HAPPY END
DOY (2021, Kritsada Boonrit, documentary, 25min, A+30)
เนื่องจากหนังเรื่องนี้เปิดฉายต่อสาธารณชนแล้ว
เราก็ขอนำสิ่งที่เราเคยเขียนบอกผู้กำกับหนังเรื่องนี้ มาแปะไว้ในนี้ด้วยแล้วกัน
ได้ดู HAPPY END DOY เวอร์ชั่นใหม่แล้วครับ ชอบสุดๆ เลยครับ งดงามมาก
ๆ
1.สิ่งแรกที่ดีขึ้นกว่าเวอร์ชั่นเดิมอย่างเห็นได้ชัด
คือการใช้ดนตรีประกอบครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในหนังแบบนี้
เพราะหนังแบบนี้มันไม่ได้เล่าเรื่องเป็นเส้นตรง แต่ประกอบไปด้วยเศษเสี้ยวต่าง ๆ
ที่ไม่ปะติดปะต่อกันมารวมเข้าด้วยกัน เพราะฉะนั้นการใช้ดนตรีประกอบที่ดีจะช่วยหลอมรวมหรือผนึกเศษเสี้ยวที่แตกต่างกันเหล่านี้เข้าด้วยกันได้อย่างงดงาม
และพี่คิดว่าน้องทำได้สำเร็จในเวอร์ชั่นนี้ครับ ดนตรีประกอบมันช่วยเชื่อมฉากต่าง ๆ
เข้าด้วยกันได้ดีมาก ๆ ครับ โดยเฉพาะในทาง “อารมณ์”
2.ดูแล้วนึกถึง
Jonas Mekas เลยครับ 5555 เพราะ Jonas Mekas ก็ชอบสร้างหนังแนว video diary ที่ประกอบไปด้วยเศษเสี้ยวต่าง ๆ เหมือนกัน
แต่หนังของน้องดูง่ายกว่าของ Mekas เยอะครับ สิ่งที่ทำให้นึกถึง Mekas ก็คือการสร้างหนังจากเศษเสี้ยวต่าง ๆ ในชีวิตจริงของตนเองนี่แหละครับ
โดยเฉพาะการนำเอา moments
เล็ก ๆ น้อย ๆ
ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต มาร้อยเรียงเข้าด้วยกันแบบบทกวี
คือคนที่ดูหนังอาจจะไม่รู้ที่มาที่ไปของแต่ละฉากแต่อย่างใด
แต่จะได้มวลอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างที่ทรงพลังมากๆ จากหนัง
พี่ชอบหนังของ
Mekas มากครับ แต่ดูเหมือนในไทยไม่ค่อยมีคนทำหนังแบบนี้
ปีนึงอาจจะมีหนังไทยแบบนี้ออกมาให้ดูราว ๆ ไม่เกิน 5 เรื่องจากผู้กำกับหนังทดลอง
พี่ก็เลยดีใจสุด ๆ ที่มีคนไทยทำหนังแบบนี้ออกมาครับ
3.ยอมรับว่าดูแล้วแทบร้องไห้
ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้รู้จักใครในหนังเลย แต่มันดูแล้วคิดถึงความจริงที่ว่า
นี่มันคือการบันทึกและเก็บเกี่ยว “โมงยามแห่งความสุขเล็ก
ๆ น้อย ๆ ขณะเป็นนักศึกษามหาลัย โดยเฉพาะโมงยามที่ได้อยู่กับเพื่อน ๆ “
ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เข้ามาในชีวิตเพียงแค่ 4 ปี
และหลังจากนั้นมันก็จะจากเราไปตลอดกาล เพราะพอเราเรียนจบมหาลัย เพื่อน ๆ
แต่ละคนก็จะแยกย้ายกันไปตามเส้นทางชีวิตของตัวเอง และโมงยามแบบนี้ก็จะไม่หวนกลับคืนมาอีกแล้ว
มันเหมือนกับว่าหนังเรื่องนี้เก็บเกี่ยวเอาความสุขของช่วงเวลาที่ได้อยู่กับเพื่อน
ๆ เอาไว้ได้อย่างเต็มที่เลยน่ะครับ
และคนดูอย่างผมก็สัมผัสได้ถึงความสุขอย่างเต็มเปี่ยมนั้นด้วย
และก็รู้สึกเศร้าไปด้วยในขณะเดียวกัน เพราะรู้ว่าโมงยามแห่งความสุขเหล่านั้นในชีวิตของตัวเอง
มันได้กลายเป็น “อดีต” ไปแล้ว
4.ชอบทุกฉากในหนังเลยครับ
ฉากบ่นเรื่อง “วันวิกฤติเผชิญฝนตก” ตอนต้นเรื่องก็ทรงพลังมาก ๆ
เหมือนเวอร์ชั่นเก่า, ฉากเพื่อนอ้วกก็ดีมาก ๆ แต่ฉากใหม่ที่เพิ่มเข้ามาแล้วพีคสุด
ๆ คือฉากแนะนำคนในซุ้มภาพยนตร์ครับ รู้สึกว่าเป็นฉากที่ดูแล้วสัมผัสได้ถึงความสุข,
ความรื่นรมย์ของชีวิตนักศึกษามหาลัยอย่างมาก ๆ มันเป็นฉากที่เต็มเปี่ยมไปด้วย
“พลังของชีวิต” อย่างบอกไม่ถูกครับ
5.สรุปว่าชอบเวอร์ชั่นนี้อย่างสุด
ๆ ครับ งดงามมากๆ ดูแล้วแทบร้องไห้
THE SHOW MUST GO ON (2021, Chanon Noinongyao, documentary, A+30)
1.รู้สึกว่าจริง ๆ แล้วอารมณ์ของหนังไม่ค่อย smooth เท่าไหร่
แต่ก็ชอบการเลือก subject ของหนังมากพอสมควร เพราะ
subject เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ประท้วงที่เป็นผู้ใหญ่
และเข้าร่วมการประท้วงของคนเสื้อแดงมาตั้งแต่ปี 2010 แล้วมั้ง
2.ดีที่หนังได้บันทึกภาพการตรวจค้นรถของตำรวจเอาไว้ด้วย
ไม่รู้ว่าการที่ตำรวจตรวจค้นรถด้วยความสุภาพในครั้งนี้
เป็นเพราะตำรวจรู้ตัวว่าตัวเองกำลังถูกบันทึกภาพเอาไว้หรือเปล่า
3.เราว่าที่หนังเรื่องนี้อาจจะดูไม่ smooth หรือไม่ทรงพลังมากนัก
อาจจะเป็นเพราะ “ความยาก” ในการถ่ายทอด subject ทำนองนี้ด้วยแหละ
เพราะ subject คนนี้เขาเหมือนเป็น performance artist
ที่เน้นการแต่งตัว และไม่ใช่ “นักพูด” น่ะ
มันก็เลยยากที่จะถ่ายทอดสิ่งที่เขาทำให้ออกมาทรงพลังในสื่อภาพยนตร์ได้ ซึ่งจะแตกต่างจากหนังอย่าง (R)EVOLUTION
(2021, Nawapas Pongsing) หรือ CONVICTION
(2021, Pitchayood Kow-on) ที่เลือก subject ที่เป็นเหมือนนักพูดปลุกระดม
เพราะฉะนั้นการสัมภาษณ์ subjects ที่เป็นนักพูดแบบนี้มันก็เลยง่ายที่จะทำให้หนังออกมาทรงพลัง
CHAROEN PORN (2021, Thitima Kongkhum, documentary, A+30)
หนังสัมภาษณ์เชอรี่ สามโคก, ชายหนุ่มคนนึง
และหญิงสาวคนนึงที่ได้เงินจากการเปิด onlyfans ชอบทัศนคติของทั้งสามคนนี้อย่างสุด
ๆ
HARASSMEN (2021, Thanyaluk Jesala, documentary, A+30)
ชอบประเด็นของหนังมาก ๆ ที่เป็นการสัมภาษณ์ชายหนุ่มบางคนที่เคยมีประสบการณ์ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ทั้งจากคนที่เจอในห้องน้ำสาธารณะ หรือจากครูในโรงเรียน
(R)EVOLUTION (2021, Nawapas Pongsing, documentary, A+30)
หนังสัมภาษณ์คุณ Nawat Leangwattana ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง
ไม่แน่ใจว่าผู้กำกับเป็นเพื่อนกับ
subject ด้วยหรือเปล่า subject เลยพูดออกมาได้ไหลลื่น
ทรงพลังมาก ๆ หนังทั้งเรื่องเหมือนเป็น talking head สัมภาษณ์คนเพียงคนเดียว
แต่ดูแล้วจับใจอย่างสุด ๆ ดูแล้วแทบร้องไห้
No comments:
Post a Comment