HELLBENDER (2021, John Adams, Zelda Adams, Toby Poser, USA, A+30)
1.ชอบความทุนต่ำของมันมาก ๆ 555 ดูแล้วได้อารมณ์เหมือนดูเทศกาลหนังสั้นมาราธอน แล้วเจอหนังยาวของนักศึกษาที่ทำดี ๆ, หนังแบบ THE WITCH ของ Alwa Ritsila หรือหนังที่มักพบในเทศกาล Bangkok Film Festival ในปี 1998-2000 ยุคที่ Brian Bennett เป็นโปรแกรมเมอร์ เพราะยุคนั้นเขาชอบเอาหนังทุนต่ำจากอเมริกาแบบที่พบได้ในเทศกาลภาพยนตร์ Sundance, Raindance, Slamdance, Slam Dunk อะไรพวกนี้มาฉาย ซึ่งเป็นหนังดี ๆ ที่ลับแลมาก เพราะมันใช้นักแสดงโนเนมหมดเลย
2.ถึงหนังเรื่องนี้จะทุนต่ำ แต่มันก็ขลัง และเราชอบความเชื่อมั่นศรัทธาของมันที่มีต่อแม่มดมาก ๆ เลยนะ ชอบที่มันนำเสนอแม่มดออกมาในแบบขลัง ๆ เหมือนในหนังอย่าง SUSPIRIA (2018, Luca Guadagnino) และ THE CONJURING: THE DEVIL MADE ME DO IT (2021, Michael Chaves) น่ะ
3. แต่อารมณ์โดยรวม ๆ แล้วเรารู้สึกเหมือนมันเป็นภาคแรกจาก 10 ภาค หรือละครตอนแรกจาก 13 ตอนอะไรทำนองนี้ 555 เหมือนมันเป็นแค่การแนะนำตัวละครนำ 2 ตัวแรก ในขณะที่จริง ๆ แล้วจักรวาลทั้งหมดของหนังชุดนี้น่าจะมีตัวละครนำสัก 10 ตัวที่มีอิทธิฤทธิ์ไม่แพ้กัน อะไรทำนองนี้ คือเหมือนนางเอกของเรื่องนี้ควรจะต้องตบกับ Rose the Hat จาก DOCTOR SLEEP, แวมไพร์จาก TWILIGHT และเหล่ากระสือจาก "กระสือสยาม" ด้วย 555
4.ดูแล้วนึกถึงเนื้อหาในเพจ WITCHES THAILAND มาก ๆ
5. เป็นหนึ่งในหนังสยองขวัญหลายเรื่องในปีนี้ที่เน้นพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกสาว ต่อจาก
5.1 THE ANCHOR (2022, Jung Ji-yeon, South Korea)
5.2 A BANQUET (2021, Ruth Paxton, UK)
5.3 MOLOCH (2022, Nico van den Brink, Netherlands)
5.4 YOU ARE NOT MY MOTHER (2021, Kate Dolan, Ireland)
6.ดูหนังเรื่องนี้แล้วไม่อยากกินเนื้อสัตว์
ฉันรักเขา Cha Eun-woo จาก DECIBEL (2022, Hwang In-ho, South Korea, A+25)
BORN TO BE GONE (นิลกาฬ) (2022, ซีตีคอดีเยาะห์ หะวอ, short film, A+30)
1.น่าสนใจดีที่หนังเรื่องนี้รวมเนื้อหาของหนัง 2 กลุ่มเข้ามาไว้ด้วยกันในเรื่องเดียว นั่นก็คือหนังที่พูดถึงปัญหาความรุนแรงที่รัฐไทยกระทำต่อชาวมุสลิมในภาคใต้ และหนังที่พูดถึงสิทธิสตรีในภาคใต้ เพราะเหมือนปกติแล้วหนังหลายเรื่องอาจจะแยกเนื้อหา 2 ส่วนนี้ออกจากกัน
2.บางข่วงของหนังนึกว่าต้องปะทะกับ Maya Deren, POSSESION (Andrzej Zulawski) และ DEMENTIA (1955, John Parker, Bruno VeSota)
มาดูหนังที่ห้าง CENTRAL LADPRAO เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ความทรงจำพรั่งพรูมาก ๆ เพราะห้างนี้มีโรงหนังมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 หรือราว 30 ปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยก่อนที่จะมีเครือ SF อีก
จำได้ว่า หนึ่งในหนังกลุ่มแรก ๆ ที่ได้ดูในห้างนี้ คือ
1.CANDYMAN (1992, Bernard Rose)
2.CHAPLIN (1992, Richard Attenborough)
3.THE LAWNMOWER MAN (1992, Brett Leonard)
4.SIA DAI (1994, Chatrichaloem Yukol)
ส่วนหนังที่ประทับใจสุด ๆ ที่เคยดูในห้างนี้ก็คือ
5.THE ELEGANT LIFE OF MR. EVERYMAN (1963, Kihachi Okamoto) ที่เคยมาฉายในเทศกาล Japanese Film Festival ในห้างนี้
6. TENDERNESS (2009, John Polson) ที่ติดอันดับ 1 ประจำปีของเราในปี 2010
7.THE SHOCK LABYRINTH 3D (2010, Takashi Shimizu) จำได้ว่า ช่วงนั้นเป็นช่วงก่อนการสังหารหมู่เสื้อแดงที่ราชประสงค์ รัฐบาลมีการประกาศ curfew ในกรุงเทพ เราดูหนังเรื่องนี้เสร็จแล้วก็ต้องรีบกระหืดกระหอบกลับเข้าที่พักให้ทัน curfew (ถ้าจำไม่ผิดนะ)
ดีใจที่ BODIES BODIES BODIES (2022, Halina Reijn) ติดอันดับประจำปีของ Nathan Lee
อยากให้มี BLUE AGAIN ภาคสอง ตัวละครทั้ง 5 ตัวในรูปนี้มาเจอกันโดยไม่ได้นัดหมายในห้องน้ำในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งโดยบังเอิญในวันมาฆบูชาในปี 2022 แล้วทุกคนปะทะกันอย่างรุนแรงด้วยอินเนอร์แบบตัวละครใน MELROSE PLACE
I HAVE LOVED LIVING HERE (2020, Regis Sauder, France, documentary, A+30)
น่าสนใจดีที่ช่วงนี้เราได้ดูหนัง 3 เรื่องที่เกี่ยวกับการอ่านออกเสียงงานวรรณกรรมในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งก็คือ
1.I HAVE LOVED LIVING HERE ที่เอางานของ Annie Ernaux เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม มาอ่านออกเสียง พร้อมกับสัมภาษณ์ชาวบ้านในเมืองหนึ่งของฝรั่งเศส
2. MUTZENBACHER (2022, Ruth Beckermann, Austria) ที่เอานิยายเรื่อง JOSEPHINE MUTZENBACHER, THE STORY OF A VIENNESE WHORE, AS TOLD BY HERSELF (1906) ของ Felix Salten มาอ่านออกเสียง และสัมภาษณ์ผู้ชายจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องเพศ
3.SILENT CRY (2022, Navavan Sukkho, Nannapat Sripetchdanont, A+30) ที่เอานิยายเรื่อง "กุหลาบแดง" ของก. สุรางคนางค์มาอ่านออกเสียง และชีวิตของตัวคนอ่านในหนังกับชีวิตของตัวละครในนิยายก็ปะทะเข้าด้วยกัน
อากาศที่หอภาพยนตร์ดีสุด ๆ ลมพัดแรงมากเลยด้วยตอนเย็น ๆ อยากเล่นผ้ามาก ๆ
THE ETERNAL LABYRINTH (2022, Weerapat Sakolvaree, 30min, A+30)
กรีดร้องสุดเสียง ประทับใจมาก ๆ รู้สึกว่าหนังมันเศร้ามาก ๆ ด้วย เหมือนหนังมันควบรวมความน่าเศร้าของการเมืองไทยในช่วงเวลาเกือบ 100 ปีที่ผ่านมาเข้ามาไว้ด้วยกัน กลวิธีที่หนังใช้ก็เข้าทางเราสุด ๆ นึกว่าปะทะได้กับทั้งหนังของ Jean-Luc Godard และ Robert Bresson หนักที่สุด กรี๊ดดดดดดดดด
WE WILL LEAVE AND NEVER RETURN (2022, Arin Rungjang, video installation)
ชอบช่วงที่เป็นเหมือนภาพวาดศิลปะในรูปทรงบิดเกลียวคล้าย mobius
ส่วนช่วงที่เป็นคล้าย ๆ รูปทรงโมเลกุลต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปมาก็สวยมาก
สู่ขวัญ (2022, Chantana Tiprachart, video installation, A+30)
ขลังมาก นึกว่าสามารถปะทะกับ David Lynch
อยากดูไปด้วย ร่ายรำไปด้วย
ปีนี้ห้องสมุดของหอภาพยนตร์มีหนังที่เคยเข้าฉายในรอบมาราธอนให้ดูด้วยนะ ดีใจมาก ๆ เพราะเราพลาดหนังในรอบมาราธอนไปหลายเรื่องมาก วันนี้เลยประเดิมด้วยการดู DARK WORLD (โลกมืด) (2022, Teeranit Siangsanoh, 12min, A+30)
ห้องสมุดเปิด 09.30-17.30 ทุกวันยกเว้นวันจันทร์นะ
รายงานผลประกอบการ ประจำวันเสาร์ที่ 17 Dec 2022
1. COMMUNICATING VESSELS (2020, Maider Fortune + Annie MacDonnell, 32min, A+30)
ดูทาง e-flux
2.SHOTGUN TUDING (2014, Shireen Seno, Philippines, 16min, A+30)
ดูทาง e-flux
3. VIOLENT NIGHT (2022, Tommy Wirkola, A+)
ดูที่ SF CENTRAL WORLD รอบ 11.00 HRS โดยใช้ตั๋ว APOLOGIZE จากเหตุไฟไหม้
4.THE VELVET QUEEN (2021, Marie Amiguet, Vincent Munier, France, about Tibet, documentary, 92min, A+30)
ดูที่ Alliance รอบ 14.00 hrs
ลูกหมีดูหนังเรื่องนี้แล้วร้องกรี๊ดกร๊าดด้วยความชอบใจในฉากที่มีแม่หมีทิเบตกับลูกหมีทิเบต 2 ตัวเยื้องย่างเข้ามาในหนัง
5.WE WILL LEAVE AND NEVER RETURN (2022, Arin Rungjang, video installation + exhibition) at Gallery Ver
6. BAD AFTERTASTE (2022, Ohm Anawat, video installation + exhibition) at VS Gallery
7.COMFORT OBJECTS (2022, Uninspired by Current Events, video installation) at Gallery Ver
8. THE LAIR (2022, Neil Marshall, UK, A+25)
ดูที่ LIDO รอบ 18.00 hrs
COMFORT OBJECTS (2022, Uninspired by Current Events, video installation)
BAD AFTERTASTE (2022, Ohm Anawat, video installation, 2min, A+30)
เหี้ยมาก ๆ (คำชม) ชอบการเอาผ้าอนามัยมาดูดซับน้ำสีแดง แล้วมันเลยดูเหมือนเนื้อสัตว์
เพิ่งรู้ว่า Jules Verne เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ALLIANCE FRANCAISE และ ALLIANCE FRANCAISE ในกรุงเทพเริ่มจัดฉายภาพยนตร์มานานแล้ว ไม่แน่ใจว่าเริ่มจัดฉายตั้งแต่ปี 1926 เลยหรือเปล่า บางที Alliance อาจฉายภาพยนตร์ในกรุงเทพมานาน 96 ปีแล้วก็ได้ กรี๊ดดดดดดด
แผนผังของสมาคมฝรั่งเศส สมัยตั้งอยู่ที่ถนนสาทร ชีวิตการเป็น cinephile ของเราเคยได้รับการฟูมฟักเลี้ยงดูจนเติบโตขึ้นที่นี่
ชีวิตการเป็น cinephile ของเราปฏิสนธิขึ้นเมื่อเราได้ไปดูหนังเรื่อง CLASS ENEMY (1983, Peter Stein, West Germany) ที่สถาบันเกอเธ่ในปี 1995 และก็ได้รับการฟูมฟักต่อมาเมื่อเราได้ไปดูหนังเรื่อง DONKEY SKIN (1970, Jacques Demy, France) ที่สมาคมฝรั่งเศสในปี 1995 และหลังจากนั้นเราก็เลยไปดูหนังที่สถาบันทั้งสองเป็นประจำในเวลาต่อมา
ฉันรักเขา Edward Astor Chin จาก SHE SAID (2022, Maria Schrader, A+30)
THANK YOU FOR THE RAIN (2017, Julia Dahr, UK/Norway, about Kenya, documentary, A+25)
1.เป็นหนังที่ตัวผู้กำกับเข้าไปมีส่วนทำให้ชีวิตของ subject เปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง เพราะการที่เธอไปถ่ายทำเขา ส่งผลให้เขากลายเป็นคนดังขึ้นมา
2.แต่หนังเหมือนมีระยะห่างระหว่างผู้กำกับกับ subject ที่เป็น activist อยู่นะ ดูแล้วนึกถึง THE TRUTH BE TOLD: THE CASES AGAINST SUPINYA KLANGNARONG (2007, Pimpaka Towira) ในแง่นี้อยู่เหมือนกัน
3. ชอบฉากที่ผู้กำกับชาวนอร์เวย์ ไปเล่าให้เกษตรกรชาวเคนย่าฟังว่า รัฐมนตรีชาวอินเดียพูดจาเหี้ย ๆ อะไรบ้าง
4.เหมาะฉายควบกับ MADAME L'EAU (1993, Jean Rouch, France/Netherlands/Niger) มาก ๆ
No comments:
Post a Comment