ้ง หลายฉากทำให้รู้สึกได้ว่ามันผ่านการคิดคำนวณมาเป็นอย่างดีว่าต้องการสร้างความซาบซึ้ง ซึ่งถ้าเป็นในหนังเรื่องอื่นๆ การจงใจมากเกินไปก็อาจทำให้ผู้ชมบางคนที่ไม่ชอบอารมณ์แบบนั้นรู้สึก “หยึยๆ จั๊กกะดึ่ย” ได้ (แบบที่ดิฉันรู้สึกกับตอนจบของ CHARLIE AND THE CHOCOLATE FACTORY) แต่ในกรณีของ RICE RHAPSODY นั้น ดิฉันรู้สึกว่าหนัง “จงใจซึ้ง” ก็จริง แต่ก็รู้สึกยินยอมให้หนังบังคับอารมณ์ของตัวเองไปในทางที่หนังและตัวเองต้องการ
ขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ ก็รู้สึกว่าหนังมันหมิ่นเหม่จะได้เกรด C+ จากดิฉันได้เหมือนกัน เพราะไม่แน่ใจว่าหนังมันจะฝืนอารมณ์ดิฉันให้ไปในทิศทางที่ไม่ต้องการหรือเปล่า เพราะแนวหนังเรื่องนี้มันเอื้ออำนวยอย่างมากให้ฝืนอารมณ์ไปในทิศทางซึ้งๆแบบที่ดิฉันไม่ชอบ แต่เมื่อดูจบ หนังก็ไม่ได้ทำเช่นนั้นแต่อย่างใด ก็เลยชอบหนังเรื่องนี้มากๆเลยค่ะ
ดู RICE RHAPSODY แล้วก็รู้สึกดีใจแทน SYLVIA CHANG ที่ยังหาบทดีๆมาแสดงได้อยู่ ดิฉันเคยชอบเธออย่างสุดๆจาก FULL MOON IN NEW YORK (1989, STANLEY KWAN, A+) และถึงแม้บทของเธอใน RICE RHAPSODY จะน่าประทับใจน้อยกว่า FULL MOON IN NEW YORK (ในความเห็นส่วนตัวของดิฉัน) แต่ก็ยังรู้สึกว่าเธอเล่นออกมาได้ดีมากๆ
http://www.idvd.cn/poster/2005/03/2005032017005892.jpg
จำไม่ได้เหมือนกันว่าตัวเองเคยดูหนังสิงคโปร์ไปแล้วกี่เรื่อง เท่าที่นึกออก หนังสิงคโปร์ที่ดิฉันชอบสุดๆในระดับ A+ ก็มีอยู่ 2 เรื่อง คือเรื่องนี้กับเรื่อง PAIN (1994, ERIC KHOO)
ข้อมูลเกี่ยวกับ PAIN
http://www.imdb.com/title/tt0110764/
PAIN เป็นหนังที่โหดร้ายมาก แต่ประสบการณ์ในการดูหนังเรื่องนี้ก็มีอยู่จุดนึงที่ประทับใจดี เพราะตอนที่ดูหนังเรื่องนี้ จำได้ว่ามีผู้ชายคนนึงทนดูไม่ไหว ลุกออกไปจากโรงกลางคัน ตอนแรกดิฉันก็นึกว่าผู้ชายคนนั้นอาจจะเป็นคนที่จิตใจละเอียดอ่อนมากจนทนความทารุณโหดร้ายของหนังเรื่องนี้ไม่ได้ หรือไม่ก็ผู้ชายคนนั้นคงจะเป็นคนเคร่งครัดในศีลธรรม
แต่ปรากฏว่าตอนหลังดิฉันได้ยินข่าวลือว่าผู้ชายคนนั้นเป็นพวกชอบมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก ก็เลยรู้สึกประหลาดใจว่ามนุษย์เรามันช่างซับซ้อนจริงๆ ตอนแรกหลงนึกว่าผู้ชายคนนั้นเป็นคนศีลธรรมจัด ก็เลยไม่สามารถทนดูหนังประเภทนี้ แต่ปรากฏว่าความเป็นจริงกลับเป็นตรงกันข้าม
ย้อนกลับมาที่หนังเรื่อง RICE RHAPSODY ดิฉันรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้นำเสนอความยึดมั่นถือมั่นของคนที่เป็นแม่ได้อย่างดีมาก ดูหนังเรื่องนี้จบ แล้วก็นึกถึงหนังที่ชอบสุดๆอีกเรื่องนึง นั่นก็คือหนังสารคดีเรื่อง TU AS CRIE: LET ME GO (1997, ANNE CLAIRE POIRIER) ที่กำกับโดยแม่ และมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักที่เธอมีต่อลูกสาวของตัวเอง
http://www.imdb.com/title/tt0125563/
หนังเรื่อง TU AS CRIE: LET ME GO เป็นหนังที่คิดถึงทีไรก็ร้องไห้ทีนั้นค่ะ หนังเรื่องนี้เล่าให้ผู้ชมฟังว่าแม่กับลูกสาวคู่นี้เคยทะเลาะกันอย่างรุนแรง และมีอยู่ครั้งหนึ่ง ลูกสาวก็พูดกับแม่ว่า “LET ME GO!”
หลังจากนั้นลูกสาวคนนี้ก็ตายไป และ ANNE CLAIRE POIRIER ก็ยังทำใจยอมรับการตายของลูกสาวคนนี้ไม่ได้ เธอก็เลยสร้างหนังสารคดีเรื่องนี้ออกมาเพื่อรำลึกถึงลูกสาว เพื่อพยายามทำความเข้าใจกับลูกสาวผู้จากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ
จิตใจของ ANNE CLAIRE POIRIER คงเจ็บปวดยิ่งนักขณะสร้างหนังสารคดีเรื่องนั้น และในฉากจบของหนังเรื่องนี้ ฉากที่ทำให้ดิฉันร้องไห้ทุกครั้งที่นึกถึง ก็คือฉากที่ ANNE CLAIRE POIRIER เผชิญหน้ากับภูเขาน้ำแข็งขั้วโลก (ถ้าจำไม่ผิด) และในที่สุดเธอก็เอ่ยปากพูดกับดวงวิญญาณของลูกสาวว่า
“I LET YOU GO”
http://www.cinema-quebecois.net/01_hiver_2004/photos/parler_selb.jpg
Sunday, September 25, 2005
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment