Saturday, February 01, 2020

IN THE BASEMENT (2014, Ulrich Seidl, Austria, documentary, A+30)


IN THE BASEMENT (2014, Ulrich Seidl, Austria, documentary, A+30)

1.จำได้ว่า เคยอ่านนิตยสาร Film Comment ในช่วงปี 2001 หรือ 2002 ตอนที่หนังเรื่อง DOG DAYS (2001, Ulrich Seidl) โด่งดังขึ้นมา แล้วบทความใน Film Comment ก็บอกว่า Ulrich Seidl เคยกำกับหนังสารคดีมาแล้วหลายเรื่องก่อนจะทำหนัง fiction อย่าง DOG DAYS ซึ่งหนังสารคดีหลายๆเรื่องของ Ulrich Seidl เป็นการ “จ้องมองไปในนรกแบบไม่กะพริบตา”

พอเราได้ดู IN THE BASEMENT เราก็รู้สึกอยากกราบนักวิจารณ์ที่เขียนบทความนั้นใน Film Comment เมื่อเกือบ 20 ปีก่อนจริงๆ เพราะเขาบรรยายถึงหนังสารคดีของ Ulrich Seidl ได้ดีมากๆ มันเป็นอย่างที่เขาเขียนไว้จริงๆ

2.เราเคยดูหนัง fiction ของ Ulrich Seidl มาแล้วรวมกัน 5 เรื่อง ส่วนอันนี้เป็นหนังสารคดีเรื่องแรกของเขาที่เราได้ดู ปรากฏว่าพฤติกรรมของคนในหนังสารคดีของเขา เอาชนะพฤติกรรมของ fictional characters ของเขาได้อย่างขาดลอย คือเรานึกว่าตัวละครในหนังของเขามันเฮี้ยนมากๆแล้ว ปรากฏว่าคนจริงๆในหนังสารคดีของเขาแรงกว่าหลายเท่า

3.เหมือนเห็น “ตัวเราเอง” ในหนังเรื่องนี้ เพราะในหนังสารคดีเรื่องนี้ มันมีหญิงวัยกลางคนคนนึงที่ชอบเล่นตุ๊กตาที่เหมือนทารกจริง และเธอก็ชอบร้องเพลงกล่อมตุ๊กตา อุ้มตุ๊กตาเดินไปไหนมาไหนในบ้าน พูดคุยกับตุ๊กตาไปเรื่อยๆ

ซึ่งสิ่งต่างๆที่ผู้หญิงคนนี้ทำ มันเหมือนกับสิ่งที่เราทำกับตุ๊กตาหมีของเราเด๊ะๆเลย ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็เลยรู้สึกดีใจมากๆ ที่มีคนที่มีพฤติกรรมคล้ายๆเราแบบนี้อยู่ด้วย

4.ตัดสินไม่ได้จริงๆว่าใครในหนังเรื่องนี้แรงกว่ากัน ทั้งกลุ่มนักแม่นปืนที่เกลียดชังคนต่างศาสนา, วงดนตรีชายชราที่คลั่งไคล้นาซี และคู่รักซาดิสท์มาโซคิสท์คู่ต่างๆ คือดูแล้วก็แอบดีใจแทน subjects คู่รักต่างๆในหนังเรื่องนี้นะ ที่พวกเขามีรสนิยมทางเพศไม่เหมือนคนทั่วไป แต่พวกเขาก็สามารถหาคู่ที่เหมาะสมกับเขาได้ และมีความสุขกับพฤติกรรมทางเพศอันแปลกประหลาดของตนเองได้โดยที่ทุกฝ่าย “ยินยอมพร้อมใจ เต็มใจ มีความสุข” อยู่ด้วยกัน

5.ชอบผู้หญิง  3 คนในภาพนี้มากๆ คือในขณะที่คนอื่นๆทำพฤติกรรมที่รุนแรงมากๆในห้องใต้ดินของตัวเอง กระทำกามกิจต่างๆที่พิลึกพิสดารมากมายในห้องใต้ดินของตัวเอง ผู้หญิง 3 คนนี้กลับยืนเฉยๆอยู่ข้างๆเครื่องซักผ้าในห้องใต้ดินของตัวเอง และหนังเรื่อง IN THE BASEMENT นี้ไม่บอกผู้ชมเลยว่า พวกเธอทำอะไรบ้างในห้องใต้ดิน นอกจากซักผ้า


