ARNOLD IS A MODEL STUDENT (2022,
Sorayos Prapapan, A+30)
1.สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังก็คือการเป็นบทบันทึกทางประวัติศาสตร์ของยุคสมัยนี้นะ
การที่มันช่วยบันทึกปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักเรียนเลวเอาไว้
เหมือนมันเป็นเหตุการณ์สำคัญอันนึงที่น่าจดบันทึกไว้อย่างจริง ๆ จัง ๆ
2.และก็ชอบที่หนังมันบันทึกกิจกรรมต่าง
ๆ ที่มีมานานแล้วในโรงเรียนด้วย ทั้งการที่ครูที่สอนพิเศษแอบเปิดเผยข้อสอบให้ลูกศิษย์/ลูกค้า,
การให้ความสำคัญกับอะไรต่าง ๆ ที่ดูเหมือนไม่มีประโยชน์จริง ๆ อย่างเช่นวิธีการกราบไหว้
3.ชอบการที่หนังทำให้เรานับถือสปิริตของเด็ก
ๆ ยุคนี้ด้วย
เพราะเราก็เติบโตมาจากยุคที่เราไม่เคยตั้งคำถามกับกฎเกณฑ์หรือค่านิยมหลาย ๆ อย่าง
ว่ามันมีประโยชน์จริงหรือไม่ และถ้าหากกฎเกณฑ์บางอย่างมีประโยชน์อยู่บ้างจริง ๆ การทำผิดกฎเกณฑ์นั้น
สมควรจะต้องใช้มาตรการใดตามมา ควรจะมีการลงโทษหรือไม่ และการลงโทษที่เหมาะสม
ไม่มากเกินไป และไม่น้อยเกินไป ในแต่ละกรณีอยู่ที่จุดใด อย่างเช่นการทำแจกันแตก
หรือการมาสาย
4.ชอบการพูดถึงระบบการโกงข้อสอบด้วย
แต่เหมือนหนังมันแค่พูดถึงว่าสิ่งนี้มันมีอยู่
แต่ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกอะไรกับมันมากไปกว่านั้น
5. ประเด็นนึงในหนังที่เราชอบมากเป็นพิเศษ
ก็คือความจริงที่ว่า ถ้าหากเราเป็นเด็กนักเรียน เราจะเอาตัวเข้าแลกหรือต่อสู้เพื่อความเปลี่ยนแปลงหรือไม่
ซึ่งเราว่ามันเป็นประเด็นที่ dilemma ดี เพราะว่า
"โรงเรียนมัธยม" มันเหมือนเป็นสถานที่ที่เราต้องพึ่งพิงหรือเกี่ยวข้องเพียงแค่ชั่วครู่ชั่วยามน่ะ
มันไม่ใช่ “ครอบครัว” หรือ “ประเทศชาติ” ที่เรายากจะหลีกหนีจากมันได้ คือเราอาจจะเห็น
“สิ่งผิด” หรือ “สิ่งไม่ถูกต้อง” ในโรงเรียนหรือระบบของโรงเรียนที่เราอยู่
แต่เราก็คงต้องถามตัวเองว่า “มันคุ้มหรือเปล่า” ที่เราจะลุกขึ้นสู้กับมัน
หรือเราจะเลือกที่จะทน ๆ ไปอีกสักแป๊บนึงจนกว่าจะเรียนจบ แล้วก็จะเป็นอิสระจากโรงเรียนหรือครูเหี้ย
ๆ คนนั้นไปตลอดกาล
เพราะฉะนั้นเราก็เลยนับถือกลุ่มนักเรียนที่ลุกขึ้นสู้มาก
ๆ และเราก็คิดว่าเราเข้าใจนักเรียนบางคนที่อาจเลือกที่จะอยู่เฉย ๆ โดยเฉพาะถ้าหากนักเรียนคนนั้นไม่ได้มีเรื่องขัดแย้งโดยตรงกับครูเหี้ย
ๆ คนนั้น
5.อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้มาก
ๆ ก็คือ พระเอกน่ารักมาก กรี๊ดดดดดดดดดด 555555
6.ถึงแม้เราจะชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ
A+30 และมองว่ามันเป็น “หนังยาวของไทย”
ที่เราชอบมากเรื่องนึงเมื่อเทียบกับหนังยาวของไทยเรื่องอื่นๆ
แต่ถ้าหากเทียบกับหนังเรื่องอื่น ๆ ในเทศกาล WORLD FILM FESTIVAL OF
BANGKOK ในปีนี้ หนังเรื่องนี้ก็อาจจะไม่ได้ติดอันดับสูงมากนักนะ
555 เพราะเรามองว่าถ้าหากเทียบกับ “หนังต่างประเทศ” แล้ว หนังเรื่องนี้ก็เหมือนยัง
“ไปไม่สุด” สำหรับเราน่ะ
เราว่าอาจจะเป็นเพราะเราเป็นคนไทยด้วยแหละ
เพราะการที่เราเป็นคนไทยอาจจะช่วยให้เราเข้าใจเกือบทุกอย่างในหนังก็จริง
แต่เราก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ไม่ได้ให้ “ข้อมูลใหม่ที่น่าสนใจ” สำหรับเราน่ะ
คือเหมือนหนังบอกในสิ่งที่เรารู้ ๆ อยู่แล้ว และไม่ได้สร้างผลกระทบทางอารมณ์ความรู้สึกกับเราอย่างรุนแรงมากนัก
ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างจากการดูหนังต่างประเทศ เพราะหนังต่างประเทศหลาย ๆ เรื่องมักจะ
“ให้ข้อมูลที่เราไม่เคยรู้มาก่อน”
7.เราเห็นด้วยกับเพื่อน ๆ
บางคนที่มองว่า หนังเรื่องนี้ยัง balance หรือผสมกันได้ไม่ดีพอระหว่างส่วนที่เป็นชีวิตของอานนท์
กับส่วนที่เป็นเรื่องของ “กลุ่มนักเรียนเลว” น่ะ เราเองก็รู้สึกว่ามันเหมือนเข้ากันได้ไม่ดีพอ
หรือไปได้ไม่สุดทั้งสองทาง
เราว่าหนังมันอาจจะเข้าทางเรามากกว่านี้
ถ้าหากหนังมีตัวละครนำ 2 ตัวไปเลยน่ะ ซึ่งก็คือตัวอานนท์
ที่เอาเข้าจริงแล้วก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรกับระบบของโรงเรียนมากนัก
เพราะเขาเรียนเก่ง, สามารถเลือกที่จะทิ้งโรงเรียนนี้เพื่อไปเรียนต่อเมืองนอกก็ได้
และเขาเองก็ชอบตัดผมสั้นอยู่แล้วด้วย (ก็เลยไม่มีปัญหาเรื่องทรงผมไปโดยปริยาย 55555)
คือถ้าหากหนังจะให้ความสำคัญกับกลุ่มนักเรียนเลว
บางทีหนังอาจจะต้องสร้างตัวละครนำอีกตัวที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเนติวิทย์,
เพนกวิน, เพื่อน ๆ ของเพนกวิน หรือผู้นำบางคนในกลุ่มนักเรียนเลวไปเลยน่ะ แบบเด็กมัธยมที่สนใจการเมืองจริง
ๆ, มีความรู้ลึกรู้จริงเกี่ยวกับรากเหง้าของปัญหาในประเทศไทย, มีความรู้สึกรุนแรงจริง
ๆ กับประเด็นอะไรแบบนี้ เพราะเราว่าพอหนังนำเสนอกลุ่มนักเรียนที่ลุกขึ้นสู้แบบ “ห่าง
ๆ” แล้ว อารมณ์มันเลยเหมือนไปได้ไม่สุดน่ะ
8.แต่ถ้าหากหนังจะทิ้งประเด็นนักเรียนเลวไปเลย
และเลือกที่จะเป็นหนังดราม่าเกี่ยวกับชีวิตของอานนท์
หนังก็อาจจะเข้าทางเราได้เหมือนกันนะ โดยหนังอาจจะเน้นสร้างความเป็นมนุษย์เทา ๆ
ให้กับตัวละครครูแต่ละคนและเพื่อน ๆ แต่ละคนของอานนท์ไปด้วย โดยเฉพาะตัวครูวาณี คือเราว่าตัวครูวาณีในหนังเรื่องนี้
มันดูเหมือนเป็น “เป้าโจมตีที่ง่ายเกินไป” น่ะ โดยเฉพาะถ้าหากจะทำเป็นหนังดราม่า
อย่างไรก็ดี ถึงแม้เราจะรู้สึกว่าตัวละครครูวาณีในหนังเรื่องนี้เป็น
“เป้าโจมตีที่ง่ายเกินไป” สำหรับการใช้เป็น “นางตัวร้าย” ในหนังดราม่า แต่เราก็ยอมรับว่า
ในความเป็นจริงนั้น เราเคยเจอครูที่เหี้ยหนักกว่าครูวาณีอีกด้วยนะ 55555 คือเอาเข้าจริงแล้วในโลกแห่งความเป็นจริง
มันก็มีครูที่เลวร้ายหนักกว่าครูวาณีหลายเท่าน่ะ เพียงแต่ว่าพอมันเป็น “ตัวละครในภาพยนตร์ดราม่า”
บางทีมันก็อาจจะต้องอาศัยวิธีการบางอย่างที่ทำให้ผู้ชมไม่รู้สึกว่า
ตัวละครตัวนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพียงเพื่อเป็นผู้ร้ายแบน ๆ อะไรทำนองนี้ ยกเว้นแต่ว่ามันจะเป็น
“หนังประเด็น” ไปเลย
คือเราว่าหนังเรื่องนี้มันมีทั้งความเป็น
“หนังดราม่า” และ “หนังประเด็น” ผสมกันอยู่น่ะ และพอมันผสมกันได้ไม่ดีพอ
มันก็เลยทำให้เรารู้สึกลักลั่นบางอย่าง คือตัวละครอานนท์ดูเหมือนจะมีความลึกแบบหนังดราม่าได้
แต่ตัวละครครูวาณีและตัวละครเด็กสาว 3 คนที่เป็นผู้นำกลุ่มนักเรียนเลวดูขาดความลึกสำหรับหนังดราม่า
ซึ่งเราว่าตัวละครกลุ่มนี้อาจจะดูโอเคถ้าหากหนังเรื่องนี้เป็น “หนังประเด็น” ไปเลย
(แบบหนังของ Godard) แต่พอหนังเรื่องนี้มีความเป็นดราม่าอยู่ด้วย ตัวละครกลุ่มนี้ก็เลยดูแบน
ๆ เกินไปหรือดูแห้ง ๆ เกินไปในแง่นึง
9.แต่ถ้าหากหนังจะเน้นประเด็นนักเรียนเลวไปเลย
เราก็คิดว่าหนังอาจจะเข้าทางเราได้เช่นกัน โดยอาจจะทำออกมาแบบนี้
9.1 เป็นหนังที่มีความเป็น caricature ไปเลย ซึ่งในหนังแบบนี้
ตัวละครอาจจะไม่ต้องมีความเป็นมนุษย์สีเทาแบบในหนังดราม่า แต่เป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับประเด็นอย่างจริง
ๆ จัง ๆ ไปเลย แบบหนังของ Chulayarnnon หรือหนังอย่าง LA
CHINOISE (1967, Jean-Luc Godard)
9.2 หรือถ้าหากจะทำหนังดราม่าเกี่ยวกับกลุ่มนักเรียนเลว
เราก็อยากเห็นหนังที่ไม่ได้พูดถึงแค่ “กลุ่มนักเรียนเลว VS. เผด็จการในโรงเรียน”
แต่เป็นหนังที่สะท้อนความขัดแย้งกันเองมากมายภายในฝ่าย “หัวก้าวหน้า” ด้วยน่ะ
ทั้งประเด็นเรื่อง sexual abuse และประเด็นดราม่าเหี้ยห่าต่าง
ๆ มากมายภายในฝ่าย liberals ด้วยกันเอง 55555
10.สรุปว่าเราชอบ ARNOLD IS A MODEL STUDENT มาก ๆ ก็จริง โดยเฉพาะถ้าหากเทียบกับ
“หนังไทยขนาดยาว” ด้วยกัน แต่เราก็ยอมรับว่าหนังยังไปได้ไม่สุดในทางอารมณ์สำหรับเรานะ
และเราก็เขียนไว้ในข้อ 7-9 แล้วว่า เราแอบจินตนาการต่อว่า หนังมันอาจจะเข้าทางเรามากกว่านี้
ถ้าหากหนังมันออกมาในแนวทางใด แต่การที่หนังมันไม่ได้เข้าทางเราก็ไม่ใช่ความผิดอะไรของหนังนะ
11.ไม่รู้ว่า ARNOLD IS A MODEL STUDENT จะเข้าฉายในวงกว้างในไทยเมื่อไหร่
แต่สิ่งหนึ่งที่เราอยากเห็นก็คือว่า เราอยากเห็นคนที่ดูหนังเรื่องนี้ เขียนถึงหนังเรื่องนี้ในแง่มุมนึงด้วย
นั่นก็คือแง่มุมที่ว่า หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึง “ประสบการณ์ใดบ้างในชีวิตจริง
โดยเฉพาะตอนเรียนโรงเรียนมัธยม” 55555 แบบที่คุณ “คนมองหนัง” เขียนถึงหนังเรื่องนี้
เพราะเรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันก็ไปกระตุ้นความทรงจำของเราที่มีต่อชีวิตมัธยมอย่างมาก
ๆ เหมือนกันน่ะ ถึงแม้ว่ามันจะผ่านมานานกว่า 30 ปีแล้ว และเราก็สนใจอยากรู้ว่า
หนังเรื่องนี้ไปกระตุ้นความทรงจำใดบ้างในชีวิตจริงของผู้ชมท่านอื่น ๆ ด้วย
12.สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้ไม่ได้เกี่ยวกับหนัง แต่เป็นประเด็นที่ว่าหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงอดีตชีวิตของเราเองอย่างไรบ้าง
5555
12.1 สิ่งแรกก็คือว่า ถ้าหากเป็นในยุคสมัยของเรา
เราก็คงไม่ได้ลุกขึ้นสู้กับโรงเรียนน่ะ เพราะยุคของเรามันเป็นยุคของ “การสอบเทียบ”
ในทศวรรษ 1980 55555 คือพอมันมี “การสอบเทียบ”
และการสอบ entrance เข้ามหาลัยต่าง ๆ โดยไม่ต้องดูเกรดตอนเรียนมัธยมแล้ว
แล้วกูจะต้องแคร์ครูในโรงเรียนกูทำไมคะ คือถ้าอีครูคนไหนมีปัญหากับกู กูก็ไม่ต้องเรียนจบโรงเรียนมึงก็ได้ค่ะ
กูสอบเทียบด้วยการตั้งใจอ่านหนังสือที่บ้าน ไปเข้าร่วมกิจกรรมยำแตดในโรงเรียนสอบเทียบแค่
8 ครั้ง, สอบเทียบได้เกรดสัก 2.5 แล้วก็เอ็นท์ติดมหาลัยที่ต้องการได้อยู่แล้วถ้าหากเราตั้งใจอ่านหนังสือจริง
ๆ เพราะฉะนั้นในยุคของเราเราก็เลยเหมือนไม่ต้องแคร์ครูใด ๆ ตอนเรียนมัธยมปลายน่ะ คือกูมาโรงเรียนเพื่อมาหาผัว,
มาเดินแบบ และมาเมาท์กับเพื่อน ๆ เป็นหลักค่ะ 55555
เพราะฉะนั้นชีวิตม.ปลายของเราก็เลยเหมือนไม่มีความเครียดใด
ๆ ทั้งสิ้นนอกจากการเรียนรด.น่ะ เพราะการสอบเทียบมันช่วยให้เรารู้สึกว่า
เราไม่จำเป็นจะต้องแคร์ครูคนไหนในโรงเรียนทั้งสิ้น เพราะครูเหล่านั้นไม่สามารถขัดขวางการเอ็นท์เข้ามหาลัยของเราได้เลยแม้แต่น้อย
ซึ่งมันก็คงจะแตกต่างจากระบบการเรียนและการสอบเข้ามหาลัยของเด็ก
ๆ ในยุคนี้เป็นอย่างมากน่ะ แต่เราก็ไม่มีความรู้ใด ๆ เรื่องระบบการเรียนในยุคสมัยปัจจุบัน
12.2 ตัวละครครูวาณี
ทำให้นึกถึงครูผู้หญิงคนหนึ่งที่ดุมาก ๆ ที่เราเคยเจอ แต่เหมือนครูคนนั้นมองว่าเราเป็นเด็กดี
เขาก็เลยไม่เคยมาหาเรื่องเรา แต่เราได้ยินว่าครูคนนี้เคยมีเรื่องขัดแย้งกับคนอื่น
ๆ ไปทั่ว โดยเฉพาะกับเด็กนักเรียนหญิงคนนึงอย่างรุนแรงมาก ๆ (ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะเธอโนบราหรือเปล่า)
แต่ต่อมาเด็กหญิงคนนั้นก็เอ็นท์ติดมหาลัยและสอบได้เป็นที่ 1 ของคณะนั้นน่ะ (ถ้าจำไม่ผิด)
เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนทำให้เรานึกถึงเรื่องราวความขัดแย้งระหว่างครูที่ดุมากกับเด็กอัจฉริยะที่เราเคยเจอในชีวิตจริงเหมือนกัน
12.3 หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงประสบการณ์เลวร้ายที่เราเคยมีกับครูบางคนด้วยนะ
ทั้งครูที่เราเคยเจอตอนประถมและมัธยมต้น อย่างเช่น
12.3.1 ครูคนนึงชอบจับเด็กนักเรียนทั้งห้องเฆี่ยนประจานต่อหน้านักเรียนห้องอื่น
ๆ ถ้าหากหาตัวคนทำผิดไม่ได้ อย่างเช่น ถ้าหากเจอถุงพลาสติกอยู่บนพื้นในห้องเรียน
แล้วไม่มีใครยอมรับผิดว่าเป็นเจ้าของถุงพลาสติกใบนั้น
ครูคนนี้ก็จะลงโทษนักเรียนทั้งห้อง โดยบางทีก็ใช้วิธีเฆี่ยนประจานต่อหน้านักเรียนห้องอื่น
ๆ
12.3.2 ครูบางคนก็ชอบเอาตัวเองไปเทียบกับครูห้องอื่น
ๆ แล้วพอครูห้องอื่น ๆ ได้ของขวัญจากนักเรียนเยอะ ๆ แต่ตัวเธอเองได้ของขวัญน้อย
เธอก็มาพาลใส่นักเรียนในห้องของตัวเอง
12.3.3 ครูบางคนก็ชอบออกกฎเกณฑ์ที่ไม่มีประโยชน์
12.3.4 ครูบางคนก็เฉลยคำตอบผิด แล้วพอเราแย้งไป
เธอก็ไม่ยอมรับผิด
คือเหมือนถึงเวลาผ่านมานาน 30-40
ปีแล้ว กูก็ยังคงจำพฤติกรรมของครูบางคนได้อย่างไม่ลืมเลือนค่ะ แต่เหมือนพอครูเหล่านี้ไม่สามารถมาทำอะไรเราได้อีก
พอเราพ้นจากรั้วโรงเรียนไปแล้ว เราก็เลยเหมือนไม่ได้รู้สึกว่าต้องทำอะไรเพื่อเป็นการตอบโต้
55555
และเราก็พบว่าเพื่อนๆ
ของเราก็ยังคงจำเรื่องเหล่านี้ได้ไม่ลืมเลือนนะ เหมือนพอเราเจอกลุ่มเพื่อนเก่า ๆ
หนึ่งในประเด็นที่พวกเราเมาท์กันทุกครั้งที่เจอกันก็คือเรื่องการตบตีกับครูบางคนในปี
1984 คือถึงเวลาจะผ่านมานาน 38 ปีแล้ว มันก็ยังคงฝังแน่นอยู่ในความทรงจำของพวกเราทุกคน
55555
12.4 หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงประสบการณ์ของเพื่อน
ๆ บางคนที่หนักมาก ๆ ด้วย แต่พอมันเป็น “เรื่องจริง” ที่มันหนักมาก มันก็เลยเขียนเล่าในที่สาธารณะไม่ได้
55555 สรุปได้ว่าหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงทั้งประสบการณ์เบา ๆ และหนัก ๆ ในโรงเรียน
แต่เราสามารถเขียนเล่าได้เฉพาะประสบการณ์เบา ๆ เท่านั้น
12.5 แต่ก็ยอมรับว่า
เรื่องประสบการณ์ในโรงเรียนแบบนี้ บางทีมันก็เป็นเรื่องของ “โชค” ด้วยแหละ คือเหมือนตัวเราเองโชคดี
เราก็เลยเหมือนไม่ได้รับความลำบากอะไรมากนักจากระบบโครงสร้างที่เลวร้ายในการศึกษาของไทย
แต่เด็กคนอื่น ๆ ที่เขาไม่ได้โชคดีเหมือนเรา เขาก็จะต้องตกเป็นเหยื่อของระบบนี้
ตราบใดที่ไม่มีการปฏิรูประบบให้ดีขึ้น หรือตราบใดที่สังคมไทยยังคงมีปัญหามากมายแบบนี้
No comments:
Post a Comment