WORSHIP
(2022, Uruphong Raksasad, documentary, A+30)
บูชา
1.เป็นหนังที่เราประทับใจ
cinematography มากกว่าเนื้อหา 555555
คือรู้สึกว่าการถ่ายภาพในหนังเรื่องนี้มันทรงพลัง cinematic ตะลึงลานมาก ๆ
เหมือนถ้าหากมีใครจะให้ยกตัวอย่างหนังไทยที่เรารู้สึกว่าถ่ายภาพสวยและทรงพลัง
เราก็อาจจะยกตัวอย่างหนังเรื่องนี้
2.สาเหตุที่เรารู้สึกแบบนี้เป็นเพราะว่า
เนื้อหาของ WORSHIP
มีทั้งส่วนที่เราสนใจมาก,
ส่วนที่เราสนใจปานกลาง และส่วนที่เรารู้ ๆ มาบ้างแล้วน่ะ ซึ่งส่วนที่เรารู้ ๆ
มาบ้างแล้วก็คือพวกฉากเทศกาลกินเจ หรือการออกฤทธิ์ออกเดชตอนสวดภาณยักษ์
อะไรทำนองนี้ เพราะเรื่องราวในส่วนนั้นเป็นส่วนที่เราเคยเห็นจากหนังไทยเรื่องอื่น
ๆ มาบ้างแล้ว อย่างเช่นจากภาพยนตร์เรื่อง “ม้าทรง” (2016, Abhichon Rattanabhayon, Watcharee
Rattanakree, documentary, 22min) และ TELECHANTE
(1992, Kasemson Brahmasuha, Chavalit Sattamsakul, Yonghong Sae-Tiew, Phaisit
Phanphruksachat, 10min)
แต่ถึงแม้หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ให้
“ข้อมูลใหม่” แก่เราในเนื้อหาส่วนนี้
เพราะเรารู้อยู่บ้างแล้วว่าอาจจะเกิดอะไรขึ้นในงานพิธีเหล่านี้ หนังเรื่องนี้ก็ทำให้เราว้าวไปกับงานด้านภาพได้ในส่วนนี้น่ะ
โดยเฉพาะในส่วนของเทศกาลกินเจที่ถ่ายภาพออกมาได้ทรงพลังสุดตีนมาก ๆ และยิ่งมานึกว่าเนื้อหาส่วนนี้เป็นสารคดี
ไม่ได้จัดฉากจัดแสงจัดจังหวะอะไรมาก่อนล่วงหน้า เราก็ยิ่งรู้สึกว้าวมากยิ่งขึ้น
3.คือตอนที่ดูหนังเรื่องนี้
เราจะนึกถึงหนังอีกเรื่องควบคู่กันไปตลอดเวลาน่ะ ซึ่งก็คือภาพยนตร์เรื่อง “ทวาทศมาส”
(2013, Punlop
Horharin, documentary, 222min) ที่เป็นการสำรวจพิธีกรรมความเชื่อของกลุ่มคนต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย
แล้วพอนึกเปรียบเทียบกันแล้ว
เราก็จะรู้สึกได้เลยว่า จุดเด่นของ “ทวาทศมาส” คือ “เนื้อหา” น่ะ
เพราะมันอัดแน่นไปด้วยข้อมูลที่น่าสนใจมากมายเกี่ยวกับพิธีกรรมต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย
ในขณะที่ “บูชา” นั้น น่าจะแพ้ “ทวาทศมาส” ในด้าน “ข้อมูล” หรือ “เนื้อหา”
แต่จุดเด่นของบูชาที่เห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับทวาทศมาส ก็คือพลังความ cinematic พลังการถ่ายภาพนี่แหละ เราก็เลยบอกได้ง่าย ๆ
เลยว่า เรากรี๊ดกับการถ่ายภาพในบูชามาก ๆ แต่เราสนใจเนื้อหาในหนังอย่าง “ทวาทศมาส”
มากกว่า
4.แต่บูชาก็มีเนื้อหาในส่วนที่เราสนใจมาก
ๆ เช่นกันนะ นั่นก็คือเรื่อง “นาคโหด” ที่เราไม่เคยรู้จัก ไม่เคยได้ยินมาก่อน
แล้วหนังก็ไม่บอกด้วยนะว่าถ่ายที่จังหวัดอะไร ไม่บอกด้วยว่ามันเรียกว่า “นาคโหด”
555555
คือเราเพิ่งรู้ว่ามันเรียกว่านาคโหดก็เมื่อเพื่อนเราเขียนถึงหนังเรื่องนี้นี่แหละ
5.ส่วนเนื้อหาของหนังเรื่องนี้ที่เราสนใจปานกลาง
ก็คือการเก็บฟุตเตจของ “พุทธพาณิชย์” ในรูปแบบต่าง ๆ
คือเหมือนเราไม่คิดจะข้องเกี่ยวกับอะไรพวกนี้ในชีวิตจริงอยู่แล้ว
แต่ถ้าหากมีคนไปเก็บฟุตเตจพระ, ญาติโยม
ที่สัมพันธ์กันด้วยเงินและความอยากร่ำรวยเหล่านี้มาให้เราดูแบบในหนังเรื่องนี้
เราก็ดูได้ด้วยความรู้สึกขำขัน, ทึ่ง และมองว่ามันก็น่าสนใจดีเหมือนกัน
6.ส่วนเนื้อหาส่วนอื่น
ๆ เราก็ดูได้อย่างเพลิดเพลิน ทั้งเรื่องของเขาคิชฌกูฏ
และการถ่ายคนที่เต้นรำรื่นเริงกันในขบวนแห่นาค คือพอหนังมันถ่ายสวยมาก ๆ
เราก็ดูได้อย่างเพลิดเพลินน่ะ
7.ดูแล้วนึกถึงหนังสารคดีอย่าง
OUR DAILY BREAD
(2005, Nikolaus Geyrhalter, Germany/Austria) และ IN COMPARISON (2009, Harun Farocki) ด้วยนะ
เพราะหนังสารคดีสองเรื่องนี้ก็เป็นการเรียงร้อยซีนต่าง ๆ จากหลาย ๆ แหล่ง หลาย ๆ
สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของหนังเข้ามาไว้ด้วยกัน โดยแทบไม่มีการสัมภาษณ์ subjects อะไรใด ๆ เลย
แต่หนังก็ทำออกมาได้อย่างทรงพลังสุดขีดทั้งสองเรื่อง เหมือนหนังเหล่านี้มันต้องอาศัยการ
research ข้อมูลที่ดีมาก ๆ จากหลาย ๆ สถานที่, สายตาที่เฉียบคมมาก
ๆ ในการถ่ายภาพออกมาให้ได้อย่างทรงพลัง
และการเรียงร้อยตัดต่อซีนเข้าด้วยกันให้หนังออกมาดูลื่นไหล
กราบหนังทั้งสามเรื่องนี้มาก ๆ
8.ในส่วนของพุทธพาณิชย์ในหนังเรื่องนี้นั้น
ดูแล้วเราก็นึกถึงประเด็นส่วนตัวบางอย่างที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับหนังโดยตรงนะ
แต่เราขอจดบันทึกความทรงจำของเราไว้ด้วยแล้วกัน
8.1 คือเราเป็นคนเชื่อเรื่องไสยาศาสตร์
เชื่อเรื่องแม่มด ผีสาง และเป็นคนที่ซื้อล็อตเตอรี่เป็นครั้งคราว แต่ทำไมเราไม่อินกับพุทธพาณิชย์แบบในหนังเรื่องนี้
เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่พอดูหนังเรื่องนี้เราก็เลยสงสัยว่า
หรือที่กูจนอยู่ทุกวันนี้ เป็นเพราะเราไม่เชื่อเรื่องพวกนี้นะ
ถ้าหากเราหันไปเชื่อเรื่องพวกนี้แบบชาวบ้านคนอื่น ๆ บ้าง
บางทีเราอาจจะถูกหวยกับเขาไปบ้างแล้วก็ได้ 55555
8.2 หรือบางทีเส้นทางที่จะทำให้คนในประเทศนี้ร่ำรวยขึ้นมาได้
อาจจะไม่ใช่การหันไปเชื่ออะไรพวกนี้ แต่อาจจะเป็นการตั้งตัวเป็นผู้วิเศษเสียเอง
555555
คือพอดูคนจำนวนมากมาบูชานับถืออะไรต่าง
ๆ แบบในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยนึกถึงประสบการณ์ตอนที่เราแต่งเรื่องแต่งราวขึ้นมาสด
ๆ ฮา ๆ เรื่อง “ความศักดิ์สิทธิ์ของรูปปั้นคุณหญิงกีรติ” น่ะ คือตอนนั้นเราคิดเองเออเองว่าทุกคนที่อ่านสิ่งที่เราเขียนน่าจะรู้อยู่แล้วว่ามันเป็นเรื่องตลก
ฮา ๆ ไม่ใช่เรื่องจริง แต่พอเราโพสไป ปรากฏว่ามีคนมากดไลค์กดแชร์จำนวนมาก ราวกับว่ามีบางคนเชื่อหรืออยากจะเชื่อว่าสิ่งที่เราเขียนไปเป็นเรื่องจริง
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10215333181266135&set=a.10206445257193588
ประสบการณ์ในครั้งนั้นก็เลยสอนเราว่า
บางทีมันอาจจะไม่ใช่เรื่องยากเกินไปก็ได้นะ ในการแต่งตำนานอะไรบางอย่างขึ้นมาสด ๆ
ในการไปกำหนดให้ “วัตถุ” บางอย่างกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
มีอิทธิฤทธิ์เร้นลับพิสูจน์ไม่ได้อะไรขึ้นมา แล้วพอเราแต่งตำนาน แต่งเรื่องต่าง ๆ
ขึ้นมาแล้ว เราก็แพร่มันออกไป แต่งข่าวลือฮือฮาอะไรต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ
แล้วบางทีคนจำนวนมากอาจจะเชื่อมันก็ได้ แล้วก็หันมาบูชากราบไหว้วัตถุนั้นว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
กราบไหว้บุคคลนั้นว่าเป็น “ผู้วิเศษ” ดูอย่างตำนานเทพเจ้าตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกสิ
บางทีตำนานเทพเจ้าบางอัน อาจจะมีที่มาจากคนบางคนที่ทำแบบเรา แต่งเรื่องขึ้นมาสด ๆ
เรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ แล้วคนก็เอาไปลือกัน ไปเชื่อกัน
กำหนดว่าเทพเจ้าองค์นี้มีประวัติความเป็นมาแบบนี้ มีรูปกายแบบนี้ ต้องบูชาในเพลานี้
ต้องบูชาด้วยสิ่งเหล่านี้ แล้วเทพเจ้าองค์นี้จะให้คุณแบบนี้ คือเราเชื่อว่าเทพเจ้าบางองค์ก็อาจจะมีจริง,
บางองค์ก็อาจจะเป็นมนุษย์ต่างดาวที่เคยมาเยือนโลกในอดีต
และบางองค์ก็อาจจะเกิดจากการที่ใครสักคนแต่งเรื่องขึ้นมาสด ๆ แบบเรานี่แหละ
คือพอดูหนังเรื่อง
“บูชา” เราก็เลยคิดขึ้นมาฮา ๆ ว่า บางทีในประเทศที่ไม่มีสวัสดิการสังคมและไม่มีโครงสร้างทางสังคมที่จะคอยช่วยเหลือคนจนแบบนี้
หนทางที่จะช่วยให้เราถีบตัวเองออกจากความยากจนได้ อาจจะไม่ใช่การหันไปนับถือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง
ๆ ที่คนเขาลือกันว่าใบ้หวยได้เก่ง แต่เป็นการตั้งตนขึ้นมาเป็นผู้วิเศษเสียเอง หรืออุปโลกน์วัตถุอะไรสักอย่างให้กลายเป็นของวิเศษขึ้นมาเอง
แล้วแต่งเรื่องแต่งราวให้เนียน ๆ เพื่อให้คนมานับถือบูชาแล้วเอาเงินมาประเคนให้เรา
5555
ยกตัวอย่างเช่น
วันนึงเราอาจจะเอาวัตถุอะไรสักอย่างมาโชว์ สมมุติว่าเป็น “คันทวย” เก่า ๆ
แล้วเราก็เล่าเรื่องว่า เนี่ย มีคนมาเข้าฝัน บอกให้ไปขุดตรงนู้นตรงนี้
ขุดแล้วก็เจอคันทวยโบราณนี้ฝังดินอยู่ คันทวยนี้มีเจ้าแม่จากสมัยทวาราวดีหรือยุคก่อนหน้านั้นสิงสู่อยู่ด้วยนะ
แล้วเราก็แต่งเรื่องแต่งราวแต่งประวัติเจ้าแม่ไปเรื่อย ๆ แต่งเรื่องว่าเจ้าแม่คันทวยนี้มีศัตรูคนสำคัญคือเจ้าแม่ลมหวน
แล้วก็เล่าอภินิหารอะไรไปเรื่อย ๆ กำหนดกฎเกณฑ์ในการบูชาวัตถุนี้ แล้วก็เปิดให้คนมากราบไหว้บูชาวัตถุนี้
พร้อมกับตั้งสำนัก “เจ้าแม่คันทวย กระบวยตักเหียก” อะไรทำนองนี้ขึ้นมา 55555 คืออันนี้คิดขึ้นมาเล่น
ๆ ฮา ๆ นะ คือเราคิดว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์บางอันก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จริง ๆ นั่นแหละ
และเราจะไม่กล้าไปลบหลู่สิ่งนั้นเป็นอันขาด แต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์บางอันอาจจะมีต้นกำเนิดขึ้นมาจากการแต่งเรื่องอะไรแบบนี้ก็ได้
No comments:
Post a Comment