I AM NOT YOUR F***ING STEREOTYPE (2019, Hesome Chemamah, A+30)
1.”Right or wrong, you judge the same
My picture never fit your frame”
From the lyrics of ABSOLUTELY NOT by Deborah Cox
พอดูหนังเรื่องนี้เสร็จแล้วเราก็นึกถึงเนื้อเพลง ABSOLUTELY NOT ของ Deborah
Cox ขึ้นมา เพราะประโยคที่ว่า My picture never fit your
frame นี่มันเหมาะกับหนังเรื่องนี้จริงๆ 555
คือเราชอบทั้ง style และ content ของหนังเรื่องนี้นะ แต่ประทับใจ style มากที่สุด
เพราะการที่หนังเรื่องนี้เล่นกับเฟรมภาพตลอดทั้งเรื่อง
เป็นสิ่งที่เราแทบไม่เคยเจอในหนังไทยมาก่อนเลย ไม่ว่าจะหนังสั้นหรือหนังยาวของไทย
หรือแม้แต่ในหนังต่างประเทศเองนั้น เราก็เจออะไรแบบนี้น้อยมาก
เท่าที่พอจำได้ก็คือมีแค่ใน I AM NOT MADAME BOVARY (2016, Feng Xiaogang),
MOMMY (2014, Xavier Dolan), NOW SHOWING (2008, Raya Martin, Philippines) และ THE WILDCAT (1921, Ernst Lubitsch, Germany) ที่เล่นกับเฟรมภาพอย่างรุนแรงแบบนี้
ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด
ในฉากที่นางเอกอึดอัดกับสังคมทั้งที่โรงเรียนหรือที่บ้าน เฟรมภาพมันจะเป็นวงกลมนะ
แต่ในฉากที่นางเอกรู้สึกไม่อึดอัด เฟรมภาพมันถึงค่อยขยายกว้างออกมา คือการเล่นกับเฟรมภาพของหนังเรื่องนี้ไม่ได้แค่สร้างความสวยงามหรือความเก๋
แต่มันมีความหมาย และมันทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของนางเอกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้
มันก็ช่วยทำให้หนังเรื่องนี้ unique ดีด้วย
และนอกจากการเปลี่ยนเฟรมภาพไปเรื่อยๆของหนังเรื่องนี้มันจะทำให้เราเข้าใจนางเอกมากยิ่งขึ้นแล้ว
มันยังทำให้เราต้องตั้งคำถามกับตัวเองด้วยว่า เวลาเรามองคนต่างๆหรือคิดถึงคนต่างๆ
เราพยายาม “ยัด” หรือ “บีบ” ให้เขา fit เข้าไปในเฟรมภาพอันคับแคบของเราหรือเปล่า
เวลาเรามองคนต่างศาสนา, คนต่างฐานะ, คนต่างชาติ, คนที่มีรสนิยมทางเพศแตกต่างจากเรา,
คนที่มีความเห็นทางการเมืองแตกต่างจากเรา, คนที่มีนิสัยบางอย่างแตกต่างจากเรา
เราเอา stereotype ในหัวของเราไป judge เขาล่วงหน้าหรือเปล่า หรือเราตั้งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนหรือเปล่าว่า
ถ้าหากเขาเป็นคนที่มีเชื้อชาติ, ศาสนา, ฐานะแบบนี้ เขาน่าจะมีนิสัยใจคอแบบนี้ๆ
และเราควรจะปฏิบัติแบบนี้ๆกับเขา
เราก็เลยคิดว่า การเล่นกับเฟรมภาพในหนังเรื่องนี้
มันให้ข้อคิดที่ดีกับเราด้วย มันทำให้เราตระหนักรู้ว่า เวลาเราคิดถึงใครบางคน
บางทีเราอาจจะพยายาม fit เขาให้เข้าไปในเฟรมภาพอันคับแคบของเราโดยอัตโนมัติ
