KON-KAE-KEAN (2015, Wichaya Artamat, stage play, A+15)
NITARN PANALEE (2015, Ben Busarakamwong, stage play, A+10)
FLOWER (2015, Champ Chatchawat, A+)
รู้สึกเหมือนมันสั้นไป 555 คือเราไม่เคยดูละครเวทีสั้นๆแบบเดี่ยวๆยังงี้มาก่อนน่ะ
เคยดูแต่ละครเวทีสั้นๆที่เป็นหลายๆเรื่องมาต่อกัน พอมาดูละครเวทีแบบ 15 นาทีจบ
แล้วไม่มีอะไรต่อ เราก็เลยงงๆทางอารมณ์ เหมือนยังปรับอารมณ์ไม่ทัน 555
แต่ชอบไอเดียของ NITARN PANALEE มากๆนะ
ที่มันมีลักษณะคล้ายๆการทรงเจ้าเข้าผีอยู่ด้วยน่ะ เพราะมันทำให้เรานึกขึ้นมาได้ว่า
จริงๆแล้วการทรงเจ้าเข้าผีมันก็มีลักษณะคล้ายๆละครเวทีอยู่เหมือนกัน
เพราะคนทรงเจ้ามันต้อง perform สดๆต่อหน้าคนดูเหมือนกัน
แล้วทำให้คนดูเชื่อให้ได้ว่า สิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้าไม่ใช่คนทรงเจ้าธรรมดา
แต่เป็นอะไรอย่างอื่นซ้อนทับอยู่ในตัวคนทรงเจ้า (คนแสดง) ด้วย
เราว่าคน-แก่-เกียน มีความน่าสนใจในแง่ concept นะ
ตอนช่วงแรกเราจะงงว่าเราควรทำอย่างไรกับเสียงพูดสองเสียงที่อยู่ตรงหน้า
เราก็เลยเน้นฟังแต่ภาษาไทย
เพราะเราไม่สามารถแยกสมาธิฟังทั้งสองเสียงได้ในขณะเดียวกัน
แล้วหลังจากนั้นเราถึงค่อยพยายามหาทางเชื่อมโยงว่าเสียงทั้งสองมันสัมพันธ์กันยังไง
แล้วจริงๆแล้วละครเรื่องนี้มันต้องการจะสื่ออะไรหรือกระตุ้นให้เราคิดถึงประเด็นอะไรบ้าง
สรุปว่าเราว่าละครเรื่องนี้มันใช้กลวิธีที่แปลกใหม่และน่าสนใจดี กระตุ้นความคิดดี
ถึงแม้ว่าในทางอารมณ์แล้วมันจะงงๆอยู่บ้าง 555
ส่วน NITARN PANALEE นั้นน่าเสียดายที่เราสมาธิหลุดเล็กน้อยขณะดู
เราก็เลยตามเนื้อเรื่องนิทานได้ไม่ตลอด ซึ่งก็อาจจะเป็นแค่เราเองคนเดียวที่สมาธิหลุด
ผู้ชมคนอื่นๆอาจจะไม่เป็นแบบเรา แต่ในอีกแง่นึง เราก็รู้สึกว่า space ของการแสดงอันนี้กับ space ที่ใช้จัดแสดง PSYCHEDELIC
ODYSSEY (2015, Teeraphan Ngowjeenanan, video installation, A+10) มันมีส่วนในการทำให้เราสมาธิหลุด
หรือมีส่วนในการทำให้เราไม่ได้รับพลังอย่างเต็มที่จากตัวการแสดง/วิดีโอน่ะ
คือผู้ชมคนอื่นๆอาจจะไม่เป็นแบบเรานะ อาจจะเป็นแค่เราเองคนเดียวที่ถูก
distract ได้ง่ายๆแบบนี้
คือเรารู้สึกว่า งานที่เราชอบที่สุดในนิทรรศการ SPACE OH THESE (CRA)ZY นี้คือ THE SEMINAR 0.1 (2015, Wachara Kanha, A+30) น่ะ ซึ่งแน่นอนว่าสาเหตุสำคัญเป็นเพราะว่าเราเป็นแฟนเดนตายของวชร
กัณหาอยู่แล้ว แต่อีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะว่า space ที่ใช้จัดแสดงวิดีโอนี้ในห้องส้วม
มันทำให้เรามีสมาธิมากๆกับตัวงาน
และมันทำให้เราได้รับพลังอารมณ์ความรู้สึกอย่างเต็มที่จากตัวผลงานน่ะ
และในแง่เดียวกัน พอ “คน-แก่-เกียน”
จัดแสดงในห้องมืดที่แทบไม่มีสิ่งใดมารบกวน เราก็เลยมีสมาธิกับการแสดงนี้ได้เต็มที่เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น เราก็เลยคิดว่า PSYCHEDELIC ODYSSEY และ
NITARN PANALEEจะทรงพลังกว่านี้สำหรับเรา ถ้ามันได้ space แบบเดียวกับ “คน-แก่-เกียน” น่ะ คือจัดแสดงในห้องมืดๆไปเลย
หรือในพื้นที่ที่ไม่มีสิ่งอื่นๆมา distract เราได้ง่ายๆ
ส่วน FLOWER นั้นเป็นการแสดงที่น่ารักมากๆ แต่ปกติแล้วเราไม่ได้เป็นแฟนการแสดงแบบ
pantomime น่ะ เราก็เลยไม่ได้รู้สึกอะไรมากเท่าไหร่
No comments:
Post a Comment