Tuesday, August 27, 2019

PARADISE:LOVE

MY GRANDPA' S GARDEN (2016, Martin Esposito, France, documentary, A+25)

1. ดูแล้วนึกถึงหนังฝรั่งเศสประเภท WHAT'S LIFE? (1999, Francois Dupeyron), THE GIRL FROM PARIS (2001, Christian Carion) และ SUN IN WINTER (2005, Samuel Collardey) เพราะหนังกลุ่มนี้เล่าเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่เหมือนๆกัน เหมือนเกษตรกรรุ่นใหม่ควรพยายามสืบทอดความรู้จากรุ่นเก่าๆ

พอดูแล้วก็เลยสงสัยว่า ทำไมเรานึกถึงแต่หนังฝรั่งเศสที่พูดถึงประเด็นนี้ 555 เหมือนหนังเยอรมันที่เราได้ดู ตัวละครก็มักไม่ค่อยทำงานเป็นเกษตรกร ในขณะที่หนังอเมริกากับหนังยุโรปประเทศอื่นๆ ตัวละครก็มักเป็นหนุ่มสาวในชนบทที่มักดิ้นรนจะเข้าสู่เมืองใหญ่

ส่วนหนังไทยเราก็นึกไม่ค่อยออกเหมือนกัน เหมือนตัวละครเกษตรกรมักจะเป็นคนรุ่นผู้ใหญ่ (หนังของ Uruphong Raksasad และ Boonsong Nakphoo) ในขณะที่หนุ่มสาวอย่างใน ไทบ้านเดอะซีรีส์ หรือในหนังสารคดีไทยบางเรื่องที่เราเคยดู ก็พยายามจะทำการเกษตรในแนวทางของตัวเอง (ซึ่งก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดีแล้ว แบบไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง) ในขณะที่พ่อแม่ของพวกเขา ก็มักจะไม่พอใจที่พวกเขาเลือกที่จะเป็นเกษตรกร ทั้งๆที่เรียนจบปริญญาตรีมาแล้ว

ก็เลยรู้สึกว่า บริบทของแต่ละสังคม น่าจะส่งผลเป็นอย่างมากต่อหนังเกี่ยวกับเกษตรกรในแต่ละประเทศ

2.ชอบการถ่ายทอดความรู้เรื่อง การปลูกพืชแต่ละประเภทตามข้างขึ้น ข้างแรมมากๆ ไม่เคยรู้มาก่อนว่าข้างขึ้นข้างแรมจะมีอิทธิพลชี้เป็นชี้ตายต่อการอยู่รอดของพืชบางประเภทมากขนาดนี้

3.ชอบ "การบันทึกความแก่ชรา" ของตัว subject มากๆ คือแค่ดูอากัปกิริยาของตัว subject ไปเรื่อยๆ เราก็รู้สึกสะเทือนใจอย่างรุนแรงแล้ว

 PARADISE: LOVE (2012, Ulrich Seidl, Austria, A+30)

1.ตอนแรกที่ดูหนังเรื่องนี้ ก็งงว่าทำไม Charlotte Rampling ไม่โผล่มาในหนังสักที อ้าว ที่แท้เราจำเรื่องย่อหนังเรื่องนี้สลับกับหนังเรื่อง HEADING SOUTH (2005, Laurent Cantet) 55555

2.ดูแล้วก็นึกถึงทั้ง HEARTBOUND: A DIFFERENT KIND OF LOVE STORY (2018, Janus Metz, Sine Plambech, Denmark, documentary) และ BANGKOK NITES (2016, Katsuya Tomita) นะ ในแง่ที่หนังพวกนี้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างชาติเหมือนกัน โดยมี "เงิน" หรือ "ฐานะ" เป็นปัจจัยสำคัญ แต่รู้สึกว่าตัวละครใน PARADISE: LOVE น่าสงสารที่สุด

เรารู้สึกเห็นอกเห็นใจตัวละครนางเอกใน PARADISE: LOVE นะ ในแง่นึงเธอก็อาจจะไม่ได้แตกต่างไปจากฝรั่งชายใน HEARTBOUND และใน HAPPY (2016, Carolin Genreith, Germany/Thailand) ก็ได้ แต่เธอโชคไม่ดีเท่าฝรั่งชายในหนังสองเรื่องนั้น เธอต้องการ "ความรัก" แต่มันก็เป็นเรื่องยากจริงๆนั่นแหละที่เธอจะได้ในสิ่งที่เธอต้องการ เพราะความรักและความจริงใจมันเป็นสิ่งที่หายาก และต้องการ "เวลา" ในการพิสูจน์และทดสอบ

ดูแล้วนึกถึง ALI: FEAR EATS THE SOUL (1974, Rainer Werner Fassbinder) ด้วย แต่นางเอกของ FEAR EATS THE SOUL เหมือนจะโชคดีกว่านางเอก PARADISE: LOVE

3.แอบคิดว่า การที่หนังของ Ulrich Seidl ชอบนำเสนอตัวละครด้วยสายตา "เย็นชา" มันทำให้ผู้ชมแต่ละคนมองหนังด้วยสายตาที่แตกต่างกันไปได้ คือผู้ชมบางคนอาจจะมองว่า หนังเรื่องนี้ต่อต้านการค้าบริการทางเพศก็ได้ (แต่เราไม่ได้มองแบบนั้น) หรืออาจจะมองว่าหนังเรื่องนี้มอง "ผู้หญิงที่สำส่อน" ในทางไม่ดีก็ได้ (ในขณะที่เราไม่ได้มองแบบนั้น) คือในมุมมองของเรา เรามองว่า หนังนำเสนอ "ความจริงที่น่าเศร้า" ได้ดีมากๆ และเรามองว่าสิ่งที่นางเอกและเพื่อนๆนางเอกทำ ไม่ใช่สิ่งที่ผิดหรือน่าละอายแต่อย่างใด พวกเธอเพียงแค่ต้องการหาความสุขใส่ตัวแค่นั้นเอง

No comments: