LATE SPRING (1949, Yasujiro Ozu, A+25)fee
1.ถ้าอยากรู้ว่าหนังเรื่องนี้ดีงามอย่างไร
จงอ่านสิ่งที่คนอื่นๆเขียน อย่าอ่านสิ่งที่เราเขียน เพราะเราไม่ต้องการจะเขียนถึงความดีงามของหนัง
เราแค่ต้องการจะบันทึกความรู้สึกส่วนตัวของเราที่มีต่อหนังเรื่องนี้และหนังเรื่องอื่นๆเท่านั้น
และความรู้สึกของเราที่มีต่อ LATE SPRING ก็คือว่า “เราไม่อินกับมันเลยแม้แต่นิดเดียว”
ถึงแม้เราจะชอบ form ของหนังอย่างสุดๆก็ตาม
ซึ่งนี่คือความรู้สึกของเราที่มีต่อหนังของ Ozu อีกหลายๆเรื่องด้วยเช่นกัน
2. LATE SPRING เป็นหนังของ Ozu เรื่องที่
5 ที่เราได้ดู และปรากฏว่าเราชอบหนังของ Ozu แค่ในระดับ A+30 เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ EARLY SPRING (1956) ส่วน I WAS BORN, BUT ... (1932), LATE AUTUMN (1960) และ AN AUTUMN AFTERNOON (1962) นั้น
เป็นหนังที่เราไม่ได้ชอบสุดๆ เพราะเรารู้สึกว่า “เราไม่ได้ถูกนับรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในจักรวาลของหนังเรื่องนั้น”
น่ะ หรือถ้าพูดง่ายๆก็คือว่า มันเป็นหนังที่ถ่ายทอด “เรื่องของคนอื่น”
ออกมาได้อย่างดีงามสุดๆ แต่มันไม่ได้ถ่ายทอดเรื่องของเรา
แต่เราไม่ได้มองว่ามันเป็นสิ่งผิดนะ ที่หนังเรื่องไหน “ไม่ได้นับเราเข้าเป็นส่วนหนึ่งในจักรวาลของหนังเรื่องนั้น”
น่ะ เพราะมันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว
ที่หนังแต่ละเรื่องจะสามารถถ่ายทอดคนทุกประเภทบนโลกนี้ได้ หนังแต่ละเรื่องมันก็ต้องเลือกอยู่แล้วล่ะว่าจะถ่ายทอดคนประเภทไหนเป็นหลัก
เพราะฉะนั้นหนังทุกเรื่องบนโลกนี้มันต้อง exclude คนบางจำพวกบนโลกนี้ออกไปเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
มันไม่ใช่เรื่องผิดเลยแม้แต่นิดเดียว
เพียงแต่ว่า “ระดับความชอบ” ของเราที่มีต่อหนังแต่ละเรื่อง
มันขึ้นอยู่กับปัจจัยนี้เป็นหลักน่ะ ว่าจักรวาลของหนังเรื่องนั้น มัน “เล่าเรื่องของคนอื่น”
หรือ “เล่าเรื่องของเรา” มัน “เข้าอกเข้าใจคนอื่น” หรือ “เข้าอกเข้าใจเรา” หรือ “ศูนย์กลางของหนังเรื่องนั้นเป็นคนที่มีธาตุใกล้เคียงกับเราหรือเปล่า”
เพราะฉะนั้นเราก็เลยไม่ได้ชอบหนังของโอสุส่วนใหญ่
เพราะมันเป็นหนังที่เข้าอกเข้าใจคนอื่น แต่ไม่ได้เข้าอกเข้าใจเรา
ส่วนหนังที่ “มีเราเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลในหนังเรื่องนั้น” ก็คือหนังอย่างเช่น
BAISE-MOI (2000, Virginie Despents
+ Coralie Trinh Thi), MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg) และแม้แต่หนังอย่าง
FATHER & SON (2015, Sarawut Intaraprom) น่ะ
เพราะฉะนั้นหนังที่ “ดีสุดๆ” อย่าง LATE SPRING จึงไม่มีวันที่จะติดอันดับประจำปีของเรา
แต่หนังที่ “ห่วยสุดๆ” อย่าง FATHER & SON จึงติดอันดับประจำปีของเรา
3.จริงๆแล้ว Setsuko Hara ไม่ใช่ดาราคนโปรดของเราเลยนะ
เราไม่ชอบขี้หน้าเธอด้วยซ้ำ เพราะเราชอบตัวละครหญิงที่ “เงี่ยนผู้ชาย” และ “มีความสามารถในการฆ่าคน”
น่ะ (นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไม BAISE-MOI จึงเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบมากที่สุดในชีวิต)
และเรารู้สึกว่าตัวละครที่ Setsuko Hara เล่นในหนังหลายๆเรื่อง
เป็นตัวละครที่ไม่ค่อยเงี่ยนผู้ชาย และแทบไม่มีความสามารถในการฆ่าคนน่ะ
โดยเฉพาะในหนังของโอสุ
แต่เราก็ชอบ Setsuko Hara ใน
THE IDIOT (1951, Akira Kurosawa) มากที่สุดนะ เราจำรายละเอียดบทของเธอในหนังเรื่องนั้นไม่ได้แล้ว
แต่รู้สึกว่าบทของเธอในหนังเรื่องนั้นจะเข้าทางเรามากที่สุด
4.แต่เราก็ชอบฉากนึงใน LATE SPRING อย่างสุดๆนะ
และเราว่าฉากนี้ใช้อธิบายได้ดีด้วยแหละว่าทำไมเราถึงชอบ form ในหนังของโอสุอย่างสุดๆ
แต่เรารู้สึกว่าเราไม่ได้ถูกนับรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในจักรวาลในหนังของโอสุ
มันคือฉากที่นางเอกกับพ่อไปดูละคร Noh ด้วยกันน่ะ
เราชอบมากๆที่
4.1 หนังถ่ายละคร Noh ออกมายาวมากๆๆๆๆ
ทั้งที่มันไม่ช่วยในการดำเนินเรื่องเลย เราชอบอะไรแบบนี้มากๆ
4.2
หนังนำเสนออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครในฉากนั้นออกมาได้อย่างละเอียดอ่อนงดงามสุดๆ
โดยไม่ต้องอาศัยบทพูดเลย
อาศัยแค่นัยน์ตาของนางเอกขณะเหลือบมองพ่อและผู้หญิงอีกคนนึงเท่านั้น
แต่เรารู้สึกได้ในทันทีว่า
นางเอกของหนังเรื่องนี้เป็นคนที่มีธาตุตรงข้ามกับเราอย่างรุนแรงที่สุด
เพราะเราจำได้ว่า ในช็อตแรกที่หนังแสดงให้เห็น “ผู้หญิงที่นั่งอีกฝั่งนึง” นั้น
มันมีผู้ชายหนุ่มหล่อคนนึงนั่งติดกับผู้หญิงคนนั้นด้วย แต่พอช็อตต่อๆมา
หนังก็โฟกัสไปที่ตัวผู้หญิงคนนั้นเพียงคนเดียว
และผู้ชายหนุ่มหล่อที่นั่งติดผู้หญิงคนนั้นก็ตกเฟรมภาพไป
แล้วถ้าหากหนังเรื่องนี้มีเราเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล ช็อตนี้มันจะออกมาเป็นอย่างไร
ช็อตนี้มันก็จะเป็น Setsuko Hara เหลือบมองหนุ่มหล่อที่นั่งอีกฝั่งนึงเป็นระยะๆ
พร้อมกับจินตนาการไปด้วยว่า ถ้าหากเธอได้อมจู๋ของเขา เธอจะมีความสุขสักเพียงไหน
สรุปสั้นๆว่า LATE SPRING, หนังของโอสุส่วนใหญ่ หรือแม้แต่หนังฮอลลีวู้ดอย่าง
THE INTERN (2015, Nancy Meyers) คือหนังที่สร้างขึ้นมาเพื่อคนอื่นๆ
ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อเรา และมันเป็นเรื่องธรรมดา
อันนี้คือรูปของ Gary Cooper
No comments:
Post a Comment