คือถ้าหากเราเอาหนังเรื่องนี้มาดัดแปลงเป็นหนัง fiction แบบว่าทุกคนอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันแล้วล่ะก็ แน่นอนว่าพวกนักแม่นปืน, กลุ่มนาซี, กะหรี่, คู่ sadist masochist ต่างๆ จะไม่ใช่ “ตัวละครที่มีพลังรุนแรงที่สุดในหนัง” เพราะตัวละครที่จะมี “พลังรุนแรงที่สุดในหนังของเรา” ก็ต้องเป็นแบบผู้หญิง 3 คนในภาพนี้นั่นแหละ คือถ้าหากมีใครผ่านเข้ามาในหมู่บ้านนี้โดยบังเอิญ พวกเขาก็จะนึกว่า ผู้หญิง 3 คนนี้เป็นแม่บ้านธรรมดาที่ซักผ้าในห้องใต้ดิน แต่พวกเขาหารู้ไม่ว่า จริงๆแล้วผู้หญิง 3 คนนี้คือ Mater Suspiriorum, Mater Tenebrarum และ Mater Lachrymarum 55555

BETTER DAYS (2019, Derek Tsang, China, A+30)

1.อู๊ยยยยย อีฝันเปียก อีเงี่ยนแต่ทำเป็นไม่แสดงออก นี่คือสิ่งที่คิดด่าอีนางเอกในใจตลอดเวลาที่ดูหนังเรื่องนี้ 55555

คือเราขำความ “แฟนตาซีทางเพศ” ของหนังเรื่องนี้มากๆน่ะ คือในแง่นึงหนังมันทำตัวเหมือนมีสาระ มีคุณธรรม ต่อต้านการ bully แต่ในอีกทางนึงมันก็ตอบสนองแฟนตาซีทางเพศของผู้ชมแบบสุดลิ่มทิ่มประตูมากๆ แบบว่านางเอกดูมีความเป็น  “สาวธรรมดา” อ่อนแอ แต่ “ถูกบังคับให้จูบ” กับจิ๊กโก๋หนุ่มหล่อ ปรากฏว่าเขาไม่ใช่แค่หล่อเท่านั้น แต่ยังสนใจเธอด้วย และเขายังอยากปกป้องเธออีกด้วย โดยที่ไม่คิดจะเรียกร้องเงินหรือ sex จากเธอเลย โอ๊ย ตายแล้ว ทำไมเขาช่างมีคุณสมบัติเหมือนกับพระเอกการ์ตูนญี่ปุ่นสำหรับสาววัยเพิ่งมีเมนส์เป็นครั้งแรกแบบนี้มากๆคะ 55555

คือเราขำที่ว่า แทนที่นางเอกจะเห็นผู้ชายหนุ่มแล้วอยากจูบ แต่เธอก็ต้อง “ถูกบังคับให้จูบ” น่ะ แล้วก็มีฉากเธอแอบดูพระเอกถอดเสื้อ แต่ก็ไม่ได้แอบดูเพราะเธอเงี่ยน และเธอก็ไปคลุกคลี นอนห้องเดียวกับเขาตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้มีอะไรกัน คือมันเป็น แฟนตาซีทางเพศ” ที่ดูน่าขำสำหรับเรามากๆน่ะ แบบว่าฉันเจอผู้ชายหนุ่มหล่อนิสัยดี แต่ฉันไม่เงี่ยน ฉันไม่บ้ากาม ฉันเป็นนางเอก ฉันไม่คัน he

2.แน่นอนว่า แฟนตาซีทางเพศแบบในหนังเรื่องนี้ ไม่สอดคล้องกับเราอย่างแน่นอน เพราะถ้าหากเป็นเรา เราก็เสย he ใส่พระเอกตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปห้องเขาแล้ว 555 แต่เราก็โอเคกับหนังนะ เหมือนเราทำใจไว้แล้วตั้งแต่ต้นเรื่องว่า ถ้าหากจะดูหนังเรื่องนี้อย่างมีความสุข เราต้องพยายามมองข้ามประเด็นที่ว่า  “นางเอกหนังเรื่องนี้ คิดแตกต่างจากเรา” น่ะ

คือเหมือนในการดูหนังทั่วๆไป ผู้ชมต้องมี suspension of disbelief น่ะ แล้วถึงจะดูหนังได้สนุก ซึ่งเรามีคุณสมบัติข้อนี้สูงมากอยู่แล้ว เราก็เลยชอบดูหนังมากๆ 555 แต่นอกจากผู้ชมจะต้องมี suspension of disbelief แล้ว ในการดูหนังแต่ละ genre ให้สนุก ผู้ชมก็จะต้องมองข้ามอะไรบางอย่างที่แตกต่างกันไปในหนังแต่ละ genre ด้วย อย่างเช่น เวลาจะดูหนังยุทธจักรกำลังภายใน ผู้ชมก็ต้องมองข้ามประเด็นที่ว่า “ตัวละครหาเลี้ยงชีพด้วยอะไร” หรือเวลาจะดูหนังแบบ “องค์บาก 2” หรือหนังชุด IP MAN เราก็จะ focus ไปที่ “ลีลาการต่อสู้” และมองข้าม “ความชาตินิยม และสาเหตุต่างๆที่นำไปสู่ฉากต่อสู้แต่ละฉาก” อะไรทำนองนี้ 5555

ส่วนใน BETTER DAYS นั้น คือตั้งแต่ต้นเรื่อง เราก็รู้เลยว่า นางเอกหนังเรื่องนี้ คิดแตกต่างจากเรามากๆน่ะ เราก็เลยทำใจไว้เลยว่า เราจะต้องไม่ “ขัดอกขัดใจ” กับการตัดสินใจของนางเอกในหนังเรื่องนี้ เพราะอีนี่จะต้องตัดสินใจอะไรที่แตกต่างจากเราไปเรื่อยๆแน่ๆ และพอเราจูนตัวเองไว้แบบนั้นในช่วงต้นเรื่อง เราก็เลยพอจะดูหนังไปอย่างเพลิดเพลินได้

3.คือถ้าหากเป็น “นางเอกในหนังของเรา” มีสิทธิ BETTER DAYS จบตั้งแต่ 10 นาทีแรกน่ะ เพราะ “นางเอกที่เราชอบที่สุดในชีวิต” ก็คือ Manu จาก BAISE-MOI (2000, Virginie Despentes, Coralie Trinh Thi) น่ะ และถ้าหาก Manu จาก BAISE-MOI เจออีห่าสามตัวมา bully ในโรงเรียนแบบในฉากต้นของหนังเรื่องนี้ เราว่าอีห่าสามตัวนี่มีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 10 นาทีน่ะ

แต่ก็เข้าใจนางเอกของ BETTER DAYS นะ ว่าทำไมเธอคิดแตกต่างจากเรา หรือแตกต่างจาก Manu เพราะนางเอกของ BETTER DAYS เชื่อว่า “มีชีวิตที่ดีรออยู่ข้างหน้า” น่ะ เธอก็เลยพยายามอดทน เพื่อที่จะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต เธอรักชีวิตของตัวเอง แต่เราไม่ใช่คนแบบนั้น

4.ตอนจบของหนังทำให้นึกถึง THE CROSSING (2018, Bai Xue, China) มากๆ ในแง่ที่ว่า มันต้องจบแบบนี้ เพื่อจะได้ผ่านเซ็นเซอร์ของรัฐบาลจีน แต่ถ้าหากผู้กำกับ THE CROSSING กับ BETTER DAYS มาทำหนังในยุโรป เราว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้อาจจจะไม่จบแบบนี้ก็ได้

5.นึกว่า BETTER DAYS เป็นภาคสองของ ANATOMY OF HER (2016, Waranyaa Punamsap)

No comments: