WILLING พลการ (2022,
นิติพงษ์ การดี, 30min, A+30)
1.เรามองหนังเรื่องนี้ใน
2 layers โดย layer แรกคือเนื้อเรื่องที่เกิดขึ้นตามในหนัง
ที่เล่าเรื่องของพ่อแม่ที่มีปัญหาทางธุรกิจ
และลูกชายที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการจะทำงานอะไร ซึ่งในส่วนของ layer นี้หนังก็น่าสนใจดี โดยเฉพาะในการนำเสนอตัวละครเพื่อนพระเอกที่เหมือนจะเรียนศิลปะ
แต่จบไปเป็นช่างซ่อมแอร์
2. ส่วน layer
ที่สองคือการคิดไปเองของเรา
เพราะเราไม่แน่ใจว่าหนังเรื่องนี้เป็นสัญลักษณ์เปรียบเปรยทางการเมืองหรือเปล่า 5555
บางทีหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจแบบนั้นก็ได้
คือเรามองว่า
ตัวละครพ่อแม่ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจสีเทา
และดูเหมือนจะผิดหวังกับสิ่งนี้ในเวลาต่อมานั้น
ทำให้เรานึกถึงพวกที่เคยสนับสนุนรัฐประหาร มองว่า อะไรเทา ๆ ผิดกฎหมาย
เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ คนอื่นเขาก็ทำ ๆ กัน ยอมเซ็น ๆ ไปก่อน
(ฉากแรกที่เป็นการเซ็นสัญญาทำธุรกิจทำให้นึกถึงการโหวตรับรัฐธรรมนูญใหม่ไปก่อน)
แต่คนบางกลุ่มที่เคยสนับสนุนรัฐประหารในช่วงแรก ก็เหมือนจะได้คิดในเวลาต่อมา เมื่อพบว่าประเทศและเศรษฐกิจไม่ได้พัฒนาไปไหน
ตัวเองเหมือนโดนโกงหรือโดนหลอกจากกลุ่มที่ทำธุรกิจสีเทา และในที่สุดประชาชนกลุ่มนี้ก็ต้องใช้ชีวิตอยู่กับความล่มจมของประเทศเพราะไปเปิดทางให้คนกลุ่มนั้นเข้ามาปกครองประเทศ
3.คือเหมือนมีองค์ประกอบบางอย่างในหนังที่ทำให้เราสงสัยว่ามันอาจจะเป็นการเปรียบเปรยทางการเมืองน่ะ
อย่างเช่น
3.1 เหมือนตัวละครแม่จะสนับสนุนการทำธุรกิจกับผู้มีอำนาจเหนือกฎหมายอย่างมาก
ๆ แต่พ่อจะมีความลังเลก้ำกึ่งตรงจุดนี้ และมีตอนนึงที่พ่อพูดในทำนองที่ว่า
แม่ไปขอให้คนพวกนี้มาช่วยเหลือในครั้งแรกในปี 2006
3.2 ชื่อหนัง “พลการ”
มันทำให้นึกถึงการทำรัฐประหาร
4.แต่ทั้งหมดนี้เราอาจจะคิดไปเองก็ได้นะ
หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจเปรียบเปรยทางการเมืองใด ๆ ก็ได้ 55555
No comments:
Post a Comment