DIARY OF A PURSE FUCKER (2020, Theerapat Wongpaisarnkit, 11min,
A+30)
1.แนวคิดของหนังมัน weird มาก
ที่สร้างตัวละครชายหนุ่มแปลกประหลาดแบบนี้ขึ้นมา
แล้วให้ตัวละครตัวนี้ไปอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมือง
2.รู้สึกว่าหนังของธีรภาสมีจุดเด่นที่ความ weird แบบนี้นี่แหละ
และดูเป็นตัวของตัวเองดีด้วย ดูไม่ค่อยซ้ำแบบใครในวงการหนังไทย 5555 ทั้ง HUU
(2015), JUNK FOOD FABLE (2020, 63min) และหนังเรื่องนี้ต่างก็มีความแปลกประหลาดในแบบที่น่าสนใจมาก
ๆ
3.ถ้าไม่นับเรื่องสไตล์ของหนัง และประเด็นของหนัง
แล้วแยกเอาเฉพาะตัวละครพระเอกโรคจิตออกมา เราว่าตัวละครตัวนี้ต้องปะทะกับตัวละคร “คนที่สำเร็จความใคร่ด้วยการดูคลิปธรรมะ”
ใน INSURGENCY
BY A TAPIR (2016, Ratchapoom Boonbunchachoke, Wachara Kanha, Chulayarnnon
Siriphol, Chaloemkiat Saeyong) 55555
4.แต่ถ้าพูดถึงสถานการณ์ในหนัง
หนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึง CLOSELY WATCHED TRAINS (1966, Jirí Menzel,
Czechoslovakia) โดยบังเอิญนะ เพราะ CLOSELY WATCHED TRAINS พูดถึงชายหนุ่มชาวเช็คที่มีปัญหาในการมีเซ็กส์ในช่วงที่เช็คถูกยึดครองโดยเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
เหมือนสมรรถภาพทางเพศของเขาย่อหย่อนลงเมื่อเช็คถูกยึดครองโดยนาซีน่ะ เพราะฉะนั้น “สมรรถภาพทางเพศ”
กับ “ความเป็นอิสระทางการเมือง” จึงถูกเชื่อมโยงกันในหนังเรื่องนี้
และมันก็เลยทำให้เรานึกถึง DIARY OF A PURSE FUCKER ด้วย
5.และหนังอีกเรื่องที่ทำให้เรานึกถึงโดยบังเอิญขณะที่ดู DIARY OF A PURSE FUCKER ก็คือ A RIPE VOLCANO (2011, Taiki Sakpisit) 55555 เพราะว่า
A RIPE VOLCANO ก็ดูเหมือนจะสะท้อนสถานการณ์ทางการเมืองในไทยที่คุกรุ่น
อัดอั้นไปด้วยความไม่พอใจของผู้คนเหมือนกัน และพอ A RIPE VOLCANO นำความอัดอั้นทางการเมืองของผู้คนไปเปรียบเข้ากับ “ภูเขาไฟ” เราก็จินตนาการภาพในหัวขึ้นมาเองว่า
การทะลักของลาวาจากปากปล่องภูเขาไฟ มันก็คล้าย ๆ กับการหลั่งน้ำกามของผู้ชายเหมือน
ๆ กัน 5555 คือเหมือนสถานการณ์ทางการเมืองในหนังสองเรื่องนี้มีความคล้ายคลึงกันในแง่นึงน่ะ
และสถานการณ์ดังกล่าวก็ถูกนำไปเชื่อมโยงกับบางสิ่งที่คล้าย ๆ กันด้วย
นั่นก็คือการทะลักทะลายของลาวาจากปากปล่องภูเขาไฟ และการหลั่งน้ำกามของชายหนุ่ม
55555
24 (2021, Weerapat Sakolvaree, 8min, A+25)
เป็นหนังที่ตั้งตัวไม่ทันจริง ๆ 55555
ตอนแรกนึกว่าหนังยังไม่ได้เริ่มเล่า conflict อะไร
ปรากฏว่าหนังจบไปแล้ว เป็นหนังที่เหมาะกับการดูมากกว่า 1 รอบมาก ๆ
THE WHITE CHAIR CINEMA (2020, Nottapon Boonprakob, documentary,
A+20)
เดาว่าในอนาคตถ้าหากมีการรวบรวมคลิปเหตุการณ์ย่อย ๆ
เหล่านี้ที่ถ่ายโดย Nottapon มารวมเป็น compilation ในหนังเรื่องเดียวกัน
เราอาจจะได้หนังที่ทรงพลังมาก ๆ เรื่องนึง และเหมาะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้เด็ก
ๆ รุ่นหลังได้เรียนรู้ความเป็นอยู่ของคนไทยในยุคนี้มาก ๆ คือถ้า Harun
Farocki ทำหนังเรื่อง HOW TO LIVE IN THE GERMAN FEDERAL
REPUBLIC (1990) ด้วยการรวบรวมคลิปเหตุการณ์ย่อย ๆ มารวมกันเข้าเป็นหนังเพื่อเสียดสีนิสัยของคนเยอรมัน
และ Huang Weikai รวบรวมคลิปเหตุการณ์เหี้ย ๆ
เพื่อสะท้อนความบ้าบอคอแตกของประเทศจีนใน DISORDER (2009) เราว่าคลิปเหตุการณ์ย่อย ๆ ในหนังหลาย ๆ เรื่องของ Nottapon ก็น่าจะรวมกันได้เป็นหนังเรื่อง HOW TO SURVIVE IN THAILAND, THE
LAND OF VERTICAL SMILE ได้เช่นกัน
FACES OF THE FLOWERS (2020, Nottapon Boonprakob, documentary, A+30)
ดูแล้วแอบนึกถึง SAWANKHALAI (2017, Abhichon Rattanabhayon) ในแง่การถ่าย subjects ด้วยสายตาที่เป็นกลาง
ไม่ต้องชี้นำอะไร และปล่อยให้คนดูคิดเอง รู้สึกเอง
ซึ่งในกรณีของหนังทั้งสองเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ
THE EXISTENCE OF BABYLON (2021, Jaruphon Charoenpichet, 20min,
A+30)
ขตฺติยนคร
1.นึกว่าต้องปะทะกับ Jonas Mekas 55555 ในแง่ของการนำ home
video/home movies มาใช้อย่างหนักมือมาก, ไม่แคร์ลำดับเวลา และไม่รู้ว่าต้องการสื่ออะไร
(สำหรับคนดูอย่างเรา)
2.เอาจริง ๆ แล้วเราก็แทบไม่มีอารมณ์ร่วมกับหนังเรื่องนี้นะ เพราะพอดูหนังเรื่องนี้แล้วเราก็นึกขึ้นมาได้ว่า
เราแทบไม่เคยมี moments แบบนี้กับครอบครัวตัวเองน่ะ
เหมือนเราไม่คุยกับใครในครอบครัวโดยไม่จำเป็นตั้งแต่เด็ก ๆ เราคุยแต่กับตุ๊กตาเป็นส่วนใหญ่
เวลาอยู่บ้าน 55555
แต่เราก็ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ นะ เพราะมันตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของเราว่า
ครอบครัวคนอื่น ๆ เขาเป็นยังไงกัน
และจริงๆ แล้วเราว่า ผู้สร้างหนังก็อาจจะไม่ได้ต้องการให้ผู้ชมมีอารมณ์ร่วมก็ได้มั้ง
เหมือนหนังต้องการให้เราได้ดูเศษเสี้ยวชีวิตของคนคนนึง โดยมีระยะห่างมากพอสมควร
และไม่พยายามบอกให้เรารู้สึกอะไรกับสิ่งที่เห็น ซึ่งก็ถือเป็นสิ่งที่ดีในแง่นึง
3.พอดูหนังทั้งโปรแกรมแล้ว ก็ชอบโปรแกรมนี้มาก ๆ เพราะตอนแรกพอบอกว่า
เป็นหนัง “การเมือง” เราก็จะนึกว่า มันต้องเป็นหนังด่าเผด็จการอย่างตรงไปตรงมาน่ะ
(ซึ่งเราก็ชอบหนังกลุ่มนี้อย่างสุด ๆ เช่นกัน) แต่ปรากฏว่าทั้งหนังเรื่องนี้, 24 และ
DIARY OF A PURSE FUCKER มันแสดงให้เห็นว่า เราสามารถเอาสถานการณ์ทางการเมืองมาใช้ในแบบอื่น ๆ
ได้ด้วย
No comments:
Post a Comment