Wednesday, September 04, 2019

SOLARIS

WELCOME, MR. MARSHALL (1953,  Luis Garcia Berlanga, Spain,  A+30)

สะเทือนใจมากๆกับช่วงท้ายของหนัง

 THE POOR MILLIONAIRE (1956, Wasant Suntornpaksin, 117min, A+25)
เศรษฐีอนาถา (วสันต์ สุนทรปักษิณ)

1.ดูแล้วไม่อินเลย 55555 ทำไมจูนไม่ติดเลยก็ไม่รู้ แต่เดาว่าสาเหตุสำคัญส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะวิธีการพากย์ของหนังเรื่องนี้ ที่น่าจะให้คนพากย์ไม่กี่คนพากย์เป็นตัวละครหลายตัว เราก็เลยงงในหลายๆฉากว่าเสียงที่เราได้ยินอยู่ในตอนนี้ ควรจะเป็นเสียงพูดของตัวละครตัวไหนกันแน่

2.เหมือนเนื้อเรื่องของมันก็ไม่ทำให้เราอินด้วยแหละ เพราะแทบไม่มีตัวละครตัวไหนเลยที่ดูจะมีปัญหาชีวิตที่ร้ายแรงจนเรารู้สึกมีอารมณ์ร่วมด้วยได้

หนังเล่าเรื่องเกี่ยวกับชายแก่คนนึงที่เป็นพนักงานการรถไฟ วันนึงเศรษฐีหนุ่มหล่อคนนึงก็ยกเงินให้เขา 10 ล้านบาท (ในยุคปี 1956 ซึ่งน่าจะเท่ากับพันล้านบาทในปัจจุบัน?) โดยมีข้อแม้ว่าชายแก่ต้องใช้เงินให้หมดภายในหนึ่งปี และต่อมาเศรษฐีหนุ่มหล่อคนนี้ก็พบว่า ชายแก่คนนี้มีลูกสาวสวยชื่อกันทิมา ซึ่งก่อนหน้านี้เศรษฐีคนนี้ก็เคยตกหลุมรักกันทิมามาก่อน แต่กันทิมาไม่ต้องการแต่งงานกับคนที่รวยกว่า เพราะกลัวว่าความแตกต่างทางฐานะจะส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายไม่เข้าใจกัน

คือเหมือนอุปสรรคของทั้งเศรษฐีหนุ่มหล่อ, กันทิมา และชายแก่มันดูไม่มีอะไรที่ต้องกังวลน่ะ 55555 คือถ้าเราเป็นเศรษฐี เราก็ไม่ต้องกังวลอะไรกับชีวิต, ถ้าเราอยู่ดีๆได้เงิน 10 ล้านบาท เราก็ไม่ต้องกังวลอะไรกับชีวิต และถ้าหากเรามีเศรษฐีหนุ่มหล่อมาตกหลุมรัก กูก็ปึ๊บเขาเป็นผัวในทันที ไม่มีอะไรต้องกังวลกับชีวิต

เราก็เลยดูหนังเรื่องนี้ด้วยความเบื่อๆเล็กน้อย ตอนที่ดูจะแอบนึกถึง DON'T GO BREAKING MY HEART (2011, Johnnie To) และ IT COULD HAPPEN TO YOU (1994, Andrew Bergman) ด้วย

3.แต่ก็ให้เกรด A+25 นะ เพราะมัน "โบราณ" ดี คือเราอาจจะไม่ enjoy กับหนัง แต่ก็ชอบประสบการณ์ที่ได้ดูหนังไทยที่มันโบราณมากๆ จนเราต่อไม่ติดกับมันอีกต่อไป

แต่หนังไทยเก่าๆที่เราเคยดูเรื่องอื่นๆ ก็ดูแล้วเพลิดเพลินกว่านี้นะ ทั้ง "โตนงาช้าง" (1951, Tae Prakaswuttisarn), ทะเลรัก (1953, ขุนวิจิตรมาตรา), สันติ-วีณา (1954, ทวี ณ บางช้าง), ชั่วฟ้าดินสลาย (1955, ทวี ณ บางช้าง)  แต่มีเศรษฐีอนาถานี่แหละที่ดูแล้วต่อกับมันไม่ติดจริงๆ

 SOLARIS (1972, Andrei Tarkovsky, Soviet Union, 167min, second viewing, A+30)

1.เคยดูรอบแรกทางวิดีโอเทปเมื่อราว 20 ปีก่อน ตอนนั้นดูแล้วก็งงๆ ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เลยทำให้อยากดูรอบสอง รู้สึกเป็นบุญตาจริงๆที่ได้ดูหนังเรื่องนี้รอบสองในโรงใหญ่ รู้สึกเหมือนได้เข้าไปใน "มหาวิหาร" อะไรสักอย่างที่ความรู้สึกบางอย่างของเราจะเกิดขึ้นได้เมื่อเราได้เข้าไปอยู่ในความโหญ่โตโอ่โถงของตัวสถานที่นั้น มันเหมือนกับว่าการดูรอบแรกคือการดู "สมุดภาพเกี่ยวกับมหาวิหาร"  แต่การดูรอบสองเหมือนกับการได้เดินเข้าไปในมหาวิหารและเงยหน้าขึ้นมองลวดลายต่างๆบนเพดานของมันที่อยู่ห่างจากตัวเราหลายสิบเมตร

2.เหมือนหนังมันมีความงดงามบางอย่างที่เกินความสามารถของเราที่จะบรรยายเป็นตัวอักษรได้นะ เหมือนกับหนังเชิงกวีและหนังทดลองหลายๆเรื่องที่สิ่งที่เราชอบที่สุดในตัวหนังเป็นสิ่งที่เราไม่รู้จะเขียนบรรยายยังไง เพราะฉะนั้นเราก็จะละไว้ในฐานที่เข้าใจก็แล้วกัน 555

3.ในส่วนที่ดูจะเป็นรูปธรรมที่เราสามารถบรรยายได้นั้น จุดนึงที่เราชอบในหนังเรื่องนี้คือจุดเดียวกับที่เราชอบใน CAFE FUNICULI FUNICULA (2018, Ayuko Tsukahara) และ BEFORE I WAKE (2016, Mike Flanagan) 55555 นั่นก็คือ การนำเสนอตัวละครที่มีปมทางจิตจากอดีต และปมทางจิตนั้นมันจะตามรังควานเขาไปเรื่อยๆจนกว่าเขาจะหาวิธีรับมือกับปมทางจิตจากอดีตของตัวเองได้ โดยใน CAFE FUNICULI FUNICULA นั้น ตัวละครเหมือนจะได้รับอนุญาตให้ "ทบทวนอดีตได้ภายในเวลาที่จำกัด" เพราะถ้าหากเราหมกมุ่นกับปัญหาในอดีตมากเกินไป ใช้เวลากับมันมากเกินไป มันก็จะเป็นการทำลายกฎของ CAFE ในหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้ และตัวละครที่หมกมุ่นกับอดีตหรือกังวลกับอนาคตมากเกินไป ก็จะกลายเป็น "ผี" หรือกลับเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริงไม่ได้อีก

ส่วนใน BEFORE I WAKE นั้น ตัวละครพระเอกสามารถนำ "สิ่งที่อยู่ในความฝัน หรือในจิตของตัวเอง" ให้ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมได้

เพราะฉะนั้นพอเราดู SOLARIS รอบสอง ก็เลยนึกถึง CAFE FUNICULI FUNICULA กับ BEFORE I WAKE ขึ้นมา 55555 เพียงแต่ว่า SOLARIS มันดูมีความละเอียดอ่อนกว่า มีความเป็นนามธรรมมากกว่าในการนำเสนอบางสิ่งที่คล้ายกัน เหมือนกับมันลงลึกในความซับซ้อนยากจะอธิบายของจิตมนุษย์ได้ดีกว่า มันเหมือนกับว่า CAFE FUNICULI กับ BEFORE I WAKE นำเสนอประเด็นของตนเองในรูปแบบของจำนวนตรรกยะ บอกว่า pi เท่ากับ 22/7 แต่ SOLARIS พูดถึง pi ในแบบจำนวนอตรรกยะ

No comments: