Monday, June 29, 2015

Films seen in John Torres’ Retrospective at Reading Room

Films seen in John Torres’ Retrospective at Reading Room

1.TAWIDGUTOM (2004, 3min, A+)
รู้สึกว่าหนังมันเร็วไป จนเราจับอะไรไม่ทัน คือถ้ามันเป็นบทกวี เราสามารถอ่านมันซ้ำๆได้ 4-5 ครั้ง แล้วค่อยๆคิดกับมันจนเราพอจะเข้าใจมัน แต่พอมันเป็น moving image ฉากสั้นๆๆๆๆที่มีเสียง voiceover แบบบทกวีผ่านหูเราไปอย่างรวดเร็ว สมองเราจะประมวลไม่ทันน่ะ

แต่เราตั้งข้อสงสัยว่า ถ้าหากหนังเรื่องนี้ยาวขึ้นเป็น 30 นาที มันจะออกมาเป็นแนว TO THE WONDER (2012, Terrence Malick) หรือเปล่า คือเป็นหนังแนวกวีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักโรแมนติก มีเสียง voiceover มีการตัดภาพเร็วอะไรแบบนี้

แต่โชคดีที่หนังของ John Torres เรื่องต่อๆมาไม่ได้ออกมาแนว Terrence Malick คือเราว่าหนังเรื่องนี้ของ Torres มีองค์ประกอบ 2-3 อย่างที่ทำให้เรานึกถึงหนังของ Malick นะ แต่จริงๆแล้วหนังของสองคนนี้แตกต่างกันมากๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีแล้ว

นอกจาก TAWIDGUTOM จะทำให้เรานึกถึงหนังของ Malick แล้ว ฉากนึงในหนังเรื่องนี้ ยังทำให้เรานึกถึงหนังของ Chulayarnnon Siriphol + Wachara Kanha ด้วย นั่นก็คือฉากที่เราเห็นเงาชายหญิงโผเข้ากอดกัน แล้วมีการ replay ฉากนี้ซ้ำไปซ้ำมาประมาณ 3-4 รอบ

คือฉากนี้เป็นฉากที่เราเข้าใจว่า Torres คงถ่ายได้โดยบังเอิญตามท้องถนนน่ะ แล้วเขาก็เอาฉากสั้นๆที่ถ่ายได้โดยบังเอิญนี้ มา repeat ซ้ำไปซ้ำมา และสามารถสร้างอารมณ์ได้อย่างรุนแรงจากฉากแบบนี้

จุดนี้มันทำให้เรานึกถึงมิวสิควิดีโอเพลง LEVEL (2012) ที่กำกับโดย Chulayarnnon + Wachara น่ะ เพราะในมิวสิควิดีโอนั้น มันมีฉากที่เหมือนถ่ายคนเดินถนนได้โดยบังเอิญ แล้วเอามา repeat ซ้ำไปซ้ำมา แล้วการ repeat นั้นสามารถก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างที่ทรงพลังได้

แล้วพอเราดูหนังเรื่องต่อๆมาของ Torres เราก็พบว่าหนังของเขามีอะไรหลายๆอย่างที่ทำให้นึกถึงหนังของวชร กัณหาและสำนักงานใต้ดินนะ

สรุปว่า TAWIDGUTOM มีลักษณะบางอย่างที่ทำให้เรานึกถึงหนังของ Terrence Malick และ Wachara Kanha แต่เป็นเรื่องดีที่ในเวลาต่อมา Torres หันมาทำหนังที่เอนเอียงไปในทาง Wachara Kanha มากกว่า Terrence Malick 555

ดูมิวสิควิดีโอ LEVEL ได้ที่นี่ ลักษณะการแบ่งหน้าจอของมิวสิควิดีโอนี้ ทำให้นึกถึงบางฉากของ YEARS WHEN I WAS A CHILD OUTSIDE ด้วย


2.SALAT (2004, 12min, A+25, second viewing)

ตอนเราดูหนังเรื่องนี้รอบแรกเมื่อ 10 ปีก่อน เราชอบประมาณ B+/B เท่านั้น ซึ่งถ้าหากปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้ว คงเท่ากับ A ในปัจจุบัน ตอนนั้นเราจำได้ว่าฉากที่ติดตาเราคือฉากที่เด็กสองคนจ้องมองพระจันทร์ แต่เรากลับจำอะไรในฉากผู้หญิงร้องไห้ไม่ได้เลย พอเรามาดูหนังเรื่องนี้รอบสอง หลังจากเวลา 10 ปีผ่านไปแล้ว เรากลับพบว่าฉากหญิงสาวร้องไห้ในหนังเรื่องนี้มันทรงพลังมากๆ ส่วนฉากเด็กๆจ้องมองพระจันทร์กลับไม่ได้ตราตรึงเรามากเท่าไหร่

เราก็เลยสงสัยว่าอะไรทำให้เราเปลี่ยนไป คือหนังเรื่องนี้ไม่ได้เปลี่ยนไป หลังจากเวลา 10 ปีผ่านไป หนังเรื่องนี้ยังเหมือนเดิมอยู่ทุกประการ สิ่งที่เปลี่ยนไปคือตัวเราเอง อะไรทำให้เราอินกับฉากแต่ละฉากไม่เหมือนเดิม

หรือบางทีอาจจะเป็นเพราะว่า “หนังบรรยากาศ” ในยุคนั้นมันยังเป็นสิ่งที่หาดูยากหน่อยน่ะ คือในปี 2005 เรายังไม่ค่อยได้ดู “หนังบรรยากาศ” มากนักน่ะ ฉากเด็กๆจ้องมองพระจันทร์ ซึ่งเป็นฉากที่ไม่มีเนื้อเรื่อง มีแต่บรรยากาศและอารมณ์ความรู้สึกแบบโล่งๆหน่อย ก็เลยกลายเป็นสิ่งที่ประทับใจเรามากๆในยุคนั้น เราจำได้ว่าเราชอบหนังของ Tossapol Boonsinsukh มากๆ ในยุคนั้นด้วย เพราะมันเป็นหนังบรรยากาศเหมือนกัน

แต่ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นไป ก็มีหนังสั้นไทยหลายๆเรื่องที่กล้าเน้นแต่บรรยากาศ โดยเฉพาะหนังในกลุ่มไทยอินดี้ เพราะฉะนั้นเราก็เลยอาจจะคุ้นชินกับฉากแบบนี้มากขึ้น ไม่ตื่นเต้นกับมันเหมือนแต่ก่อน ดังนั้นฉากบรรยากาศใสๆ เด็กๆจ้องมองพระจันทร์ ที่เคยประทับใจเรามากๆเมื่อ 10 ปีก่อน ก็เลยกลายเป็นฉากที่ธรรมดาขึ้นมาหน่อยในสายตาของเราในยุคปัจจุบัน

แต่ฉากที่ Torres อยู่กับหญิงสาว แล้วหญิงสาวร้องไห้ใส่กล้องนี่มันทรงพลังมากๆเลยนะสำหรับเราในการดูรอบนี้ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน

3.HAI, THEY RECYCLED HEARTBREAKS IN TOKYO SO NOTHING’S WASTED (2009, A+15)

เรื่องนี้ดูแล้วนึกถึง Tossapol Boonsinsukh มากที่สุดในบรรดาหนังของ Torres เพราะมันเป็นฉากที่ให้ความรู้สึกน่ารักๆเกือบตลอดทั้งเรื่องน่ะ โดยไม่มีการเล่าเรื่อง เป็นฉากสั้นๆน่ารักๆต่อๆกันไป แล้วมันก็ถ่ายที่ญี่ปุ่นด้วย ซึ่งทำให้นึกถึงหนังเรื่อง UNDER THE BLANKET (2008) ของ Tossapol ที่ถ่ายที่ญี่ปุ่นเหมือนกัน

ฉากที่มีคนขี่จักรยานแล้วมีคนนั่งซ้อน (ไม่แน่ใจว่าใช่ Torres หรือเปล่า) แล้วกล้องก็เน้นถ่ายแต่การขี่นี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีเนื้อเรื่อง มีแต่บรรยากาศและอารมณ์ในขณะนั้น ทำให้นึกถึง Tossapol มากๆ และการที่ฉากนี้เน้นเสียงลมอย่างรุนแรง ก็ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง HEART AND SOUL (จิต และ ใจ) (2013, Teeranit Siangsanoh, 25min) ด้วย เพราะใน HEART AND SOUL มีฉากแบบนี้เหมือนกัน แต่เป็นการขี่มอเตอร์ไซค์ตอนกลางคืน

แต่ฉากที่ติดตามากที่สุดในหนังของ Torres เรื่องนี้ คือฉากที่เขาเอานิ้วมาปิดกล้องไปมา คือเหมือนกับใช้นิ้วในการปรับเปลี่ยน “กรอบภาพ” หน้ากล้องไปเรื่อยๆ เราว่าเป็นไอเดียที่น่ารักและสร้างสรรค์ดี

4.VERY SPECIFIC THINGS AT NIGHT (2009, A+10)

เหมือนเป็นหนังที่ไม่มีอะไรเลย เป็นแค่การจับภาพคนจุดพลุจุดประทัดในย่านๆนึงช่วงปีใหม่ แล้วตอนท้ายก็มีการจุดประทัดประเภทนึงที่มันเสียงดังมากๆเหมือนระเบิดอย่างสนั่นหวั่นไหว

แต่เราชอบตรงที่เราไม่รู้ว่าเราควรทำอารมณ์อะไรกับมัน 555 คือการที่หนังมันไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรกับเรา และไม่ได้ guide เราว่าเราควรรู้สึกยังไง เราก็เลยจดจ่อกับมันและครุ่นคิดกับมันมากกว่าปกติ คือหนังไม่ได้บอกว่า “นี่เป็นความยินดีที่ได้ฉลองปีใหม่” และหนังก็ไม่ได้บอกว่า “นี่เป็นกิจกรรมอันตรายที่ไม่ควรทำในช่วงปีใหม่” อะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้นการที่หนังเรื่องนี้นำเสนอภาพกิจกรรมธรรมดาอะไรอันนึง ออกมาในแบบกลางๆ และไม่บอกเราว่าฉากนี้มันต้องการบอกอะไรกับเรา หรือต้องการสร้างอารมณ์อะไรกับเรา มันก็เลยให้อิสระกับเรามากพอสมควรในระดับนึงในการรู้สึกกับมันในแบบที่เราต้องการ

แต่ในช่วง Q&A Torres ก็ให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะว่า จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ต้องการสื่ออะไรบ้าง แต่เราว่าการที่เขาไม่ได้ยัดเยียดข้อมูลเหล่านี้ (เรื่องนักการเมือง หรือเรื่องชื่อของประทัดที่เรียกว่า Judas Belt) เข้าไปในหนัง มันทำให้หนังมีอิสระดี คือเราก็รู้สึกชอบมันมากในระดับนึง โดยที่เราไม่จำเป็นต้องรู้ข้อมูลพวกนี้เลย แต่ผู้ชมที่เป็นคนฟิลิปปินส์ที่อาจจะรู้ข้อมูลพวกนี้ ก็สามารถชอบมันได้ด้วยเหตุผลที่แตกต่างออกไป

5.WE DON’T CARE FOR DEMOCRACY, THIS IS WHAT WE WANT: LOVE AND HOPE AND ITS MANY FACES (2010, A+30, second viewing)

ชอบอารมณ์ของคู่รักขณะพูดคุยกันที่เหมือนพวกเขาเพิ่งตื่นนอนกันจริงๆ มันดูเนือยๆดี แต่สิ่งที่ชอบมากคือการขึ้น text ช่วงท้ายเรื่อง ที่เป็นการบอกเล่าความคิดของผู้ชาย คือเราว่ากลวิธีแบบนี้เป็นสิ่งที่หนังทั่วๆไปพยายามหลีกเลี่ยงน่ะ คือหนังทั่วๆไปมักจะไม่สื่อความคิดของตัวละครออกมาตรงๆ และเราจะไม่ได้ยินเสียงความคิดของตัวละคร นอกจากในละครทีวียุคเก่าๆเท่านั้นที่ตัวละครคิดอะไร คนดูก็จะได้ยินเสียงความคิดของตัวละครออกมาตรงๆเลย มันเหมือนเป็น taboo อะไรสักอย่างว่า “ภาพยนตร์ที่ดี” ต้องไม่ทำแบบนี้

แต่ในช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ เราไม่ได้ยินเสียงความคิดของตัวละครนะ แต่เราได้เห็น text ขึ้นมาในลักษณะคล้ายๆ subtitle เพื่อบอกเล่าความคิดของตัวละครชายน่ะ ซึ่งเราว่ามันเป็นอะไรที่น่าสนใจดี มันเหมือนเป็นการไม่ทำตามกฎของภาพยนตร์ทั่วๆไป เพราะจริงๆแล้วกฎเหล่านั้นมันก็ไม่ใช่กฎตายตัวซักหน่อย การไม่ทำตามกฎอาจจะส่งผลให้เกิดอะไรที่น่าสนใจ หรืออะไรใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ขึ้นมาก็ได้

6.SILENT FILM (2011, A+25)

ชอบสไตล์ของหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ที่เป็นภาพฟิล์มเก่าๆ สั่นๆ เราว่ามันทรงพลังมากๆ ดูแล้วนึกถึงพวกหนังทดลองของยุโรปที่ชอบเอาฟิล์มเก่าๆมาเล่นอะไรบางอย่างแล้วก่อให้เกิดพลังอย่างรุนแรงขึ้นมา นึกถึงพวกผู้กำกับอย่าง Dietmar Brehm, Peter Tscherkassky, Peter Kubelka, Matthias Müller อะไรทำนองนี้

7.MUSE (2011, A+)

ดูแล้วนึกถึง TAWIDGUTOM ในแง่ที่ว่า มันเป็นหนังเชิงกวีที่พูดเร็วเกินไปจนเราจับอะไรไม่ทัน และถ้ามันพร่ำเพ้อไปเรื่อยๆแบบยาวๆมันอาจจะกลายเป็นหนัง Terrence Malick ได้

แต่มันก็มีหนังเชิงกวีแบบสั้นๆที่เราชอบสุดๆเหมือนกันนะ อย่างหนังเรื่อง HIGH KUKUS (1973, James Broughton, 3min, A+30) ที่เป็นการพูดบทกวีประกอบภาพเคลื่อนไหวน่ะ แต่ HIGH KUKUS มันพูดบทกวีในแบบที่เราคิดตามทันน่ะ และภาพมันก็ไม่ได้มีอะไรเคลื่อนไหวมากนัก สมองของเราก็เลยไม่ต้องประมวลภาพเคลื่อนไหวแบบเร็วๆ+ทำอารมณ์ตามบทกวีด้วยความรวดเร็วในเวลาเดียวกัน เราก็เลยกำซาบอารมณ์จาก HIGH KUKUS ได้อย่างรุนแรงสุดๆ ในขณะที่ MUSE ทั้งภาพและบทกวีมันมาเร็วไปเร็วเกินไปสำหรับสมองของเรา

แต่ก็ให้ A+ นะ เพราะชอบหนังเชิงกวีแบบนี้

8.MAPANG-AKIT (2011, 38min, A+30)

9.TODO TODO TEROS (2006, A+30)

10. YEARS WHEN I WAS A CHILD OUTSIDE (2008, second viewing, A+30)

11. REFRAINS HAPPEN LIKE REVOLUTIONS IN A SONG (2010, A+30)

12. LUKAS THE STRANGE (2013, A+30)


เรื่องอื่นๆอาจจะมาเขียนเพิ่มเติมในวันหลัง ถ้าหากเรายังมีชีวิตอยู่ และโชคชะตาเอื้ออำนวย

No comments: