IT ALL BEGAN WHEN I MET YOU (2013, Katsuhide Motoki, Japan, B+ )
ฉันรับหนังคริสต์มาสอะไรแบบนี้ไม่ได้
หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของคนหลายๆคนในช่วงเทศกาลคริสต์มาส แต่ในบรรดาเรื่องราวมากมายในหนังเรื่องนี้
เรารับได้อยู่เรื่องเดียวเท่านั้น ซึ่งก็คือเรื่องของหญิงชราที่ถูกผัวทิ้งเมื่อ 49
ปีก่อน แต่เธอยังคงครองตัวเป็นโสดมาตลอด 49 ปี
ถึงแม้ว่าเธอจะไม่ได้เจอผัวของเธออีกเลย
อันนี้เป็นรูปของ Masahiro Higashide หนึ่งในนักแสดงในหนังเรื่องนี้
เขาเคยเล่นเรื่อง PARASYTE PART 1 (2014, Takashi Yamazaki) ด้วย
POISON BERRY IN MY BRAIN (2015, Yuichi Sato, Japan, A+30)
ติดอันดับประจำปีเราแน่นอน เพราะดูแล้วนึกถึงตัวเองมากๆ หนังมีเนื้อหาคล้ายๆ
INSIDE OUT (2015, Pete Docter +
Ronnie del Carmen) แต่เราชอบมากกว่า INSIDE OUT หลายเท่า เพราะเราชอบ INSIDE OUT ที่ “ไอเดีย”
แต่ปัญหาของตัวละครเด็กใน INSIDE OUT เป็นปัญหาที่ห่างไกลจากชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบัน
ส่วนปัญหาของนางเอกหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้ใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันของเรามากกว่าเยอะ
อย่างเช่น เมื่อเราเห็นผู้ชายหล่อๆ ตามท้องถนนแล้วเราเกิดเงี่ยนขึ้นมา ในหัวสมองของเราจะมีการประชุมกันของ
“บุคลิกภาพ” ต่างๆขึ้นมาทันที
บุคลิกภาพนึงอาจจะแนะนำให้เราเสยหีใส่ผู้ชายคนนั้นในทันที
ส่วนอีกบุคลิกภาพนึงอาจจะทัดทานไว้ โดยพยายามอ้างเหตุผลต่างๆนานามาหว่านล้อมเราให้อยู่เฉยๆ
อีกจุดที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้สุดๆคือนางเอกหนังเรื่องนี้มันมี “จุดอ่อน”
คล้ายๆกับเราด้วยแหละ นั่นก็คือเราเป็นคนที่มีแนวโน้มจะ “อยู่นิ่งเฉย”
ทำอะไรไม่ถูก ยืนบื้อๆโง่ๆ ในจังหวะเวลาที่ในตอนนั้นเราไม่ควรอยู่นิ่งเฉย
แต่ควรจะลุกขึ้นมาแก้ปัญหาในทันที อย่างเช่นในตอนที่มีการฉายหนังเรื่อง THE SUFFRAGETTE (1913, Urban Gad) ที่ห้องสมุดมหาลัยธรรมศาสตร์ แล้วเสียงในหนังมันหายไปตอนกลางเรื่อง
ตอนนั้นเราก็นั่งเฉยจนหนังจบเรื่อง แทนที่จะลุกขึ้นมาแก้ปัญหาในทันที
จริงๆแล้วจุดนี้มันเป็นจุดที่ทำให้เราชอบ THE VISIT (2015, M. Night
Shyamalan) อย่างสุดๆด้วยนะ เพราะตัวละครเด็กชายใน THE VISIT
ก็ประสบปัญหา “ยืนนิ่งเฉย” ในจังหวะเวลาที่ควรจะกระทำการบางอย่างเช่นกัน
ช่วงท้ายๆของ POISON BERRY IN MY BRAIN นี่แทบร้องไห้
เพราะมันตรงกับแนวคิดในการใช้ชีวิตของตัวเองมากๆ
อันนี้เป็นรูปของ Hidetoshi Nishijima ที่รับบทเป็น “ประธาน”
การประชุมในหัวสมองของนางเอก เราเคยคลั่งไคล้เขาอย่างสุดๆตอนที่เขาเล่นหนังเรื่อง 2/DUO
(1997, Nobuhiro Suwa, A+30)
BE SURE TO SHARE (2009, Sion Sono, Japan, A+25)
การได้คุยกับตี้ ชญานินหลังหนังเรื่องนี้จบ
ทำให้ระดับความชอบของเราที่มีต่อหนังเรื่องนี้พุ่งพรวดขึ้นจาก A- มาเป็น
A+25 ในทันที เพราะในตอนแรกนั้นเราชอบหนังเรื่องนี้น้อยมาก
เพราะเรามองว่าเป็นหนังซึ้งๆเกี่ยวกับครอบครัวญี่ปุ่นที่เราไม่มีอารมณ์ร่วมด้วยเลย
ดูแล้วไม่ซึ้งเลย ดูแล้วรู้สึกอยากได้คนขับรถเมล์ในเรื่องนี้เป็นผัวมากๆ จบ
แต่พอได้คุยกับตี้ แล้วมันทำให้เราเกิดมุมมองใหม่ขึ้นมาว่า
จริงๆแล้วมันอาจจะเป็นหนัง satire หรือ parody “หนังแนวครอบครัวซึ้งๆของญี่ปุ่น” ต่างหาก คือถ้าหากเรามองว่าหนังเรื่องนี้เป็น
parody ปุ๊บ ทุกอย่างในหนังมันก็จะลงล็อคขึ้นมาทันที
แล้วมันฮามากๆ อะไรต่างๆที่มันใส่เข้ามาในหนังเรื่องนี้นี่มันล้อเลียนขนบหนังซึ้งๆได้อย่างจัญไรถึงที่สุดจริงๆ
LOVE & PEACE (2015, Sion Sono, Japan, A+30)
หนังไปสุดทางของมันจริงๆ เราว่าหนังเรื่องนี้มันมีความสนุกในตัวของมันเองด้วย
และในแง่นึงเราว่ามันดีในแง่ความเป็น parody “หนังกลุ่ม loser” และ “หนังกลุ่มคริสต์มาส” ด้วย
No comments:
Post a Comment