Thursday, February 18, 2016

CROCODILE (1980, Peerasit, A+10)

CROCODILE (1980, Peerasit, A+10)
จระเข้ (พีระศิษฐ์)

--มานพ อัศวเทพ ตอนหนุ่มๆล่ำบึ้กมาก อยากได้

--ฉากเปิดช่วง 5 นาทีแรกนี่คลาสสิคมากๆ ชอบฉากเปิดในระดับ A+30

--ดู “จระเข้” แล้วทำให้คิดได้ว่า บางทีหนังเกี่ยวกับสัตว์ร้ายอย่าง JAWS, PIRANHA, ANACONDA กับนิยายปรัชญาอย่าง MOBY DICK อาจจะไม่ได้ห่างจากกันมากเท่าไหร่ 555 มันขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการนำเสนออะไรภายใต้สถานการณ์เดียวกัน นั่นก็คือสถานการณ์ของคนที่มุ่งมั่นที่จะตามล่าสัตว์ร้ายอะไรสักตัว เราต้องการนำเสนอ “เหตุการณ์ข้างนอกตัวละคร” หรือ “ความคิดข้างในตัวละคร” เราต้องการจะนำเสนอ “วิธีการเอาชีวิตรอดของตัวละคร” หรือเราต้องการจะตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิต

คือมันมี moment ที่เราชอบสุดๆอีก moment นึงในหนังเรื่องนี้น่ะ นั่นก็คือ moment ที่หนุ่มหล่อ 4 คนอยู่บนเรือลำเดียวกัน แล้วก็รอจระเข้ไปเรื่อยๆ กล้องจับภาพกิจวัตรของพวกเขาบนเรือ กิจวัตรอย่างเช่น ตระเตรียมอาวุธ ใช้กล้องส่องทางไกล งีบหลับ กินเหล้า มองท้องฟ้า มองท้องทะเล เราเห็นพวกเขาโดยมี background เป็นท้องฟ้าและท้องทะเลที่งดงามมากๆอยู่หลายวินาที

คือถ้าหากเป็นหนังระทึกขวัญเกี่ยวกับสัตว์ร้ายทั่วไป ผู้สร้างมักจะนำเสนอแต่ “เหตุการณ์ข้างนอก” น่ะ นำเสนอว่า เกิดอะไรขึ้น และตัวละครทำอะไร ตัวละครต้องใช้ไหวพริบปฏิภาณอย่างไรในการเอาตัวรอด ผู้สร้างหนังที่เก่งจะสามารถคิดสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยเหตุการณ์ลุ้นระทึกต่างๆมากมาย แต่เรารู้สึกว่า หนังกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักจะไม่ให้ความสำคัญกับช่วงเวลาของ “การรอคอย” มากเท่ากับในหนังเรื่องนี้

พอเราได้เห็น moment ของการรอคอยที่เรารู้สึกว่ามันงดงามมากๆใน “จระเข้” เราก็เลยจินตนาการว่า จริงๆแล้วภายใต้สถานการณ์ของหนัง “ทริลเลอร์-สัตว์ร้าย” นี้ เราสามารถพลิกมันไปเป็นหนังอาร์ทได้สบายๆเลย คือช่วงเวลาของ “การรอคอย” นี้ มันกินเวลานานประมาณ 1 วันตามท้องเรื่อง  เพราะฉะนั้น

1.ถ้าหากเราต้องการสร้างหนังทริลเลอร์ปกติ เราก็จะข้ามช่วงเวลานี้ไป เราอาจจะนำเสนอมันเพียงแค่ 1 นาทีเท่านั้น เพื่อรีบพาผู้ชมเข้าสู่สถานการณ์ลุ้นระทึกลำดับถัดไปโดยเร็วที่สุด

2.แต่ถ้าหากเราไม่ต้องการสร้างหนังทริลเลอร์ปกติ เราก็อาจจะหันมาโฟกัสที่ช่วงเวลาของการรอคอยนี้ก็ได้ แทนที่จะโฟกัสไปที่ moment ที่สัตว์ร้ายโผล่ออกมา ถ้าหากเรานำเสนอการรอคอยแบบ objective ไม่เร้าอารมณ์อะไรเลย ให้กล้องเฝ้าสังเกตมนุษย์ขณะรอคอยไปเรื่อยๆ เราก็อาจจะได้หนังอย่าง RUHR (2009, James Benning) หรือหนังอย่าง Lav Diaz

3.แต่ถ้าหากเราให้ตัวละครหนุ่มหล่อ 4 คนนี้ ถกปรัชญาชีวิตกันอย่างรุนแรงในช่วง 1 วันขณะที่รอคอยสัตว์ร้ายที่ตัวเองหวังจะฆ่า เราก็อาจจะได้อะไรที่ใกล้เคียงกับ MOBY DICK ก็ได้ 555


4.หรือไม่เราก็โฟกัสไปที่ความหล่อล่ำหำตึงของหนุ่มหล่อ 4 คนนี้ ขณะทำกิจวัตรประจำวันต่างๆขณะที่รอคอย แล้วเราก็อาจจะได้หนังอย่าง BEAU TRAVAIL (1999, Claire Denis)

No comments: