BEATRIZ’S WAR (2013, Bety Reis + Luigi Acquisto, East Timor, A+30)
--ชอบมากกว่า THE RETURN OF MARTIN GUERRE
(1982, Daniel Vigne) และ SOMMERSBY (1993, Jon Amiel) ที่ใช้โครงเรื่องเดียวกัน เพราะในเวอร์ชั่นติมอร์ตะวันออกนี้ “ความรัก”
ถูกลดทอนความสำคัญลง แต่หนังไปให้น้ำหนักกับเรื่องสงครามระหว่างติมอร์ตะวันออกกับอินโดนีเซียแทน
และหนังมี passion มากๆกับการถ่ายทอดภาพสงครามนี้และความทุกข์ยากลำเค็ญของชาวติมอร์ตะวันออก
หนังมันก็เลยทรงพลังมาก และส่งผลให้เวอร์ชันติมอร์ตะวันออกชนะเวอร์ชั่นฝรั่งเศสและเวอร์ชั่นอเมริกันไปได้อย่างง่ายดาย
--สิ่งที่สำคัญในหนังเรื่องนี้ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างนางเอก กับ “ผู้ชายที่กลับมาจากสงคราม
ซึ่งอาจจะเป็นผัวของเธอ หรือผู้ชายคนอื่นปลอมตัวมา”
แต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างนางเอก กับพี่สะใภ้
ซึ่งทั้งสองต่างก็รับมือกับสงครามด้วยวิธีการต่างๆกันไป
และต่างก็กล่าวโทษอีกฝ่ายหนึ่งว่าใช้วิธีการที่ผิดพลาดในการรับมือกับสงคราม
ฉากที่นางเอกทะเลาะกับพี่สะใภ้นั้นทรงพลังมากๆในแง่ของบทสนทนา
คือแต่ละประโยคที่ผู้หญิงสองคนนี้โต้ตอบกันนั้นมันเจ๋งเป้งมากๆ
คือมันไม่ใช่การด่าทอของผู้หญิงสองคนประเภท หญิง A ด่าว่า “อีจี๋ดอกมะลิ”
แล้วหญิง B ด่ากลับว่า “อีปิ๊ดอกทอง” หรืออะไรทำนองนี้
แต่มันเป็นการปะทะกันของแนวคิดที่แตกต่างกันในการรับมือกับสงคราม
คือปกติแล้วเราจะเห็นการปะทะกันของขั้วความคิดแบบนี้ในฉากที่ “ปัญญาชน”
หรือ “ผู้ก่อการร้าย” ทะเลาะกันในหนังอย่าง THE UGLY ONE (2013, Eric Baudelaire, A+30) น่ะ แต่พอการปะทะกันของขั้วความคิดนี้มันมาอยู่ในฉากที่ “นางเอกทะเลาะกับพี่สะใภ้”
มันก็เลยเกิดความน่าสนใจดี คือตัวละครมันเอื้อให้เกิดฉากแบบเมโลดราม่า
แต่ตัวละครมันกลับทะเลาะกันในประเด็นที่จริงจังและ thought provoking มากๆแทน อย่างเช่นประเด็นที่ว่า เราควรแก้แค้นหรือไม่ เราควรแก้แค้นในระดับไหน
มันจะเป็นการทำลายสันติภาพหรือไม่ เราต้องยอมถูกข่มขืนเพื่อแลกกับสันติภาพหรือไม่
เราผิดหรือไม่ที่ไม่ฆ่าผู้ร้าย แล้วปล่อยให้มันรอดชีวิต
แล้วมันก็เลยกลับมาฆ่าครอบครัวเราในภายหลัง, etc. การที่นางเอกกับพี่สะใภ้ด่าทอกันด้วยประเด็น
dilemma ที่มันน่าสนใจสุดๆแบบนี้มันก็เลยทำให้ฉากนี้น่าสนใจมากๆ
--ในแง่ production แล้ว
หนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงหนังสั้นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขาที่มีคุณ Supamok
Silarak เข้าไปช่วยเหลือน่ะ คือมันเป็นหนังทุนต่ำ
แต่ถ่ายทำอย่างประณีตสุดๆ ช็อตแต่ละช็อตได้รับการออกแบบมาอย่างดีมาก
บทสนทนาแต่ละประโยคได้รับการออกแบบมาอย่างดีมาก และเนื้อเรื่องก็รันทด สะเทือนใจ
และทรงพลังมากๆ เพราะมันเล่าโดยคนที่เผชิญกับความทุกข์ยากลำเค็ญมาจริงๆ แต่เล่ามันออกมาโดยไม่มีความฟูมฟายเลย
คือถึงแม้ว่าหนังเรื่องนี้จะดูเหมือนหนังทุนต่ำ
แต่เราว่ามันถ่ายภาพออกมาได้สวยแบบทุนต่ำดีมากๆนะ ฉากหลายๆฉากมันดูโล่งๆ
เหมือนไม่ค่อยมีสิ่งของอะไรมาประกอบฉากมากนัก
แต่มันเหมือนได้รับการออกแบบเฟรมภาพมาอย่างดี ฉากที่ทหารค่อยๆถูกยิงตายทีละคนกลางชายหาดนี่ทรงพลังมากๆ
และอีกฉากที่ทรงพลังมากๆคือฉากที่ตัวละครสองคนคุยกันท่ามกลางความมืด
คือเราเห็นแต่หน้าตัวละครสองคนลอยอยู่ท่ามกลางความมืด กับแสงตะเกียง
แต่ไม่เห็นอุปกรณ์ประกอบฉากอะไรเลยในฉากนั้น
คือฉากนี้แทบไม่ต้องใช้ทุนสร้างอะไรเลย แต่กลับถ่ายออกมาได้สวยและทรงพลังสุดๆ
แต่สิ่งหนึ่งที่อาจจะแตกต่างจากหนังชาวเขาของไทยก็คือ
เราเดาว่านางเอกหนังเรื่องนี้น่าจะเป็นนักแสดงมืออาชีพน่ะ
คือเธอแสดงได้อย่างเข้มข้น ทรงพลัง รุนแรงมากๆ ดูแล้วจะนึกถึงคุณจารุนันท์
พันธชาติตลอดเวลา คือถ้าหากหนังเรื่องนี้เป็นหนังไทย ก็คงต้องใช้นักแสดงที่มีฝีมือจริงๆระดับคุณจารุนันท์เท่านั้นแหละ
ถึงจะสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกและ passion ที่รุนแรงพลุ่งพล่านๆมากๆออกมาแบบนี้ได้
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
--อีกอย่างที่ทรงพลังมากๆก็คือประโยคที่ตัวละครพูด ที่ออกมาในทำนองที่ว่า
“ถึงฉันจะรักเธอมากแค่ไหน ความยุติธรรมก็สำคัญกว่า” ซึ่งเราเห็นด้วยมากๆ
คือถึงแม้เราจะรักใครมากแค่ไหน แต่ถ้าหากเขาทำผิด หรือเป็นฆาตกรที่เคยฆ่าคนบริสุทธิ์
เราก็จะไม่ใช้ความรักของเขาเป็นข้ออ้างในการช่วยให้เขาพ้นผิด หรือไม่ต้องรับโทษ
เพราะความยุติธรรมสำคัญกว่าความรักในกรณีนี้
No comments:
Post a Comment