Films seen on Saturday, March 28, 2015
1.THE WAGES OF RESISTANCE: NARITA STORIES (2014, Koshiro Otsu +
Daishima Haruhiko, Japan, documentary, A+30)
--ดูแล้วรู้สึกว่ามันคล้ายกับหนังเรื่อง PEÕES
(2004, Eduardo Coutinho, Brazil documentary) ในแง่ที่ว่า หนังทั้งสองเรื่องนี้มันเป็นการตามถ่ายผู้คนในยุคปัจจุบันที่เคยมีส่วนร่วมในการประท้วงสำคัญเมื่อหลายสิบปีก่อนเหมือนกัน
แต่เราว่าหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้มันซึ้งกว่า PEÕES เยอะ
เพราะเหมือนกับว่าผู้กำกับหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้มันจูนติดกับคนให้สัมภาษณ์มากกว่า
มันก็เลยสามารถนำเสนอผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนได้อย่างน่าประทับใจกว่า นอกจากนี้
การที่ผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนเคยปรากฏตัวในหนังสารคดีเรื่องก่อนๆมาแล้ว
ก็เลยส่งผลให้หนังเรื่องนี้สามารถนำฟุตเตจมากมายของผู้ให้สัมภาษณ์เมื่อหลายสิบปีก่อนมาใช้ในหนังเรื่องนี้ด้วย
และการได้เห็นความเปลี่ยนแปลงผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนเมื่อเวลาผ่านไป 40 ปี
มันก็สร้างความสะเทือนใจได้สูงมาก ในขณะที่ PEÕES
มันไม่ค่อยมีฟุตเตจเก่าๆมากนัก มันก็เลยไม่สามารถสร้างความสะเทือนใจตรงนี้ได้
--ชอบอารมณ์สงบของหนังเรื่องนี้ ชอบอารมณ์ของคนที่ผ่านอะไรมามากแล้ว
ซึ่งมันจะแตกต่างจากหนังเรื่อง NARITA: PEASANTS OF THE SECOND FORTRESS (1971,
Ogawa Shinsuke) ที่เราได้ดูใน SALAYA DOC ปีแรก
คือ PEASANTS OF THE SECOND FORTRESS มันเป็นหนังที่พาเราเข้าไปอยู่ท่ามกลางการประท้วงเลยไง
(ถ้าจำไม่ผิด) และมันดูยุ่งเหยิงวุ่นวายปวดหัวมากๆ ซึ่งในแง่นึงมันก็ดีที่มันทำให้เราได้สัมผัสความหฤโหดของการประท้วงตรงนั้นได้
แต่เราจะชอบอารมณ์สงบแบบใน THE WAGES OF RESISTANCE มากกว่า
--การที่หนังเรื่องนี้แสดงให้เราเห็นว่า “หนุ่มแน่นวัยฉกรรจ์”
หลายๆคนในทศวรรษ 1970 มีสภาพเป็นเช่นไรในปัจจุบัน ทำให้เรารู้สึกสะเทือนใจมาก 555
การร่วงโรยของสังขารมนุษย์นี่มันน่ากลัวจริงๆ
แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือว่า ชายชราหลายคนในหนังเรื่องนี้
ไม่ค่อยอ้วนลงพุงเท่าไหร่เลยนะ ในขณะที่เรารู้สึกว่าเพื่อนผู้ชายไทยหลายๆคนรวมทั้งตัวเราเอง
อ้วนลงพุงกันหมดแล้วทั้งๆที่อายุแค่ 40 ปี มันเป็นเพราะอะไรกันคะ
--ชอบที่ผู้ให้สัมภาษณ์สองคนฝังใจมากกับเสียงอุทานว่า ahhhhhhhhhhhhh ของคนที่พบศพเพื่อนคนแรก
คือแสดงว่าเสียงอุทานนั้นมันต้องฝังใจจริงๆน่ะ
ผู้ให้สัมภาษณ์สองคนถึงกล่าวถึงเรื่องที่ดูเหมือนไม่สลักสำคัญนี้ตรงกันโดยไม่ได้นัดหมาย
ทั้งๆที่เวลาผ่านมา 40 ปีแล้ว
2.PROMISED PARADISE (2006, Leonard Retel Helmrich, Indonesia,
documentary, A+30)
--ดูแล้วนึกถึงนักแสดงละครเวทีสองคนของไทย 555
--กลัวดวงตาของ terrorist ที่ให้สัมภาษณ์ในหนังเรื่องนี้มากๆ
เราว่าดวงตาของคนบ้า+ฆาตกรโรคจิตบางคนมันมีลักษณะคล้ายกันน่ะ
และเราก็บรรยายเป็นคำพูดไม่ได้ว่ามันคล้ายกันยังไง แต่ดูดวงตาของ terrorist
ในหนังเรื่องนี้แล้วทำให้นึกถึงดวงตาของ Charles Manson ที่มันเหมือนสามารถฉายความน่ากลัวบางอย่างออกมาทางแววตาได้เหมือนกัน
--ชอบที่หนังเรื่องนี้กับหนังเรื่องอื่นๆของ Leonard Retel Helmrich มีฉากความฝันหรือฉากจินตนาการอยู่ด้วย เพราะมันทำให้หนังไม่ติดอยู่ในกรอบของความเป็นหนังสารคดี
อย่างเช่นในหนังเรื่องนี้จะมีภาพตอนที่นักเชิดหุ่นถูก paranormal advisor สะกดจิต แล้วหนังก็เหมือนจะนำเสนอภาพที่นักเชิดหุ่นเห็นขณะถูกสะกดจิตในช่วงแรก
ซึ่งเป็นภาพตอนที่เดินทางไปที่บาร์แห่งหนึ่งในบาหลี
3.X+Y (2014, Morgan Matthews, UK, A+10)
--ดูแล้วนึกถึง THE THEORY OF EVERYTHING (2014,
James Marsh) ในแง่ที่ว่า สิ่งที่เราชอบที่สุดในเรื่อง คือ “ตัวประกอบ”
ที่ไม่ใช่พระเอกหรือนางเอก คือในเรื่อง X+Y เราจะสะเทือนใจกับเรื่องของลุคมากที่สุด
ส่วนใน THE THEORY OF EVERYTHING เราจะสะเทือนใจกับเรื่องของชู้รักของนางเอกมากที่สุด
No comments:
Post a Comment