12 SUICIDAL TEENS (2019, Yukihiko Tsutsumi, Japan, A+25)
1.จริงๆแล้วหนังไม่ดีเท่าไหร่ เหมือนมีการ “แถ” เยอะมาก
คือเหมือนมีอะไรที่อาจจะไม่สมเหตุสมผลเยอะมาก แต่เป็นสิ่งที่ใส่เข้ามาในหนังเพื่อหวังผลทางอารมณ์เป็นหลัก
แต่เราก็ชอบหนังมากในระดับนึงอยู่ดี 555
อย่างแรกเลยที่เรารู้สึกว่า มันดูแถ ก็คือการที่ตัวละครหลายตัวหมกมุ่นกับการคลี่คลายปริศนาลับอย่างมากๆน่ะ
คือตัวละครทั้ง 12 คนในหนังเรื่องนี้ นัดกันมาเพื่อฆ่าตัวตาย โดยที่พวกเขาไม่รู้จักกันมาก่อน
แต่พอพวกเขามาเจอปริศนาลับอะไรบางอย่างในสถานที่ฆ่าตัวตาย พวกเขาก็ตั้งอกตั้งใจไขปริศนาลับนี้อย่างมากๆ
คือเรารู้สึกว่า ถ้าหากเราจะฆ่าตัวตายจริงๆ
เราก็คงไม่สนใจจะไขปริศนาลับห่าเหวอะไรนี่น่ะ คือถ้าหากคนอื่นๆไม่ร่วมมือกับเรา
เราก็อาจจะวิ่งไปกระโดดตึกตายไปเลยคนเดียวอะไรทำนองนี้ กูไม่รอพวกมึงหรอก
กูฆ่าตัวตายคนเดียวก็ได้
แต่เราก็ยอมรับความ “แถ” ของหนังตรงจุดนี้ได้
เพราะการที่ตัวละครพยายามจะไขปริศนาลับกันอย่างเอาเป็นเอาตายในหนังเรื่องนี้
มันทำให้หนังเรื่องนี้มีลักษณะเป็นหนัง whodunit น่ะ
ซึ่งเป็นหนังแนวที่เราชอบสุดๆ เรามักจะอินกับเรื่องราวทำนองนี้ เราว่ามันสนุกดี
และตัวละครแต่ละตัว โดยเฉพาะผู้หญิงแต่ละคนในหนังเรื่องนี้ ก็ดูมีบุคลิกแรงๆ
เหมาะจะฟาดฟันตบตีกันมากๆ เราก็เลยรู้สึกว่า ถึงหนังมันจะแถ
หรือมันจะไม่สมเหตุสมผล แต่การแถของมันก็เป็นไปเพื่อ “สร้างอารมณ์แบบหนัง whodunit”
ขึ้นมาน่ะ
ซึ่งเป็นอารมณ์แบบที่เราชอบ เราก็เลยยอมรับหนังเรื่องนี้ได้
2.ชอบไอเดียอันนึงของหนังเรื่องนี้มากๆ
เพราะหนังเรื่องนี้มีลักษณะคล้ายหนัง thriller และหนังปริศนาฆาตกรรม
ที่ตัวละครกลุ่มนึงมาอยู่รวมกันในสถานที่นึง เจอปริศนาลับ
และต้องร่วมมือกันไขปริศนานั้น ซึ่งสถานการณ์แบบนี้อาจจะทำให้นึกถึงหนังอย่าง
AND THEN THERE WERE NONE (1945, Rene Clair),หนังชุด SAW หรือหนังอย่าง INCITE MILL (2010, Hideo Nakata) ด้วย
แต่ 12 SUICIDAL TEENS กลับหัวกลับหางสถานการณ์ข้างต้นได้อย่างน่าสนใจมาก
เพราะปกติแล้วในสถานการณ์ข้างต้นนั้น ตัวละครที่มาอยู่รวมกัน “ต้องต่อสู้เพื่อให้ตัวเองมีชีวิตรอด”
น่ะ พวกเขาต้องไขปริศนาลับ ปริศนาฆาตกรรม หาตัวฆาตกรให้ได้
เพื่อที่ตัวเองจะได้มีชีวิตรอด
แต่ใน 12 SUICIDAL TEENS นั้น ตัวละครทุกตัวอยากฆ่าตัวตาย
พวกเขาก็เลยดูเหมือนไม่ได้ “หวาดกลัว” อะไรกับการที่มี “บุคคลลึกลับ” มาทิ้งศพแปลกหน้าไว้ในสถานที่นั้น
พวกเขาแค่ต้องการไขปริศนาให้ได้ เพื่อที่การฆ่าตัวตายของพวกเขาจะได้ไม่สร้างปัญหาต่อกรมธรรม์ประกันชีวิต
หรืออะไรทำนองนี้แค่นั้นเอง
หนังเรื่องนี้ก็เลยไม่ได้ดำเนินไปด้วยการทำให้ผู้ชมหวาดกลัวการฆาตกรรมอะไรเลย
เราก็เลยชอบไอเดียนี้มากๆ มันเหมือนเป็นการหยิบเอาสูตรหนัง whodunit มาใช้
แต่ถอด “ความลุ้นระทึกว่าตัวละครตัวไหนจะถูกฆ่าเป็นรายต่อไป” ออกไป เพราะทุกตัวละครแม่งอยากฆ่าตัวตายอยู่แล้ว
เราว่าการเอาสูตรหนังแบบเก่ามาดัดแปลงใหม่แบบนี้ เป็นอะไรที่เราชอบมากๆ
3.ชอบไอเดียในช่วงท้ายๆของหนังด้วย คือพอหนังเฉลยอะไรเกือบหมดแล้ว
เราก็ชอบหนังมากขึ้น เพราะเราว่าไอเดียของตัวละครตัวนึงมันเข้าท่าดี
I GO GAGA, MY DEAR (2018, Naoko Nobutomo, Japan, documentary, A+30)
1.ดูแล้วเข้าใจเลยว่า ทำไมบางคนอยาก “นิพพาน”
ไม่อยากกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป 555 เพราะปกติแล้วเรามักจะอวยพรให้คนอื่นๆ “อายุยืน”
แต่มันแทบเป็นไปไม่ได้หรอกที่คนที่อายุยืน จะสุขภาพแข็งแรงขณะอายุ 80, 90, 100 ปี
ยกเว้นมึงเป็นคุณยายวรนาถ คนหลายคนที่อายุยืน ต่างก็ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ
ความร่วงโรยของสังขารด้วยกันทั้งนั้น
และหนังเรื่องนี้ก็ทำให้เราตระหนักถึงความจริงข้อนี้ของชีวิตมนุษย์ได้ดีมากๆ
คือในแง่นึง ตัวละครในหนังเรื่องนี้ดูน่าอิจฉามากๆ พวกเขาเป็นคู่รักที่ครองรักกันมานาน
60 ปี เราเองตอนเด็กๆก็เคยใฝ่ฝันอย่างนี้เหมือนกัน
ตอนเด็กๆเราก็ใฝ่ฝันอยากมีสามีที่รักกัน ดูแลกันไปตลอดชีวิตเหมือนกัน
แต่ถ้าเราได้แบบที่เราเคยใฝ่ฝันตอนเด็กๆจริงๆ แล้วต้องมีชีวิตอยู่กับ “ความร่วงโรยของสังขาร”
ในตอนแก่แบบนี้ เราก็เข้าใจแล้วล่ะว่า ทำไมมนุษย์บางคนไม่อยากกลับมาเกิดอีกต่อไป
ขอตายแล้วนิพพานไปเลยดีกว่า เพราะสังสารวัฏ การเกิดแก่เจ็บตายนี่แม่งเป็นทุกข์จริงๆ
2.ดูแล้วนึกถึง AMOUR (2012, Michael Haneke) มากๆ
แต่พอ AMOUR มันเป็น fiction หนังเรื่องนั้นก็เลยไม่ได้ทำให้เรารู้สึก
“หวาดกลัวกับความจริงของชีวิต” มากเท่าหนังสารคดีเรื่องนี้ คือตอนที่เราดู AMOUR
เรารู้สึกว่า “เรื่องราวแบบในหนังมันคงเกิดขึ้นกับชีวิตของคนอื่นๆ”
น่ะ แต่ตอนที่เราดู I GO GAGA, MY DEAR เรากลับรู้สึกว่า
นี่แหละความจริงของชีวิตมนุษย์ ไม่มีผัวก็ทุกข์, มีผัวก็ทุกข์,
อายุสั้นก็น่าเสียดาย, อายุยืนยาว ก็ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยของสังขาร
กูไม่อยากเกิดมาแล้ว
3.ฉากแม่ของผู้กำกับจะซักผ้า แล้วหมดแรง แล้วเลยล้มลงนอนพังพาบบนกองผ้า
นี่เป็นอะไรที่หนักมากๆ
4.ดูแล้วนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง GRANDMOTHER
(2010, Yuki Kawamura, Japan) ที่เคยมาฉายที่ PARAGON มากๆ โดย GRANDMOTHER เป็นการบันทึกภาพคุณยายของผู้กำกับขณะกำลังจะสิ้นลม
นอนหายใจรวยรินต่อหน้ากล้องไปเรื่อยๆ
ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว เราก็ชอบ GRANDMOTHER มากกว่า I
GO GAGA, MY DEAR นะ เพราะ GRANDMOTHER มันดูนิ่งสงบกว่าน่ะ
มันก็เลยเข้ากับโทนอารมณ์เรามากกว่า ในขณะที่ I GO GAGA, MY DEAR มันดูตัดต่อเร็วเกินไปสำหรับเรา เราอยากให้แต่ละฉากในหนังเรื่องนี้มันทิ้งช่วงเวลานานกว่านี้
No comments:
Post a Comment