THE PIANO TEACHER (2001, Michael Haneke, France/Austria/Germany,
second viewing, A+30)
รู้สึกว่าตัวเองตัดสินใจถูกที่มาดูหนังเรื่องนี้รอบสองในโรงใหญ่
หลังจากที่เคยดูรอบแรกทางวิดีโอไปแล้วเมื่อ 20 ปีก่อน
เพราะถ้าหากเราไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ในจอใหญ่
เราก็คงไม่ได้สังเกตเห็นความหล่อน่ากินของ Thomas Weinhappel ที่รับบทเป็นนักเรียนหนุ่มอีกคนของนางเอก
55555
คือตอนที่ดูหนังเรื่องนี้รอบแรกทางวิดีโอ เราก็กรี๊ดกร๊าดแค่กับ Benoit Magimel (ซึ่งจริง
ๆ ก็กรี๊ดมาตั้งแต่เห็นเขาในหนังเรื่อง CHILDREN OF THE CENTURY และ THE KING IS DANCING แล้ว) เพราะถึงแม้มันจะเป็นการดูในจอเล็ก
ความหล่อของเขาก็ทะลุจอออกมาอย่างไม่อาจจะต้านทานได้
แต่การดูในจอเล็ก ๆ
มันทำให้ไม่เห็นความหล่อของตัวประกอบที่กล้องไม่ได้โคลสอัพใบหน้าของพวกเขาน่ะค่ะ ของแบบนี้บางทีมันต้องพึ่งจอใหญ่
ๆ เท่านั้น เราถึงจะเห็นได้อย่างกระจะ ๆ แก่ลูกนัยน์ตาของเรา 5555
พอมาดูหนังเรื่องนี้ในจอใหญ่ ก็เลยได้เห็นว่า ลูกศิษย์อีกคนของนางเอก
ก็หล่อน่ารักมาก ๆ กรี๊ดกร๊าด นักแสดงที่เล่นเป็นลูกศิษย์คนนี้ชื่อ Thomas Weinhappel และตอนนี้เหมือนเขายึดอาชีพเป็นนักแสดงละครโอเปร่ามั้ง
ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด
รูปซ้ายคือ Thomas Weinhappel รูปขวาคือ Benoit Magimel
MOUNTAIN STORYTELLERS, STORYTELLING MOUNTAINS: A TALE THEATRE
(2020, Rice Brewing Sisters Club, South Korea, video installation, 16min, A+30)
วิดีโอที่แบ่งออกเป็น 7 องก์ พูดถึงตำนานพื้นบ้านต่าง ๆ
ทั้งเรื่องของเทพธิดาโกซารี, ดวงไฟอสูรใต้ต้นหลิว, หอยภูเขา, ไม้เท้าของคนขุดโสม,
โซคูริกับภูดคโยฮวัน, หมูป่าแห่งเมล็ดพันธุ์ และเส้นด้ายใยไหม
เหมือนเราจำภาพในวิดีโอนี้ไม่ค่อยได้แล้ว (ดูมานานกว่า 1 เดือนแล้ว)
แต่เราชอบพวกตำนานพื้นบ้าน ภูตผีปีศาจเหล่านี้มาก ๆ เหมือนเราไม่เคยได้ยินเรื่องพวกนี้จากหนังสยองขวัญของเกาหลีใต้เลยด้วย
ก็เลยรู้สึกว่ามันน่าสนใจดีที่จริงๆ แล้วหลายประเทศทั่วโลกมันคงมีตำนานพื้นบ้าน,
ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติต่าง ๆ มากมาย แต่ตำนานพื้นบ้านเหล่านี้มันไม่ค่อยถูกนำเสนอออกมาให้ชาวโลกได้รับรู้
เพราะมันไม่เข้ากับ “สูตรสำเร็จของหนังสยองขวัญ”
ดูแล้วนึกถึง STORYTELLERS (2013, Ryusuke Hamaguchi, Ko
Sakai, Japan, documentary, A+30) มาก ๆ เลยด้วย
INTERVAL/วรรค (2022, Nat Sethana, Wathinee
Srithongchuai, video installation?, A+30)
1.ไม่รู้อันนี้เรียกว่า video installation ได้หรือเปล่า
5555 เพราะสิ่งที่เราเห็นอยู่ตรงหน้าประกอบด้วย “ภาพนิ่ง” ราว 80% และ “text ที่เคลื่อนไหว” ราว 20% แต่เนื่องจากส่วนที่เป็น text ของมันมีการเคลื่อนไหว
เราก็เลยรู้สึกเหมือนกับว่ามันมีความเป็น video installation อยู่ด้วย แต่ก็ไม่แน่ใจว่าเขาจัดประเภทงานชิ้นนี้ว่าอย่างไร แต่เราชอบตรงที่มันจัดประเภทได้ยากนี่แหละ
2.ไม่รู้ว่างานชิ้นนี้จริง ๆ แล้วยาวกี่นาที
แต่เราได้ดูไปแค่ 20 นาทีเท่านั้นเอง ซึ่งถึงแม้เราจะดูไม่ครบ แต่ก็ชอบสุดๆ เราเดาว่าภาพนิ่งในงานชิ้นนี้เป็นภาพถ่ายสถานที่ต่าง
ๆ ที่น่าจะเป็นสวนสาธารณะ และสะพานลอยแถวสวนลุม
3.ชอบบทสนทนาของตัวละครในเรื่องมาก ๆ เหมือนตัวละครในเรื่องแสดงความเห็นต่อพฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบันได้น่าสนใจดี
เราว่าตัวละครในเรื่องเหมือนเป็นญาติห่าง ๆ กับตัวละครในหนังของ Nawapol Thamrongrattanarit ด้วยแหละ 555555 บอกไม่ถูกเหมือนกัน คือเหมือนเป็น “คนหนุ่มสาวที่ฉลาด รู้ทันกระแสสังคม
และสามารถวิพากษ์วิจารณ์กระแสสังคมได้ในระดับหนึ่ง” คือมันไม่ใช่ตัวละครหนุ่มสาวที่
“ตามกระแสสังคมไปเรื่อย ๆ เขาทำอะไรก็ทำตาม ๆ กันไปเพียงเพราะมัน
fashionable, trendy” แต่ก็ไม่ใช่ตัวละครที่ฉลาดเป็นกรด,
มีความเป็นนักวิชาการ แบบในหนังของ Jean-Luc Godard และก็ไม่ใช่คนแบบเราที่ไม่รู้และไม่คิดจะไล่ตามกระแสสังคมใด
ๆ ทั้งสิ้น ขอเป็นคนเชย ๆ ตกยุคล้าสมัยต่อไป 55555
4.ชอบไอเดียของงานอย่างสุดๆ ด้วยแหละ
คือแทนที่จะให้เราเห็นภาพเคลื่อนไหว เป็น video installation แบบปกติ
เรากลับได้เห็นแต่ภาพนิ่งแทน และเราก็ต้องเลือกเองว่าในแต่ละวินาทีไหนเราจะจับตามองไปที่ภาพใดพร้อมกับต้องคอยอ่าน
text ที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
ซึ่งถึงแม้ภาพในงานชิ้นนี้มันจะนิ่ง แต่พอมันประกอบเข้ากับ text ในเรื่องแล้ว
มันก็เหมือนกับกระตุ้นให้เราสร้างภาพเคลื่อนไหวขึ้นมาในหัวเองได้ คือไม่ว่างานชิ้นนี้มันจะจัดประเภทได้ว่าเป็น
video installation หรือไม่
แต่ผลที่มีต่อผู้ชมงานอย่างเราก็คล้าย ๆ กับได้ดู video installation ชิ้นนึง แต่เป็น video installation ที่เกิดจากจินตนาการของตัวผู้ชมเองด้วย
55555
5.ก่อนหน้านี้เคยดูงานของคุณ Nat Sethana อีกสองงาน ซึ่งก็คือ RECOLLECTIVE
SPACE ที่หอภาพยนตร์ ศาลายา กับ (UN)RECOGNIZED PROJECTION
(2018) ที่ BACC ซึ่งก็ชอบสุด ๆ ทั้งสองงาน
เหมือน concept ในงานของเขามันน่าสนใจมาก ๆ
No comments:
Post a Comment