THE MEDIUM (2021, Banjong Pisanthanakun, A+30)
ร่างทรง
spoilers alert
--
--
--
--
--
1.จริง ๆ แล้วตอนดูจบก็ชอบหนังในระดับ A+30 นะ แต่พอดูจบแล้วได้มาคุยกับเพื่อน ๆ ใน facebook แล้วทำให้เชื่อมากยิ่งขึ้นว่า
ต้นกำเนิดส่วนหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้นกับมิ้งอาจจะมาจากความอาฆาตแค้นของกลุ่มกบฏผู้มีบุญแล้วทำให้ยิ่งชอบหนังมากยิ่งขึ้นไปอีก
เพราะตอนที่ดูหนังเรื่องนี้ เรารู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับมิ้งมันดู “มากเกินไป”
น่ะ แบบมิ้งทำผิดอะไร ทำไมต้องมารับกรรมหนักขนาดนี้ คือการมี sex กับผู้ชายจำนวนมากและการมี sex กับพี่ชายตัวเองมันก็ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่นๆ
มากถึงขั้นที่สมควรต้องโดนลงโทษหนักขนาดนี้น่ะ ส่วนการตบเด็ก
ตบคนไปทั่วนี่เราว่ามันไม่น่ามาจากตัวมิ้งเอง
แต่มีความเป็นไปได้ว่ามันอาจจะมาจากการถูกผีเข้าแล้ว
คือพอดูจบแล้วพบว่าตัวละครถูกฆ่าตายจำนวนมาก
เพราะมีคนแค้นฝังหุ่นกับตระกูลฝั่งพ่อของมิ้ง เราก็จะรู้สึกว่ามันมากเกินไปนิดนึง
เพราะเหมือนตอนนั้นเราไม่แน่ใจว่าตระกูลนี้ทำอะไรผิดรุนแรงมากนัก
จนถึงขั้นสมควรพบเจอกับอะไรแบบนี้ แต่เราติดใจกับคำพูดของตัวละครที่ว่า
ต้นตระกูลนี้เคยฆ่าตัดคอคนหลายร้อยคน
ก่อนที่ตระกูลนี้จะมาทำโรงงานปั่นด้าย แล้วเผาโรงงานตนเอง คือพอเราฟังได้แค่นี้ (ซึ่งอาจจะฟังตกหล่นไป)
เราก็เลยนึกถึงเหตุการณ์ฆ่าตัดคอกบฏผู้มีบุญหลายร้อยคนที่ทุ่งศรีเมือง
อุบลราชธานีเลย ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่หนังอาจไม่ได้ตั้งใจ
แต่เราชอบมากที่หนังทำให้เราคิดถึงเรื่องนี้โดยที่หนังอาจไม่ได้ตั้งใจ
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่
https://theisaanrecord.co/2021/06/16/phi-bun-rebellion-14/
“ตอนนั้นทางการก็ส่งคนมาปราบ
มีอาวุธที่ทันสมัย ผู้คนก็โดนปราบปรามได้ง่าย กบฏหลายที่ถูกจับ ที่บ้านสะพือใหญ่
อ.ตระการพืชผล จ.อุบลฯ ก็มีการตายหลายคน
“คนที่เป็นเหมือนแกนนำก็ถูกฆ่าตัดหัวประจานในพื้นที่ของตัวเอง
แล้วก็มีมีการจับกุมคนประมาณ 200-300 คน มาไว้ที่ทุ่งศรีเมือง ผมไม่รู้ว่าช่วงนั้นมีฝนไหม
แต่เป็นช่วงเดือนเมษาฯ ปี 2444-2445 เข้าใจว่า ช่วงนั้นยังคงมีการนับปีใหม่แบบไทยที่เป็นช่วงสงกรานต์
ทุ่งศรีเมืองจึงกลายเป็นลานสังหาร มีการฆ่าตัดหัว
แล้วเขาเชื่อกันว่าศพจะถูกทิ้งลงแม่น้ำ มันคือการปราบปรามแบบกำราบ”
แล้วพอได้คุยกับเพื่อนใน Facebook ที่ตั้งข้อสังเกตเรื่องความฝันของมิ้ง
ที่เหมือนฝันเห็นผู้ชายที่แต่งกายคล้าย ๆ คนเมื่อ 100 ปีก่อน กับหัวคนที่พยายามพูดอะไรบางอย่างกับเธอ
เราก็เลยยิ่งเชื่อมากยิ่งขึ้นไปอีกว่า
ต้นตระกูลของมิ้งอาจจะเคยมีส่วนร่วมในการฆ่าตัดคอกบฏผู้มีบุญหลายร้อยคน
แล้วพอความเชื่อของเราหันเหมาแบบนี้
เราก็เลยเหมือนเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อหนังเรื่องนี้ไปเลย
คือถ้าหากต้นตระกูลของมิ้งเป็นเพียงแค่เพชฌฆาตธรรมดาในเรือนจำที่เคยสังหาร
“อาชญากรชั่ว” หลายร้อยคน เราก็จะรู้สึกว่าหนังมันไม่สมเหตุสมผลสำหรับเราน่ะ
เพราะอาชญากรชั่วหลายร้อยคน (ที่อาจจะสมควรถูกลงโทษในระดับนึง)
ไม่น่าจะมีอำนาจทางจิตมากพอถึงขั้นที่จะตามสาปแช่งตระกูลของเพชฌฆาตได้นานเป็นร้อยปีแบบนี้
แต่ถ้าหากต้นตระกูลของมิ้งมีส่วนร่วมในการฆ่ากบฏผู้มีบุญหลายร้อยคน
อันนี้สิถือเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลสำหรับเราที่จะทำให้เกิดอาเพศแบบในหนังขึ้นได้
เพราะบางทีการฆ่าตัดคอกบฏผู้มีบุญหลายร้อยคนมันอาจจะเป็น “ความอยุติธรรม”
และเราชอบโลกจินตนาการที่ให้อำนาจแก่ “เหยื่อของความอยุติธรรม”
ในการสาปแช่งได้อย่างสัมฤทธิ์ผล หรือในการตอบโต้เอาคืนได้อย่างสัมฤทธิ์ผล
คือจริง ๆ แล้วหนังมันก็ไม่ได้ชี้ชัดในตัวหนังเองหรอกว่า
มันมีต้นเหตุมาจากกบฏผู้มีบุญ แต่พอหนังมัน “เปิดโอกาส”
ให้เราจินตนาการต่อได้เองอย่างสนุกสนานแบบนี้ เราก็เลยชอบหนังอย่างสุด ๆ 5555
แต่ถึงต้นเหตุมันจะมาจากกบฏผู้มีบุญจริง ๆ
เราก็ไม่คิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับมิ้งเป็นสิ่งที่ยุติธรรมนะ
เพราะเรามองว่าไม่มีใครเลือกได้ว่าจะเกิดเป็นลูกของใคร เพราะฉะนั้นลูก ๆ
ที่ไม่ได้ต้องการรับทรัพย์สมบัติใด ๆ จากพ่อแม่ ก็ไม่สมควรที่จะต้องรับกรรมใด ๆ
ที่พ่อแม่หรือต้นตระกูลเคยก่อไว้
แต่ถึงแม้สิ่งที่เกิดขึ้นกับมิ้งมันจะไม่ยุติธรรมในแง่นึง
แต่เราก็อดสะใจไม่ได้ที่ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นเมื่อ 100
ปีก่อนได้รับการเอาคืนอย่างรุนแรง
2.สรุปว่าหนังเรื่องนี้ทำให้เราเอามาจินตนาการต่อเองได้ดังนี้ว่า
(ซึ่งคงไม่ใช่สิ่งที่ผู้สร้างหนังตั้งใจแต่อย่างใด 5555)
2.1
ต้นตระกูลยะสันเทียะเคยมีส่วนร่วมในการฆ่าตัดคอกบฏผู้มีบุญหลายร้อยคนเมื่อราว 100
ปีก่อน และเจอคำสาปแช่งและจิตอาฆาตแค้นของผู้มีบุญที่ถูกฆ่าตัดคอ
และพอมันเป็นเรื่องของความอยุติธรรมอย่างร้ายแรงมาก ๆ คำสาปแช่งจึงมีอำนาจจริง
2.2 นอกจากนี้ ต้นตระกูลยะสันเทียะในรุ่นต่อ ๆ มายังเป็นนายทุนใจร้ายด้วย
และคง treat
คนงานอย่างเลวร้ายมาก ๆ
จนทำให้คนงานบางคนอาจจะทำหุ่นฟางคุณไสยสาปแช่ง
2.3 คำสาปแช่งจากทั้งหุ่นฟางและกบฏผู้มีบุญ ส่งผลให้ผู้ชายในตระกูลเจออะไรซวย ๆ และส่งผลให้มิ้งเจออะไรซวย ๆ ด้วย
2.4 คนในตระกูลคนทรง อาจจะมีลักษณะทางกรรมพันธุ์
ทำให้ถูกสิงจากวิญญาณได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นคำสาปจากหุ่นฟางและกบฏผู้มีบุญ
ก็เลยอาจจะส่งผลให้มิ้งเจอความซวย ด้วยการถูกวิญญาณผีห่าอะไรต่าง ๆ มารุมเข้าสิง
ซึ่งรวมถึงวิญญาณหมาที่ถูกน้อย (ศิราณี ญาณกิตติกานต์) เอาเนื้อมาขาย
โดยวิญญาณหมาพวกนี้จะมีความอิจฉาริษยา “ลัคกี้” มากเป็นพิเศษ 55555
2.5 เนื่องจากมันเป็นคำสาปแช่งจากกบฏผู้มีบุญหลายร้อยคน
มันก็เลยส่งผลรุนแรงมาก ๆ เหมือนดวงจิตอาฆาตพวกนี้นอกจากทำให้ผู้ชายในตระกูลเจออะไรซวย
ๆ แล้ว มันยังรอ “ช่องทางระบายออก” มานานเป็นร้อยปีแล้วด้วย
จนกระทั่งดวงจิตเหล่านี้ได้มาเจอกับมิ้งที่มาจากสายเลือดตระกูลร่างทรง คนในตระกูลนี้พร้อมจะถูกเข้าสิงได้ง่ายกว่าคนธรรมดา
ดังนั้นมิ้งจึงเป็น “ช่องทางระบายออก” ของพลังอาฆาตแค้นที่เหมาะสมที่สุด
2.6 ส่วนย่าบาหยันนั้นเราก็ขอเลือกที่จะจินตนาการว่ามีจริง
แต่สู้วิญญาณพวกนี้ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นรูปปั้นของเธอคงไม่ถูกตัดคอ
เหมือนเธอเกือบจะสู้ได้แล้วตอนเข้าสิงร่างน้อย
แต่พอน้อยพยายามจะทำตัวเป็นแม่ของมิ้ง ย่าบาหยันเลยหลุดออกจากร่างน้อยไป
อย่างไรก็ดี สิ่งที่เราจินตนาการไว้นี้ก็เป็นเพียงแค่จินตนาการเล่น ๆ
เท่านั้น และเราก็ชอบสุด ๆ ที่ผู้ชมแต่ละคนจินตนาการออกมาไม่ซ้ำกันเลย
และดูเหมือนหลายคนจะ enjoy กับจินตนาการของตัวเองมาก ๆ
มีทั้งผู้ชมที่ไม่เชื่อว่าย่าบาหยันมีจริง
และมีทั้งผู้ชมที่เชื่อว่าย่าบาหยันอยู่ฝ่ายเดียวกับวิญญาณร้ายด้วย
ซึ่งเรารู้สึกว่าการที่หลาย ๆ
คนจินตนาการออกมาในแบบที่แตกต่างกันไปนี้เป็นสิ่งที่เราชอบสุด ๆ
อ่านตัวอย่างจินตนาการของบางคนได้ที่นี่
https://pantip.com/topic/40986971
https://pantip.com/topic/41076837
3.เราว่าการที่หลายคนจินตนาการออกมาไม่ซ้ำกันเลยนี้
เป็นเพราะหนังมันเลือกจะไม่บอกอะไรหลาย ๆ อย่าง
ซึ่งมันมาจากการที่หนังเลือกเล่าเรื่องผ่านทาง “กล้องของทีมงานสารคดี” นี่แหละ
คือพอหนังมันเลือกเล่าเรื่องผ่านทาง “กล้องสารคดี” แบบนี้
มันก็เลยเป็นการจำกัดมุมมองของผู้ชม และไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรหลาย ๆ
