Monday, August 15, 2022

MENTAL VERSE 2: WE DO CRY (2022, Wattanapume Laisuwanchai, documentary, A+30)

 

ชอบที่ Ed Halter เคยเขียนถึง SATANTANGO ใน Village Voice มาก ๆ เขาเขียนว่า ภาพยนตร์แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 เริ่มต้นด้วยการใช้ภาพ montage อย่างบ้าคลั่งในผลงานของ Dziga Vertov และ D.W. Griffith ด้วยความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่และการสร้างโลกใหม่ และภาพยนตร์แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็สิ้นสุดลงด้วยการถอนหายใจอย่างยาวนานในภาพยนตร์ของ Bela Tarr ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดได้อย่างโหดร้ายถึงขีดจำกัดของมนุษย์และแรงถ่วงจากอดีตอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยเขาถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ออกมาผ่านทางงานด้านภาพอันยอดเยี่ยมจนไม่อาจกะพริบตา

 

If 20th-century cinema begins with the montage frenzies of Vertov and Griffith, possessed by a cocksure project to remake history and the world, then it ends with the long sigh of Tarr, brutally conveying the inescapable weight of history and human limitation through monuments of unblinking vision.

 

จำได้ว่าหลังจากนั้นมีนักวิจารณ์บางคนเขียนด้วยว่า ภาพยนตร์แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 เริ่มต้นด้วยฉากซูฉีเดินตอนต้นเรื่องใน MILLENNIUM MAMBO (2001, Hou Hsiao-hsien)

--------------------------------------

MENTAL VERSE 2: WE DO CRY (2022, Wattanapume Laisuwanchai, documentary, A+30)

 

1.เนื้อเพลง OH FATHER (1989) ของ Madonna

It's funny that way, you can get used
To the tears and the pain
What a child will believe
You never loved me

You can't hurt me now
I got away from you, I never thought I would
You can't make me cry, you once had the power
I never felt so good about myself

Seems like yesterday
I lay down next to your boots and I prayed
For your anger to end
Oh Father I have sinned

You can't hurt me now
I got away from you, I never thought I would
You can't make me cry, you once had the power
I never felt so good about myself

Oh Father you never wanted to live that way
You never wanted to hurt me
Why am I running away
Oh Father you never wanted to live that way
You never wanted to hurt me
Why am I running away

Maybe someday
When I look back I'll be able to say
You didn't mean to be cruel
Somebody hurt you too

You can't hurt me now
I got away from you, I never thought I would
You can't make me cry, you once had the power
I never felt so good about myself

You can't hurt me now
I got away from you, I never thought I would
You can't make me cry, you once had the power
I never felt so good by myself

 

2. ผู้ชมคนหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า Alexandros Nomikos แสดงความเห็นต่อ music video เพลง OH FATHER ของ Madonna ในยูทูบว่า “This song and video prevented me from committing suicide as I had been bullied at school and also by my father repeatedly.

https://www.youtube.com/watch?v=qvVvN0QvzTk

 

3.เมื่อได้ดู MENTAL VERSE 2 เราก็นึกถึงเพลง OH FATHER อย่างรุนแรง เพราะเนื้อหาของ MENTAL VERSE 2 มันเน้นพูดถึงปิตาธิปไตย, ผลกระทบจากพ่อที่มีต่อลูก และเนื้อหาในส่วนที่ 4 ของหนังที่พูดถึง “พ่อเมธ” นั้น มันก็ทำให้เรานึกถึงเนื้อร้องในเพลงนี้ที่ว่า “Maybe someday
When I look back, I'll be able to say
You didn't mean to be cruel
Somebody hurt you too

 

4.ความเห็นของ Alexandros ที่มีต่อเพลงและ MV ของ “OH FATHER” นั้น ก็ทำให้เรานึกถึงความรู้สึกของตัวเราเองที่มีต่อหนังเรื่อง MENTAL VERSE ภาคแรกและภาคสองในแง่หนึ่งด้วย คือหนังสองภาคนี้ไม่ได้ถึงขั้น “ทำให้เราไม่ฆ่าตัวตาย” (เพราะเรามาดูมันตอนที่เราอายุ 49 ปีแล้ว แต่ถ้าหากเราได้ดูหนังแบบนี้ตอนที่เราอายุ 10-19 ปี มันก็คงมีส่วนช่วยยืดอายุเราไปแล้วเช่นกัน) แต่มันช่วยเยียวยาจิตใจเราได้อย่างรุนแรงในแง่ที่ว่า สิ่งที่เราเคยเจอหรือกำลังเจออยู่ มันก็มีคนอื่น ๆ อีกหลายคนเคยเจอมาแล้วเช่นกัน และเจอในระดับที่รุนแรงกว่าเราหลายเท่าด้วย การได้รับรู้ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานของผู้อื่นแบบนี้ ในแง่หนึ่งมัน relate กับบาดแผลในใจเราเอง และมันช่วยให้เรารู้สึกเหมือนได้รับการยอมรับหรือมีตัวตนขึ้นมาบ้าง อย่างที่เราเคยเขียนถึงเกี่ยวกับ MENTAL VERSE ภาคแรกนั่นแหละ ว่าสำหรับเรานั้น หนังเรื่องนี้เหมือนกับอ้อมกอดที่มาประคับประคองเราไว้ บอกว่า “เราไม่ใช่คนเดียวนะที่เจ็บปวดแบบนี้”

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10228791910525955&set=a.10227993335122069

 

5.แต่โดยรวมแล้วเราก็อาจจะอินกับภาคสองน้อยกว่าภาคแรกนิดนึงนะ เพราะภาคสองเน้นไปที่เรื่อง “ความเชื่อแบบผิด ๆ ที่ว่า ผู้ชายไม่ควรร้องไห้” เราก็เลยไม่ได้มีประสบการณ์ร่วมตรงจุดนี้ เพราะเราไม่ได้เข้าข่ายนี้อยู่แล้ว 5555 เพราะเราไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นผู้ชาย และเราร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว เราก็เลยเหมือนไม่เคยถูกกดดันจากความเชื่อแบบผิด ๆ นี้ แต่เราไปถูกกดดันจากความเกลียดเกย์ของคนบางกลุ่มแทน นอกจากนี้ พ่อของเราก็ตายตั้งแต่เราอายุ 3 ขวบด้วย เราก็เลยอาจจะไม่ได้มีประสบการณ์ร่วมที่ตรงกับ subjects ในเรื่องมากนัก แต่ในแง่ mental trauma บางอย่างนั้นเราก็สามารถ relate ด้วยได้

 

6.ชอบ “ทีม” ที่เป็น subject คนแรกอย่างรุนแรงมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ในแง่ที่ว่า เขาออกจากบ้านไปเลย คือพอเขามีปัญหากับที่บ้าน เขาก็กล้าหาญชาญชัยและเด็ดเดี่ยวมากจนถึงขั้นที่ออกจากบ้านมาเลย และหาเลี้ยงชีพยืนหยัดอยู่ด้วยลำแข้งของตัวเองได้ในที่สุด

 

คือมันคือหนึ่งใน THE ROAD NOT TAKEN สำหรับเราน่ะ มันคือ “หนึ่งในเส้นทางชีวิตที่เราเคยคิดที่จะเลือกเดิน” ในวัยรุ่น อย่างที่เราเคยเขียนไปแล้วว่า เราเคยคิดที่จะฆ่าตัวตายบ่อยครั้งมากในช่วงที่เป็นวัยรุ่น และในตอนนั้นเราก็เคยคิดเช่นกันว่า แทนที่จะฆ่าตัวตาย เราแค่ออกจากบ้านแล้วไปตั้งต้นใช้ชีวิตด้วยตัวเองที่อื่นไหม ไปขายแรงงาน ทำงานต่ำต้อยอะไรก็ได้ อย่างน้อยก็ยังใช้ชีวิตได้ต่อไป ไม่ต้องฆ่าตัวตาย

 

เพราะฉะนั้นเราก็เลยเหมือนเข้าใจจิตใจของคนที่อยากหนีออกจากบ้านในแง่นึง เพราะเราเองก็เหมือนเคยผ่านจุดนั้นมาแล้ว และเราก็เลยรู้สึกหลงใหลตัวละครพระเอกหรือตัวละครในหนังสั้นไทยบางเรื่องที่หนีออกจากบ้านไปเลยตั้งแต่เป็นวัยรุ่น โดยที่หนังไม่ได้บอกว่าพวกเขาทำผิด แต่บอกว่าพวกเขาทำถูกต้องแล้วที่หนีออกจากบ้านอันโหดร้ายไป อย่างเช่นตัวละครพระเอกหนุ่มใน “บังเกิดเกล้า” (2011, Kamontorn Eakwattanakij, 35min) และ LET THE DOVES FLY (2017, Anuroth Ketlekha)

 

เพราะฉะนั้น คุณ “ทีม” ที่เป็น subject ของหนังเรื่องนี้ ก็เลยมีคุณสมบัติตรงกับพระเอกหนังในจินตนาการของเรามาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ 555555 ชอบผู้ชายแบบนี้มาก ๆ อยู่ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาทางบ้านหรือครอบครัว

 

7.แต่ปรากฏว่า moment ที่ลืมไม่ลงที่สุดในส่วนของคุณทีม คือ moment ที่ภรรยาของคุณทีมฝากคุณทีมให้ซื้อมีดตัดเล็บ หรืออะไรทำนองนี้ 55555 ไม่รู้ทำไมถึงรู้สึกว่า moment นี้มันน่าประทับใจสุดๆ บางทีอาจจะเป็นเพราะมันดูเป็นมนุษย์ดีมั้ง มันเหมือนเป็นอะไรน่ารักเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตที่หนังไม่ได้มองข้ามไป

 

8.ส่วนของคุณปลานั้น เราฝังใจกับเรื่องพ่อที่เป็นเจ้าของอพาร์ทเมนท์ที่ทำงานทุกอย่างในอพาร์ทเมนท์ด้วยตัวเองมาก ๆ รู้สึกว่ามันรุนแรงมาก

 

9.เรื่อง “อาการมือจีบ” ของคุณปลา ก็ทำให้นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง REQUIEM (2006, Hans-Christian Schmid, Germany) ที่สร้างจากเรื่องจริงของหญิงสาวที่มีอาการมือจีบ และมีอาการเหมือนถูกผีเข้า แต่หนังเหมือนจะเอนเอียงไปในทฤษฎีที่ว่า อาการผีเข้านั้นจริง ๆ แล้วอาจจะเป็นอาการทางจิตที่เกิดจากการที่หญิงสาวคนนี้เติบโตมาในครอบครัวที่เข้มงวดต่างหาก

https://www.imdb.com/title/tt0454931/?ref_=fn_tt_tt_3

 

10. ส่วนเรื่องของคุณรวงนั้นรุนแรงที่สุด เป็นส่วนที่ impact กับเรามากที่สุดในหนังเรื่องนี้ ซึ่งก็คงเป็นเพราะคุณรวงเป็นผู้หญิงด้วยแหละ และประสบการณ์ชีวิตของคุณรวงนั้นรุนแรงมาก ๆ ทั้งเรื่อง

 

10.1 เรื่องที่พ่อตาย แล้วมีผู้ชายหลายคนมารังควานแม่ เพราะมองว่าแม่ม่ายน่าจะอยากมีผัว เราว่ามันน่าสนใจมาก ๆ ที่คุณรวงบอกว่า ถ้าหากครอบครัวของเธอใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ ก็จะไม่ต้องถูกผู้ชายมากมายมารังควานแม่เธอแบบนี้ แต่พอครอบครัวของเธอใช้ชีวิตอยู่ในชนบท มันก็เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้แม่ของเธอถูกรังควาน เหมือนสิ่งนี้เป็นข้อเสียของสังคมชนบท ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามักไม่ค่อยได้ยินคนพูดกัน เพราะส่วนใหญ่แล้วคนชอบพูดกันแต่ว่าสังคมเมืองใหญ่มันแย่กว่าสังคมชนบท เพราะคนในเมืองใหญ่มันไม่ใส่ใจกัน เราก็เลยชอบสุด ๆ ที่มีคนออกมาชี้ให้เห็นถึงข้อเสียของสังคมชนบทซะบ้าง (คือทุกสังคมมันก็มีข้อดีข้อเสียของตัวเองแหละนะ)

 

10.2 เรื่องที่เธอเป็น queer ที่จัดประเภทตัวเองได้ยาก เพราะเธอชอบผู้หญิง แต่ก็ไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นทอมหรือดี้ ซึ่งเราว่ามันเป็นเพราะสังคมไทยยุคหลายสิบปีก่อนมันไม่ค่อยมีการนำเสนออะไรที่หลากหลายแบบนี้ด้วยแหละ นึกถึงตัวเราเองที่โตมาในทศวรรษ 1980 เราก็มักได้เห็นแต่ “กะเทย” แทบไม่เคยเห็นการนำเสนอภาพลักษณ์ของเกย์หนุ่มหล่อล่ำบึ้กในไทยเลยในยุคที่เราเป็นเด็ก 55555

 

10.3 เรื่องที่เธอถูกล่วงละเมิด แล้วคนที่ล่วงละเมิดไปบวชเป็นพระ รุนแรงมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

 

10.4 เรื่องที่เธอต้องจัดการกับความรู้สึกต่าง ๆ ของตัวเองในช่วงหลังจากนั้น

 

11.เรื่องของ “พ่อเมธ” ก็ดีมาก ๆ มันเป็นภาคกลับของ MENTAL VERSE ภาคแรกจริง ๆ

 

ส่วนที่ impact กับเรามากที่สุดในส่วนของพ่อเมธ น่าจะเป็น trauma ของตัวผู้กำกับเอง ที่เขาไม่ชอบนั่งรถไปต่างจังหวัดกับครอบครัว ถ้าจำไม่ผิด เพราะมันเคยเกิดเหตุการณ์ตอนเด็ก ๆ ที่พ่ออารมณ์ร้อนแล้วขับรถชนหรืออะไรสักอย่าง ก็เลยเกิด trauma กับตัวลูกตั้งแต่เด็ก ๆ เป็นต้นมา

 

12.เหมือนเป็นหนังที่เรา focus กับเสียงมากกว่าภาพนะ แต่ภาพก็งดงามดีมากนะ ชอบเวลาที่ภาพมัน superimposition กัน ภาพร่องรอยที่คล้าย ๆ กับคนชกกำแพงก็เป็นภาพที่ติดตาเรามาก ๆ เหมือนภาพนี้ถูกใช้ในหนัง 2 ครั้งด้วยมั้ง ถ้าจำไม่ผิด

 

เราว่าภาพในหนังมันทำหน้าที่ของมันได้ดีด้วยแหละ คือมันสวย, ดูเพลิดเพลิน แต่ไม่แย่งความสนใจไปจากเสียงเล่าเรื่องที่เป็นหัวใจของหนังจริง ๆ

 

13.ดูหนังเรื่องนี้แล้วคิดถึงเพื่อนคนหนี่งที่ฆ่าตัวตายในปี 2018 มาก ๆ ถ้าหากเพื่อนคนนั้นยังมีชีวิตอยู่ เขาอาจจะได้เป็นหนึ่งใน subject ของ MENTAL VERSE ภาคใดภาคหนึ่งไปแล้ว

 

No comments: