LOOK MAI WHY//Y/WAI PUANG (2015, Pattra Toburin, stage play, A+10)
ลูกไม้ WHY/วาย/วัย ป่วง
1.เหมือนเราดูละครเวทีมา 10 ปีแล้ว
แต่เราแทบไม่เคยดูอะไรที่สร้างจากบทประพันธ์ดั้งเดิมของร.6 เลย
เคยดูแต่ละครเวทีที่เอา “งานแปล” เชคสเปียร์ของร.6 มาทำ แต่ที่เป็นบทละครเวทีที่ ร.6
ประพันธ์เองนี่ เราแทบไม่เคยดูเลยมั้ง
นั่นก็เลยเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เราตัดสินใจเลือกดูเรื่องนี้
เพราะเราอยากรู้ว่าเรื่องที่ร.6 ประพันธ์เองเป็นยังไง แต่ดูแล้วก็ไม่สามารถตอบได้
เพราะเราเข้าใจว่าเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากต้นฉบับดั้งเดิมเยอะมาก
มันเหมือนเป็นละครเวทีเรื่องใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทละครเวที 3
เรื่องของร.6
2.คือจริงๆแล้ว พอเราดู เราก็ไม่ได้ชอบมันสุดๆในระดับ A+30 นะ
แต่นั่นไม่ใช่เป็นเพราะการกำกับและการแสดงนะ คือเราว่านักแสดงเล่นดีสุดๆ
แต่เราพบว่า “ละครชวนหัว” แบบนี้, เนื้อเรื่องแบบนี้ และตัวละครแบบนี้
มันไม่ใช่สไตล์เราเลยน่ะ เพราะฉะนั้นถึงแม้การกำกับและการแสดงจะดียังไง เราก็ไม่สามารถ
enjoy มันได้อย่างรุนแรงอยู่ดี ซึ่งเราก็คงจะรู้สึกแบบนี้เวลาไปดูบัลเลต์หรือโอเปรา
หรืออะไรอื่นๆที่ไม่ใช่สไตล์เราเหมือนกัน
3.สิ่งที่ชอบที่สุดก็คือการแสดงน่ะแหละ เราว่านักแสดงเล่นดีมาก ส่วนสไตล์การแสดงนั้น
เราว่ามันมีจุดที่น่าสนใจดีด้วยเหมือนกัน คือเราว่ามันเป็นการแสดงที่ดู traditional ที่สุดอันนึงในบรรดาละครเวทีโรงเล็กเท่าที่เราได้ดูมาในปีนี้เลยน่ะ
คือเป็นการแสดงแบบโอเวอร์แอคติ้ง (อันนี้ไม่ใช่คำตำหนินะ
แต่เราหมายถึงการแสดงแบบโอเวอร์เกินจริง
เพื่อให้ผู้ชมที่อยู่ไกลออกไปหลายสิบเมตรเห็นได้ชัด) เวลาเขินอายก็ต้องบิดผ้าเช็ดหน้าอย่างรุนแรง
พูดจาเสียงดังฟังชัด ฉะฉาน
ซึ่งจริงๆแล้วการแสดงแบบ traditional แบบนี้
มันควรจะเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในละครเวทีใช่ไหม ปรากฏว่าไม่ใช่
เพราะส่วนใหญ่แล้วละครเวทีที่เราเลือกดู มักจะเป็นละครเวทีโรงเล็ก ที่นักแสดงจะไม่เล่นสไตล์โอเวอร์แอคท์ขนาดนี้
และเราก็ไม่ค่อยเลือกดูละครเวทีแนวตลกด้วย ละครเวทีที่เราเลือกดูส่วนใหญ่
นักแสดงมักจะเล่นแบบ realistic หรือไม่ก็เป็น physical
theater หรือไม่ก็เป็น absurd อะไรไปเลยมากกว่า
เพราะฉะนั้นพอเราได้เห็นการแสดงละครเวทีแบบดั้งเดิมแบบนี้ มันก็เลยแปลกตาดีสำหรับเรา
555 และก็รู้สึกว่ามันน่าสนใจดีที่อะไรที่มันดู traditional กลับกลายเป็นสิ่งที่มันไม่ค่อยได้เข้ามาผ่านหูผ่านตาเราสักเท่าไหร่
จริงๆแล้วเราชอบการแสดงสไตล์อื่นๆมากกว่าสไตล์ traditional แบบที่เราเห็นในละครเรื่องนี้นะ
แต่เราก็พบว่าการแสดงแบบ traditional แบบนี้มันมีอะไรที่เราชอบมากๆอยู่ด้วยเหมือนกัน
นั่นก็คือเราชอบการแสดงที่นักแสดงพูดจาเสียงดังฟังชัดฉะฉานแบบในเรื่องนี้น่ะ
คือเรามีปัญหาเล็กน้อยเวลาดู STRATEGIC LONELINESS กับ
THE ART OF BEING RIGHT ในเทศกาลละครปีนี้น่ะ
นั่นก็คือเราฟังนักแสดงพูดไม่ค่อยได้ยิน 555 ไม่รู้เป็นเพราะหูเราไม่ดีเอง,
เรานั่งแถวหลังสุด, จุดที่เรานั่งได้ยินเสียงแอร์ดัง หรือเพราะอะไร แต่มันก็ทำให้เราได้คิดเหมือนกันว่า
การแสดงแต่ละแบบมันก็มีจุดดีจุดด้อยของมันน่ะ คือโดยทั่วไปแล้วเราอาจจะชอบการแสดงแบบ
realistic อย่างใน THE ART OF BEING RIGHT มากๆ แต่พอนักแสดงเล่นแบบ realistic บางทีคนที่นั่งแถวหลังสุดก็อาจจะไม่ได้ยินนักแสดงพูดในบางครั้งก็ได้
ส่วนการแสดงแบบ traditional อย่างในลูกไม้วายป่วงนั้น
โดยปกติแล้วเราไม่ได้ชอบสไตล์แบบนี้มากนัก แต่เราก็ชอบที่นักแสดงพูดจาฉะฉาน
เราได้ยินชัดทุกประโยค
4.ช่วงที่สอง ที่เป็นเรื่อง “วิไลยเลือกคู่”
เป็นช่วงที่น่าสนใจมากที่สุดสำหรับเรา เพราะมันโยงมาถึงเรื่องการรัฐประหาร,
ประยุทธ์ จันทร์โอชา, การปรับทัศนคติ, ลัทธินิยมทหาร อะไรพวกนี้
ซึ่งเป็นประเด็นที่เราอินด้วยมากๆ
แน่นอนว่าเวลาที่เราดูช่วง “วิไลยเลือกคู่” นั้น
เรารู้สึกต่อต้านทหารและรัฐประหารอย่างรุนแรง แต่มันก็ทำให้เราคิดประเด็นอะไรอย่างอื่นขึ้นมาด้วยเช่นกัน
ซึ่งได้แก่
4.1 เราว่าในความเป็นจริงนั้น
ตัวละครมันอาจจะสนทนากันอย่างรวบรัดแบบนี้ไม่ได้นะ เพราะวิไลยต้องเลือกระหว่างทหารคนนึงกับนักวิชาการคนนึงที่มาติดพันด้วย
แต่เพื่อนทั้งสองกลับถกเถียงกันเรื่อง “ทหาร” กับ “นักวิชาการ” ในแบบภาพรวมน่ะ
ซึ่งจริงๆแล้วมันก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจที่สุดในเรื่องน่ะแหละ
แต่เรารู้สึกลักลั่นหน่อยๆตรงที่ว่า ทหารกับนักวิชาการคนที่มาจีบวิไลย
มันสามารถเป็นตัวแทนของภาพรวมได้หรือเปล่า คือเราเชื่อว่า เราไม่สามารถเหมารวมทหารทุกคนว่าเป็นเหมือนๆกันหมด
และไม่สามารถเหมารวมนักวิชาการทุกคนว่าเป็นเหมือนๆกันหมดได้น่ะ
โดยเฉพาะนักวิชาการนี่ แต่ละคนเถียงกันจะเป็นจะตาย ตบกันแหลกมากๆ เพราะฉะนั้นก่อนที่เพื่อนทั้งสองจะถกกันเรื่อง
“ทหาร” กับ “นักวิชาการ” ในภาพรวมได้นี่
มันเหมือนขาดจุดเชื่อมจุดนึงที่จะทำให้ประเด็นการถกเถียงนี้มันหนักแน่นขึ้นมาได้น่ะ
ซึ่งจุดเชื่อมนั้นก็คือการที่ละครเวทีเรื่องนี้ต้องทำให้เราเชื่อก่อนว่า
ทหารกับนักวิชาการคนที่มาจีบวิไลยนี่ ทำตัวสอดคล้องกับ “ภาพรวม”
แต่พอละครเวทีเรื่องนี้นำเสนอแบบ “ฉากเดียวต่อเรื่อง” แบบนี้ ประเด็นการพูดคุยในเรื่องมันก็เลยเหมือนถูกรวบรัดเกินไป
และเหมือนขาดจุดเชื่อมที่สำคัญไป
4.2 ประเด็นเรื่องประยุทธ์
จันทร์โอชานี่มันไม่ได้อยู่ในบทประพันธ์ของร.6 แน่ๆ 555 เราก็เลยสงสัยว่า
บทประพันธ์ดั้งเดิมมันเป็นยังไง แล้วก็แอบสงสัยอีกด้วยว่า
สมมุติถ้าหากเราได้ดูเรื่องนี้สมัยร. 6 เราจะรู้สึกยังไง
หรือถ้าหากเราได้ดูละครเวทีเรื่อง “วิไลยเลือกคู่” ก่อนรัฐประหารปี 2006
เราจะรู้สึกยังไง คือมันคงเป็นความรู้สึกที่แตกต่างจากการได้ดู “วิไลยเลือกคู่”
ในปี 2015 อย่างรุนแรงมากๆ
5.ส่วนเรื่อง “ตบตา” กับ “หลวงจำเนียรเดินทาง” นั้น
เราไม่อินอะไรกับเนื้อเรื่องและตัวละครเลย แต่นั่นไม่ใช่ความผิดของผู้กำกับและนักแสดงนะ
คือนักแสดงก็ทำดีที่สุดแล้วล่ะ
แต่เราไม่ได้รู้สึกอะไรกับตัวละครประเภทนี้เท่านั้นเอง
No comments:
Post a Comment