เรื่องให้ผู้ชมได้รับรู้ ทั้งเรื่องที่ว่าใครตัดเศียรรูปปั้นย่าบาหยัน,
ตัวละครตัวไหนพูดจริงหรือตอแหล, สาเหตุของแต่ละเหตุการณ์มันมาจากอะไรกันแน่
คือเราว่าการที่หนังทำตัวเป็น “สารคดีปลอม” แบบนี้
มันมีทั้งข้อดีและข้อเสียน่ะแหละ ข้อดีก็คือสิ่งที่เราเขียนไว้ข้างต้น
เพราะหนังมันจำกัดมุมมองของผู้ชม, ไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรหลาย ๆ อย่าง
และการไม่อธิบายแบบนี้ ก็เลยกระตุ้นจินตนาการของผู้ชมแบบเราให้แต่งเรื่องแต่งราวต่อไปได้เองอย่างสนุกสนานสราญใจมาก
ๆ 55555
แต่ข้อเสียก็คือ ความเป็นสารคดีของมันดูลักลั่นในหลาย ๆ จุด
อย่างที่ผู้ชมคนอื่น ๆ เขียนไปแล้ว
แต่เป็นโชคดีของเราที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ช้ามาก ๆ คือเราเห็นหนังมันดัง
เราก็เลยไม่รีบดู เพราะรู้ว่ามันคงฉายอีกนาน เรารีบดูหนังหายากเรื่องอื่นๆ แบบหนังใน “เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์”
ที่มาฉายที่ศาลายาก่อนดีกว่า อะไรแบบนี้ จนกระทั่งเทศกาลหนังมาราธอนออนไลน์กำลังจะเริ่มต้นในวันที่
12 พ.ย.นี่แหละ เราเลยต้องรีบตาลีตาเหลือกไปดู “ร่างทรง” ในวันที่ 10 พ.ย.
ก่อนที่เราจะไม่มีเวลาว่างเหลืออีกต่อไป
เราพยายามจะไม่อ่าน comments เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ก่อนไปดูนะ
เพราะเรากลัว spoil แต่เหมือนเพื่อน ๆ ใน facebook ไปดูหนังเรื่องนี้กันเยอะมาก ๆ เราก็เลยต้องเห็น comments แบบผ่าน ๆ ตาโดยไม่ได้ตั้งใจอยู่ดีน่ะแหละ และเหมือนหลายๆ
คนจะมีปัญหากับความไม่สมจริงในการเป็นสารคดีปลอมของหนังเรื่องนี้
เราก็เลยรู้ตัวล่วงหน้าว่า ก่อนดูหนังเรื่องนี้ เราต้องตั้ง suspension of
disbelief ตรงจุดนี้เอาไว้เลย ว่าตอนที่ดูหนังเรื่องนี้ เราต้องไม่เพ่งความสนใจไปยังความลักลั่นในการเป็นสารคดีปลอมของหนังเรื่องนี้เด็ดขาด
ไม่งั้นเราจะไม่สนุก 55555 ซึ่งมันก็ช่วยได้จริง ๆ เพราะตอนที่ดูหนังเรื่องนี้
เราสนุกไปกับมันมาก ๆ แต่พอดูจบแล้ว
แล้วย้อนคิดไปถึงความสมจริงในการเป็นสารคดีปลอมในแต่ละฉากของหนังเรื่องนี้แล้ว
เราจะรู้สึกหงุดหงิดมาก ๆ ปวดหัวมาก ๆ เราก็เลยหยุดคิดตรงจุดนี้ดีกว่า 5555
และจะไม่เขียนอะไรถึงจุดนี้ เราคิดว่ามันเป็นข้อเสียอย่างนึงของหนังเรื่องนี้
แต่เราจะไม่คิดถึงมันอีกต่อไป และคนอื่น ๆ
คงสาธยายอย่างละเอียดถึงเรื่องนี้ไปแล้วล่ะ 555
4.ชอบชื่อหนังภาษาอังกฤษมากนะ เพราะ THE MEDIUM นอกจากจะแปลว่า
“ร่างทรง” แล้ว มันยังแปลว่า “สื่อ” แบบเอกพจน์ได้ด้วยน่ะ ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด เพียงแต่ว่าถ้าหากเป็นคำพหูพจน์
ร่างทรงหลาย ๆ คน มันจะเป็น “mediums” แต่ถ้าหากเป็นสื่อแบบพหูพจน์
มันจะเป็น “media” เพราะฉะนั้นชื่อหนังภาษาอังกฤษเรื่องนี้ THE
MEDIUM นอกจากจะทำให้เรานึกถึง “ร่างทรง” แล้วมันยังทำให้เรานึกถึง
“ทีมงานถ่ายสารคดี” ที่ก็คงเป็น “สื่อ” ประเภทนึงเหมือนกัน และนึกถึง “ภาพยนตร์”
ในฐานะ “สื่อ” อย่างนึงด้วย
ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทางผู้สร้างหนังตั้งใจเล่นกับความหมายอันหลากหลายของคำว่า
MEDIUM หรือเปล่า
แต่เราก็จินตนาการต่อเล่น ๆ ว่า ทั้งคนทรง, ทีมงานหนังสารคดี, ทีมงานข่าว
และภาพยนตร์ ในฐานะ medium/mediums/media บางทีมันก็อาจจะแชร์อะไรบางอย่างคล้าย
ๆ กัน ในฐานะความเป็นสื่อกลาง ร่างทรงก็เป็นสื่อกลางระหว่างผีกับมนุษย์,
สื่อมวลชนก็เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์/เหตุการณ์ และผู้ชม
และภาพยนตร์ก็เป็นสื่อกลางระหว่างผู้สร้างหนังกับคนดู และบางทีความที่มันเป็นสื่อกลางนี้
มันก็เลยเผชิญกับทั้งความจริง/ความลวงและความไม่สามารถเข้าถึงความจริงทั้งหมด
ของผี/เหตุการณ์/จุดประสงค์ของผู้สร้างหนังได้
5.ช่วงแรก ๆ ของหนังเราชอบมาก เพราะมัน relate กับความเป็นจริงในความคิดของเราได้
คือหลาย ๆ อย่างในหนังช่วงแรก ๆ มันทำให้เรานึกถึงเรื่องต่าง ๆ
ที่เคยได้ยินมาในโลกแห่งความเป็นจริงน่ะ อย่างเช่น
5.1 เรามีเพื่อนคนนึงที่อยู่ในตระกูลร่างทรงเหมือนกัน แต่เพื่อนคนนี้ไม่จำเป็นต้องประกอบอาชีพร่างทรง
แต่พอเขาเกิดมาในครอบครัวนี้ เขาก็จะถูก “องค์ลง” ในบางครั้งได้
โดยที่เขาไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ คืออยู่ดี ๆ อยู่เฉยๆ เขาก็จะมีอาการ “องค์ลง”
ได้ อย่างไรก็ดี เราไม่ได้ติดต่อกับเพื่อนคนนี้มานาน 20 กว่าปีแล้ว รู้แต่ว่าเขาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งนึง
5.2 การที่มิ้งอุ้มเด็กหายไป
ทำให้นึกถึงข่าวที่มีผู้ชายคนนึงอุ้มน้องจิน่าหายไป
โดยอ้างว่าเป็นเพราะเจ้าป่าเจ้าเขา
https://www.thairath.co.th/news/crime/2188080
5.3 การที่มิ้งมีอาการ anti social แบบรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งการรังแกเด็กเล็ก, การตบคนบนรถสองแถว
และการขว้างปาข้าวของในขบวนแห่ทางศาสนา มันทำให้นึกถึง “คนบ้า”
ที่พร้อมจะกลายเป็นฆาตกรโรคจิตได้น่ะ และคนพวกนี้มันน่ากลัวสุด ๆ
เพราะมันเจอได้ในโลกแห่งความเป็นจริง อย่างเช่นคนบ้าที่ฆ่าพ่อของ “ดาว มยุรี”
https://tnews.teenee.com/crime/9706.html
5.4 ในช่วงแรก ๆ ของหนัง
เราก็ไม่แน่ใจว่าอาการของมิ้งเกิดจากสิ่งเหนือธรรมชาติหรือเปล่านะ
เพราะอาการเมนส์ไหลนองนี่ มันอาจจะเกิดจากโรคทางกรรมพันธุ์ก็ได้
5.5 ส่วนอาการที่มิ้งโรคจิตมากขึ้นเรื่อย ๆ นี่ ในช่วงแรกๆ ของหนัง
มันทำให้เราตั้งข้อสันนิษฐานในช่วงนั้นว่า
5.5.1 บางทีมันอาจจะเกิดจากอาการทางจิต เพราะสภาพครอบครัวมีส่วน
อย่างเช่นในหนังเรื่อง REQUIEM (2006, Hans-Christian Schmid) ที่สร้างจากเรื่องจริง
คือทั้ง REQUIEM และ THE EXORCISM OF EMILY ROSE
(2005, Scott Derrickson) สร้างจากเหตุการณ์ผีเข้าอันเดียวกัน
แต่เหมือน REQUIEM ตีความว่าเหตุการณ์ผีเข้าดังกล่าวไม่ได้เกิดจากสิ่งเหนือธรรมชาติแต่อย่างใด
5.5.2 หรือบางทีมิ้งอาจจะแค่เป็น “เชื้อโรคขึ้นสมอง”
แบบตัวละครในหนังสองเรื่องที่สร้างจากเรื่องจริง ซึ่งก็คือหนังเรื่อง BRAIN ON FIRE (2016, Gerard
Barrett) และ THE 8-YEAR ENGAGEMENT (2017, Takahisa Zeze) คือเหมือนพอเราดูหนังสองเรื่องนี้ แล้วเราเลยได้ข้อสันนิษฐานว่า คนหลายๆ
คนที่เคยถูกเชื่อว่า “ผีเข้า” ในอดีตนี่ จริงๆ
แล้วพวกเขาอาจจะเป็นคนที่เชื้อโรคขึ้นสมองแบบในหนังสองเรื่องนี้ก็ได้
เพราะตัวละครในหนังสองเรื่องนี้ พอเชื้อโรคขึ้นสมองแล้ว
พวกเขาแสดงอาการเหมือนกับคนที่ถูกผีเข้ามาก ๆ โดยเฉพาะการพูดอะไรหยาบ ๆ คาย ๆ,
ควบคุมอารมณ์ไม่ได้อีกต่อไป, ควบคุมการแสดงออกของตนเองไม่ได้อีกต่อไป
และเสียสติมากขึ้นเรื่อย ๆ
คือเราว่าเนื่องจากในอดีตมันยังไม่มีวิทยาการทางการแพทย์แบบนี้น่ะ
เพราะฉะนั้นผู้ป่วยเชื้อโรคขึ้นสมองแบบใน BRAIN ON FIRE และใน THE
8-YEAR ENGAGEMENT ก็เลยอาจจะถูกชาวบ้านเข้าใจว่าเป็น “ผีเข้า”
ก็ได้
6. แต่พอเข้าสู่ช่วงท้าย ๆ ของหนัง เราก็เชื่อแล้วล่ะว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นกับมิ้งและในพิธีช่วงท้ายเรื่อง
น่าจะเกิดจากสิ่งเหนือธรรมชาติอย่างแน่นอน อย่างไรก็ดี ถึงแม้เราจะยอมรับว่า
ช่วงท้ายของหนังมันสนุก แต่มันทำให้เรา “ไม่กลัว” น่ะ
เพราะเรารู้สึกว่ามันหนักมือมากเกินไป
จนทำให้เรารู้สึกว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้นกับชีวิตเราได้ในโลกแห่งความเป็นจริง
คือเราเป็นคนที่เชื่อเรื่องไสยาศาสตร์มนต์ดำสิ่งเหนือธรรมชาติคุณไสยภูติผีน่ะ
เพราะฉะนั้นเรารู้สึกว่า ช่วงแรกของหนัง มันยังอยู่ใน “โลกแห่งไสยาศาสตร์ คุณไสย”
แบบที่เราคุ้นเคยและเชื่อว่ามีจริง คือเราเชื่อว่า ถ้าหากเราเผลอตอบเสียงประหลาด ๆ
ไป คุณไสยอาจจะเข้าตัวเราได้ อะไรทำนองนี้
และสิ่งนี้สามารถเกิดได้ในชีวิตประจำวันของเรา เพราะฉะนั้นพอหนังช่วงแรก ๆ
มันอยู่ในโหมดนี้ เราก็เลยกลัวมัน เพราะเรารู้สึกว่าหนังมันยังคงอยู่ในโหมดที่สอดคล้องกับ
“สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของเรา”
แต่พอผีหมาอาละวาดในช่วงท้ายเรื่อง เรารู้สึกว่า หนังมันเหมือน shift เข้าโหมด
“โลกแห่งเสือสมิง” อะไรทำนองนี้ ซึ่งเรายอมรับว่ามันก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในโลกของหนังเรื่องนี้
หนังเรื่องนี้ไม่ได้ทำผิดอะไร แต่มันทำให้เรา “ไม่กลัว” น่ะ เพราะเรารู้สึกว่า
เราคงไม่ได้เจอเสือสมิงในชีวิตประจำวันน่ะ เหมือนเรามองว่า
โอกาสที่เราจะเจอคุณไสยในชีวิตประจำวันอยู่ที่ 66% น่ะ
แต่โอกาสที่เราจะเจอเสือสมิงในชีวิตประจำวันอยู่ที่ 6% น่ะ
เพราะฉะนั้นพอหนังมัน shift เข้าโหมดผีหมา
เราก็เลยไม่กลัวมันไปเลย 55555
(อันนี้คือมุมมองของคนที่เชื่อเรื่องไสยาศาสตร์อย่างมากๆ ค่ะ)
7.เพราะฉะนั้นฉากที่เราชอบสุด ๆ ในหนังเรื่องนี้
ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ช่วงต้น ๆ เรื่อง อย่างเช่น
7.1 ฉากรำถวายย่าบาหยัน ซึ่งทำให้นึกถึงไตเติลของละครทีวีเรื่อง
“ปอบผีฟ้า” เวอร์ชั่นปีราว ๆ 1975 มาก
ๆเพราะไตเติลของละครเรื่องนั้นก็เป็นกลุ่มสาว ๆ รำถวายผีฟ้า
7.2 ฉากหมาตายกลางถนน แล้วต้องขับรถหลบ
คือเรากลัวอะไรแบบนี้มากกว่าฉากผีหมาช่วงท้ายเรื่อง
7.3 ฉากยายตาบอดเดินตอนกลางคืน
7.4 ฉากที่มิ้งกับทีมงานเหมือนเห็นผู้หญิงชุดขาวยืนจ้องอยู่ไกล ๆ
7.5 ฉากที่มิ้งเล่าถึงความฝัน
เพราะมันทำให้นึกถึงที่เพื่อนเราเคยเล่าว่า
เขาเคยฝันเห็นผู้ชายนุ่งชุดผ้าเตี่ยวแบบโบราณมาทำร้ายเขา
7.6 ฉากจากกล้องหน้ารถ taxi
8. ในส่วนของการแสดงนั้น เราชอบมาก ๆ เราว่าทุกคนเล่นได้ทรงพลังมาก ๆ
โดนใจเรามาก ๆ
9.อย่างไรก็ดี พอดู
"ร่างทรง" จบแล้วเราก็ได้ข้อสรุปว่า หนังสยองขวัญแนวสารคดีปลอมและ found footage ของไทยที่เราชอบมากที่สุด ก็ยังคงเป็นหนังเรื่อง
"รำลึกเหตุการณ์เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549" (2013, Pongsakorn Ruedeekunrungsi) หนังเรื่องนี้เคยติดอันดับ 8 ในลิสท์หนังสุดโปรดของเราประจำปี
2013 ด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=m0Qsu6S_414
10.เราชอบ “ร่างทรง” ในระดับ
