34. CHI POWER: THE DOCUMENTARY (ธนิศวร์ วสุ
ยันตรโกวิท, 8min, A+15)
คืออะไร งง หรือฉันตามเรื่องไม่ทันเอง 55555 มีทั้งแมวที่สื่อสารกับคนได้
(ถ้าจำไม่ผิด) และโลกคู่ขนาน และมิคจากอีกมิตินึงในภาคหญิงสาว เหมือนจริง ๆ แล้ว wavelength เราคงไม่ตรงกับหนังเรื่องนี้เท่าไหร่
เราก็เลยไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้มากนัก แต่ดูจากปฏิกิริยาของผู้ชมคนอื่น ๆ ที่ชื่นชอบหนังเรื่องนี้แล้ว
หนังเรื่องนี้คงถือได้ว่าเป็น “หนัง cult” เรื่องนึงประจำปีนี้
55555
35. CHICKEN FILLET RECIPE (ธารา เอมสวนะ, 13min,
A+)
36. CHOP! (จิรัชญา อาจารสิริ, animation,
A+25)
แอนิเมชั่นที่รุนแรงสุด ๆ เพราะมันเหมือนเป็นการสร้างโลกแบบวิปริตที่ทุกคนมีความสุขกับการทำร้ายร่างกายตนเอง
หรือทำอะไรโหด ๆ ยอมรับว่าหนังมันไปสุดทางของมันเองมาก ๆ แต่พอเราไม่ได้ชอบอะไรโหด
ๆ แบบนี้ เราเลยอาจจะยังไม่ถึงขั้นชอบหนังเรื่องนี้แบบสุด ๆ
37. CHRISTMAS EVE ADAM LILITH NIGHTS (สหรัฐ
อึ้งกิจไพบูลย์, 7min, A+10)
ยอมรับว่าช่วงแรก ๆ ของหนังนี่เรามีระยะห่างจากหนังมากพอสมควรเลย
เพราะเราไม่อินกับคริสต์มาสแต่อย่างใด และเราก็ไม่ได้อยากให้หิมะตกที่เมืองไทยด้วย
ถึงแม้เราจะชอบอากาศหนาวมาก ๆ ก็ตาม เพราะฉะนั้นช่วงแรก ๆ ของหนังเราก็เลยเหมือนดูตัวละครพูดคุยกัน
โดยที่เราจะรู้สึกห่างจากตัวละครมาก ๆ เพราะเราแทบไม่สามารถ identify อะไรกับตัวละครกลุ่มนี้ได้
แต่พอหนังจบแบบนั้นเราก็ชอบหนังเพิ่มขึ้นมาก เพราะถ้าเราเข้าใจไม่ผิด
ตัวละครลงเอยด้วยการ “ปาหิมะในจินตนาการ” ใส่กันอย่างสนุกสนาน ซึ่งสำหรับเราแล้ว มันดีกว่า
“หิมะเทียม” แบบใน “ไสหัวไป นายส่วนเกิน” เสียอีก เพราะ “หิมะในจินตนาการ” มันไม่ต้องลงทุนเลยซักกะบาท
แต่มันต้องอาศัย“กลุ่มเพื่อนที่สามารถแชร์โลกจินตนาการเดียวกันกับเราได้” เราถึงจะสนุกกับมันได้อย่างเต็มที่
เราก็เลยชอบตอนจบของหนังมาก ๆ เป็นการส่วนตัว เพราะว่า ในวัยประถม
เราก็หาความสุขด้วยการ “สร้างโลกจินตนาการ” ของเราขึ้นมาเอง และพอเราอยู่มัธยมกับมหาลัย
ความสุขที่สุดในชีวิตของเราก็คือการมีกลุ่มเพื่อนที่ “แชร์โลกจินตนาการเดียวกันกับเรา
และสนุกไปกับโลกจินตนาการเดียวกันกับเราได้” เพราะฉะนั้นพอหนังเรื่องนี้เลือกจบด้วยการเล่นสนุกปาหิมะในจินตนาการใส่กัน
ตอนจบของหนังก็เลยเหมือนโดนเราเป็นการส่วนตัวมาก ๆ
และเราก็ชอบที่ตอนจบของหนังเรื่องนี้กับ SLEEPLESS 7-11 ของผู้กำกับคนเดียวกัน
ต่างก็ลงเอยด้วย “จินตนาการ” เหมือนกัน แต่เหมือนตอนจบของ CHRISTMAS แสดงให้เห็นถึงพลังในทางบวกของจินตนาการ ส่วน SLEEPLESS 7-11 แสดงให้เห็นถึงความน่าเศร้าของคนที่แยกจินตนาการกับความเป็นจริงไม่ออก
38. THE CHRONIC CHRONICLES (ธัญญาทิพย์ ผุดวัฒน์, A+25)
นอกจาก COVID จะทำให้มีหนัง ZOOM จำนวนมากเข้าฉายในเทศกาลมาราธอนปีนี้แล้ว
เราขอตั้งทฤษฎีว่า COVID ยังส่งผลทางความคิดหรือจิตใจของผู้สร้างหนังหลายราย
ให้สร้างหนังที่มีฉาก “ตัวเองอยู่ในห้องเดียวกัน” ออกมาหลายเรื่องในปีนี้ด้วย
55555
คือเราขอตั้งทฤษฎีว่า พอ COVID ทำให้คนต้องอยู่ในห้องตามลำพังเพียงคนเดียวเป็นเวลานาน
ๆ มันก็เลยกระตุ้นให้หลายคนสร้างหนังที่มีฉากตัวเองแยกร่างออกมาเป็นหลาย ๆ ร่าง
แต่อยู่ในห้องเดียวกัน อะไรทำนองนี้หรือเปล่า ซึ่งรวมถึงหนังเรื่องนี้ด้วย
คือนอกจากหนังเรื่องนี้แล้ว หนังเรื่องอื่น ๆ
ที่เราคิดว่าอาจจะเข้าข่ายเดียวกัน ก็มีอย่างเช่น
1. CHI POWER: THE DOCUMENTARY ที่มิคเจอตัวเองจากโลกคู่ขนาน
แต่มาในภาคหญิงสาว
2. HOW MANY IS TOO MANY ของ ณัฎฐ์ธร กังวาลไกล
ก็มีฉากตัวเองหลาย ๆ ตัวมาอยู่ในห้องเดียวกัน และแย่งอาหารกันกิน
3.ดินแดนกักกัน ของ จักรพันธุ์ วัฒนพงษ์
ที่เราเข้าใจว่าเป็นหนังสารคดี ที่มีการถ่ายแบบ reenactment ผสมเข้ามาด้วย
และฉากนึงในหนังเป็นฉากที่ subject เหมือนแยกออกเป็นสองร่างขณะจับเจ่าอยู่ในห้องเดียวกันในช่วงกักตัว
4.เบ่งบาน? ของ ณัฐดนัย วัฒนธาดากุล
ที่มีฉากนึงเป็นฉากที่พระเอกแยกออกเป็น 3 ร่าง ขณะอยู่ในห้องเดียวกัน
ไม่รู้ว่ามีหนังเรื่องอื่น ๆ ในเทศกาลมาราธอนที่มีฉากแบบนี้อีกหรือเปล่า
555
No comments:
Post a Comment