Friday, January 31, 2025

ROOM IN A CROWD

 

วันนี้เราอาจจะดู OPEN CALL 6 (110MIN), HAND & SKIN (67MIN) และ ROOM IN A CROWD (John Torres) ค่ะ

 

 “ROOM IN A CROWD” (2025, John Torres, performance with film, 65min, A+30)

 +++++++++++++

ช่วงนี้ที่ ONE BANGKOK นอกจากจะมีการจัดงาน BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL ที่ยอดเยี่ยมสุด ๆ แล้ว ก็มีการจัดงาน BANGKOK ART BIENNALE (BAB) ด้วยนะคะ จัดที่ตึก THE STOREYS ถ้าหากใครดูหนังทดลองและงาน VIDEO INSTALLATIONS ใน BEFF แล้วมีเวลาว่างเหลือ ก็แวะมาดูงาน video installations ใน BAB ที่ตึก The Storeys ได้ด้วยนะคะ มีงาน WOOD FOR THE TREES (2023, Rob Crosse, 14min, A+30) และงาน video installations 15 ชิ้นของ Tian Xiaolei ค่ะ

Thursday, January 30, 2025

315 (2023, Daniel Jacoby, Netherlands/Peru, 15min, A+30)

 

วันพุธนี้เรากะว่าจะดู ROOM IN A CROWD (John Torres, 42min), OPEN CALL 9, OPEN CALL 5 และ OPEN CALL 14 ค่ะ

 

ดีใจสุดขีดที่จะได้ดูผลงานใหม่ของ John Torres หลังจาก YEARS WHEN I WAS A CHILD OUTSIDE (2007, John Torres, Philippines) เคยติดอันดับ 6 ในลิสท์หนังสุดโปรดของเราประจำปี 2008, REFRAINS HAPPEN LIKE REVOLUTIONS IN A SONG (2010, John Torres, Philiipines) ติดอันดับ 20 ของเราประจำปี 2015 , TODO TODO TEROS (2006, John Torres, Philippines) ติดอันดับ 36 ของเราประจำปี 2015 และ PEOPLE POWER BOMBSHELL: THE DIARY OF VIETNAM ROSE (2016, John Torres) ติดอันดับ 3 ของเราประจำปี 2017

++++++++++

 

เราไมได้ไปดูคอนเสิร์ตของ SO::ON DRY FLOWER แต่เราขอถือโอกาสนี้รีโพสท์ว่า ผลงาน video installation ของ Koichi Shimizu เคยติดอันดับหนึ่งในลิสท์ภาพยนตร์ (หรือ moving image) ที่เราชื่นชอบมากที่สุดที่ได้ดูในปี 2006 นะ

++++

 

ในงาน BEFF ปี 2025 นี้ มีการเอาหนังเก่าที่ดีงามมาก ๆ กลับมาฉายใหม่หลายเรื่อง ซึ่งบางเรื่องเราก็แน่ใจว่าเราเคยดูแล้ว เพราะมันเป็นหนังที่ดีงามมาก ๆ ดูแล้วก็จดจำมันได้ตลอดมาแม้เวลาจะผ่านมานาน 25-26 ปีแล้ว แต่บางเรื่องเราก็ไม่แน่ใจว่าเราเคยดูแล้วหรือยัง โดยเฉพาะเรื่อง ZONE (1995,Takashi Ito) และ I WILL DIE (2000, Yang Zhenzhong, China)

 

เมื่อกี้ไปเช็คข้อมูลดู เราก็พบว่าเรายังไม่เคยดู ZONE เพราะ ZONE เคยมาฉายในเทศกาลหนังอาร์ตปี 1997 แล้วตอนนั้นเวลาฉายมันชนกับเทศกาลหนังสเปน เราก็เลยได้ดูเทศกาลหนังอาร์ตไม่ครบทุกเรื่อง เพราะเราต้องแยกร่างไปดูเทศกาลหนังสเปนที่ศาลาเฉลิมกรุงด้วย เราก็เลยพลาดเรื่อง ZONE ไปในปี 1997

 

ส่วน I WILL DIE นั้น เคยมาฉายใน BEFF ปี 2001 แต่เราไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ในเทศกาลนั้น อย่างไรก็ดี เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในเวลาต่อมา ตอนมันมีการจัดฉายหนังสั้นจากจีนที่อาคารอะไรสักอาคารใน RCA (ใกล้ ๆ โรงหนัง HOUSE RCA) โดยเราได้ดู I WILL DIE ในวันที่ 21 ธ.ค. 2002

+++++++++

 

กราบตีนหนังเรื่อง 315 (2023, Daniel Jacoby, Netherlands/Peru, 15min, A+30) ที่เราได้ดูในงาน Bangkok Experimental Film Festival อย่างรุนแรงที่สุด เพราะหนังเรื่องนี้พูดถึงเหตุการณ์สำคัญที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งก็คือเหตุการณ์สังหารหมู่เกย์ 8 คนในดิสโก้เธคในเมืองตาราโปโตในเปรูในวันที่ 31 พ.ค. 1989 โดยกองกำลังปฏิวัติทูแพค อามารู เป็นเหตุการณ์ที่โหดเหี้ยมสะเทือนขวัญและน่ากลัวมาก ๆ แต่เราไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อนเลย เพราะฉะนั้นพอเราดูหนังเรื่อง 315 จบปุ๊บ เราก็เลยต้องค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ในทันที

 

ก่อนหน้านี้เราไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ชีวิตเกย์ในเปรูในยุคนั้นนี่มันต้องเสี่ยงกับอันตรายจากการถูกสังหารหมู่อะไรแบบนี้ เพราะเราจำได้ว่าในช่วงปลายทศวรรษ 1990 มันมีหนังเกย์เปรูที่ดังมากเรื่อง DON’T TELL ANYONE (1998, Francisco J. Lombardi, Peru) ซึ่งถ้าหากเราจำไม่ผิด หนังเกย์เปรูเรื่องนั้นก็ไม่ได้พาดพิงถึงเหตุการณ์สังหารหมู่อันนี้นะ เพราะฉะนั้นพอเราได้ดูหนังเรื่อง DON’T TELL ANYONE ในยุคนั้น เราก็เลยทึกทักเอาเองว่าสังคมเปรูน่าจะมีการแพร่หลายของวัฒนธรรมเกย์มากในระดับนึง ถึงได้มีการผลิตหนังเกย์แบบนี้ออกมา นึกไม่ถึงเลยว่าจริง ๆ แล้วชีวิตเกย์ในเปรูนี่มันโหดร้ายรุนแรงมาก ๆ

 

Wednesday, January 29, 2025

BEFF 2025

 

วันอังคารนี้เรากะว่าจะดู SYMPTOMS OF A FOREST (180min), CANYON CINEMA (52min) และ OPEN CALL 13 ค่ะ

 

เนื่องจากว่าวันนี้เรากะว่าจะดูหนังอินเดีย 10 เรื่องใน BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL วันนี้เราก็เลยกินอาหารอินเดียเพื่อให้เข้ากับหนังที่ดูค่ะ เป็น Garlic Naan + Paneer Butter Masala

 

หนังอินเดีย 10 เรื่องที่เราจะดูในวันนี้ ประกอบไปด้วย

 

Slow Shift (2566) | 09:00 นาที

โดย ชัมภวี กุล

Slow Shift (2023) | 09:00 mins

by Shambhavi Kaul

.

And I Make Short Films (2511) | 15:00 นาที

โดย เอสเอ็นเอส สัสตรี

And I Make Short Films (1968) | 15:00 mins

by SNS Sastry

.

Thokei (2566) | 04:00 นาที

โดย มาลิก อีร์ติซา

Thokei (2023) | 04:00 mins

by Malik Irtiza

.

Kamlabai (2535) | 47:00 นาที

โดย รีนา โมฮาน

Kamlabai (1992) | 47:00 mins

by Reena Mohan

.

Ul-Umra (2565) | 09:00 นาที

โดย เกาธัม วัลลูริ

Ul-Umra (2022) | 09:00 mins

by Gautam Valluri

.

Scenes from a Sketchbook (2559) | 20:00 นาที

โดย อมิต ดุตตา

Scenes from a Sketchbook (2016) | 20:00 mins

by Amit Dutta

.

Bare (2006) | 11:00 นาที

โดย ซันตานา อิสซาร์

Bare (2006) | 11:00 mins

by Santana Issar

.

Cocrunda .5mg (2564) | 09:00 นาที

โดย อกริมา เวอร์มา

Cocrunda .5mg (2021) | 09:00 mins

by Agrima Verma

.

Hairfall (2554) | 05:00 นาที

โดย ปารุล คุปตะ

Hairfall (2011) | 05:00 mins

by Parul Gupta

.

Bazaar Sitaram (2536) | 36:00 mins

โดย นีนา คุปตะ

Bazaar Sitaram, 1993, 36:00 mins

by Neena Gupta

 

จำได้ว่า ใน BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL ในปี 2012 นั้น เราก็ได้ดูหนังอินเดีย 6 เรื่องในเทศกาลนั้น ซึ่งดีงามมาก ๆ โดยเฉพาะหนังเรื่อง EXPLORER (1968, Pramod Pati) ที่เรายกให้ติดอันดับ 4 ในบรรดาหนังที่เราชื่นชอบมากที่สุดที่ได้ดูในปี 2012 ไปเลย

 

ส่วนหนังอันดับหนึ่งของเราประจำปี 2012 ก็คือ COMING ATTRACTIONS (2010, Peter Tscherkassky, Austria) ซึ่งเป็นหนังที่ฉายใน BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL ในปี 2012 เช่นกัน

+++++

 

พอเราได้ดู KAMLABAI (1992, Reena Mohan, India, documentary, A+30) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับดาราหนังเงียบของอินเดีย เราก็เลยพยายามนึกว่า เราเคยดูหนังเงียบของอินเดียเรื่องไหนบ้าง ซึ่งเราก็นึกออกแค่เรื่องเดียว ซึ่งก็คือ SHIRAZ: (1928, Franz Osten, India/UK/Germany, A+30) นี่แหละ

+++++++++

 

ชอบ HOTEL CARTOGRAPH (1982, Scott Stark, USA, A+30) ใน BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL อย่างรุนแรงสุดขีด แต่ทำไมเราหารูปดี ๆ จากหนังเรื่องนี้ทางอินเทอร์เน็ตแทบไม่ได้เลย

 

อยากฉายหนังเรื่องนี้ควบกับ

 

1. HOTEL MONTEREY (1973, Chantal Akerman, A+30) ในฐานะหนังที่นำเสนอ “อาคารโรงแรม” ในฐานะตัวละครหลักเหมือนกัน เพียงแต่ว่าตัวละครหลักของ HOTEL CARTOGRAPH คือ “พื้นโรงแรม”

 

2. CAN’T TAKE ME HOME พากลับบ้านไม่ได้ (2024, Jakkrapan Sriwichai, video installation, 41min, A+30)

 

เพราะทั้ง CAN’T TAKE ME HOME กับ HOTEL CARTOGRAPH เป็นการใช้กล้องติดตั้งอยู่บน “วัสดุที่มีล้อเลื่อน” เหมือนกัน และถ่ายทอดมุมมองจากกล้องที่ติดตั้งอยู่บนวัตถุนั้น โดยไม่มีความพยายามจะเร้าอารมณ์ใด ๆ

+++++++++

หนึ่งใน moment ประทับใจในวันนี้ คือการได้เห็นชื่อของ Anand Patwardhan และ Rakesh Sharma สองผู้กำกับหนังอินเดียที่เราชื่นชอบอย่างรุนแรงที่สุด ปรากฏอยู่ใน ending credits ของ KAMLABAI (1992, Reena Mohan, India, documentary, 47min, A+30)

https://www.youtube.com/watch?v=kdpv1xCj4O8

 

++++++++

หนักที่สุด เราเพิ่งรู้ว่า Shyam Benegal เคยกำกับละครโทรทัศน์เรื่อง THE DISCOVERY OF INDIA (1988-1989) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ 5000 ปีของอินเดีย โดยละครเรื่องนี้มีความยาวเพียงแค่ 53 ตอนเท่านั้นเอง และแต่ละตอนก็มีความยาวเพียงแค่ราว 1 ชั่วโมงเท่านั้นเอง สรุปว่าละครทีวีเรื่องนี้มีความยาวเพียงแค่ราว 53 ชั่วโมงเท่านั้นเองจ้า

 

ละครเรื่องนี้มีให้ดูทั้งเรื่องในยูทูบแบบมีซับไตเติลภาษาอังกฤษด้วยนะ ดีงามที่สุด ว่าแต่เมื่อไหร่กูจะมีเวลาว่างดูละครเรื่องนี้คะ

 

เราชอบ Shyam Benegal อย่างรุนแรงมาก เราเคยดู BHUMIKA (1977), SAMAR (1998) และ ZUBEIDAA (2001) ที่เขากำกับ ตอนที่หนัง 3 เรื่องนี้มาฉายในงาน SHYAM BENEGAL RETROSPECTIVE ที่โรงหนังสยามพารากอนในปี 2008 โดยมีพี่วิคเตอร์ เกรียงศักดิ์ ศิลากอง เป็นคนจัดงาน retrospective ครั้งนั้น

https://www.youtube.com/watch?v=ymoKnBGSFGM&list=PLqtVCj5iilH4w0Y8KBB4fqBu25T0sGhXG&index=5

++++++++++

พอเราดู A CONVERSATION WITH THE SUN เราก็คิดว่า มันคงจะดีมากเลยถ้าหาก David Lynch ทำงาน VR พอเราเช็คข้อมูลดู ก็พบว่า เขาเคยทำไปแล้ว นั่นก็คือ TWIN PEAKS VR (2019) และทำออกมาในรูปแบบวิดีโอเกมด้วย มีใครเคยเล่นวิดีโอเกมอันนี้ไปแล้วบ้างคะ

++++++++++++

I WORSHIP DANIEL EISENBERG

 

เราชอบ THE UNSTABLE OBJECT II (2022, Daniel Eisenberg, documentary, USA/Germany/France/Turkey, 203min) อย่างรุนแรงที่สุด พอเราได้ดูหนังที่เขากำกับมาแล้ว 3 เรื่อง เราก็พบว่า เราอาจจะชอบเขามากพอ ๆ กับ Wang Bing และ Frederick Wiseman แต่อาจจะชอบเขาน้อยกว่า Harun Farocki เล็กน้อย

 

 

Monday, January 27, 2025

A CONVERSATION WITH THE SUN (2024, Apichatpong Weerasethakul, VR, A+30)

 

A CONVERSATION WITH THE SUN (2024, Apichatpong Weerasethakul, VR, A+30)

หรือที่เราเรียกเองว่า “ภารกิจพิชิตจู๋ยักษ์”

 

กฎในการดู VR ในครั้งนี้ คือห้ามเดินเข้าไปใกล้ “ดวงไฟ” ดวงอื่น ๆ ที่เราเห็นล่องลอยอยู่ เพราะดวงไฟดวงอื่น ๆ ที่เราเห็นล่องลอยอยู่ตามที่ต่าง ๆ ในห้อง คือ “ผู้ชม” คนอื่น ๆ

 

ขณะที่เราดู VR นี้อยู่ เราก็เห็น “เทวรูปเปรู” ผุดขึ้นมา แล้วเทวรูปโบราณนี้ก็มี “จู๋ยักษ์” อันใหญ่มาก แต่มันอยู่อีกฟากหนึ่งของห้องที่เรายืนอยู่ พอเราเห็นจู๋ยักษ์อันนี้ เราก็อยากเดินเข้าไปในจู๋ยักษ์นี้อย่างรุนแรง เราก็เลยต้องเดินจากอีกฟากหนึ่งของห้องไปที่จู๋ยักษ์นี้ แต่เราก็ต้องคอยหลบดวงไฟดวงอื่น ๆ ที่ล่องลอยไปมาด้วย เรารู้สึกสนุกมาก ๆ กับการเดินฝ่าค่ายกลดวงไฟลอยได้เหล่านี้

 

เราเดินหลบดวงไฟดวงอื่น ๆ ไปเรื่อย ๆ จนเข้าไปใกล้จู๋ยักษ์ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ แต่พอเราเดินเข้าไปใกล้จู๋ยักษ์ท่อนนี้ เราก็พบว่า มีดวงไฟอื่น ๆ อีก 3-4 ดวงล่องลอยวนเวียนอยู่ใกล้จู๋ยักษ์ท่อนนี้เหมือนกัน ดวงไฟ 3-4 ดวงนี้ล่องลอยวนเวียนอยู่ที่จู๋ยักษ์ ไม่ยอมไปไหน เราจะเข้าไปใกล้ดวงไฟเหล่านี้ก็ไมได้ เพราะมันผิดกฎ เราก็เลยไม่สามารถเดินเข้าไปจนถึงจู๋ยักษ์ได้สำเร็จ

 

เราก็เลยแอบสงสัยว่า ดวงไฟที่ลอยวนเวียน 3-4 ดวงอยู่รอบ ๆ จู๋ยักษ์ท่อนนี้นั้น พวกเขามีจุดประสงค์เดียวกับเราใช่ไหมคะ 55555

THE COLORS

 

วันนี้กะว่าจะดู PERSISTENCE, A CONVERSATION WITH THE SUN (เราซื้อตั๋วไว้แล้ว), SMALL HOURS OF THE NIGHT (2024, Daniel Hui, 103min, Singapore) และ NOX (LIVE) ของ Lawrence Lek ค่ะ

+++

THE COLORS (1976, Abbas Kiarostami, Iran, 16min, A+30)

 

ชอบสีสันในหนังเรื่องนี้จริง ๆ นึกถึงสีสันในหนังยุคทศวรรษ 1950 มาก ๆ

 

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่

https://www.lecinemaclub.com/now-showing/the-colors/

 

+++++++++++

 

 

วันนี้หลังจากดู BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL เสร็จ ก็เดินจากONE BANGKOK มาแดกข้าวมื้อดึกที่โรงแรมมาเลเซียจนถึงราว ๆ เกือบตีหนึ่ง รู้สึกดีใจที่ได้กลับมากินข้าวที่โรงแรมนี้อีกเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี

 

สมัยช่วงปลายทศวรรษ 1990 เราเคยมากินข้าวที่โรงแรมนี้เป็นครั้งคราว เพราะเกย์ฝรั่งหลาย ๆ คนที่มาเที่ยว DJ STATION ในยุคนั้น พักที่โรงแรมมาเลเซีย เราก็เลยประทับใจบรรยากาศในร้านอาหารที่โรงแรมมาเลเซียในยุคนั้นมาก ๆ

 

แต่พอ 25 ปีผ่านไป เราก็พบว่าคนที่มากินข้าวในโรงแรมแห่งนี้ในยุคปัจจุบันนี้ไม่ได้เป็นเหมือนเมื่อ 25 ปีก่อน แต่ก็ชอบร้านอาหารนี้มาก ๆ อยู่ดี อาหารอร่อย และเปิดจนดึก

 

พอได้กลับมาเยือนสถานที่ที่เคยเยือนในอดีต เราก็พบว่า เราชอบ “จดจำอะไรที่ไม่มีความสำคัญ” ได้ดีมาก ๆ 555555 สิ่งหนึ่งที่จดจำได้ก็คือว่า มีครั้งหนึ่งที่เราเดินเข้าไปในร้านอาหารในโรงแรมมาเลเซีย น่าจะประมาณปี 1998-1999 เจอ “พี่กะเทย” คนหนึ่งที่เราเคยรู้จัก กินข้าวอยู่กับหนุ่มดัทช์ ตัวหนุ่มดัทช์หล่อมาก หล่อแบบถวายชีวิต แล้วเขาตัวใหญ่ รูปร่างดีมาก น่าจะสูงราว ๆ 185-190 เซนติเมตร ซึ่งหนุ่มดัทช์คนนั้นน่าจะฟังภาษาไทยไม่ออก พอเราไปนั่งกินข้าวที่โต๊ะเดียวกับทั้งสองคนนี้ พี่กะเทยคนนั้นก็พูดกับเราว่า

 

“ผู้ชายคนนี้น่ะนะ ตัวเป็นตัว หน้าเป็นหน้า

 

ไอ้นั่นก็คงเป็นไอ้นั่น” แล้วพี่กะเทยคนนั้นก็ยิ้มอย่างมีเลศนัย

 

ไม่รู้ทำไมเวลาผ่านมานาน 25 ปีแล้ว เรายังจำบทสนทนาของพี่กะเทยคนนั้นได้ดีอยู่ ทั้ง ๆ ที่มันไม่ได้มีความสำคัญอะไรเลย 5555 รู้แต่ว่าพอเรากลับไปเยือนโรงแรมมาเลเซียในคืนนี้ เหตุการณ์นั้นก็ผุดขึ้นมาในความทรงจำของเราในทันที

 

Sunday, January 26, 2025

BEFF EXPERIENCE

 บันทีกความทรงจำต่อประสบการณ์ BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL

 

สรุปว่า วันนี้ ตอนรอบ 13.00-15.00 น. เราดูโปรแกรม Open Call 4: On gazing at the shift from actuality to imagination, and its reversion. (Duration: 99:00 mins) ซึ่งเราได้นั่งที่นั่งแบบในรูปซ้าย มีเบาะให้พิงหลัง แต่ไม่มีที่ให้หย่อนขา ซึ่งเราก็พอนั่งได้ แต่เราต้องคอยขยับขาไปมาเพื่อไม่ให้เหน็บกิน

 

โชคดีที่รอบ 15.00-17.00 ซึ่งเราดูโปรแกรม Open Call 7: On gazing back at kinship, separation, death, and remembrance. (Duration: 101:00 mins) และรอบ 17.30-21.00 ซึ่งเราดูหนังเรื่อง The Unstable Object II (2022) | 203:32 mins
by Daniel Eisenberg (USA) เราได้นั่งที่นั่งบัลลังก์ตั่งทองแบบในรูปขวา ก็เลยสบายหน่อย ดูได้ไม่มีปัญหา มีความสุขกับหนังที่ดูมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

 

พอพูดถึง “ประสบการณ์การนั่งดูหนัง” ใน BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL เราก็คิดว่า ประสบการณ์ครั้งที่หนักที่สุด ยังไงก็ไม่มีทางเกินประสบการณ์ตอนปี 2005 เพราะว่าใน BEFF ปีอื่นๆ  นั้น ที่นั่งมันปกติ

 

BEFF ปี 1997 และปี 1999 จัดที่ Alliance Francaise เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งที่นั่งมันปกติ

 

BEFF ปี 2001 จัดที่เกอเธ่ ซึ่งที่นั่งก็ปกติ

 

ส่วน BEFF ปี 2008 เราเน้นดูที่ Alliance Francaise (ปีนั้นเขาจัดที่ Esplanade ด้วย แต่เรามีปัญหากับพนักงาน Esplanade อย่างรุนแรงในปีนั้น เราก็เลยดูแต่โปรแกรมหนังทดลองที่ฉายที่ Alliance เป็นหลัก)

 

BEFF ปี 2012 เน้นจัดที่ BACC และเกอเธ่ ซึ่งที่นั่งก็ปกติ

 

เพราะฉะนั้นประสบการณ์ครั้งที่หนักที่สุด ก็คือปี 2005 นี่แหละ เพราะตอนนั้นมันฉายกลางแปลงที่สวนลุมพินี

 

เหตุมันเกิดในวันที่ 24 ธ.ค. 2005 วันนั้นเราได้มาดูหนังหลายเรื่องใน BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL ซึ่งจัดฉายกลางแปลงตามจุดต่าง ๆ กระจายทั่วสวนลุมพินี วันนั้นเราได้ดูเรื่อง NO PLACE NOWHERE (2005, José Luis Torres Leiva, Chile, 70min, A+30) ที่จอนึงก่อน แล้วหลังจากนั้นเราก็ไปดูหนังเรื่อง PISCINE (2002, Jean-Baptiste Bruant + Maria Spangaro, 60Mmin, A+30) ที่อีกจอนึงในสวนลุมพินี น่าจะเป็นช่วงราว ๆ 19.00-20.00 ที่ท้องฟ้ามันมืดสนิทแล้ว

 

คือขณะที่เรานั่งดูหนังเรื่อง PISCINE อยู่นั้น อยู่ดี ๆ ก็มีผู้ชายมานั่งข้าง ๆ มาชวนคุย ถามว่าเขาฉายหนังอะไรเหรอ แล้วเขาก็พยายามชวนคุยไปเรื่อย ๆ ด้วยน้ำเสียงกระเส่า ๆ คือพอเขาพูดไปสักพัก เราก็รู้เลยว่า ผู้ชายคนนี้ต้องการชวนเราไปมีเซ็กส์ด้วยกันในสวนลุมพินีแน่ ๆ

 

ซึ่งเราก็ภูมิใจนะ ที่ขายออก แต่ปัญหาก็คือว่า เราชอบหนังเรื่อง PISCINE ที่กำลังดูอยู่อย่างรุนแรงมาก หนังทั้งเรื่องมันมีแต่คนเดินไปเดินมาในสระว่ายน้ำตลอด 60 นาที ซึ่งหนังแบบนี้นี่แหละที่เราชอบสุด ๆ เราก็เลยตัดสินใจไม่ไปกับเขา เขาก็แยกตัวไป ส่วนเราก็นั่งดู PISCINE ต่อจนจบ และหลังจากนั้นเราก็ไปดูหนังเรื่อง 1/3 OF THE EYES (2004, Olivier Zabat, A+30) ต่อที่อีกจอนึงในสวนลุมพินี

 

ก็ไม่รู้ว่าวันนั้นเราตัดสินใจถูกหรือตัดสินใจผิดนะที่เลือกที่จะดูหนังทดลองต่อ แทนที่จะไปมีเซ็กส์กับผู้ชายในสวนลุมพินี 55555 แต่เราก็คิดว่าเราตัดสินใจถูกนะ เพราะ PISCINE ติดอันดับ 15 ในลิสท์หนังสุดโปรดของเราประจำปีนั้น ส่วน 1/3 OF THE EYES ติดอันดับ 9 ในลิสท์หนังสุดโปรดของเราประจำปีนั้น

 

อย่างไรก็ดี เราชอบประสบการณ์นี้มาก ๆ รู้สึกว่าพอเวลามันผ่านมานานเกือบ 20 ปีแล้ว ประสบการณ์การนั่งดูหนัง PISCINE กลางสวนลุมพินีในวันที่ 24 ธ.ค. 2005 ก็ยังคงถือเป็น “หนึ่งในประสบการณ์การดูหนังที่ลืมไม่ลง” ของเรา 55555

Saturday, January 25, 2025

MY SCHEDULE FOR BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL 2025

ตารางชีวิตฮิสทีเรียของดิฉันประจำ BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL 2025

 

มีหนังหลายเรื่องในเทศกาลนี้ที่เราเคยดูไปแล้ว อย่างเช่น หนังของ Johan Grimonprez และ Sasithorn Ariyavicha เพราะฉะนั้นตารางของเราก็เลยอาจจะไม่ได้ครอบคลุมหนังที่ดีงามที่สุดบางเรื่องในเทศกาลนะ เพราะเราเคยดูไปแล้วจ้ะ

 

SAT 25 JAN 2025

 

13.00-15.00 T2

Open Call 4: On gazing at the shift from actuality to imagination, and its reversion. (Duration: 99:00 mins)
.
Go Between (2567) | 6:48 นาที
โดย คริส เคนเนดี้ (แคนาดา/ออสเตรเลีย)
Go Between (2024) | 6:48 mins
by Chris Kennedy (Canada/Australia)
.
A throwing forth (2566) | 06:04 นาที
โดย เสี่ยว จาง (สหรัฐอเมริกา จีน)
A throwing forth (2023) | 06:04 mins
by Xiao Zhang (USA; China)
.
What Fog? (2567) | 29:11 นาที
โดย ฟิลิป วิดมันน์ (เยอรมนี)
What Fog? (2024) | 29:11 mins
by Philip Widmann (Germany)
.
Buseok (2567) | 17:40 นาที
โดย พัค คยูแจ (เกาหลีใต้)
Buseok (2024) | 17:40 mins
by Park Kyujae (South Korea)
.
Light of Light (2566) | 12:55 นาที
โดย เนริทัน ซินซีห์เรีย (กรีซ)
Light of Light (2023) | 12:55 mins
by Neritan Zinxhiria (Greece)
.
mmm (2566) | 7:07 นาที
โดย ชิเอมิ ชิมาดะ (สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น)
mmm (2023) | 7:07 mins
by Chiemi Shimada (UK, Japan)
.
Benevolence (2567) | 14:02 นาที
โดย คาเรล เดอ ค็อก (เบลเยียม)
Benevolence (2024) | 14:02 mins
by Karel De Cock (Belgium)
.
SKINFLICKER (2567) | 05:00 นาที
โดย เฮเลน่า กูเวีย มอนเตโร (ไอร์แลนด์)
SKINFLICKER (2024) | 05:00 mins
by Helena Gouveia Monteiro (Ireland)

 

15.00-17.00 T2

Open Call 7: On gazing back at kinship, separation, death, and remembrance. (Duration: 101:00 mins)
.
จงสวัสดิ์ (2566) | 10:20 mins
โดย ธนัตถ์ รุจิตานนท์ (ฟินแลนด์ เบลเยี่ยม โปรตุเกส ออสเตรเลีย ประเทศไทย)
The Announced Tragedy (2023) | 10:20 mins
by Thanut Rujitanont (Finland, Belgium, Portugal, Australia, Thailand)
.
The House That Stays (2567) | 14:58 นาที
โดย ดุ่ย เล ง็อก (เวียดนาม)
The House That Stays (2024) | 14:58 mins
by Duy Le Ngoc (Vietnam)
.
"Viimane külastus" The Last Visit ‘การพบพาน…ครั้งสุดท้าย’ (2566) | 15:41 นาที
โดย เกวลี วรุตม์โกเมน (เอสโตเนีย ประเทศไทย)
"Viimane külastus" The Last Visit ‘การพบพาน…ครั้งสุดท้าย’ (2023) | 15:41 mins
by Keawalee Warutkomain (Estonia, Thailand)
.
Grandma's Chilies (2566) | 15:45 นาที
โดย ภัทราวรรณ สุขมงคล (ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ ประเทศไทย)
Grandma's Chilies (2023) | 15:45 mins
by Pattrawan Sukmongkool (Luxembourg, Netherlands, Thailand)
.
Nights of Recollection (2567) | 12:06 นาที
โดย เจมส์ กรีนวูด (สหราชอาณาจักร)
Nights of Recollection (2024) | 12:06 mins
by James Greenwood (United Kingdom)
.
Their bodies don't tremble when they rise from the water (2565) | 15:47 นาที
โดย เอสเตบัน ครูซ โอโรซโก (โคลอมเบีย)
Their bodies don't tremble when they rise from the water (2022) | 15:47 mins
by Esteban Cruz Orozco (Colombia)
.
Nothing out of the Island (2567) | 15:44 นาที
โดย ดาลิสซ่า มอนเตส เด โอคา (สาธารณรัฐโดมินิกัน)
Nothing out of the Island (2024) | 15:44 mins
by Dalissa Montes de Oca (Dominican Republic) 

 

17.30-21.00 T2

Open Call 1: On gazing at an object, in a way we had never seen. (Duration: 204:00 mins)
.
The Unstable Object II (2565) | 203:32 นาที
โดย เดเนียล ไอเซนเบิร์ก (สหรัฐอเมริกา)
The Unstable Object II (2022) | 203:32 mins
by Daniel Eisenberg (USA

 

 

SUNDAY 26 JAN 2025

 

12.30 T2

Persistence (2540) | 84:00 นาที

โดย แดเนียล ไอเซนเบิร์ก

Persistence (1997) | 84:00 mins

Daniel Eisenberg

 

 

14.30 A CONVERSATION WITH THE SUN

 

17.30 T4

Small Hours of the Night (2024) | 103:00 mins

by Daniel Hui

 

20.00-20.45 T1

Lawrence Lek, NOX, 45:00 mins

 

 

MONDAY 27 JAN 2025

 

13.30-15.30 T3

Open Call 2: On gazing back at the Big Brother, an ever-watchful observer. (Duration: 101:00 mins)
.
根欲 The Inescapable Desire of Roots (2567) | 05:40 นาที
โดย มาร์ก ฉั่ว, ลัม หลี่ เฉิน (สิงคโปร์),
根欲 The Inescapable Desire of Roots (2024) | 05:40 mins
by Mark Chua, Lam Li Shuen (Singapore)
.
Single File (2566) | 10:00 นาที
โดย ไซมอน หลิว (ฮ่องกง)
Single File (2023) | 10:00 mins
by Simon Liu (Hong Kong)
.
The Memo (2566) | 30:09 นาที
โดย แบดแลนด์ ฟิล์ม กรุ๊ป (จีน)
The Memo (2023) | 30:09 mins
by Badlands Film Group (China)
.
The Body Craves Impact as Love Bursts (2024) | 22:10 นาที
โดย วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย (ประเทศไทย)
The Body Craves Impact as Love Bursts (2024) | 22:10 mins
by Wattanapume Laisuwanchai (Thailand)
.
DVA (2566) | 33:00 นาที
โดย อเล็กซานดรา คาเรลินา (รัสเซีย)
DVA (2023) | 33:00 mins
by Alexandra Karelina (Russia)

 

16.00-18.00 T4

Open Call 11: On gazing into the textures and skins of cinema. (Duration: 101:00 mins)
.
★✈←→(Day & Night, Airplane, Back & Forth) (2566) | 11:20 นาที
โดย เคนตะ โนมุระ (ญี่ปุ่น)
★✈←→(Day & Night, Airplane, Back & Forth) (2023) | 11:20 mins
by Kenta Nomura (Japan)
.
พัก63 (2568) | 02:22 นาที
โดย ดนยา จุฬพุฒิพงษ์ (ประเทศไทย)
Park63 (2025) | 02.22 mins
by Danaya Chulphuthiphong (Thailand)
.
To Be A Day (2567) | 08.15 นาที
โดย อีวา คลอส (แคนาดา เบลเยียม)
To Be A Day (2024) | 08:15 mins
by Eva Claus (Canada, Belgium)
.
Bedroom (2568) | 47:13 นาที
โดย สิปปกร เอาตระกูล (ประเทศไทย)
Bedroom (2025) | 47:13 mins
by Sippakorn Aotrakul (Thailand)
.
"Tri ơi" (2567) | 11:45 นาที
โดย หลุยส์ ลาน (ฝรั่งเศส)
"Tri ơi" (2024) | 11:45 mins
by Louise Lan (France)
.
Fluctuation (2565) | 14:00 นาที
โดย ชุน อิเคโซเอะ (ญี่ปุ่น)
Fluctuation (2022) | 14:00 mins
by Shun Ikezoe (Japan)
.
Iris (2568) | 05:15 นาที
โดย วิกเตอร์ มิสซูด (ฝรั่งเศส)
Iris (2568) | 05:15 mins
by Victor Missud (France)

 

19.00-21.00 T3

Open Call 12: on gazing back at the cinema's subconscious. (Duration: 92:00 mins)
.
The Myriad of Faces of the Future Challengers (2565) | 91:31 นาที
โดย ยุกิ อาทิตยา (อินโดนีเซีย)
The Myriad of Faces of the Future Challengers (2022) | 91:31 mins
by Yuki Aditya (Indonesia)

 

 

TUESDAY 28 JAN 2025

 

13.30 T3

Symptoms of a Forest’(with sound intervention) (Duration: 180:00 mins)

 Jan 28 - screenings + Q&A with curators (13:30 - 21:00)

.

Slow Shift (2566) | 09:00 นาที

โดย ชัมภวี กุล

Slow Shift (2023) | 09:00 mins

by Shambhavi Kaul

.

And I Make Short Films (2511) | 15:00 นาที

โดย เอสเอ็นเอส สัสตรี

And I Make Short Films (1968) | 15:00 mins

by SNS Sastry

.

Thokei (2566) | 04:00 นาที

โดย มาลิก อีร์ติซา

Thokei (2023) | 04:00 mins

by Malik Irtiza

.

Kamlabai (2535) | 47:00 นาที

โดย รีนา โมฮาน

Kamlabai (1992) | 47:00 mins

by Reena Mohan

.

Ul-Umra (2565) | 09:00 นาที

โดย เกาธัม วัลลูริ

Ul-Umra (2022) | 09:00 mins

by Gautam Valluri

.

Scenes from a Sketchbook (2559) | 20:00 นาที

โดย อมิต ดุตตา

Scenes from a Sketchbook (2016) | 20:00 mins

by Amit Dutta

.

Bare (2006) | 11:00 นาที

โดย ซันตานา อิสซาร์

Bare (2006) | 11:00 mins

by Santana Issar

.

Cocrunda .5mg (2564) | 09:00 นาที

โดย อกริมา เวอร์มา

Cocrunda .5mg (2021) | 09:00 mins

by Agrima Verma

.

Hairfall (2554) | 05:00 นาที

โดย ปารุล คุปตะ

Hairfall (2011) | 05:00 mins

by Parul Gupta

.

Bazaar Sitaram (2536) | 36:00 mins

โดย นีนา คุปตะ

Bazaar Sitaram, 1993, 36:00 mins

by Neena Gupta

 

18.00-20.00 T4

Canyon Cinema Across Time and Space (Duration: 52:00 mins)
January 28 (18:00 - 20:00)
January 30 (13:30 - 15:30)
.
Mr. Hayashi (2504) | 03:00 นาที
โดย บรูซ เบลลีย์
Mr. Hayashi (1960) | 03:00 mins
by Bruce Baillie
.
Saving the Proof (2522) | 11:00 นาที
โดย คาเรน โฮล์มส์
Saving the Proof (1979) | 11:00 mins
by Karen Holmes
.
Hotel Cartograph (2526) | 11:00 นาที
โดย สก็อต สตาร์ก
Hotel Cartograph (1983) | 11:00 mins
by Scott Stark
.
No-Zoner (2536) | 18:00 นาที
โดย เกรตา สไนเดอร์
No-Zoner (1993) | 18:00 mins
by Greta Snider
.
Market Street (2548) | 05:00 นาที
โดยโทโมนาริ นิชิคาวะ
Market Street (2005) | 05:00 mins
by Tomonari Nishikawa
.
Reid’s Records (2561) | 04:00 นาที
โดย เพจ ทาห์ล
Reid’s Records (2018) | 04:00 mins
by Paige Taul 

 

 

WEDNESDAY 29 JAN 2025

 

1330-1530 T4

Open Call 9: On gazing at the crazy power of poor images. (Duration: 108:00 mins)
.
Permanent Record (2567) | 48:18 นาที
โดย เบิร์ท แอ็กเลย์ (เวียดนาม)
Permanent Record (2024) | 48:18 mins
by Bert Ackley (Vietnam)
.
Notes of a Crocodile (2567) | 17:49 นาที
โดย ดาฟนี่ ซู (กัมพูชา)
Notes of a Crocodile (2024) | 17:49 mins
by Daphne Xu (Cambodia)
.
Involuntary Body (2567) | 06.43 นาที
โดย ทอม เดนีซ (ออสเตรเลีย)
Involuntary Body (2024) | 06:43 mins
by Tom Denize (Australia)
.
Conversion (2566) | 12:22 นาที
โดย อีโอ กิลล์ (ออสเตรเลีย)
Conversion (2023) | 12:22 mins
by EO Gill (Australia)
.
ILoveYou ILoveYou ILoveYou (...) (2024) | 03.35 นาที
โดย นิโค มาสคาเรนฮาส (บอย พริ้นเซส) (บราซิล)
ILoveYou ILoveYou ILoveYou (...) (2024) | 03.35 mins
by Nico Mascarenhas (boy princess) (Brazil)
.
Read-only Memory (2565) | 14:10 นาที
โดย คริสติน คามิลล์ ซูลิต (ฟิลิปปินส์)
Read-only Memory (2022) | 14:10 mins
by Kristine Camille Sulit (Philippines)
.
บัวบ้า (2567) | 15:00 นาที
โดย นวีน นพคุณ (ประเทศไทย)
Crazy Lotus (2024) | 15:00 mins
by Naween Noppakun (Thailand) 

 

1600-1800 T2

Open Call 5: On gazing at cinema as a substance. (Duration: 103:00 mins)
.
Film Fetish (2565) | 65.44 นาที
โดย ยู คานาเอโกะ (ญี่ปุ่น)
Film Fetish (2022) | 65:44 mins
by Yu Kaneko (Japan)
.
Series of Actions (2567) | 37:00 นาที
โดย ชนสรณ์ ชัยกิตติภรณ์ (ประเทศไทย)
Series of Actions (2024) | 37:00 mins
by Chanasorn Chaikitiporn (Thailand)

 

1900-2100 T2

Open Call 14: On gazing at the spirit of resistance and its weight. (Duration: 100:00 mins)
.
Nostalgia (2565) | 12:56 นาที
โดย วีรภัทร สากลวารี (ประเทศไทย)
Nostalgia (2022) | 12:56 mins
by Weerapat Sakolvaree (Thailand)
.
อัตภาพ (2565) | 10:20 นาที
โดย นวพล พืชผลทรัพย์ (ประเทศไทย)
Self portrait (2022) | 10:20 mins
by Nawapol Peachpolshep (Thailand)
.
S.(Silent) Korea (2567) | 52:32 นาที
โดย โฮ บิน คิม (เกาหลีใต้)
S.(Silent) Korea (2024) | 52:32 mins
by Ho Bin Kim (South Korea)
.
Parade Protest (2567) | 09:12 นาที
โดย คริส ชง ชาน ฟุย (มาเลเซีย)
Parade Protest (2024) | 09:12 mins
by Chris Chong Chan Fui (Malaysia)
.
31 5 (2023) | 14:48 นาที
โดย แดเนียล จาคอบี้ (เนเธอร์แลนด์ เปรู)
31 5 (2566) | 14:48 mins
by Daniel Jacoby (Netherlands, Peru)

 

 

THURSDAY 30 JAN 2025

 

1330-1530 T4

Open Call 6: On gazing to the data future through cinematic apparatus. (Duration: 110:00 mins)
.
ในน้ำแฮฟฟิช ในนาแฮฟไรซ์ (2565) | 18:32 นาที
โดย ธนกฤต กฤษณยรรยง (ประเทศไทย)
There are Fish in the Water and Rice in the Fields (2022) | 18:32 mins
by Tanakit Kitsanayunyong (Thailand)
.
Track_ing (2567) | 22:53 นาที
โดย ชานยอล อี, ฮันนา โช, ซัมการ์ รากิ และอาลี ไทนิเบคอฟ (เกาหลีใต้ คาซัคสถาน)
Track_ing (2024) | 22:53 mins
by Chanyeol Lee, Hanna Cho, Samgar Rakym and Ali Tynybekov (South Korea, Kazakhstan)
.
GOOD MORNING YOUNG BODY (2566) | 06:23 mins
โดย ชาร์เมน โปห์ (สิงคโปร์)
GOOD MORNING YOUNG BODY (2023) | 06:23 mins
by Charmaine Poh (Singapore)
.
Teleporting (2565) | 22:33 นาที
โดย อารัม นัม, ชิฟุมิ ทันซาวะ, นานะ โนกะ, โอฮยอน ควอน (เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น)
Teleporting (2022) | 22:33 mins
by Arum Nam, Chifumi Tanzawa, Nana Noka and Ohyeon Kwon (South Korea, Japan)
.
Monad + (2567) | 21.22 นาที
โดย ดานา ดาวุด (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ /สหรัฐอเมริกา)
Monad + (2024) | 21:22 mins
by Dana Dawud (UAE/USA)
.
Center, Ring, Mall (2566) | 17:29 นาที
โดย มาเทโอ เวกา (เนเธอร์แลนด์)
Center, Ring, Mall (2023) | 17:29 mins
by Mateo Vega (Netherlands)

 

1600-1800 T2

 Hand & Skin (Duration 81:00 mins)

.
Love, Dad (2564) | 12:42 นาที
โดย ไดอานา แคม ฟาน เหงียน
Love, Dad (2021) | 12:42 mins
by Diana Cam Van Nguyen
.
Joy of Life (2549) | 05:41 นาที
โดย ไอ โอซากิ
Joy of Life (2016) | 05:41 mins
by Ai Ozaki
.
Single Copy (2562) | 21:17 นาที
โดย ชูว เจ๋อหยู
Single Copy (2019) | 21:17 mins
by Hsu Che-yu
.
Fiction, 2561 (13:37) | นาที
โดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
Fiction (2018) | 13:37 mins
by Apichatpong Weerasethakul
.
Razeh-del (2567) | 27:47 นาที
โดย มาเรียม ตาฟาโกรี
Razeh-del (2024) | 27:47 mins
by Maryam Tafakory

 

2000-2130 2nd floor hall

ROOM IN A CROWD BY JOHN TORRES

 

 

FRIDAY 31 JAN 2025

 

1330-1530 T4

Open Call 10: On gazing through animated gestures of challenge. (Duration: 106:00 mins)
.
To the Mars and Back (2567) | 09:55 mins
โดย จรรยา เหตะโยธิน (ประเทศไทย)
To the Mars and Bac (2024) | 09:55 mins
by Chanya Hetayothin (Thailand)
.
Saros 143 Club (2567) | 19:38 นาที
โดย ณณฐ ธนพรรพี (ประเทศไทย)
Saros 143 Club (2024) | 19:38 mins
by Nanut Thanapornrapee (Thailand)
.
Sore (2566) | 03:33 นาที
โดย พสิษฐ์พล เกิดพูล (ประเทศไทย)
Sore (2023) | 03:33 mins
by Phasitpol Kerdpool (Thailand)
.
Why isn't lit a straight line? (2567) | 04:45 นาที
โดย วริศรา จิรัฐิติเจริญ (ประเทศไทย)
Why isn't lit a straight line? (2024) | 04:45 mins
by Waritsara Jirattitijaroen (Thailand)
.
On our pathway Volume 4 (2566) | 67:38 นาที
โดย เล ซวน เตียน (เวียดนาม)
On our pathway Volume 4 (2023) | 67:38 mins
by Lê Xuân Tiến (Vietnam) 

 

1600-1800 T2

Leap To the Place of Two Pools (Duration: 50:00 mins)
January 26 (12:30 - 14:30 hrs.)
.
Transition sequence for a dream or fight (2567) | 05:00 นาที, ลูป
โดย ซอนย่า ลาซีย์
Transition sequence for a dream or fight (2024) | 05:00 mins, loop
by Sonya Lacey
.
fugue notes (2567) | 21:49 นาที
โดย เซลีน่า เออร์ชาดิ
fugue notes (2024) | 21:49 mins
by Selina Ershadi
.
James (2567) | 07:54 นาที
โดย เจมส์ แทปเซลล์-คุรุรังกิ
James (2024) | 7:54 mins
by James Tapsell-Kururangi
.
Fronds (2567) | 09:51 นาที
โดย กาห์ บี ชาว
Fronds (2024) | 09:51 mins
by Kah Bee Chow
.
Makȟóčhe Kiŋč’iwa (The land paints itself) (2568) | 07:00 นาที
โดย ไคท์
Makȟóčhe Kiŋč’iwa (The land paints itself) (2025) | 07:00 mins approx
by Kite 

 

1900-2100 T3

Open Call 3: On gazing through the motto “Workers of the world, unite!” (Duration: 94:00 mins)
.
ดงรกชัฏ (2566) | 30:00 นาที
โดย ทวีโชค ผสม (ไทย)
Spirits of the Black Leaves (2023) | 30:00 mins
by Thaweechok Phasom (Thailand)
.
Fel gwacter [Like an emptiness] (2567) | 28:00 นาที
โดย โอเวน เทรน แม็คกิลวารี + ดีแลน ฮิว (คัมรี (เวลส์))
Fel gwacter [Like an emptiness] (2024) | 28:00 mins
by Owain Train McGilvary + Dylan Huw (Cymru (Wales)),
.
24 Cinematic Points of View of a Factory Gate in China (2566) | 24:45 นาที
โดย โฮ รุย อัน (สิงคโปร์)
24 Cinematic Points of View of a Factory Gate in China (2023) | 24:45 mins
by Ho Rui An (Singapore)
.
Same Old, Same Old (2567) | 11:00 นาที
โดย แซม คาราฟิโอเร (ออสเตรเลีย)
Same Old, Same Old (2024) | 11:00 mins
by Sam Calafiore (Australia)

 

 

SATURDAY 1 FEB 2025

 

1230-1430 T4

Flowing Water Parallelism + Sunless Haven (Duration: 72:00 mins)

Eyemo Rolls (คัดสรร) (2011-2024) | 22:00 นาที
โดย จอร์จ คลาร์ก
Eyemo Rolls (คัดสรร) (2554-2567) | 22:00 mins
by George Clark
.
Water Ritual #1: An Urban Rite of Purification (2522) | 04:00 นาที
โดย บาร์บาร่า แมคคัลลัค
Water Ritual #1: An Urban Rite of Purification (1979) | 04:00 mins
by Barbara McCullough
.
Black landscape #6 (2561-63) | 08:00 นาที
โดย เหงียน ถิ ธัญ มาย
Black landscape #6 (2018-20) | 08:00 mins
by Nguyen Thi Thanh Mai
.
Sunless Haven (2567) | 32:00 นาที
โดย จอร์จ คลาร์ก
Sunless Haven (2024) | 32:00 mins
by George Clark

 

1500-1700 T4

Open Call 8: On gazing back at war and its aftermath. (Duration: 100:00 mins)
.
Once Upon A Time There Was A Mom (2566) | 29:03 นาที
โดย ลิน ฮเท็ต อ่อง (เมียนมาร์)
Once Upon A Time There Was A Mom (2023) | 29:03 mins
by Lin Htet Aung (Myanmar)
.
In Flanders Fields (2567) | 15:37 นาที
โดย ซาซิน (อินเดีย เบลเยี่ยม)
In Flanders Fields (2024) | 15:37 mins
by Sachin (India, Belgium)
.
reliéf Relief (2566) | 09.07 นาที
โดย โยฮันเนส เกียร์ลิงเกอร์ และมิร่า คลัก (ออสเตรีย)
reliéf Relief (2023) | 09.07 mins
by Johannes Gierlinger & Mira Klug (Austria)
.
nothing belongs to us (2566) | 19:59 นาที
โดย วิกกี้ โด (เวียดนาม)
nothing belongs to us (2023) | 19:59 mins
by Vicky Do (Vietnam)
.
Agent of Decay (2568) | 05:57 นาที
โดย จักรวาล นิลธำรงค์ (ประเทศไทย)
Agent of Decay (2025) | 05.57 mins
by Jakrawal Nilthamrong (Thailand)
.
No Exorcism Film (2024) | 19:45 mins
โดย คมน์ธัช ณ พัทลุง (ประเทศไทย)
No Exorcism Film (2024) | 19:45 mins
by Komtouch Napattaloong (Thailand)

 

2000-2100 T4

In Dialogue: Gelare Khoshgozaran and Maryam Tafakory (Duration: 55mins)

.
Nazarbazi (2565) | 19:14 นาที
โดย มาเรียม ตาฟาโกรี
Nazarbazi (2022) | 19:14 mins
by Maryam Tafakory
.
MEN OF MY DREAMS (2563) | 09:30 นาที
โดย เกอร์ลาเร โคชโกซาราห์น
MEN OF MY DREAMS (2020) | 09:30 mins
by Gelare Khoshgozaran
.
To Keep the Mountain at Bay (2566) | 09:29 นาที
โดย เกอร์ลาเร โคชโกซาราห์น
To Keep the Mountain at Bay (2023) | 09:29 mins
by Gelare Khoshgozaran
.
Mast-del (2566) | 17:17 นาที
โดย มาเรียม ตาฟาโกรี
Mast-del (2023) | 17:17 mins
Maryam Tafakory

 

 

SUNDAY 2 FEB 2025

 

1330-1530 T4

Program I ( Duration 65:00 mins)

.
What the Water Said Nos 1-3 (2541) | 16:00 นาที
โดย เดวิด แกทเท่น
What the Water Said Nos 1-3 (1998) | 16:00 mins
by David Gatten
.
BLIGHT (2537-2539) | 14:00 นาที
โดย จอห์น สมิธ
BLIGHT (1994-1996) | 14:00 mins
John Smith
.
ALONE. LIFE WASTES ANDY HARDY (2540-2541) | 14:00 นาที
โดย มาร์ติน อาร์โนลด์
ALONE. LIFE WASTES ANDY HARDY (1997-1998) | 14:00 mins
Martin Arnold
.
ZONE (2538) | 12:00 นาที
โดย ทาคาชิ อิโตะ
by ZONE (1995) | 12:00 mins
by Takashi Ito
.
I Will Die (2543/2568) | 11:40 นาที
โดย หยางเจิ้งจง
I Will Die (2000/2025) | 11:40 mins
by YANG Zhenzhong

 

1600-1800 T4

Karmapala + A Child Already Knows (Duration: 70:00 mins)

Jan 28 (13:30 - 15:30)
Feb 2 (13:30 - 15:30) Q&A with curator
.
.
Resurrecting Karmapala (2566-67)
โดย จอร์จ คลากร์ & บุงกา เซียเกียน
การบรรยายแบบการแสดงสด + การฉายภาพยนตร์ 35:00 นาที
Resurrecting Karmapala (2023-24)
by George Clark & Bunga Siagian
Lecture performance + screening, 35:00 mins
.
A Child Already Knows (2567) | 33:00 นาที
โดย ทิฟฟานี เซีย
A Child Already Knows (2024) | 33:00 mins
by Tiffany Sia

 

1830-2100 T4

Open Call 14: On gazing at the spirit of resistance and its weight. (Duration: 100:00 mins)
.
Nostalgia (2565) | 12:56 นาที
โดย วีรภัทร สากลวารี (ประเทศไทย)
Nostalgia (2022) | 12:56 mins
by Weerapat Sakolvaree (Thailand)
.
อัตภาพ (2565) | 10:20 นาที
โดย นวพล พืชผลทรัพย์ (ประเทศไทย)
Self portrait (2022) | 10:20 mins
by Nawapol Peachpolshep (Thailand)
.
S.(Silent) Korea (2567) | 52:32 นาที
โดย โฮ บิน คิม (เกาหลีใต้)
S.(Silent) Korea (2024) | 52:32 mins
by Ho Bin Kim (South Korea)
.
Parade Protest (2567) | 09:12 นาที
โดย คริส ชง ชาน ฟุย (มาเลเซีย)
Parade Protest (2024) | 09:12 mins
by Chris Chong Chan Fui (Malaysia)
.
31 5 (2023) | 14:48 นาที
โดย แดเนียล จาคอบี้ (เนเธอร์แลนด์ เปรู)
31 5 (2566) | 14:48 mins
by Daniel Jacoby (Netherlands, Peru)

 

Friday, January 24, 2025

SING SING

 

รายงานผลประกอบการประจำวันพฤหัสบดีที่ 23 ม.ค. 2025 แรม 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง

 

วันนี้เราได้ดูหนังไปเพียงแค่ 4 เรื่อง

 

1. SING SING (2023, Greg Kwedar, 107min, A+30)

 

ดูที่ SF CENTRAL WORLD รอบ 13.00 น.

 

2. AZRAEL (2024, E.L. Katz, USA/Estonia, 86min, A+25)

 

ดูที่ SF CENTRAL WORLD รอบ 15.20 น.

 

3. FLIGHT RISK (2025, Mel Gibson, 91min, A+30)

 

ดูที่ SF CENTRAL WORLD รอบ 17.10 น.

 

4. AMAZON BULLSEYE (2024, Kim Chang-ju, South Korea, 113min, A+20)

 

ดูที่ SF CENTRAL WORLD รอบ 19.00 น.

 

สรุปว่าวันนี้ชอบ SING SING เป็นอันดับหนึ่ง, FLIGHT RISK เป็นอันดับสอง, AZRAEL เป็นอันดับสาม และ AMAZON BULLSEYE เป็นอันดับสี่

 

กะว่าจะพยายามรีบดูหนังเข้าใหม่ เพราะพอเทศกาล NORDIC FILM FESTIVAL IN BANGKOK เริ่มต้นขึ้นในวันศุกร์ และเทศกาล BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL เริ่มต้นขึ้นในวันเสาร์ เราอาจจะไม่มีเวลาว่างดูอะไรนอกเทศกาลอีกต่อไป

 

วันนี้เราดูหนัง 4 เรื่อง แต่ไม่ต้องจ่ายเงินเลยแม้แต่บาทเดียว 55555 เพราะเรามีแพคเกจ SF UNLIMITED ดูหนังฟรีได้หนึ่งเรื่องต่อวัน และเรามีแต้ม SF PLUS ครบ 50 แต้ม เราก็เลยได้ตั๋วหนังฟรี 3 ใบ เพราะฉะนั้นตั๋วหนัง 4 ใบที่เราซื้อในวันนี้ เราก็เลยซื้อมันมาในราคาศูนย์บาท ดีงามมากค่ะ

 

Thursday, January 23, 2025

KAMEN RIDER OUTSIDERS

 

วิธีการแต่งหน้าสำหรับคนจมูกยาวและงุ้ม

 

จากรายการ FASH SHOW ที่เคยออกอากาศทางช่อง 3 ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ดำเนินรายการโดยคุณริสา หงษ์หิรัญ และคุณตุ้ม

https://web.facebook.com/jit.phokaew/videos/593778490088340

+++++

สหัสชัย ชุมรุม ใน ดีแตก PATTAYA DON’T BURN (1987, Adirek Wattaleela) เรายังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้เลย
https://www.youtube.com/watch?v=do_ZULMlnHU

+++++++++++

 

CREATURE COMFORTS (1989, Nick Park, UK, animation, 5min, A+30)

 

ดูได้ที่นี่

https://www.lecinemaclub.com/now-showing/creature-comforts/

 

จำได้ว่า เมื่อราว 20 กว่าปีก่อน เคยมีการจัดเทศกาลหนัง BRITISH FILM FESTIVAL ในกรุงเทพ แล้วมีการฉายหนังชุด WALLACE & GROMIT หลายตอนในเทศกาลนั้นด้วย คิดถึงเทศกาลภาพยนตร์ BRITISH มาก ๆ อยากให้มีการจัดอีกทุกปี แต่ขอแบบมี subtitles ด้วยนะ

+++++++++++

ฉันรักเขา Yuichi Nakamura from KAMEN RIDER OUTSIDERS (2022-2024, Takayuki Shibasaki, Japan, A+30)

 

ฉันรักเขา Eiji Togashi from KAMEN RIDER OUTSIDERS (2022-2024, Takayuki Shibasaki, Japan, A+30)

 

หนึ่งในฉากที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ เป็นฉาก flashback จากภาคก่อน ๆ (ซึ่งเราไม่เคยดู) เป็นฉากที่ตัวละคร Ren (Eiji Togashi) ต่อสู้กับตัวร้ายชื่อ Desast แล้วตัวร้ายพ่ายแพ้ เหมือนจะสิ้นใจตาย แต่ก่อนที่ตัวร้ายจะสิ้นใจตาย เขาได้พูดทิ้งท้ายให้กับ Ren ผู้โค่นเขาลงได้ว่า

 

 “เวลากินราเม็ง อย่าลืมใส่ขิงดองด้วยนะ”

 

แล้วตัวร้ายก็สิ้นใจตายไป

 

รู้สึกว่ามีแต่หนังญี่ปุ่นเท่านั้นที่สามารถทำแบบนี้ได้สบาย ๆ เราขอยกให้มันเป็น “หนึ่งในฉากคลาสสิคตลอดกาล” ไปเลย เราไม่เคยเจอฉาก “ผู้ร้ายพูดทิ้งท้ายก่อนสิ้นใจตาย” ที่มันคลาสสิคแบบนี้มาก่อน

 

In the end, Kenzan was able to land a powerful blow enough to finally defeat Desast. As the Megid starts to disintegrate, Desast tells him to add red pickled gingers to his ramen which Ren agrees and solemnly thanked Desast for everything.

 

เสียดายที่เราไม่ได้ตามดู KAMEN RIDER มาก่อน เราเลยไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายสองคนนี้มันมีความ homoerotic อยู่ด้วยหรือเปล่า 55555

 

https://kamenrider.fandom.com/wiki/Ren_Akamichi

 

Favorite Character: Kamen Rider Brain (Shota Matsushima) from KAMEN RIDER OUTSIDERS (2022-2024, Takayuki Shibasaki, Japan, A+30)

 

เราไม่เคยดูหนังหรือละครชุดนี้มาก่อน พอเรามาได้ดูภาคนี้ เราก็เลยตกใจมาก ๆ ที่เพิ่งรู้ว่า มันมียอดมนุษย์ที่เป็น “กะเทย” หรือ “เกย์สาวตุ้งติ้ง” ร่วมอยู่ด้วย นึกไม่ถึงเลยจริง ๆ ซึ่งก็คือตัวละครตัวนี้ ที่ดูเป็นเกย์สาวตุ้งติ้งมาก ๆ และเธอบ้าผู้ชายอย่างรุนแรงมาก เหมือนเธออยากได้ Kamen Rider คนอื่น ๆ เป็นผัวมาก ๆ และเธอไม่ได้มาเพียงเพื่อเรียกเสียงฮาด้วย เพราะเธอมีความสามารถพิเศษและตั้งใจต่อสู้จริง ๆ เธอมีบทบาทในการต่อสู้กับเหล่าร้ายจริง ๆ เธอไม่ได้มาเพียงเพราะแค่อยากได้ Kamen Rider คนอื่น ๆ เป็นผัว

 

เราก็เลยประทับใจตัวละครตัวนี้อย่างรุนแรงมาก ดูแล้วก็ identify กับเธอได้ในทันทีค่ะ 55555

++++++++

 

วันนี้มาดูลาดเลาของสถานที่จัดงาน BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL ซึ่งก็คือ ONE BANGKOK วันนี้ไปลองแดกอาหารที่ FOOD COURT ชั้น 5 พบว่ามีร้านข้าวแกงมังสวิรัติด้วย ราคาย่อมเยาดี กับข้าว 3 อย่าง 85 บาท (ถ้าจำไม่ผิด) คือแพงกว่าร้านข้าวแกง FOOD COURT ในห้างอื่น ๆ แต่ก็น่าจะเป็นหนึ่งในร้านที่ถูกที่สุดแล้วมั้งในห้างนี้

 

ตอนสแกนจ่ายเงินใน FOOD COURT เราก็พบว่า ชื่อบริษัทผู้ให้บริการคือ ARGENTO TECH เราก็เลยประทับใจมาก นึกถึง DARIO ARGENTO ในทันที 55555

 

วันนี้ลองกิน SHINE MUSCAT JELLY CHEESE CAKE ของร้าน CAFE AMAZON ด้วย เพราะว่าพนักงานหล่อ

 

ประทับใจที่ห้างนี้มีห้องน้ำ UNISEX ด้วย และไม่มีคนเข้าห้องน้ำนี้ เราก็เลยใช้บริการในทันที

++++++++++

 

หนึ่งในอิทธิพลที่เราได้รับจากการอ่านนิตยสาร “ต่วยตูนพิเศษ” ตอนเด็ก ๆ นอกเหนือไปจากเรื่องความหลงใหลในผี ๆ สาง ๆ ภูตผีปีศาจ ตำนานโบราณ อาถรรพณ์ลึกลับทั่วโลกแล้ว ก็คือการที่เรา “เกลียดการไปร่วมงานที่มีคนเยอะ ๆ” ด้วย 555555

 

คือเมื่อวานเราได้คุยกับเพื่อน cinephile คนนึง ที่มีนิสัย “เกลียดการไปร่วมงานที่มีคนเยอะ ๆ” เหมือนกัน แล้วเราก็เลยตั้งข้อสงสัยว่า บางทีปัจจัยหนึ่งที่เรามีนิสัยแบบนี้ เป็นเพราะเราได้รับการปลูกฝังจากนิตยสาร ต่วยตูนพิเศษ ตอนเด็ก ๆ หรือเปล่า

 

คือเราจำได้ว่า ตอนเราเด็ก ๆ ในทศวรรษ 1980 นิตยสารต่วยตูนพิเศษ มีบางคอลัมน์ ที่ชอบลงเนื้อหาเกี่ยวกับ “เกร็ดประวัติศาสตร์” น่ะ และมีอยู่บางฉบับ ที่มันชอบลงเรื่อง “ตายตามแห่” คือเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ ที่มีคนจำนวนมากถูกเหยียบตายเพราะเกิด stampede อะไรทำนองนี้ แล้วตอนเด็ก ๆ พอเราอ่านเรื่องพวกนี้เยอะ ๆ เราก็จะหวาดกลัวอย่างรุนแรงมาก เราจะหวาดกลัวการเดินในงานอะไรก็ตามที่มีคนเยอะ ๆ แน่น ๆ และเราก็จะชอบ space ที่มันรกร้างว่างเปล่า ไม่มีคนมากกว่า คือยิ่งคนเยอะเท่าไหร่เรายิ่งเกลียด ยิ่งคนน้อยเท่าไหร่ เรายิ่งชอบ

 

แต่พอล่วงเลยมาถึงปัจจุบันนี้ เราก็จำไม่ได้แล้วว่า ตอนนั้นนิตยสาร ต่วยตูนพิเศษ มันเล่าเรื่อง “ตายตามแห่” เหตุการณ์ใดบ้าง มีใครจำได้บ้างไหมคะ ว่าตอนนั้นต่วยตูนพิเศษมันเล่าถึงเหตุการณ์ใดเอาไว้บ้าง

 

เราเดาว่า เหตุการณ์นึงที่ต่วยตูนพิเศษน่าจะเคยเล่าไว้ในทศวรรษ 1980 น่าจะเป็นเหตุการณ์ ตายตามแห่ ที่เคยเกิดขึ้นในอินเดียในปี 1954 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 800 คนในเหตุการณ์นี้ แต่เราก็ไม่แน่ใจนะ

 

แต่จริง ๆ แล้ว การที่เราเกลียดการอยู่ในสถานที่ที่มีคนเยอะ ๆ แน่น ๆ อาจจะเป็นเพียงเพราะว่า เรา “เกลียดมนุษย์” ก็ได้ ไม่ได้เกิดจากการปลูกฝังของนิตยสาร ต่วยตูนพิเศษ แต่อย่างใด 555555

 

Tuesday, January 21, 2025

Favorite Actor: Sahaschai Chumrum

 

ฉันรักเขา Tetsuya Iwanaga from KAMEN RIDER OUTSIDERS (2022-2024, Takayuki Shibasaki, Japan, A+30)

ฉันรักเขา Yamato Furuya from KAMEN RIDER OUTSIDERS (2022-2024, Takayuki Shibasaki, Japan, A+30)

 

RIP BERTRAND BLIER (1939-2025)

 

เราได้ดูหนังที่เขากำกับแค่ 4 เรื่องเองมั้ง แต่ก็ชอบหนังของเขาอย่างรุนแรงมาก

 

หนังที่กำกับโดย Bertrand Blier ที่เราเคยดู

 

1.IF I WERE A SPY (1967)

เราได้ดูตอนมันมาฉายที่ Alliance Française

 

2.BUFFET FROID (1979)

 

3.OUR HISTORY (1984)


 

เราได้ดูตอนมันมาฉายที่ Alliance Française ในงาน retrospective ของ Alain Delon

 

4.MY MAN (1996)

++++++++

ดีใจสุดขีดที่มีหนังใหม่ของ Daniel Eisenberg ด้วย ก่อนหน้านี้เราเคยดูหนังเรื่อง SOMETHING MORE THAN NIGHT (2003, Daniel Eisenberg) ตอนที่มันมาฉายในกรุงเทพเมื่อราว 20 ปีก่อน และเราก็ยกให้ SOMETHING MORE THAN NIGHT ติดอันดับ 7 ประจำปีนั้นไปเลย

++++++++++

วันนี้เรามาดูหนังเรื่อง THE BLUE STAR (2023, Javier Macipe, Argentina/Spain, A+30) และ THE UNIVERSAL THEORY (2023, Timm Kröger, Germany, A+30) ที่หอภาพยนตร์ ศาลายา พอดูหนังเสร็จแล้ว ก็เลยลองหาร้านอาหารแถวนั้นเพื่อกินข้าวเย็น วันนี้ลองเดินไปที่ซอยบ้านตั้งสิน และกินร้าน “โอซาว่า ราเมน” ซึ่งก็อร่อยดี และหลังจากนั้นเราก็ไปกินเค้กมะยงชิด ที่ร้าน “ราชบุรีแดรี่ฟาร์ม” ซึ่งก็อร่อยดีเหมือนกันค่ะ

++++++

LA CEREMONIE (1995, Claude Chabrol) ซึ่งถือเป็น ONE OF MY MOST FAVORITE FILMS OF ALL TIME จะออกจาก MUBI แล้วนะ แต่เราคิดว่าเพื่อน cinephile ทุกคนคงดูไปตั้งนานแล้ว 55555

+++++++++++

 

 

Favorite Actor: Sahaschai Chumrum สหัสชัย ชุมรุม from PANOR พนอ (2025, Puttipong Saisrikaew, A+30)

 

จริง ๆ แล้วเราว่าเขาก็เล่นดีในหนังทุกเรื่อง แต่ประทับใจบทบาทของเขาใน “พนอ” มากเป็นพิเศษ เพราะเราว่าเขาเล่นได้ “ขลัง” มาก ๆ ชอบบทของเขาในหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงมาก ๆ

 

เหมือนเราเห็นเขาครั้งแรกจาก “ช่างมันฉันไม่แคร์” (1986, M.L. Bhandevanop Devakul)

 

ลอง search ชื่อของเขา พบว่าเขาเคยถ่ายแบบลงนิตยสาร แพรว ในปี 1982 ด้วย ภาพการถ่ายแบบมาจากเพจ “เปิดกล่องนิตยสารเก่า”

BABYGIRL (2024, Halina Reijn, A+30)

 

DOUBLE BILL FILM WISH LIST

BABYGIRL (2024, Halina Reijn, A+30)

+ PUP สุนัข และเจ้านาย (2024, Sarawut Intaraprom, A+30)

 

ตัวละครเอกของหนังทั้งสองเรื่อง มี “สามีที่แสนดี” เหมือนกัน แต่ตัวละครเอกของหนังทั้งสองเรื่องต่างก็โหยหาอะไรบางอย่าง หรือใครสักคน ที่จะช่วยเติมเต็มความต้องการทางเพศของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ซึ่งนางเอกของ BABYGIRL นั้นโชคดีกว่าพระเอกของ PUP มาก ๆ เพราะเธอสามารถหาผู้ชายที่จะมาเติมเต็มเธอได้ไม่ยากนัก แม้เธอจะเจออุปสรรคขัดขวางจาก “สังคม”, “ความรู้สึกผิดในใจตัวเอง” และปัจจัยอื่น ๆ ส่วนพระเอกของ PUP นั้น เราว่าเขาไม่ต้องต่อสู้กับ “ใจตัวเอง” มากเท่ากับนางเอกของ BABYGIRL แต่การที่เขาจะหาใครสักคนที่จะมาช่วยเติมเต็มเขาได้นั้น มันช่างยากลำบากจริง ๆ เราก็เลยอินกับพระเอกของ PUP มาก ๆ ตรงจุดนี้

 

บทสรุปของหนังทั้งสองเรื่องนี้ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ใครที่ดูแล้วคงตอบได้ดี 555555

 

เราได้ดู PUP ตั้งแต่วันที่ 21 มิ.ย. 2024 ซึ่งตอนแรกเราให้เกรดหนังเรื่องนี้แค่ A+25 เพราะหนังเรื่องนี้มีข้อเสียเยอะมาก แต่พอเวลาผ่านมานาน 7 เดือน เราก็พบว่า เรารู้สึกดีมาก ๆ ทุกครั้งที่นึกถึงหนังเรื่องนี้ เราก็เลยขยับขึ้นมาเป็น A+30

 

เดี๋ยวเราจะใส่ BABYGIRL กับ PUP เข้าไปในลิสท์ “หนังที่มีบางจุดคล้ายกัน และออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกันโดยบังเอิญ” ด้วย

 

78. BABYGIRL (2024, Halina Reijn, A+30)

+ PUP สุนัข และเจ้านาย (2024, Sarawut Intaraprom, A+30)

 

อ่านรายละเอียดได้ที่

https://web.facebook.com/jit.phokaew/posts/pfbid0333YyL6j8cYtSDKUrR8MmaCuZkX1d831w1GGakB8rnP2rGpRtUthdp4To1tQwRvDZl

 

BABYGIRL (2024, Halina Reijn, A+30)

 

1. ดูแล้วก็แอบสงสัยว่า Halina Reijn กับ Sarawut Intaraprom นี่มี “โทรจิต” สื่อถึงกันโดยไม่ได้ตั้งใจหรือเปล่า เพราะมีบางจุดใน BABYGIRL ที่ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง PUP สุนัข และเจ้านาย (2024, Sarawut Intaraprom, A+30) อย่างรุนแรง 55555 โดยเราเคยเขียนถึงประเด็นนี้ไว้แล้วที่นี่

https://web.facebook.com/jit.phokaew/posts/pfbid0333YyL6j8cYtSDKUrR8MmaCuZkX1d831w1GGakB8rnP2rGpRtUthdp4To1tQwRvDZl

 

2. เราชอบ BABYGIRL อย่างสุด ๆ เป็นการส่วนตัว เพราะหนังเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อเราอย่างรุนแรงในแบบที่ตัวหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ เพราะหนังเรื่องนี้เหมือนช่วยลบ guilt ในใจเราที่มีต่อ sexual fantasy ของตัวเอง ราวกับว่าหนังเรื่องนี้มัน empower “คนที่รู้สึกผิดกับ sexual fantasy ของตัวเอง” น่ะ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่านั่นคือจุดประสงค์ของหนังเรื่องนี้หรือเปล่านะ แต่ BABYGIRL มันส่งผลกระทบต่อเราอย่างรุนแรงสุด ๆ ในด้านนี้

 

คือหน้าหนังของ BABYGIRL อาจจะดูเป็นหนังกึ่ง ๆ อีโรติกนะ แบบ 9 1/2 WEEKS (1986, Adrian Lyne) และหนังของ Zalman King แต่พอได้ดูจริง ๆ แล้วเรากลับพบว่ามันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเราในแบบนั้นเลย คือหนังที่ “ยั่วยุ” เราได้จริง ๆ ในระยะนี้น่าจะเป็น HIDDEN FACE (2024, Kim Dae-woo, South Korea) มากกว่า เพราะว่า Song Seung-heon พระเอกของ HIDDEN FACE นี่ ดูแล้วน้ำลายไหลของจริงเวลาที่เขาถอดเสื้อ 55555

 

คือ BABYGIRL ไม่ใช่หนังที่ตอบสนองแฟนตาซีของเรา หนังที่ตอบสนองแฟนตาซีของเราคือ THIRTY YEARS OF ADONIS (2017, Scud, Hong Kong) อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่ BABYGIRL ให้กับเรา คือมันช่วยให้เรารู้สึกว่า การมี sexual fantasy ที่อาจจะไม่สอดคล้องกับ norm เป็นสิ่งที่โอเคน่ะ ซึ่งก็ไม่รู้ว่านั่นคือจุดประสงค์ของหนังหรือเปล่านะ

 

คือพอดูหนังเรื่องนี้แล้วเรารู้สึกว่า มันมีความขัดแย้งกันที่น่าสนใจ ระหว่างบทบาทของเจ้านายหญิงกับลูกน้องชาย ในที่ทำงาน กับในระหว่างประกอบกิจกรรมทางเพศร่วมกันน่ะ เหมือนในที่ทำงาน เธอเป็นฝ่ายเหนือกว่า แต่ในห้องนอนนั้น พระเอกเป็นฝ่ายที่เหนือกว่า และเราก็รู้สึกว่า ตัวละครนางเอก เหมือนกับจะไม่อยากยอมรับความจริงในช่วงแรก ๆ ว่า จริง ๆ แล้วตัวเองต้องการแสดงบทบาทอย่างไรกันแน่เมื่อถึงเวลามีเซ็กส์ ราวกับว่าเธอรู้สึกผิดที่จะแสดงบทบาทแบบนั้น ทั้ง ๆ ที่นั่นคือสิ่งที่จะทำให้เธอมีความสุขทางเพศได้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเราเข้าใจถูกหรือเปล่านะ แต่ในเวลาต่อมา นางเอกก็ลบความรู้สึกผิดนั้นได้ และเธอก็ embrace แฟนตาซีของตัวเองได้ในที่สุด

 

เพราะฉะนั้นพอดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยนึกถึง “ความรู้สึกผิดของตัวเองที่มีต่อแฟนตาซี” ของเราเช่นกัน อย่างเช่นแฟนตาซีแบบใน THIRTY YEARS OF ADONIS และแฟนตาซีแบบอื่น ๆ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่น ทุกคนรู้ดีว่า เรา “เกลียดชังเผด็จการทหาร” อย่างรุนแรงที่สุด, เราเกลียดชัง “ปิตาธิปไตย” เราเกลียดชัง TOXIC MASCULINITY แต่แฟนตาซีทางเพศอย่างหนึ่งของเรา คือการที่เราได้ร่วมรักกับ “ทหารหนุ่มหล่อกล้ามใหญ่หลาย ๆ คน”, ผู้ชายในแฟนตาซีของเราดูดิบเถื่อน ดู extremely masculine มาก ๆ

 

เพราะฉะนั้นในบางครั้ง เราก็เหมือนมีความรู้สึกผิด หรือรู้สึกแปลก ๆ ที่เราต่อต้านระบอบทหารเป็นใหญ่ แต่ทำไมแฟนตาซีของเรา ถึงมีแต่ทหารหนุ่ม ๆ จำนวนมาก ตกลงเธอต้องการอะไรกันแน่กับชีวิตคะ 55555 ซึ่งจริง ๆ แล้วเราก็ไม่ควรจะต้องรู้สึกผิดนะ เพราะเราแยกแยะแฟนตาซีกับชีวิตจริงได้อยู่แล้ว แต่ในบางครั้งเราก็อดสงสัยไม่ได้จริง ๆ ว่า การที่เรามีแฟนตาซีถึงทหารหนุ่ม ๆ จำนวนมาก นี่มัน healthy หรือ unhealthy กันแน่นะ โดยเฉพาะในประเทศไทย

 

เพราะฉะนั้นพอเราดู BABYGIRL เราก็เลยรู้สึกราวกับว่า หนังเรื่องนี้มัน empower เราโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะนางเอกของ BABYGIRL ก็เป็น “ผู้บริหารหญิง” ที่ดีได้ และการที่เธอเต็มใจจะรับบทบาทเป็นอะไรก็ตามในระหว่างมีเซ็กส์ มันก็ไม่ใช่เรื่องที่เธอจะต้องรู้สึกผิดแต่อย่างใด

 

เพราะฉะนั้นพอเราดูหนังเรื่องนี้จบ หนังเรื่องนี้มันก็เลย empower เรา มันเหมือนกับบอกเราในทางอ้อมว่า จะมีแฟนตาซีอะไรก็มีไปเถอะ ถ้าหากมันไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน และถ้าหากมันไม่ได้มาสร้างความสับสนอะไรในชีวิตจริง จง embrace แฟนตาซีของตัวเอง มันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรที่จะต่อต้านระบอบทหารเป็นใหญ่ แต่มีแฟนตาซีถึงทหารหนุ่ม ๆ จำนวนมากเวลาอยู่บนเตียง 55555

 

3. แต่แน่นอนว่า ผู้ชมแต่ละคนย่อมมีแฟนตาซีที่แตกต่างกันไป และมีความรู้สึกผิดที่แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ก็ย่อมต้องส่งผลกระทบที่แตกต่างกันไปต่อผู้ชมแต่ละคน คือเรารู้สึกว่า BABYGIRL มันเป็นหนังที่ empower เรามาก ๆ แต่มันไม่ส่งผลกระทบแบบเดียวกันนี้ต่อผู้ชมคนอื่น ๆ แน่ ๆ เพราะว่า

 

3.1 ผู้ชมหลาย ๆ คนอาจจะไม่ได้มีแฟนตาซีอะไรที่ผิดเพี้ยนไปจากแบบแผนของสังคม

 

3.2 ผู้ชมหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้ชมเพศชาย อาจจะมีแฟนตาซีที่ “คาบเส้นศีลธรรม” และดูหนังโป๊ที่ตอบสนองแฟนตาซีเหล่านี้ แต่พวกเขาไม่ได้รู้สึกผิดแต่อย่างใด เพราะพวกเขาไม่ได้ทำอะไรให้ใครเดือดร้อนเลยแม้แต่น้อยในชีวิตจริง พวกเขาแยกแยะมันได้อยู่แล้ว การตอบสนองแฟนตาซีแบบนี้เป็นเรื่องปกติ และไม่ได้ส่งผลร้ายอะไรกับใครในโลกแห่งความเป็นจริง

 

3.3 เราเดาว่า ผู้หญิงยุคเก่า ๆ บางคน ก็อาจจะไม่ได้รู้สึกผิด ถ้าหากมีแฟนตาซีคล้าย ๆ นางเอกของ BABYGIRL ดังจะเห็นได้จาก “นิยาย romance” ยุคเก่าๆ ที่ตัวละครพระเอกบางคนในนิยาย romance  เหล่านี้ ดูมีความ dominant มาก ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงพระเอกที่เป็น “โจรสลัด” และพระเอกที่เป็น “ชี้ค”  

 

คือเราก็ไม่ใช่ผู้หญิงนะ เราก็เลยไม่รู้ความจริงในเรื่องนี้ แต่เราตั้งข้อสันนิษฐานเอาเองว่า ผู้หญิงยุคเก่าบางคนอาจจะไม่รู้สึกผิดถ้าหากตัวเองมีแฟนตาซีถึงผู้ชายที่ดู dominant มาก ๆ และมีแฟนตาซีว่า ตัวเองอยากแสดงบทบาทแบบ submissive มาก ๆ แต่ผู้หญิงบางคนในยุคปัจจุบันอาจจะรู้สึกผิดหรือรู้สึกแปลก ๆ หรือเปล่า ถ้าหากจะเปิดเผยว่า ตัวเองมีแฟนตาซีแบบเดียวกันนั้น

 

เพราะฉะนั้นเราก็เลยสรุปว่า หนังเรื่องนี้มัน empower เรา แต่มันไม่ส่งผลกระทบแบบเดียวกันนี้ต่อผู้ชมอีกหลาย ๆ คนอย่างแน่นอน 55555

 

5. ดูหนังเรื่องนี้กับ BODIES BODIES BODIES (2022, Halina Reijn, A+30) แล้วก็รู้สึกว่า Halina นี่ทำหนังที่เข้าทางเราสุด ๆ เพราะหนังสองเรื่องนี้มันเหมือนตั้งคำถามกับกระแส woke หรือ feminist ได้อย่างน่าสนใจน่ะ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่า Halina ตั้งใจหรือเปล่านะ

 

อย่างใน BABYGIRL นั้น เรารู้สึกว่า มันน่าสนใจมาก ที่ตัวละคร “ศัตรูของนางเอก” เป็น “สาวผิวดำที่สนับสนุนสิทธิสตรีอย่างรุนแรง” และเป็นคนที่ “พยายามบีบให้นางเอกทำตัวเป็น role model” น่ะ เราก็เลยตั้งข้อสงสัยว่า Halina แอบตั้งคำถามกับกระแส woke หรือเปล่าคะ 55555

 

เสียดายที่เรายังไม่ได้ดู INSTINCT (2019, Halina Reijn, Netherlands) แต่แค่อ่านเรื่องย่อ เราก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันน่าสนใจสุด ๆ เพราะมันพูดถึง “จิตแพทย์หญิงที่หลงใหลในชายหนุ่มที่ชอบกระทำผิดทางเพศ”

 

6. เสียดายที่เรายังไม่เคยอ่าน HEDDA GABLER (1891, Henrik Ibsen) เราก็เลยไม่รู้ว่า การที่ BABYGIRL จงใจพาดพิงถึง HEDDA GABLER นั้น มันสามารถตีความว่าอะไรได้บ้าง

 

7. ดู BABYGIRL แล้วก็นึกถึงหนังบางเรื่องที่นำเสนอตัวละครนางเอกที่ทำตาม dirty fantasy ของตัวเองนะ อย่างเช่น

 

7.1 IN THE REALM OF THE SENSES (1976, Nagisa Oshima)

ในแง่นึง ตัวละครนางเอกของเรื่องนี้ก็ถือว่าโชคดีในระดับนึง ที่ได้เจอผู้ชายที่เข้าคู่แฟนตาซีของเธอได้อย่างค่อนข้างพอดิบพอดี แต่เนื่องจากหนังเรื่องนี้นำเสนอเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเย็นชาและเป็นกลาง เราก็เลยรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้มันไม่ได้ empower เราแบบเดียวกับ BABYGIRL แต่เราก็ชอบหนังเรื่องนี้มากกว่า BABYGIRL นะ

 

7.2 BELLE DE JOUR (1967, Luis Bunuel)

เราชอบหนังเรื่องนี้มากกว่า BABYGIRL หลายเท่านะ 555555 แต่หนังแต่ละเรื่องมันก็มีข้อดีแตกต่างกันไปน่ะ และ BELLE DE JOUR มันก็ไม่ได้ช่วย “ลบความรู้สึกผิดในใจเรา” แบบเดียวกับ BABYGIRL แต่ BELLE DE JOUR มีข้อดีในด้านอื่น ๆ แทน

 

อีกจุดหนึ่งที่เรารู้สึกว่า BABYGIRL เด่นกว่า BELLE DE JOUR ก็คือการ treat ผู้ชายเป็น sex object เพราะว่าใน BABYGIRL นั้น เรารู้สึกว่า Harris Dickinson เขาคือ sex object ทั้งในสายตาของนางเอก และในสายตาของผู้ชมอย่างเรา แต่ใน BELLE DE JOUR นั้น ถึงแม้ตัวละครนางเอกเลือกเองที่จะทำตามแฟนตาซีของตัวเอง แต่หนังก็เหมือนนำเสนอความสาวความสวยของ Catherine Deneuve เป็นหลักน่ะ เพราะฉะนั้น Deneuve ก็เลยเหมือนเป็น sex object หลักในเรื่อง

 

คือ Jean Sorel ใน BELLE DE JOUR นั้น เขาหล่อสุดขีดก็จริง แต่เราก็รู้สึกว่า หนังไม่ได้ treat Jean Sorel เป็น sex object แต่อย่างใด แต่หนัง treat Jean Sorel เป็น Christ-like figure ที่ resurrect ขึ้นมาได้อย่างปาฏิหาริย์ในตอนจบมากกว่า

 

7.3 THE PIANO TEACHER (2001, Michael Haneke)

ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ เช่นกัน แต่มันก็ไม่ได้ empower เรา

 

7.4 ELLE (2016, Paul Verhoeven)

ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ เช่นกัน แต่มันก็ไม่ได้ empower เรา

 

7.5 STRANGE DARLING (2023, JT Mollner)

หนังเรื่องนี้ก็ไม่ได้ empower เราเช่นกัน ถึงแม้นางเอกจะทำตามแฟนตาซีทางเพศของตัวเองอย่างเต็มที่ 5555 แต่เราก็ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ ในแง่ของวิธีการเล่าเรื่อง และการกระตุ้นเตือนไม่ให้ด่วนตัดสินอะไรใครง่าย ๆ

 

เสียดายที่เรายังไม่ได้ดู CRASH (1996, David Cronenberg)

 

8. ช่วงแรก ๆ ที่เราดู BABYGIRL เราก็นึกถึงหนังหลาย ๆ เรื่องเกี่ยวกับ “สาวแก่กับเด็กหนุ่ม” ด้วย แต่เราว่าจุดเด่นของ BABYGIRL คือการที่เรารู้สึกว่า หนังให้ความสำคัญกับความใคร่ของนางเอก มากกว่าความรักน่ะ คือเราไม่ค่อยรู้สึกว่า นางเอกของ BABYGIRL “รัก” พระเอกสักเท่าไหร่ เหมือนเธอเงี่ยนพระเอก มากกว่ารักพระเอก เพราะฉะนั้น BABYGIRL มันก็เลยแตกต่างจากหนังเรื่องอื่น ๆ ที่พูดถึง “รักแท้” ที่นางเอกที่อายุแก่กว่า มีให้กับชายหนุ่มที่อายุอ่อนกว่า อย่างเช่น

 

8.1 ALL THAT HEAVEN ALLOWS (1955, Douglas Sirk)

 

8.2 DRUGSTORE ROMANCE (1979, Paul Vecchiali, France)

 

8.3 ช่างมันฉันไม่แคร์ (1986, M.L. Bhandevanop Devakul)

เราเข้าใจว่าตัวละครนางเอกแก่กว่าพระเอกนะ แต่ไม่รู้ว่าเราเข้าใจถูกหรือเปล่า

 

8.4 PERFECT LOVE (1996, Catherine Breillat, France)

 

8.5 THE SCHOOL OF FLESH (1998, Benoît Jacquot, France) สร้างจากบทประพันธ์ของ Yukio Mishima นำแสดงโดย Isabelle Huppert

 

8.6 VENUS BEAUTY INSTITUTE (1999, Tonie Marshall)

Nathalie Baye คู่กับ Samuel Le Bihan

 

8.7 THE LOVE LETTER (1999, Peter Chan)

Kate Capshaw คู่กับ Tom Everett Scott

 

8.8 P.S. (2004, Dylan Kidd)

Laura Linney คู่กับ Topher Grace

 

8.9 PRIME (2005, Ben Younger)

Uma Thurman คู่กับ Bryan Greenberg

 

เพราะฉะนั้นพอ BABYGIRL มันไม่ได้เกี่ยวกับ “รักแท้” แต่มันเกี่ยวกับประเด็นอื่น ๆ เราก็เลยรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้มันสร้างความแตกต่างให้ตัวเองได้ดีเหมือนกัน

 

 

Monday, January 20, 2025

SIMILAR DISGUISE

 

SIMILAR DISGUISE (2020, Tao Hui, China, 8min, A+30)

 

ดูได้ที่ลิงค์นี้เป็นวันสุดท้าย

https://www.e-flux.com/film/633918/similar-disguise/

 

เห็นเขาบอกว่า “ภาพยนตร์แนวตั้ง” เป็นสิ่งที่กำลังมาแรงในทศวรรษนี้ และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คงเป็นตัวอย่างหนึ่งของกระแสนี้

 

เข้าใจว่า SIMILAR DISGUISE จริง ๆ แล้วคงเป็นการล้อเลียน “ภาพยนตร์แนวตั้ง” หรือ “ละครแนวตั้ง” หลาย ๆ เรื่องของจีน แต่เนื่องจากเราเองก็ไม่ได้ติดตามภาพยนตร์แนวตั้งของจีน เราก็เลยไม่ได้เข้าใจทั้งหมดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการจะล้อเลียนสิ่งใดบ้าง แต่ดูแล้วก็ชอบมาก ๆ เพราะหลาย ๆ ส่วนของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ทำให้นึกถึง cliche ของหนังจีนกำลังภายใน หรือ cliche ของละครทีวีของฮ่องกงหลาย ๆ เรื่องที่เราเคยดูตอนเด็ก ๆ

 

การหลอมรวม “หนังจีนกำลังภายใน” กับ “ชีวิตคนในยุคปัจจุบัน” เข้าด้วยกันในภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ

+++++++++

Favorite Character: Lady Raven (Saleka Shyamalan) in TRAP (2024, M. Night Shyamalan, A+30)

 

เราได้ดู TRAP ในวันที่ 3 ส.ค. 2024 หรือเมื่อ 5 เดือนที่แล้ว และพอเวลาผ่านมานาน 5 เดือน เราก็พบว่า สิ่งที่ยังค้างคาอยู่ในใจเรา ก็คือเราชอบตัวละคร Lady Raven มาก ๆ

 

เราชอบ TRAP ครึ่งหลังมากกว่าครี่งแรก เพราะจริง ๆ แล้วเราไม่ได้อินกับตัวละครของ Josh Hartnett เพราะฉะนั้นเราก็เลยไม่ได้รู้สึกว่า “ตัวเองตกอยู่ในอันตราย” ในช่วงครึ่งแรกของหนัง

 

แต่พอตัวละครของ Lady Raven เลือกที่จะกระโจนเข้าสู่อันตรายด้วยตัวเอง เราก็เลยรักตัวละครตัวนี้อย่างสุด ๆ อินกับเธอมาก ๆ เราก็เลยชอบครึ่งหลังของ TRAP มาก ๆ

 

เราเคยเขียนถึง TRAP ไว้แล้วนิดหน่อยที่นี่

https://web.facebook.com/jit.phokaew/posts/pfbid028kgEbLhmBciay7jCqFpUP92iMJCyHQzUouThbyTxFKCBdE3JY9VV2dLFjqoJfGcml

 

รู้สึกว่ามันน่าสนใจดี ที่ความรู้สึกตอนดูจบใหม่ ๆ จะเป็นแบบนึง และความรู้สึกหลังจากดูหนังจบไปแล้วนานหลาย ๆ เดือน จะเป็นอีกแบบนึง เหมือนพอเราดูหนังจบไปแล้วนานหลาย ๆ เดือน เราถึงจะค่อยรู้ตัวว่า อะไรในหนังเรื่องนั้นที่มัน long-lasting impact กับเราจริง ๆ

 

แต่ก็ยังรู้สึกเช่นเดียวกับตอนดูหนังจบใหม่ๆ นะว่า เราชอบ TRAP น้อยกว่า LONGLEGS, PEARL และ MAXXXINE เพียงแต่ว่าตอนที่ดูจบใหม่ๆ เราจะยังไม่รู้ตัวในทันทีว่า เรารักตัวละคร Lady Raven มากขนาดนี้

+++++++++++

เพิ่งได้อ่านเรื่องของ “เจ้าอุบลวรรณา” (1842-1884) ใน wikipedia ชอบมาก ๆ นึกว่าต้องดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ ชอบตัวละครหญิงแบบนี้อย่างสุดขีด

 

1. ในวิกิพีเดียบอกว่า เจ้าอุบลวรรณามีสามี 6 คน

 

2. เจ้าอุบลวรรณาเป็นสุภาพสตรีที่เพียบพร้อมไปด้วยจรรยามารยาท มีชั้นเชิงด้านธุรกิจ แต่มีเรื่องอื้อฉาวด้านคู่ครอง เธอโต้ตอบท้าทายเจ้าราชบุตรว่าตนมีเสรีภาพในการเลือกคู่ครองหรือคบหากับใครก็ได้ จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์

 

3.เจ้าอุบลวรรณาสมรสครั้งแรกกับเจ้ามหาวงศ์ ณ เชียงใหม่

 

4.  เจ้าอุบลวรรณามีบุตรชื่อ เจ้าสุขเกษม ฮัลเลตได้บันทึกอีกว่าบิดาของเจ้าสุขเกษมเป็นเพียงสามัญชนไม่มีเชื้อเจ้าจึงไม่เป็นที่ยอมรับของพระชายาพระเจ้าเชียงใหม่ (คือ เจ้าเทพไกรสร) เท่าใด

 

5.เจ้าอุบลวรรณาสมรสกับเจ้าราชบุตร (หนานดวงคำ ณ ลำปาง)

 

6.นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับพระยาปาจิน ขุนนางในกรุงเทพมหานคร

 

7.เจ้าอุบลวรรณาสมรสอย่างลับ ๆ กับพ่อค้าไม้สักชาวพม่าซึ่งเป็นคนในบังคับอังกฤษผู้หนึ่ง แต่พระประยูรญาติใช้กฎเหล็กแห่งฐานันดรศักดิ์กีดกันทั้งสอง

 

8. ต่อมาเจ้าอุบลวรรณาก็ทรงสมัครรักใคร่กับพ่อค้าพม่าสามัญชนอีกคนหนึ่ง ชื่อหม่องบอง แต่เมื่อนัดพบกันในคืนเดือนมืด พม่าผู้นั้นก็ถูกวิสามัญฆาตกรรมเสียก่อน เจ้าอุบลวรรณาเสียใจมากและได้สืบหาฆาตกรอยู่หลายปี

 

9. มาเรียน อาลอนโซ ชีก หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน สหายคนสนิทของเจ้าอุบลวรรณาระบุว่า นางเสียชีวิตด้วยยาพิษ แต่มิได้ระบุว่าถูกลอบสังหารหรืออัตวินิบาตกรร

 

10. เจ้าอุบลวรรณาเป็นพระมารดาของเจ้ากรรณนิกา ณ เชียงใหม่ ส่วนเจ้ากรรณนิกาก็เป็นพระมารดาของเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ส่วนเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ก็เป็นพระบิดาของเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ ที่ทุกคนรู้จักกันดี ก็เลยสรุปได้ว่า เจ้าอุบลวรรณาเป็นทวดของเจ้ากอแก้วประกายกาวิล

 

ข้อมูลทุกอย่างมาจากวิกิพีเดียนะ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน 55555

 

+++++++

 

ชอบสุดขีดที่งาน BANGKOK ART BIENNALE ครั้งนี้ มีตู้กาชาปองเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการด้วย เราก็เลยลองเล่นดู ปรากฏว่าพอเปิดไข่ออกมา เราได้ “พระยาสุรสีห์แห่งศิวโมก” เป็นผลงานของ Komkrit Tepthian

++++

 

วิธีการแต่งหน้าสำหรับคนแก้มตอบ

 

จากรายการ FASH SHOW ที่เคยออกอากาศทางช่อง 3 ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ดำเนินรายการโดยคุณริสา หงษ์หิรัญ และคุณตุ้ม

https://web.facebook.com/jit.phokaew/videos/1286209549263851

++++++++++++

 

AN IMAGINARY FILM

 

อยากให้มีหนังที่ IRON PUSSY (Michael Shaowanasai) จากไทย, Ponlork จากกัมพูชา และ La Ricarda จาก Colombia มาปะทะกัน และร่วมมือกันปราบเหล่าร้ายแบบ CHARLIE’S ANGELS

 

La Ricarda
https://www.instagram.com/p/DEil5dPSzcB/

 

+++++++++

 

ONLY IN CARNIVAL (1982, Eunice Gutman, Regina Veiga, Brazil, documentary, 12min, A+30)

 

สารคดีที่นำเสนอภาพงานคาร์นิวัลในบราซิลในปี 1982 ซึ่งเป็นงานที่ straight men หลายคนถือโอกาสแต่งตัวเป็นผู้หญิง โดยที่ภรรยาของพวกเขาช่วยแต่งตัวให้ และกะเทยหลายคนก็แต่งตัวเป็นผู้หญิงอย่างเต็มที่ในงานนี้ แต่บทสัมภาษณ์ของหลาย ๆ คนในงานนี้ก็แสดงให้เห็นถึงอคติทางเพศหรือความเข้าใจผิดทางเพศที่ยังคงมีอยู่ในสังคมบราซิลในยุคนั้น

 

สารคดีเรื่องนี้แสดงให้เห็นอีกด้วยว่า การแต่งตัวข้ามเพศในงานคาร์นิวัลแบบนี้มีมานานกว่า 100 ปีแล้ว

 

ดูทาง e flux

 

LA COCCINELLE: NEAPOLITAN TRANSSEXUAL MELODRAMA (2011, Emanuela Pirelli, Italy, documentary, 59min, A+30)

 

สารคดีเกี่ยวกับกะเทยรุ่นบุกเบิกแห่งเมืองเนเปิลส์ในอิตาลี พวกเธอเคยทำงานเป็นโสเภณีด้วย กะเทยคนแรกของเมืองนี้หนีออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 12 ขวบเพราะความเป็นกะเทย

 

ชอบเรื่องราวของกะเทยคนหนึ่งมาก ๆ เธอเล่าในช่วงที่เธอทำงานเป็นโสเภณีนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เธอยากจนมาก และเธอไม่มีเงินซื้อฟืนมาก่อไฟไล่ความหนาวเหน็บ ตำรวจหนุ่มคนหนึ่งก็เลยขนฟืนมาให้เธอ

 

ดูทาง e flux