A+30 นะ เพราะมันสนุกดี และมันจริงจังดี
เราชอบการนำเสนอเรื่องไสยาศาสตร์ในแบบจริงจัง ไม่ใช่แบบตลก
เพราะเราเชื่อเรื่องไสยาศาสตร์เวทมนตร์ลี้ลับอาถรรพ์ต่าง ๆ
แต่ถึงแม้เราจะชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ มันก็ไม่ใช่หนังแบบที่ “เข้าทาง” เราจริง
ๆ เพราะหนังแบบที่เข้าทางเราจริง ๆ คงเป็นหนังแบบที่ไม่ทำเงินแน่ ๆ และหลาย
ๆ คนคงไม่ชอบ เพราะเราอยากให้หนังมันเป็น talking heads สัมภาษณ์คนต่าง ๆ
เกี่ยวกับเรื่องไสยาศาสตร์ไปเรื่อย ๆ ราว 50% ของเรื่อง
โดยไม่เกี่ยวกับเส้นเรื่องหลักแต่อย่างใด คือเรารู้สึกว่าช่วงท้าย ๆ ของหนัง
มันทำให้เราดีดตัวออกห่างจากหนัง เพราะมันทำให้เรารู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในช่วงท้ายของหนัง หรือเวทมนตร์ไสยาศาสตร์เรื่องลี้ลับต่าง ๆ
ในช่วงท้ายของหนัง มันดำรงอยู่เพียงเพื่อ satisfy ความต้องการของผู้ชมคนอื่น
ๆ น่ะ 5555 แต่ถ้าหากหนังมันเต็มไปด้วย talking heads ที่คนต่าง ๆ พูดถึงเรื่องไสยาศาสตร์, ตำนาน, ความเชื่อต่าง
ๆ ไปเรื่อย ๆ
มันจะสอดคล้องกับความเชื่อของเราที่ว่าไสยาศาสตร์ผีสางแม่นางโกงเหล่านั้นมีอยู่จริง
และมันไม่ได้ดำรงอยู่ “เพื่อสร้างความสยองขวัญ” ให้ผู้ชมแต่อย่างใด
สรุปได้ว่า หนังเกี่ยวกับ “ร่างทรง” ที่เราชอบ
ก็คงเป็นแบบ BLUE SKY
ACADEMY (2020, Choy Ka Fai, Singapore) นี่แหละ
คือจริง ๆ แล้ว พอหนังเรื่อง “ร่างทรง” มาในโหมด “สารคดีปลอม” แบบนี้
เราก็เลยจินตนาการว่า อยากให้หนังมีการผสมเรื่องจริงเข้ามาด้วย
เพื่อสร้างความงุนงงให้ผู้ชม 5555 อย่างเช่น มีการไปสัมภาษณ์ร่างทรงจริง,
ชาวบ้านที่พูดถึงตำนานที่มีอยู่จริง, ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติที่มีอยู่จริง
แล้วก็ใส่ฉากเรื่องจริงเหล่านี้เข้ามาในหนังด้วย
โดยไม่บอกคนดูว่ามันเป็นจริงหรือปลอม แล้วหนังก็ใส่ฉากชาวบ้านปลอม
เล่าถึงตำนานปลอม ๆ ที่แต่งกันขึ้นมาสด ๆ, ความเชื่อปลอม ๆ ที่แต่งกันขึ้นมาสด ๆ
เข้ามาในหนังด้วย อย่างเช่นใส่ฉากคุณยาย (ปลอม) เล่าถึงตำนานประจำหมู่บ้านว่า
“ถ้าหากใครได้ร่วมรักกับชายหนุ่มอายุ 18 ปีในคืนวันเพ็ญตอนเที่ยงคืน ภายในรัศมี 15
กิโลเมตรจากศาลเจ้าแม่รรีการ คนนั้นจะถูกหวย เพราะการร่วมรักกับชายหนุ่มอายุ 18
ปีแบบนี้ ถือเป็นพลีกรรมที่สร้างความพึงพอใจให้เจ้าแม่รรีการอย่างถึงที่สุด”
อะไรทำนองนี้ ใส่เข้ามาในหนังด้วย
เพื่อให้คนดูงงเล่นว่าความเชื่อไหนมีจริงหรือไม่มีจริงกันแน่ 55555
No comments:
Post a Comment