Monday, June 15, 2015

SHERLOCK HOLMES (1916, Arthur Berthelet, USA, A-/B+)

SHERLOCK HOLMES (1916, Arthur Berthelet, USA, A-/B+)

--รู้สึกว่าหนังน่าเบื่อ แต่ก็รู้สึกดีที่ได้ดูหนังเรื่องนี้นะ คือมันอาจจะไม่ได้มีคุณค่าทางความบันเทิงสำหรับเรา แต่มันช่วยเติมเต็มความอยากรู้อยากเห็นของเราน่ะว่า “หนังธรรมดา” เมื่อ 100 ปีก่อนมันเป็นยังไงบ้าง เพราะพอพูดถึงหนัง 90-100 ปีก่อน หนังที่เราได้ดูก็มักจะเป็น “หนังชั้นเยี่ยม” ที่ทุกคนแซ่ซ้องสรรเสริญ หรือหนังของผู้กำกับที่มีฝีมือในระดับนึง จนเรานึกไม่ออกว่า “หนังคุณภาพธรรมดา” ของ “ผู้กำกับที่มีฝีมือปานกลาง” ในยุคนั้นมันเป็นยังไงบ้าง หนังเรื่องนี้ก็เลยช่วยตอบสนองเราในด้านนี้

ในแง่นี้ก็เลยนึกถึงเทศกาลหนังกระแสหลักของรัสเซียที่เคยจัดฉายที่เซ็นทรัลเวิลด์เมื่อ 2-3 ปีก่อน คือในเทศกาลนั้น มันมีแต่หนังที่เราชอบในระดับ A- เป็นส่วนใหญ่ แต่เราก็รู้สึกโอเคกับตัวเทศกาลมากๆ เพราะพอพูดถึงหนังรัสเซีย เราก็มักจะได้ดูแต่หนังอาร์ตๆจากรัสเซียเป็นส่วนใหญ่ จนเรานึกไม่ออกว่าหนังตลาดแตกของรัสเซียมันเป็นยังไง เทศกาลนั้นก็เลยช่วยเติมเต็มเราในด้านนี้

--เราไม่มีอารมณ์ร่วมกับ SHERLOCK HOLMES เวอร์ชั่นนี้เลย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะการถ่ายทำ, การตัดต่อ หรือบท ซึ่งมันแตกต่างจากหนังที่ใกล้เคียงกันอย่าง THE SPIDERS (1919, Fritz Lang) ที่เป็นเรื่องของพระเอกที่ต้องต่อสู้กับองค์กรลับของผู้ร้ายเหมือนๆกัน คือเราว่าแค่ Fritz Lang ถ่ายหน้าคนเฉยๆ โดยไม่ต้องมีเนื้อเรื่องอะไร ภาพที่ออกมาก็ทรงพลังสุดๆแล้วสำหรับเรา แต่ภาพใน SHERLOCK HOLMES เวอร์ชั่นนี้แทบไม่มีผลกระทบทางอารมณ์อะไรกับเราเลย

คือบางทีเนื้อเรื่องเพียงอย่างเดียวมันไม่พอ มันต้องอาศัยฝีมือการถ่ายภาพด้วยจริงๆน่ะแหละ กรณีความแตกต่างระหว่าง SHERLOCK HOLMES กับ THE SPIDERS นี้ ทำให้เรานึกถึงความแตกต่างระหว่าง ZATOICHI VS. YOJIMBO (1970, Kihachi Okamoto) กับ ZATOICHI MEETS THE ONE-ARMED SWORDSMAN (1971, Kimiyoshi Yasuda) คือเราว่า ZATOICHI สองเวอร์ชั่นนี้ “เนื้อเรื่อง” สนุกพอๆกัน แต่เราว่า ZATOICHI MEETS THE ONE-ARMED SWORDSMAN ทำได้แค่เล่าเรื่อง ในขณะที่ ZATOICHI VS. YOJIMBO ทำได้ทั้งเล่าเรื่องและส่งผลกระทบทางอารมณ์กับเราอย่างรุนแรงมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้หนังทำได้แบบนั้นคือการถ่ายภาพที่ทรงพลัง คือแค่ Kihachi Okamoto ถ่ายภาพทรายถูกลมพัดปลิวในบางฉาก ภาพที่ออกมาก็ส่งผลกระทบทางอารมณ์กับเราอย่างรุนแรงมากๆได้แล้ว

--ส่วนที่ชอบที่สุดในหนัง SHERLOCK HOLMES ก็คงจะเป็นบทบาทของ “สาวใช้ของผู้ร้าย” กับ “เด็กหนุ่มที่เป็นคนใช้ของเชอร์ล็อค โฮล์มส์” เราชอบที่ตัวละครสาวใช้กับคนใช้หนุ่มกลายเป็นตัวแปรสำคัญในบางฉาก แทนที่จะมีบทบาทเป็นเพียงแค่คนใช้โง่ๆเท่านั้น


--แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราไม่ค่อยชอบหนังเรื่องนี้ คือหนังเข้าข้างตัวละครผิดตัวน่ะ คือหนังไปเข้าข้างเชอร์ล็อค โฮล์มส์ ซึ่งต้องการจะช่วยฝ่ายเจ้าชายในการปกปิดจดหมาย ในขณะที่เรากลับต้องการให้จดหมายนั้นได้รับการเปิดโปง เราก็เลยรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับตัวละครทั้งฝ่ายเชอร์ล็อค โฮล์มส์ และฝ่ายแก๊งลาราบีส์ ในขณะที่นางเอกหนังเรื่องนี้ ก็ดูอ่อนแอจนเราไม่สามารถ identify อะไรด้วยได้ เราก็เลยดูหนังโดยไม่มีอารมณ์ร่วมกับตัวละครตัวใดเลย และไม่ want ตัวละครตัวใดเลย กลายเป็นว่าตัวละครที่เรา identify ด้วยได้มากที่สุดคือ “สาวใช้ของผู้ร้าย” และตัวละครที่เรา want มากที่สุดคือ “เด็กหนุ่มที่เป็นคนใช้ของ Sherlock Holmes”

No comments: