Thursday, April 03, 2025

AN IMAGINARY FILM ABOUT AN ORGANIZATION IN THAILAND

 

‘Cause I am your teddy

And you are my man

Sometimes I am frightened, but I'm ready to learn
About the power of love

 

วันนี้กิน PIZZA ICE CREAM PEPPERONI ตัวไอศกรีมจริง ๆ แล้วคือชีส (ถ้าเข้าใจไม่ผิด)

 

IMAGINARY FILM WISH LIST

 

อยากให้มีคนสร้างหนังที่นำกรณีต่าง ๆ เกี่ยวกับบางหน่วยงานในประเทศไทย มาดัดแปลงให้เป็น fiction ที่ exaggerate เหตุการณ์หลายเหตุการณ์ให้เกินจริง และร้อยเรียงหลายๆ เหตุการณ์เข้าด้วยกัน ออกมาเป็นหนังแนว THE PHANTOM OF LIBERTY (1974, Luis Bunuel) ที่เต็มไปด้วยฉากต่าง ๆ อย่างเช่น จนท.บ้านเมืองที่สนับสนุนให้โรคพิษสุนัขบ้าแพร่ระบาด มีแต่สุนัขบ้า แมวบ้า วิ่งไล่พล่านกัดคนไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง, ฉากครูดอยที่ทำดีแต่โดนสั่งให้ออกจากราชการ, ฉากบรรณารักษ์ถูกสั่งห้ามใช้เงินซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด ฯลฯ และเป็นหนังแนว Kafkaesque ด้วย โดยต้องมีตัวละครบางตัวที่นั่งทำเอกสารมากมายเป็นเวลายาวนาน และต้องเจอขั้นตอนเหี้ยห่าต่าง ๆ ในการแก้ไขเศษสตางค์ให้ตรงตามที่จนท.ต้องการ อะไรทำนองนี้

 

ช่วงท้ายของหนังออกมาเป็น MURDER ON THE THAI EXPRESS มีตัวละครจนท.คนหนึ่งถูกฆ่าตายบนรถไฟ และบนรถไฟคันนั้นก็เต็มไปด้วยข้าราชการจากหลายหน่วยงานในไทย รถไฟขบวนนี้มีผู้ต้องสงสัยมากมายหลายสิบคน

++++++++

 

เทศกาลภาพยนตร์ Udine ประกาศรายชื่อหนังที่จะได้ฉายในปีนี้แล้ว อยากให้หนังหลายๆ เรื่องในเทศกาลนี้ได้รับการจัดจำหน่ายในไทยมาก ๆ ค่ายหนังต่าง ๆ ช่วยไปกว้านซื้อหนังในเทศกาลนี้มาฉายกันด้วยนะคะ

 

ดีใจสุดขีดที่ BETTING WITH GHOST ผีพารวย (2024, Nguyen Nhat Trung, Vietnam, A+30) กับ THE WOMAN IN UNIT 23B (2016, Prime Cruz, Philiippines, A+30) ได้เข้าฉายในเทศกาลนี้ด้วย เพราะเราชอบหนังทั้งสองเรื่องนี้อย่างรุนแรงมาก ๆ  BETTING WITH GHOST เพิ่งเข้าฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศไทยในปีที่แล้ว ส่วน  THE WOMAN IN UNIT 23B เคยเข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ Cinema Oasis ในกรุงเทพ

 

ดูรายชื่อหนังในเทศกาลภาพยนตร์ Udine ได้ที่

https://www.fareastfilm.com/archivi/FEFJ/files/2025/All%20The%20Films%20at%20A%20Glance%20FEFF%202025.pdf

 

 

 

Wednesday, April 02, 2025

KIM ASENDORF

 

MONOGRID (2021, Kim Asendorf, Germany, video installations, A+30)

 

ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1

 

PXL DEX (2025, Kim Asendorf, Germany, video installations)

 

ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1 งานวิดีโอชิ้นนี้เรายืนดูแค่ราว ๆ 1 นาที เพราะอากาศมันร้อน 55555 เราก็เลยไม่ได้ยืนดูนาน ๆ

 

ALTERNATE (2023, Kim Asendorf, Germany, video installations, A+30)

 

ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1 ตัวงานจริงสวยมาก ๆ แต่เราไม่ได้เข้าไปถ่ายรูปใกล้ ๆ

 

SABOTAGE (2022, Kim Asendorf, Germany, video installations, A+30)

 

ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1 เราได้ยืนดูงานนี้เป็นเวลาแค่ราว 30 นาที ประทับใจสุดขีดมาก ๆ ไม่นึกมาก่อนว่า computer art จะออกมาเป็นอะไรที่งดงามแบบนี้ได้

 

ตอนช่วง 1-2 นาทีแรกที่เรายืนดูงานของเขา เรามองว่า มันก็ไม่ต่างอะไรจากมิวสิควิดีโอเพลงแดนซ์เทคโนที่เราได้ดูในทศวรรษ 1990 ที่ชอบเอาคอมพิวเตอร์มาสร้างภาพ animation ยึกยือไปเรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่น music video เพลง CASCADE (1993) ของวง The Future Sound of London

https://www.youtube.com/watch?v=WVRAPIXzb1o

 

แต่พอยืนดูงานของเขาไปเรื่อย ๆ เป็นเวลานานระยะหนึ่ง เราก็เปลี่ยนความคิด และมองว่ามันเป็นอะไรที่งดงามสุดขีดมาก เป็นความงดงามพิลาสพิไลในแบบของตัวเองจริง ๆ

 

เหมือนงานของเขาเป็น digital version ของหนังทดลองอย่าง THE DANTE QUARTET (1987, Stan Brakhage, A+30) ที่เป็นการเอาภาพแอบสแตรคท์สีสันสวยงามมาก ๆ มาเรียงร้อยต่อกันไปเรื่อย ๆ

 

รู้สึกว่า concept ในการสร้างงานของเขา มันทำให้นึกถึงองค์ประกอบบางอย่างในนิยายและภาพยนตร์ของ Alain Robbe-Grillet และภาพยนตร์ของ Peter Greenaway ด้วย แต่บอกไม่ถูกเหมือนกันว่า มันคืออะไรกันแน่

 

เราได้ยืนฟังสิ่งที่คุณ Kim Asendorf พูดในงานแค่แป๊บเดียว และเราก็ฟังไม่ออกทั้งหมดว่าเขาพูดว่าอะไรบ้าง แต่ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด

 

1. เหมือนเขาไม่แคร์ว่าคนจะจัดประเภทงานของเขาว่าเป็นศิลปะประเภทอะไร เขามองว่ามันเป็น digital art มั้ง ส่วนเราอาจจะมองว่า งานของเขาจัดเป็น computer art, generative art, abstract art, conceptual art หรืออะไรก็ได้ แล้วพองานของเขาถูกจัดแสดงในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวแบบนี้ เราก็เลยแอบจัดให้งานของเขาที่เราได้ดูที่สถาบันเกอเธ่ ถือเป็น video installations ได้ด้วย 55555

 

2.เขามองว่า computer games ถือเป็นศิลปะประเภทหนึ่ง

 

3. เหมือนเขามองว่าผลงานศิลปะ CANNOT BE EXPLAINED ซึ่งเราก็ชอบจุดนี้ในผลงานของเขาอย่างรุนแรงมาก

 

4. เขาบอกว่า ถ้าหากตอนนี้เขายังเป็นนักศึกษามหาลัย เขาก็คงจะสนใจ AI และพยายามสร้าง AI art ออกมา แต่ตอนนี้เขาแก่แล้ว เขาก็เลยไม่มีเวลาศึกษา AI

 

เราเข้าใจเอาเองว่า เขาคงศึกษาเรื่องการเขียน code เรื่องการสร้าง computer software เพื่อสร้างงานศิลปะในแบบของตัวเขาเองมาเป็นเวลานาน 20 ปีแล้ว เขาก็เลยขี้เกียจมาศึกษาเรื่อง AI ต่อ

 

เราเข้าใจว่า เขาไม่ต่อต้าน AI art แต่ตัวเขาเองขี้เกียจที่จะมาเริ่มต้นศึกษาเรื่องการใช้ AI เป็น tool ในการสร้างงานศิลปะในตอนนี้ เพราะฉะนั้นเขาก็จะยังคงสร้างงานศิลปะด้วยการเขียน code เขียน program ด้วยตัวเองต่อไป แทนที่จะให้ AI เขียนให้

 

แต่เขาสนใจเรื่อง blockchain มาก ๆ ซึ่งเราไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย

 

5. เขาใช้ gut feeling ในการตัดสินใจว่างานศิลปะแต่ละชิ้นที่ทำอยู่ เสร็จแล้วหรือไม่ พร้อมแล้วหรือไม่ ถ้าหาก gut feeling บอกว่ามันเสร็จแล้ว ก็เท่ากับว่ามันดีพอแล้วสำหรับเขา โดยเขาไม่แคร์ว่ามันจะดีพอสำหรับคนอื่น ๆ หรือไม่ก็ตาม

 

ถ้าหากเราฟังผิดหรือเข้าใจอะไรผิดไป ก็ comment มาได้นะคะ

+++

 

