20. BEFORE SIN CONGRATULATION (พันกร อรรถพร, A+25)
ฉากกรีดหัวใจในหนังเรื่องนี้ติดตามาก ๆ
21. BEGIN, LOVE, HATE, END (วีระ รักบ้านเกิด, A+30)
ชอบฉากกระจกสองด้านมาก ๆ, ฉากตอกไข่ทีละฟองก็คลาสสิคมาก ๆ, ฉากกรอบรูปโล่ง
ๆ ก็ดี
ยังคงทึ่งกับสิ่งของมากมายในบ้านของคุณวีระ
22. THE BIRD AND THE BEE (กมลกานต์ สมุทรรัตนกุล, A+20)
หนังเลสเบียนที่ดูแล้วก็รู้สึกลุ้นไปตามตัวละครว่าจะสุขสมหวังหรือไม่
23. BLOCKDOWN (เพ็ญพิชชา โก้กระโทก, 33min, A+30)
ดีงามมาก ๆ ชอบอาชีพของแม่ที่เป็น “รองอบต.”
รู้สึกว่าเราไม่ค่อยเจอตัวละครในหนังที่มีอาชีพนี้มาก่อน 555
แน่นอนว่าดูหนังเรื่องนี้แล้วต้องนึกถึง “พญาวัน”
แต่ดีที่หนังเรื่องนี้มีฉากที่ชาวบ้านมาขับไล่ผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อออกไปจากหมู่บ้านด้วย
ก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้มีฉากจำที่เป็นของตัวเอง
24. BLUES & BAR (รัฐธีร์ ศักดิ์ดิเรกรัตน์, documentary,
A+20)
ชอบที่ดูแล้วได้ความรู้ว่าต้นกำเนิดดนตรี Blues มาจากเสียงโซ่ตรวนของทาสผิวดำ
นึกไม่ถึงว่าโซ่ตรวนสามารถถูกนำมาใช้เป็นเครื่องดนตรีได้ด้วย
25. BODY POSITIVITY (กนกวรรณ ประทุมมาศ, ธัชสินี
งวดชัย, ธีร์ชนินทร์ โตรุ่ง, รัชชานนท์ นิมาภาศ, รัญชิดา สุทธิพูนธนา, documentary,
A+25)
หนังสัมภาษณ์นักศึกษามหาลัยเกี่ยวกับประเด็น body shaming
26. BONNE EN ROUGE (บุญรักษา สาแสง, A+30)
อยากให้มีฉากนางเอกใช้ตีนตบหน้าครูใหญ่ คือไหน ๆ
ก็จะลาออกจากโรงเรียนแล้ว กูขอตบอีครูใหญ่ให้หนำใจก่อน
27. THE BOOGEYMAN: WHO KILLED SHERRY ANN DUNCAN? (ชาลิสา
ตระการกิจวิชิต, animation, A+30)
เนื้อหาของหนังก็อาจจะไม่ได้แตกต่างไปจาก “เชอรี่แอน” (2001, จรูญ
วรรธนะสิน) แต่เราก็ชอบที่มีการหยิบยกประเด็นความอยุติธรรมแบบนึ้ขึ้นมาพูดถึงอีก
28. BUD(DIS)T (ณัฐสินี ทองมา, documentary, A+25)
หนังสัมภาษณ์พระกับหญิงสาวคนหนึ่งที่ตั้งคำถามต่าง ๆ ต่อพุทธศาสนา
แต่เราชอบมากที่อยู่ดี ๆ ก็กลายเป็นการ debate เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
29. BUDO (ทักษิณา สิงห์สวัสดิ์, เจณิตตา จันทวงษา, ทรงพล
เรืองสมุทร, ณัฐพล สืบกระพันธ์, documentary, A+30)
ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ เพราะเราไม่เคยรู้ถึงปัญหาเรื่องนี้มาก่อนเลย
เรื่องของการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี
ที่ไปทับซ้อนกับที่ทำกินของชาวบ้าน และทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนรุนแรง
30. CAMOUFLAGE, MIMICRY AND METAMORPHOSIS (2021, Wichanon Somumjarn,
94min, A+30)
หนึ่งในสาเหตุที่เราอยากดูเทศกาลหนังสั้นมาราธอนก็เพราะเราอยากดูหนังทดลองแบบนี้นั่นแหละ
เหมือนมันเป็นหนังทดลองที่ไม่ได้ “เป๊ะ” แบบหนังอาร์ตหรือ video art ที่ฉายตามแกลเลอรี่
แต่มันเหมือนเป็นหนังบ้าน ๆ video
diary แบบด้นสดที่มีความเพี้ยนพิลึกของผู้กำกับแต่ละคนแทรกอยู่ด้วย
ซึ่งเราว่าหนังของกลุ่มสำนักงานใต้ดิน (Teeranit Siangsanoh, Wachara
Kanha, Tani Thitiprawat) และหนังของคุณ Manassak Dokmai ก็มี sense ของความเป็นหนังทดลองแบบบ้าน ๆ
แบบนี้อยู่ด้วย, หนังบางเรื่องของคุณ Achitaphon Piansukprasert ก็อาจจะเข้าข่ายนี้ และปีนี้ก็มีหนังของคุณทวีโชค ผสม
และหนังของคุณวิชชานนท์ที่ให้ sense แบบนี้ด้วยเช่นกัน
ช่วงแรก ๆ ของหนังเหมือนเป็น video diary ที่บันทึกภาพขณะผู้กำกับตะลอนไปดูโบราณสถานต่าง
ๆ ในภาคอีสาน แต่ช่วงหลังกลายเป็นหนัง fiction
มีตัวละครตื่นนอนมาแล้วเจอหนังสือของจิตร ภูมิศักดิ์วางอยู่หน้าห้อง,
มีการตัดภาพหนังเก่า ๆ ในทศวรรษ 2000 ของคุณวิชชานนท์แทรกเข้ามา
(ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด) และมีฉากตัวละครตื่นนอนมากลางเถียงนา
แล้วก็พยายามวิ่งหนีเถียงนานั้นอย่างสุดฤทธิ์ แต่ก็หนีไม่พ้นสักที
เพราะพอวิ่งหนึไปได้สักพัก เขาก็ตื่นนอนมาใหม่ วิ่งหนีใหม่
เหมือนเขาต้องวิ่งหนีเถียงนานี้ประมาณ 8 รอบ เขาถึงหนีมันได้สำเร็จ
ถือเป็นฉากที่เราชอบสุด ๆ ฉากนึงประจำปีนี้
31. CAMPER (Jakkrapan Sriwichai, 5min, A+25)
คุณจักรพันธ์ยังคงเป็นมือวางอันดับหนึ่งด้านหนัง horror เหมือนเคย
32. CASTING สิงร่าง (ภัทรศัย กิตติศุภกร, 40min,
A+30)
จริง ๆ แล้วหนังมีปัญหาพอสมควรนะ โดยเฉพาะตอนจบที่งง ๆ ดูแล้วก็ไม่เข้าใจว่าตัวละครบางตัวทำแบบนั้นไปทำไม
เพื่ออะไร 555555 แต่ชอบไอเดียและความทะเยอทะยานของหนัง
เพราะหนังเรื่องนี้เหมือนพูดถึงทั้งปัญหาของนักแสดงในการรับบทเป็นตัวละคร,
ปัญหาชีวิตของนักแสดงเอง, ปัญหาทางจิตของนักแสดง. ผีสิง และการฆาตกรรม เอาจริง ๆ เราว่าถ้าหากตัดเรื่องการฆาตกรรมทิ้งไป
หรือลดความสำคัญของมันลง
และหันมาเน้นเรื่องสภาพจิตของนักแสดงที่ต้องรับมือกับปัญหาชีวิต, ปัญหาทางจิตของตัวเอง,
บทบาทที่ต้องเล่น และผีที่พยายามมาเข้าสิง เราอาจจะได้หนังแบบ Ingmar Bergman + Roman Polanski + BLACK SWAN อะไรทำนองนั้นได้ 555
33. CHEE’S CIVILIZATION VISUAL SKETCH (Wichanon Somumjarn, 35min,
documentary, A+30)
หนังที่เป็นเหมือน video diary ขณะผู้กำกับไปสำรวจสถานที่ต่าง
ๆ ในภาคอีสาน ดูแล้วนึกถึง IN PUBLIC (2001, Jia Zhangke) ที่เป็นการสำรวจโลเกชั่นต่าง
ๆ เหมือนกัน (ถ้าจำไม่ผิด)
No comments:
Post a Comment