UNTIL I MEET SEPTEMBER'S LOVE (2019, Toru Yamamoto, Japan, A)
เหมือนมันเหมาะเป็นหนังสั้น 30 นาที มากกว่าจะเป็นหนังยาวน่ะ
NE QUAN (2015, Su Hui-yu, Taiwan, video installation, A+30)
วิดีโอสองจอที่ชั้น 7 BACC ทรงพลังมากๆ เป็นการเอาคดี "ฆ่ายัดกระเป๋า" มาทำเป็น video art ได้อย่างหลอกหลอนมากๆ
LOW SEASON (2020, Nareubadee Wetchakam, A+30)
สุขสันต์วันโสด
1.ชอบสุดๆ เพราะเรามองว่าในแง่นึงมันคือด้านกลับของ WOLF CREEK (2005, Greg McLean, Australia) 555 คือเรารู้สึกว่า WOLF CREEK มันเหมือนนำ “ตัวละครจากหนังโรแมนติก” ไปใช้ชีวิตใน “หนังสยองขวัญ” ส่วน LOW SEASON เป็นการนำ “ตัวละครจากหนังสยองขวัญ” ไปใช้ชีวิตใน “หนังโรแมนติก” และเรามองว่าการข้าม genre แบบนี้มันช่วยลดความซ้ำซาก และช่วยให้ตัวละครดูกลมขึ้น ใกล้เคียงกับมนุษย์จริงๆมากขึ้น ถ้าหากเทียบกับหนังโรแมนติกหรือหนังสยองขวัญโดยทั่วไป
คือในหนังหลายๆเรื่องที่สร้างขึ้นตาม genre ต่างๆ นั้น บางทีตัวละครมันถูกสร้างขึ้นเพื่อรับใช้ genre นั้นๆจนมันเป็นการลดทอนมิติความซับซ้อนของมนุษย์มากเกินไปน่ะ อย่างตัวละครที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ชีวิตในหนังโรแมนติก ก็อาจจะถูกลดทอนบางแง่มุมของชีวิตออกไป ถ้าหากผู้สร้างมองว่าแง่มุมนั้นไม่ได้ช่วยสร้างอารมณ์โรแมนติกให้แก่ผู้ชม ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้ว มนุษย์แต่ละคนไม่ได้ดำรงอยู่เพื่อสร้างอารมณ์โรแมนติกหรืออารมณ์สยองขวัญให้แก่ผู้ชม แต่ดำรงอยู่เพื่อตัวของเขาเอง ไม่ใช่เพื่อการสร้างอารมณ์ใดๆให้แก่ผู้ชม
และในความเป็นจริงนั้น เราก็มีเพื่อนเกย์คนนึง ที่ร่านมาก และเธอก็เคยประสบปัญหามักจะเห็นผีบ่อยๆด้วย (แต่เธอแก้ปัญหานี้ตอนอายุราว 30 ปีด้วยการตั้งจิตอธิษฐานว่า จะไม่ขอเห็นอะไรแบบนี้อีก และเธอก็สัมฤทธิ์ผล ไม่เห็นผีอีก) ซึ่งมันก็เลยทำให้เราคิดขึ้นมาได้ว่า ถ้าหากเราจะนำเรื่องราวของเธอไปสร้างเป็นหนังสยองขวัญ เราก็อาจจะต้องตัด “แง่มุมความร่าน” ในชีวิตของเธอออกไป แต่ถ้าหากเราจะเอาชีวิตของเธอไปสร้างเป็นหนังโรแมนติก เราก็อาจจะต้องตัด “ประสบการณ์ปีศาจ” ในชีวิตของเธอออกไป แต่ทำไมเราต้องทำแบบนั้นด้วยล่ะ ทำไมเราไม่ซื่อตรงกับชีวิตเธอ ด้วยการยึดหลากหลายแง่มุมในชีวิตของเธอเป็นหลัก แทนที่จะพยายามทำตามสูตรสำเร็จของ genre หนังแบบต่างๆ และหนังเรื่อง LOW SEASON ก็คือตัวอย่างที่ดีของ “หนังในฝัน” ของเรา
2.แต่การผสม genre แบบนี้ ถ้าหากไม่เก่งจริง มันก็ออกมาแย่ได้นะ ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆก็คือ THE GRUDGE (2020, Nicolas Pesce, A+) ที่เหมือนเป็นการเอา “ตัวละครจากหนังชีวิตดราม่า” ไปใส่ใน “หนังสยองขวัญ” แล้วออกมาดูไม่สนุก ดูอิหลักอิเหลื่อมากๆ ซึ่งตรงข้ามกับ DARK WATER (2005, Walter Salles) ที่เป็นการนำตัวละครจาก “หนังชีวิตต้องสู้” ไปใส่ในหนังสยองขวัญคล้ายๆกัน แต่ทำออกมาได้ทรงพลังมากๆ ดีเยี่ยมมากๆ
Thursday, February 27, 2020
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment