THE INTERNATIONALE (2018, Chulayarnnon Siriphol, 6min, A+30)
จุฬญานนนท์ เธอต้องการอะไรจากสังคมคะ 55555
สรุปว่าเราไม่รู้หรอกว่าหนังเรื่องนี้ต้องการจะสื่อถึงอะไร
หรือต้องการจะบอกอะไรกับผู้ชม ส่วนสิ่งที่หนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึง
โดยที่หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ ก็คือความลักลั่นของประเทศจีน
ที่อ้างตัวว่าเป็นคอมมิวนิสต์ แต่ก็ดูเหมือนจะมีความเป็นทุนนิยมอยู่ด้วย
และมีความเป็นเผด็จการอย่างเต็มที่
สาเหตุที่หนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงประเด็นข้างต้น
ส่วนนึงเป็นเพราะเพลงที่หนังใช้ ที่เนื้อหาของเพลงดูเชิดชูความเป็นคอมมิวนิสต์อย่างมาก
แต่มันถูกเอามาทำเป็นเพลง POP ROCK ซึ่งทำให้นึกถึงโลกเสรี/ทุนนิยม
และภาพของประเทศจีนในหนังเรื่องนี้ก็ดูเหมือนเป็นโลกทุนนิยมอย่างมาก
ส่วนการที่ตัวผู้กำกับแต่งตัวเป็นชุดนักเรียนหญิงญี่ปุ่นและ multiply ตัวเองอย่างรุนแรงนั้น
เหมือนพอไปอ่านใน statement แล้วผู้กำกับต้องการ refer
ถึงวง AKB48 แต่ตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เรายังไม่ทันได้นึกถึงประเด็นนั้น
เพราะวงดนตรีสาว ๆ พวกนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยอยู่ในหัวสมองของเราเลย 55555 เพราะฉะนั้นตอนที่ดูหนังเรื่องนี้
เราก็เลยนึกไปถึงกลุ่มสาว ๆ คอมมิวนิสต์ในหนังเรื่อง YOUTH (2017, Feng
Xiaogang) แทน
เพราะฉะนั้นตอนที่เราดู THE INTERNATIONALE เราก็เลยนึกไปถึงประเด็นเรื่องความเปลี่ยนแปลงของจีนน่ะ
จากทศวรรษ 1970 ที่จีนยังดูเป็นโลกคอมมิวนิสต์มาก ๆ และ “แขนขาของรัฐ”
มีสภาพเป็นสาว ๆ ที่แต่งชุดทหาร แต่พอมาในยุคปัจจุบันนี้ จีนดูเป็นโลก “เผด็จการทุนนิยม”
มาก ๆ และหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่แต่งชุดทหารก็หายไปหมดแล้ว เหมือนจีนไม่ได้ใช้วิธีการแบบเดิมในการควบคุมประชาชนแล้ว
แต่เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่ากองทัพนักเรียนสาวจำแลงในหนังเรื่องนี้ต้องการสื่อถึงอะไร
แต่ดูแล้วอยากส่งพวกเธอไปตบกับกลุ่มสาว ๆ
ใน YOUTH 55555
เนื้อแน่น (2021, อมต, 23min, A+30)
1.ดีใจสุด ๆ ที่มีผู้กำกับหน้าใหม่ของไทยทำหนังแนวนี้ออกมา
นั่นก็คือหนังที่มีการใช้ found footage จำนวนมาก เพราะเหมือนในแต่ละปี
เราได้ดูหนังไทยที่ใช้ found footage เป็นหลักแบบนี้ปีละไม่เกิน
5 เรื่องน่ะ หรือถ้านับจริง ๆ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
เราน่าจะได้ดูหนังไทยที่เน้นการใช้ found footage รวมกันแล้วไม่ถึง
30 เรื่องเลยมั้ง เหมือนหนังกลุ่มนี้เป็นหนังที่คนไทยไม่ค่อยทำกันน่ะ แต่หนังกลุ่มนี้เป็นหนังที่เราชอบ
เพราะในหัวของเรา เราก็ชอบตัดต่อฉากต่าง ๆ จากหนังหลาย ๆ
เรื่องเข้ามาไว้ด้วยกันอยู่แล้ว เหมือนในหัวของเราชอบเชื่อมโยงช็อตต่าง ๆ
จากหนังคนละเรื่องเข้ามาไว้ด้วยกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหนังแนว found
footage ก็เลยถูกโฉลกกับเรามาก ๆ เพราะหนังกลุ่มนี้มันคือการตัดแปะฉากต่าง
ๆ จากหนังคนละเรื่องเข้ามาไว้ด้วยกัน
2.ชอบมาก ๆ ด้วยที่หนังเรื่องนี้เป็นการตัดแปะฉากจากหนังต่างประเทศน่ะ
เพราะอันนี้เราก็ไม่ค่อยเจอคนไทยทำนะ เพราะหนัง found footage ส่วนใหญ่ของไทยที่เราเคยดู
มักจะใช้วัตถุดิบจากในไทยเองเป็นส่วนใหญ่ อย่างเช่นหนังของ Taiki Sakpisit,
Viriyaporn Boonprasert หรือหนังอย่าง อย่าลืมฉัน ของ มานัสศักดิ์
ดอกไม้, REPEATING
DRAMATIC (2008, Arpapun Plungsirisoontorn), งานนักขัตฤกษ์ของภูตพราย (2011,
สิทธิพร ราชา), กฤษดาภินิหารอันบดบังมิได้ของเน
วัดดาว (2013, ยิ่งศิวัช ยมลยง), แผลเก่า
(2016, Teeranit Siangsanoh) ก็ใช้วัตถุดิบจากในไทยเป็นหลัก
นาน ๆ ทีเราถึงจะเจอหนัง found footage ของไทยที่ใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นหลักหรือเป็นองค์ประกอบสำคัญ
อย่างเช่น MERMAIDS WEARING PANTS (2009, Ratchapoom Boonbunchachoke), GRINDHOUSE
FOR UTOPIA (2013, Tani Thitiprawat) และ BITH CAR CHASE SCENE SET 14 TIMES
(2018, Phaisit Phanphruksachat)
3.ไม่แน่ใจว่าคลิปหลายอันมันมาจาก educational
films หรือเปล่า คือถ้าใช่ เราก็ว่ามันเก๋ดี เพราะ
educational films มักจะเป็นสิ่งที่คนมองข้าม คือเอาเข้าจริงเราก็แทบไม่เคยดู
educational films อย่างจริง ๆ จัง ๆ น่ะ เรามักจะได้ดู educational
films ก็ต่อเมื่อมันมาอยู่ใน found footage films แล้วน่ะแหละ 5555 อย่างเช่นใน HOW TO LIVE IN THE GERMAN FEDERAL
REPUBLIC (1990, Harun Farocki, West Germany) หรือใน ALL
OTHER THINGS EQUAL (2020, Anya Tsyrlina, Russia)
4.ชอบการใช้คลิป “กล้ามแน่น ๆ” จาก BATTLESHIP
POTEMKIN (1925, Sergei M. Eisenstein, Soviet Union) ด้วย 55555
5.ชอบการร้อยเรียงคลิปจากสิ่งต่าง ๆ ที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน ทั้ง
educational films ของอเมริกา
(ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด), หนังโซเวียต และโยงมันมาถึงไทยได้ในที่สุด
6.ชอบที่มุมมองของมันดูเหมือนจะตรงข้ามกับหนังที่เราชอบสุดขีดอีกเรื่องนึงด้วย
นั่นก็คือหนังเรื่อง THE XFREE (2000, วสันต์ สำโรง) เพราะถ้าหากเราจำไม่ผิด
THE XFREE เป็นหนังที่หลงใหล “กล้ามเนื้อในงานประติมากรรมตรงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย”
น่ะ ซึ่งตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ในปี 2000 นั้น เราร้องวี้ดสุดเสียง
เพราะเราไม่เคยสนใจอนุสาวรีย์นี้มาก่อนเลย แต่พอหนังเรื่อง THE XFREE เอาสายตาแบบ queer ไปจับ
เราถึงเพิ่งรู้ว่าประติมากรรมตรงอนุสาวรีย์นั้นมัน sexy ขนาดนี้
แถมกล้องของหนังยังจับจ้องไปที่เป้านูน ๆ ของรูปปูนปั้นผู้ชายด้วย เราจำได้ว่าผู้ชมหัวเราะกันทั้งโรงในตอนนั้น
เพราะฉะนั้นหนังเรื่อง THE XFREE ก็เลยเหมือนเปลี่ยนความคิดของเราที่มีต่ออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปเลย
และเหมือนเปลี่ยนความคิดของเราที่มีต่องานประติมากรรมด้วย
เพราะเราไม่เคยมองสิ่งเหล่านี้ด้วยสายตาแบบ sexual หรือ erotic
มาก่อน 55555
แต่ “เนื้อแน่น” ก็เหมือนมอบมุมมองใหม่ให้กับเรา เพราะเหมือนหนังเรื่องนี้เชื่อมโยงบางอย่างในอนุสาวรีย์เข้ากับแนวคิด
fascist ซึ่งเราไม่เคยรับรู้หรือคิดถึงเรื่องนี้มาก่อน
เราก็เลยชอบมากที่หนังเรื่องนี้นำเสนองานประติมากรรมตรงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเหมือน
THE XFREE แต่เหมือนมองต่างมุมกันเลย มองกันคนละประเด็นเลย
55555
7.แต่เอาเข้าจริงแล้ว เราก็ชอบ “เนื้อแน่น” ตรงวิธีการนำเสนอ
มากกว่าประเด็นนะ 55555 เพราะเราทึ่งกับวิธีการนำเสนออย่างสุด ๆ น่ะ ที่เป็นการนำ found footage จากแหล่งต่าง
ๆ ที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันมาโยงเข้าด้วยกัน แล้วโยงมาถึงไทยได้ในที่สุด
แต่ในส่วนของประเด็นนั้น เรายอมรับว่าเราอินกับ THE XFREE มากกว่า
เพราะเราชอบกล้ามเนื้อแน่น ๆ ของผู้ชายในฐานะวัตถุรองรับอารมณ์ใคร่ของเรา
เวลาเรามองกล้ามเนื้อแน่น ๆ ของผู้ชาย เราไม่ได้คิดถึงเรื่องการเมืองแต่อย่างใด 55555
INTO THE HEART OF DARKNESS รักแรมทาง (2020,
Podcharakrit To-im, 30min, A+30)
สุดฤทธิ์ พิศวงมาก ๆ ไม่เข้าใจอะไรทั้งสิ้นในหนัง 55555 แต่หนังมีมนตร์เสน่ห์น่าหลงใหลมาก
ๆ สำหรับเรา ถ่ายสวยและทรงพลังมาก ๆ
ชอบอะไรหลาย ๆ อย่างในหนัง โดยที่ไม่เข้าใจทั้งสิ้นว่ามันหมายความว่าอะไร
อย่างเช่น
1.ฉากผู้หญิงสัมภาษณ์เพื่อนตัวเองที่เหมือนจะเดินทางไปเมืองนอก
เกี่ยวข้องอะไรกับส่วนอื่น ๆ ของหนัง
2.ชอบ setting ที่เป็นโรงเรียนกลางดึก
3.ชอบการให้ชายชราแต่งชุดนักเรียน แล้วไปโรงเรียนกลางดึก
4.บทสนทนาระหว่างครูกับนักเรียนก็พิศวง
5.กระดานดำนี่คืออะไร
6.ใครที่ชายชราเห็นที่ประตู
7.แล้วครูเดินหายไปไหน 5555
ชอบที่มันทำให้เรานึกถึง logic ของโลกแห่งความฝันน่ะ เพราะเวลาที่เราฝัน
เรามักจะฝันเห็นอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงของเรา แต่สิ่งต่างๆ ในความฝันมันจะไม่ถูกถ่วงด้วยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ในโลกแห่งความเป็นจริง และมักจะมีอะไรหลาย ๆ
อย่างผิดเพี้ยนไปจากโลกแห่งความเป็นจริงอยู่เสมอ โดยไม่สามารถหาคำอธิบายอะไรได้
ชอบที่มันมีพลังของโลกเซอร์เรียลที่ค่อนไปทาง “หนังสยองขวัญ” ด้วย
ยามรักษากาล (2018, 19min, A+30)
เคยดูตอนเป็น video installation เวอร์ชั่นสั้น
ที่จบลงตรงลูกโป่งยักษ์ลอยในหอศิลป์กทม.
พอมาเป็นเวอร์ชั่นยาว ก็รู้สึกว่ามันหลอกหลอนดีมาก เป็นการใช้เทคนิค computer graphic ที่ทรงพลังสุด
ๆ อยากให้มีคนเอาไปพัฒนาเป็น virtual city “BANGKOK:
THE CITY OF THE DEAD” เพื่อให้เด็ก ๆ รุ่นใหม่หรือผู้สนใจในประวัติศาสตร์การเมือง
ได้ท่องไปในโลกเสมือนนี้เพื่อเรียนรู้ว่า ตรงจุดไหนเคยเกิดอะไร มีใครตายบ้าง
ดูแล้วนึกว่าต้องปะทะกับหนังเรื่อง YOUR FATHER WAS BORN A 100 YEARS
OLD, AND SO WAS THE NAKBA (2017, Razan AlSalah, Palestine, A+30) เพราะหนังปาเลสไตน์เรื่องนี้ใช้
city landscape ในการสะท้อนภาพการกดขี่เช่นกัน โดยใน YOUR
FATHER นั้น หนังทั้งเรื่องถ่ายทำจาก google street view ของเมือง Haifa ในอิสราเอล โดยกล้องก็ถ่ายภาพจาก google
street view ของเมืองนี้ไปเรื่อย ๆ
แต่เสียงบรรยายเป็นเสียงของหญิงชราชาวปาเลสไตน์ที่เคยอยู่เมืองนี้
และเธอก็บรรยายแต่ละจุดที่เธอเห็นจาก google street view
ว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน ตอนที่เมืองนี้ยังเป็นของชาวปาเลสไตน์
แต่ละจุดในเมืองนั้นมันเคย “เปี่ยมไปด้วยชีวิตของชาวปาเลสไตน์” อย่างไรบ้าง
เราว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้มันเหมือนเป็นการซ้อนทับกันของภาพเมืองในปัจจุบัน
หรือเมืองของคนเป็น กับ “อดีตที่ยังไม่ได้รับการชำระ, ยังไม่ได้รับการเยียวยา
และยังไม่ได้รับความยุติธรรมของผู้ที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในเมืองนั้น/ผู้ที่ถูกฆ่าตายในเมืองนั้น”
น่ะ ชาวอิสราเอลบางคนอาจจะมองภาพเมือง Haifa ในปัจจุบันว่า
เป็นเมืองของตัวเอง แต่ชาวปาเลสไตน์ที่เคยอยู่ในเมืองนั้น คงจะมองภาพเมือง Haifa
ด้วยความรู้สึกโศกเศร้าอย่างรุนแรงที่ไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในเมืองนั้นได้เหมือนในอดีต
ซึ่งความแตกต่างกันอย่างรุนแรงในการมองสิ่งๆเดียวกันนี้ คงจะคล้ายกับมุมมองของคนไทยแต่ละฝ่ายที่มองสถานที่บางแห่งหรือคนบางคนในแบบที่แตกต่างจากกันอย่างรุนแรง
บันทึกสุดท้าย ดา ตอร์ปิโด (2020, นัชชา
ตันติวิทยาพิทักษ์, มุทิตา เชื้อชั่ง, documentary, A+30)
อาจจะฟังดูโง่ ๆ แต่บางทีเราก็รู้สึกว่า YOU ARE MY AVENGERS, YOU ARE MY
SUPERHEROES, IN REAL LIFE, IN REAL FLESH AND BLOOD, IN REAL TEARS, REAL PAIN,
REAL SUFFERING นวมทอง ไพรวัลย์, ไม้หนึ่ง ก. กุนที, อากง, ดา ตอร์ปิโด
No comments:
Post a Comment