ด้วยการเน้นมองแต่เพียง aspect
ด้านลบอะไรสักอย่างของเขาเป็นหลัก แทนที่เราจะมองเขาในฐานะมนุษย์ที่มีหลากหลาย aspects
ในตัวเอง
2.ในส่วนของ content นั้นก็ดีงามมากๆ เดือดมากๆ
ถึงแม้ว่ามันอาจจะไม่ได้มีความ unique เหมือนกับในส่วนของ style
จริงๆแล้วก็ยอมรับนะว่า
เนื้อหาของหนังเรื่องนี้อาจจะมีบางจุดที่ทำให้นึกถึงหนังหลายๆเรื่อง ทั้ง MARIYA (2006, Kanin
Koonsumitrawong, 25min) ที่เล่าเรื่องของสาวมุสลิมในกรุงเทพที่ถูกมองในแง่ไม่ดีหลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้
และหนังสั้นหลายๆเรื่องในโครงการ “ขัดกันฉันมิตร”
ที่ให้เด็กๆในภาคใต้ของไทยทำหนังเกี่ยวกับปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรม
แต่เราก็ไม่ได้คิดว่า
การที่เนื้อหาของหนังเรื่องนี้พูดถึงประเด็นที่พ้องกับหนังสั้นอีกหลายๆเรื่อง
มันเป็นข้อด้อยของหนังเรื่องนี้แต่อย่างใด เพราะไม่เช่นนั้น
เราคงต้องเบื่อหนังเกย์จำนวนมากที่เอาแต่นำเสนอตัวละครพระเอกที่ไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวและสังคมเพราะรสนิยมทางเพศของตนเอง
คือเรามองว่า การที่หนังเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อย และหนังเกย์
มักจะนำเสนอปัญหาอะไรคล้ายๆกันไปหมดนั้น มันเป็นเพราะว่า ปัญหาเหล่านี้มันรุนแรงจริงๆ
และมันยังไม่หายไปสักทีนั่นแหละ คือตราบใดที่ปัญหาแบบนี้มันยังมีอยู่ และยังมีคนจำนวนมากที่เผชิญกับปัญหาอะไรแบบนี้อยู่
มันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะต้องได้ดูหนังที่นำเสนอปัญหาเดิมๆกันต่อไป
เพราะมันคือความจริงของสังคม และมันยังมีคนที่เจ็บปวดจริงๆ ทุกข์ทรมานจริงๆเพราะปัญหาแบบนี้
แต่ถึงแม้เราจะมองว่า “เนื้อหาที่ไม่แปลกใหม่” มันไม่ใช่ข้อด้อยของหนัง
แต่มันก็อาจจะกลายเป็น “จุดอ่อน” ของหนังแต่ละเรื่องได้นะ
ถ้าหากหนังเรื่องนั้นไม่นำเสนอเนื้อหาดังกล่าวออกมาอย่างดีพอ
อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้รับมือกับจุดอ่อนตรงนี้ได้อย่างสบาย
เพราะมันเล่าเรื่องได้อย่างมีเสน่ห์, มีลูกเล่นแพรวพราว, มีสไตล์ที่ไม่ซ้ำแบบใคร,
เล่าเรื่องได้อย่างสนุก
และสามารถทำให้เรารู้สึกได้ถึงความทุกข์ใจของนางเอกได้อย่างมากๆด้วย
3.ชอบที่หนังแจกแจงความทุกข์ของนางเอกได้ดีมาก
เหมือนมันหาทางออกไม่ได้ง่ายๆจริงๆ จะอยู่บ้านเกิดก็เจอระเบิด
จะอยู่กรุงเทพก็เจอคนกลั่นแกล้ง จะอยู่บ้านก็มีปัญหากับแม่ จะอยู่โรงเรียนก็มีปัญหากับเพื่อนๆ
ทั้งเพื่อนที่จงเกลียดจงชังเพราะเห็นว่าเธอเป็นคนมุสลิม
และเพื่อนดีๆที่อาจจะยังไม่มีความเข้าใจวัฒนธรรมของนางเอกมากนัก
อย่างเช่นในเรื่องอาหาร
4.ชอบบุคลิกของนางเอกมากๆ เธอมีความกร้าวแกร่ง มีความท้าทาย
มาดของเธอดีมากๆ จริงๆแล้วคิดว่าเธอสามารถเข้าไปใช้ชีวิตในหนังแบบ GIRLHOOD (2014, Céline Sciamma) ได้เลย 555
5.ชอบการสร้างบุคลิกของเพื่อนนางเอกด้วย
ที่บอกว่าตัวเองเป็นคนไม่มีศาสนา และเป็น Vegan
6.การเล่าเรื่องผ่านทางการใช้ text ข้อความที่นักเรียนคุยกัน
ก็ทำให้หนังดู “ร่วมสมัย” ดี และทำให้หนังไม่น่าเบื่อ
7.ฉากที่ติดตามากๆคือฉากที่นางเอกเอาบอร์ดรายงานพระพุทธเจ้าขึ้นรถเมล์กลับบ้าน
เหมือนเป็นฉากที่ให้อารมณ์ “ขันขื่น” ในเวลาเดียวกัน
คือมันมีทั้งความตลกและความเจ็บปวดอยู่ในฉากนั้น
ไหนๆขึ้นต้นด้วย Deborah Cox แล้ว ก็ขอจบด้วย Deborah
Cox ก็แล้วกัน เพราะดูหนังเรื่องนี้แล้วคิดถึงเนื้อเพลง
ABSOLUTELY NOT จริงๆ 555
Told myself I won't complain
But some things have got to change
Not gon' be a victim of
All your social push and shove
Right or wrong, you judge the same
My picture never fit your frame
What you thought, you'll never know
You can't see me with your mind closed
Told myself I won't complain
But some things have got to change
Not gon' be a victim of
All your social push and shove
Right or wrong, you judge the same
My picture never fit your frame
What you thought, you'll never know
You can't see me with your mind closed
SMILE AND NOD (2019, Vasuthida Unwattana, Prynlada
Arbhabhirama, Jitivi Banthaisong, video installation, A+30)
วิดีโอที่ชั้นสอง River City ไม่รู้ว่าความยาวจริงๆกี่นาที
เรามีเวลาดูแค่ 15 นาที แต่ก็ชอบสุดๆ
ส่วนที่เราได้ดูเป็นส่วนที่สาวคนนึงถามสาวอีกคนว่า "เป็นไง"
ซึ่งสาวคนที่สองก็ตอบว่า "โอเค" โดยทำแบบนี้ไปเรื่อยๆราว 50 รอบ และเห็นได้ชัดว่า จริงๆแล้วสาวคนที่สองสภาพจิตรุนแรงมาก
เหมือนเธอมีความทุกข์อัดแน่นอยู่ในตัว และอยากจะระเบิดมันออกมาอย่างรุนแรง
แต่เธอก็ทำได้แค่ ตอบว่า "โอเค" ไปตามมารยาท
รู้สึกว่ามันคือชีวิตประจำวันของเราเลย
เพราะเราป่วยบ่อย และยิ่งเรามาเป็นโรคจอประสาทตาฉีกขาดและโรคอื่นๆในปีนี้
เราก็เลยยิ่งจิตตกสุดๆ ดังนั้นพอเวลาเราเจอใครมาทักทายด้วยคำถามว่า
"เป็นไง" เราก็จะลังเลทุกครั้งว่าเราควรจะ "โกหกไปตามมารยาท"
ว่า "สบายดี" หรือควรจะตอบไปตามความจริงว่า "กูป่วย
กูเป็นทุกข์มากทั้งทางกายและทางใจ"
No comments:
Post a Comment