Sunday, August 25, 2019

CAMBODIA


วันนี้ในงาน talk เรื่อง sci-fi philia และ Andrei Tarkovsky คุณก้อง ฤทธิ์ดี พูดถึงหนังตลกของ Soviet Union ที่จริงๆแล้วเนื้อหาของหนังเป็นการเสียดสีรัฐบาล และเคยเข้ามาฉายในเทศกาลหนังตลกในกรุงเทพในปี 2009 เราก็เลยนึกขึ้นได้ว่า เราเคยดูหนังสองเรื่องในกลุ่มนี้ ซึ่งก็คือ KIDNAPPING, CAUCASIAN STYLE (1967, Leonid Gaidai) กับ OPERATION Y AND OTHER SHURIK'S ADVENTURES (1965, Leonid Gaidai)
อยากให้มีคนนำหนังเก่าๆแบบนี้กลับมาฉายอีกเยอะๆ

INTERREGNUM (2017, Adrian Paci, Albania, video installation, A+30)

พอดูไปเรื่อยๆ จะรู้สึกว่ามันตลก แต่หลังนั้นจะรู้สึกว่ามันน่ากลัว
INTERREGNUM (2017, Adrian Paci, Albania, video installation, A+30)

พอดูไปเรื่อยๆ จะรู้สึกว่ามันตลก แต่หลังนั้นจะรู้สึกว่ามันน่ากลัว

CAMBODIA (1985, Toranong Srichue, A+30)
กัมพูชา 

1.เหมาะฉายควบกับ IVAN'S CHILDHOOD (1962, Andrei Tarkovsky, Soviet Union/Ukraine) และ BALANGIGA: HOWLING WILDERNESS (2017, Khavn, Philippines) มากๆ เพราะหนังสามเรื่องนี้นำเสนอชีวิตเด็กที่ต้องผจญภัยในสงครามได้อย่างน่าสะเทือนใจพอๆกัน แน่นอนว่าหนังของทรนง ศรีเชื้อไม่สามารถสู้กับหนังของทาร์คอฟสกีและ Khavn ได้ในแง่ศิลปะ แต่ในแง่ "ความโหดร้ายของเนื้อหา" นี่สามารถสู้ได้อย่างแน่นอน 555

2.ดูแล้วทำให้เกิดข้อสงสัยมากๆว่า ถ้าหากชาวเขมรได้ดูหนังเรื่องนี้จะมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง และนักประวัติศาสตร์จะมีความเห็นอย่างไรบ้าง เพราะหนังเรื่องนี้พูดถึงประเด็นต่างๆที่เราไม่เคยเจอจากหนังเขมรสิบกว่าเรื่องที่เคยดูมาเลย

คือเราไม่มีความรู้เรื่องสงครามกลางเมืองในเขมรเลยน่ะ ความรู้ของเราในประเด็นนี้ก็มาจากหนังกัมพูชาราว 10 กว่าเรื่องที่เคยดูมาที่เกี่ยวกับสงครามกลางเมือง ซึ่งทุกเรื่องพูดเหมือนกันว่า เขมรแดงเลวร้ายสุดๆ และทุกเรื่องเหมือนจะบอกกลายๆว่า เป็นเรื่องดีแล้วที่ทหารเวียดนามบุกเข้ามา และยุติการปกครองของเขมรแดง เพราะฉะนั้นพอเราได้ดูหนังกัมพูชาเหล่านี้ เราก็เลยมองทหารเวียดนามในแง่ดีมากๆ

แต่ "กัมพูชา" ของทรนงพูดในทางตรงกันข้าม เพราะหนังเรื่องนี้เหมือนจะบอกว่า ทหารเวียดนามที่บุกเข้ามาในกัมพูชาภายใต้การนำของ "เฮง สัมริน" เป็นกลุ่มที่เลวร้ายที่สุด เข่นฆ่าชาวกัมพูชาผู้บริสุทธิ์ตายไปมากมาย พยายามทำลายชาติกัมพูชาอย่างรุนแรงที่สุด ส่วนเขมรแดงเป็นกลุ่มสีเทา เพราะกลุ่มนี้เคยฆ่าชาวกัมพูชาไปมากก็จริง แต่ก็พยายามสู้กับทหารเวียดนาม ส่วนกลุ่มเขมรเสรีภายใต้การนำของ "ซอน ซาน" ดูเหมือนจะเป็นกลุ่มที่ดีที่สุด

เราซึ่งไม่มีความรู้ในประเด็นเหล่านี้เลย พอดู "กัมพูชา" ก็เลยสงสัยมากๆว่า เรื่องจริงเป็นอย่างไร โดยข้อสงสัยก็มีเช่น

2.1 ถ้าหากสิ่งที่ "กัมพูชา" นำเสนอเป็นความจริง ทำไมเราถึงไม่เคยดูหนังกัมพูชาที่พูดถึงประเด็นเหล่านี้เลย มีปัจจัยอะไรที่ทำให้ชาวกัมพูชาทำแต่หนังที่พูดถึงความเลวร้ายของเขมรแดง แต่ไม่พูดถึงความเลวร้ายของเฮง สัมริน+ทหารเวียดนาม

2.2 ถ้าหากสิ่งที่ "กัมพูชา" นำเสนอ ไม่เป็นความจริง ทำไม "กัมพูชา" ถึงนำเสนอเรื่องที่ไม่จริง มีสาเหตุอะไรที่ทำให้หนังเรื่องนี้นำเสนอแบบนี้ หนังเรื่องนี้ต้องการจะ propaganda แนวคิดอะไร ภายใต้ความต้องการอะไรของรัฐบาลไทยในยุคนั้น (ยุคเปรม)

3.เหมือนหนังเรื่องเดียวที่เราเคยดู ที่พูดถึงปัญหาเวียดนาม-กัมพูชา คือหนังเรื่อง DAY BY DAY (2015, Nguyen Thi Thanh Mai) ที่เคยมาฉายที่ Jim Thompson น่ะ โดยหนังสารคดีเรื่องนี้พูดถึงชาวเวียดนามที่อพยพมาอยู่ในกัมพูชา หลังจากทหารเวียดนามบุกกัมพูชาในยุคนั้น แต่หลังจากนั้นชาวเวียดนามกลุ่มนี้ก็กลายเป็นคนไร้รัฐ พวกเขาไม่ได้รับการรับรองจากทั้งรัฐบาลกัมพูชาและเวียดนาม และต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบากในปัจจุบัน

4.ดู "กัมพูชา" แล้วนึกถึง ONE STEP ON A MINE, IT'S ALL OVER (1999, Sho Igarashi) และ THE KILLING FIELDS (1984, Roland Joffe) มากๆ ในแง่ที่มันเป็นมุมมองของคนต่างชาติที่มีต่อสงครามกลางเมืองในกัมพูชาเหมือนกัน

No comments: