THE REPRODUCTION OF A CATASTROPHIC REMINISCENCE (2020, Kulapat
Aimmanoj, 15min, A+25)
เดือดมาก ๆ
จุดที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้คือจุดเดียวกับที่เราชอบหนังเรื่อง 16 OCT (2020, Aomtip Kerdplanant) น่ะ นั่นก็คือหนังทั้งสองเรื่องนี้เหมือนช่วยสะท้อนการถกเถียง กันเองภายในฝ่าย
liberal ซึ่งเราว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะพอเวลาเราเล่น facebook
เราก็มักได้เห็น drama ทำนองนี้เป็นประจำ
และเราก็ชอบอ่านการถกเถียงกันเองของคนฝ่ายเดียวกันด้วย เพราะในบางครั้งมันช่วย “เปลี่ยนความคิด”
ของเราได้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อเวลาผ่านไป หรือเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป คือเหมือนเมื่อ
1-2 ปีที่แล้ว เราอาจจะมองว่า “เราไม่ชอบที่คนบางคนเลือกใช้วิธีการนี้ในการประท้วง”
แต่ในปัจจุบันนี้เรากลับมองว่า เขาทำถูกต้องแล้ว อะไรแบบนี้
คือถ้าเราดูหนังที่นำเสนอประเด็น เผด็จการ vs liberal เราจะได้รับความสุขจากความ
“สะใจ” หรือ “สะเทือนใจ” หรือ “อินสุด ๆ” อะไรทำนองนั้นน่ะ แต่หนังอาจจะไม่ได้ “เปลี่ยนความคิด”
ของเรามากนัก เพราะในใจเราก็รู้ว่าเราอยู่ข้างไหนมาตั้งแต่ปี 2006 แล้ว
แต่ถ้าเป็นหนังที่นำเสนอประเด็น dilemma ต่าง ๆ ในฝ่าย liberal
ด้วยกันเอง เราจะรู้สึกว่ามันน่าสนใจดี
เพราะความคิดของเราที่มีต่อประเด็น dilemma ต่าง ๆ เหล่านี้ มันยังไม่หยุดนิ่ง มันยังคงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย
ๆ ตามเวลาและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
PLEASE...SEE US (2021, Chaweng Chaiyawan, 28min, A+30)
1.นึกไม่ถึงว่าคุณเชวงจะมาสไตล์นี้ 5555
เพราะหนังส่วนใหญ่ของคุณเชวงที่เราเคยดู มักจะเป็นหนัง narrative ที่เล่าเรื่องตรงไปตรงมา
หรือชัดเจนมากกว่านี้น่ะ ทั้ง THE LAST MISSION ภารกิจสุดท้าย
(2016), SO-KHIN (2017), HELLO...IT’S ME (2018), SECOND CHANGE (2018),
BEFORE APRIL (2019), etc. คือเหมือนหนังของคุณเชวงที่เราเคยดูส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหนังสะท้อนปัญหาสังคมที่ดูเข้าใจง่ายประมาณนึง
ดูจบแล้วไม่ค่อยงง ไม่ค่อยมีอะไรสงสัยอยู่ในใจ (เราเคยแอบเปรียบเทียบในใจกับหนังของ
Ken Loach, Bertrand Tavernier 55555)
พอมาเจอหนังเรื่องนี้ เราก็เลยไม่ทันตั้งตัวประมาณนึง คือดูจบแล้วเราอาจจะรู้สึกงง
ๆ อยู่บ้างในส่วนของเนื้อเรื่อง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังเรื่องก่อน ๆ
หน้านี้ของคุณเชวง แต่ในแง่ “ผลกระทบทางอารมณ์” เราว่าหนังเรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อเราในระยะยาวมากกว่าหนังรุ่นก่อนนะ
คือถึงแม้เราจะงงกับบางส่วนของหนัง แต่หนังมีอะไรบางอย่างที่สร้างความ “ค้างคา”
ในใจเราได้มาก ๆ ด้วยในเวลาเดียวกัน
คือถ้าพูดถึงผลกระทบทางอารมณ์ หนังเรื่องนี้สะเทือนเราในแบบที่คล้าย ๆ
กับหนังของ Robert Bresson นะ
แต่เราไม่ได้บอกว่าหนังเรื่องนี้คล้ายกับหนังของ Bresson นะ
เราแค่บอกว่า “ผลกระทบทางอารมณ์ที่มีต่อตัวเรา” มันคล้ายกัน
คือเหมือนหนังของ Bresson มันเต็มไปด้วย “การเห็นแค่บางส่วน”
และ ellipsis น่ะ อย่างฉากการสังหารโหดคนหลายคนใน L’ARGENT
(1983) เราก็เห็นอะไรน้อยมาก ๆ ในฉากนั้น คือเหมือน L’ARGENT
และหนังบางเรื่องของ Bresson นำเสนอ “เหตุการณ์ที่มันรุนแรงสุด
ๆ” หรือเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงระดับ 100 หน่วย แต่เราได้เห็นเพียงแค่ “1 หน่วย”
ของความรุนแรงของสิ่งที่เกิดขึ้น แต่มันกลับส่งผลสะเทือนมาก ๆ
สลัดไม่หลุดออกจากหัว คือเราดู L’ARGENT มานาน 20 ปีแล้ว
ยังสลัดหนังเรื่องนี้ออกจากหัวไม่ได้เลย ในขณะที่เวลาเราดูหนังเลือดสาดอย่างหนังชุด
SAW เรากลับลืมมันได้ง่ายมาก ๆ
เราก็เลยรู้สึกว่ามันน่าสนใจดีที่ทำไมพอเราเห็นความรุนแรงแบบเต็มที่ในหนังอย่าง
SAW และหนังสยองขวัญบางเรื่องของฮอลลีวู้ด
เรากลับลืมมันได้ง่าย ๆ แต่ทำไมเราลืมเหตุการณ์รุนแรงใน AU HAZARD
BALTHAZAR (1966) และ L’ARGENT ไม่ได้เลย ทั้ง
ๆ ที่เราดูหนังพวกนี้มานาน 20 ปีแล้ว
และเราได้เห็นความรุนแรงบนหน้าจอภาพยนตร์เพียงแค่ 1% ของสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น
พอเราได้ดู PLEASE...SEE US มันก็เลยทำให้เรานึกถึง Bresson
ตรงจุดนี้ โดยเฉพาะช่วงท้ายของหนังที่เราได้เห็นภาพเพียงแค่ 1%
ของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับตัวละครพระเอกนางเอกของหนัง
แต่มันกลับสร้างความค้างคาในใจเราได้นานมาก ๆ ไม่แพ้หนังของ Bresson
2.ดีใจมาก ๆ ที่หนังเรื่องนี้ได้รางวัลใน SEASHORTS FILM FESTIVAL เพราะในส่วนของเรานั้น เรารู้สึกว่าความสะเทือนใจของเราที่มีต่อหนัง บางส่วนมันมาจาก
“สิ่งที่อยู่นอกตัวหนัง” อย่างเช่นข่าวที่เราได้รับรู้ทั้งเรื่อง บิลลี่
กะเหรี่ยงบางกลอย และเรื่องชัยภูมิ ป่าแส (ชาวลาหู่) คือเหมือน “ข้อมูล”
ที่อยู่นอกตัวภาพยนตร์ ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของเราที่มีต่อตัวภาพยนตร์ด้วย
เพราะฉะนั้นเราก็เลยไม่แน่ใจว่า ผู้ชมต่างชาติที่ไม่เคยมีข้อมูลเหล่านี้อยู่ในหัวมาก่อน
จะรู้สึกอย่างไรกับหนังเรื่องนี้ แต่ปรากฏว่าหนังเรื่องนี้ได้รับการตอบรับที่ดีมาก
เราก็เลยดีใจไปด้วย คิดว่า “ภาษาภาพยนตร์” ที่หนังเรื่องนี้ใช้, วิธีการคิดฉาก
และนำเสนอฉาก อย่างเช่น ฉากชำแหละหมู ที่หลายคนพูดถึง อาจจะเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ชมต่างชาติชื่นชอบหนังเรื่องนี้ได้มาก
ๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลในหัวมาก่อนเหมือนอย่างผู้ชมชาวไทย
3.เห็นชื่อสุทิตย์ ซาจ๊ะ พระเอกหนังเรื่องนี้แล้วคุ้น ๆ อ๋อ
เขาคือผู้กำกับหนังเรื่อง “เข็มขัดกับหวี” (2012) นี่เอง
4.ดูหนังเรื่องนี้ได้อีกรอบใน Signes de Nuit Film Festival ในวันที่
18-20 ก.ย.นะ
https://documentaryclubthailand.com/signesshorts/
5.ดูหนังเก่า ๆ บางเรื่องของคุณเชวงได้ที่นี่นะ
https://www.youtube.com/user/Thaicomm2010/videos
No comments:
Post a Comment