วันนี้เราได้มาดูหนังที่ห้าง “บิ๊กซี บางพลี” เป็นครั้งที่สองในชีวิตการแสดงค่ะ หลังจากที่เราเคยมาเยือนห้างนี้เป็นครั้งแรกในวันที่ 19 มี.ค. 2024 เพื่อดูหนังเรื่อง PHUPHAN SOBBED ภูพานสะอื้น (2024, Prommee Deekoat, Parinya Baopetch, Suchart Pudjantueg, C+ )

 

โดยในการมาเยือนเป็นครั้งที่สองนี้ เราได้ดูหนังเรื่อง “มิสเก๋” หรือ THE HAUNTED APARTMENT ผีนรก 610 (2024, Guntur Soeharjanto, Indonesia, 103min, A+15) กับหนังเรื่อง THE LEGEND OF PHI TAKHON MASK ตำนานหน้ากากผีตาโขน (2025, Tang Stuntman แต่ง สตั้นแมน, 104min, C ) ค่ะ

 

ซึ่งก็เป็นเรื่องบังเอิญสุดขีดมาก ๆ ที่เราได้ดูหนังสองเรื่องนี้ต่อกัน แล้วก็พบว่า หนังสองเรื่องนี้ มันพูดถึง “หน้ากากที่มีอัญมณีสีแดงตรงกลางหน้าผาก” เหมือนกันทั้งสองเรื่องเลย

 

ในส่วนของหนังเรื่อง THE HAUNTED APARTMENT นั้น เรารู้สึกว่าหนังมันมี “ความปัญญาอ่อน” อยู่ แต่มันเป็นความปัญญาอ่อนในแบบที่เรามักพบได้ในหนังผีทั่วไป และเป็นสิ่งที่เราคาดเดาไว้แล้ว เพราะฉะนั้น “ความปัญญาอ่อนที่กูคาดไว้แล้วว่าต้องเจอในหนังทำนองนี้” ก็เลยไม่ได้ลดทอนความสุขในการดูหนังของเรามากนัก 55555

 

ส่วน “ตำนานหน้ากากผีตาโขน” นั้น เราพบว่าหนังค่อนข้างน่าเบื่อสำหรับเรา คือหนังมันอาจจะมีไอเดียอะไรน่าสนใจอยู่บ้าง อย่างเช่น การนำเอาเรื่องตำนานอภินิหารกับ “หนังบู๊” มาผสมกัน แต่เนื่องจากเราไม่ใช่แฟนหนังบู๊อยู่แล้ว จุดแข็งของหนังเรื่องนี้ อย่างเช่น ฉากบู๊ ก็เลยไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้มากขึ้น

 

แต่ไอเดียหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือการให้ตัวละครพระเอกต้องใส่หน้ากากตลอดเวลาในฉากบู๊ ซึ่งไอเดียดังกล่าวเปิดโอกาสให้ “stuntman” สามารถแสดงแทนพระเอกได้ตลอดฉากบู๊ พระเอกไม่ต้องเล่นเองเลยก็ได้ในฉากบู๊ เพราะตัวละครพระเอกใส่หน้ากากตลอดเวลาในฉากดังกล่าว

 

การสร้างฉากบู๊แบบนี้ ก็เลยทำให้เรานึกถึงละครโทรทัศน์เรื่อง “ศึกชิงเจ้ายุทธจักร” หรือ THE WATER LEGEND (1980) ที่เราชอบสุดขีด เพราะในละครทีวีฮ่องกงเรื่องนี้ มีตัวละครนำตัวหนึ่งที่แสดงโดย ฉีเส้าเฉียน ซึ่งฉีเส้าเฉียนเป็นดาราหนุ่มที่ฮอตสุดขีดในยุคนั้น เขาก็เลยไม่ค่อยว่างมาถ่ายทำละครทีวีเรื่องนี้ ทางผู้สร้างละครทีวีเรื่องนี้ก็เลยเขียนบทให้ตัวละครที่เขาแสดง “ใส่หน้ากาก” อยู่ช่วงหนึ่งของเรื่อง แล้วก็ให้ stuntman มาแสดงแทนฉีเส้าเฉียนในหลาย ๆ ตอนในช่วงที่ตัวละครดังกล่าวใส่หน้ากากอยู่ 555555

 

ไตเติล “ศึกชิงเจ้ายุทธจักร”

https://www.youtube.com/watch?v=HFj1kjhrLZw

 

แล้วพอเราดู “เครดิตช่วงท้าย” ของ “ตำนานหน้ากากผีตาโขน” เราก็สงสัยว่า ตกลงคนที่เล่นฉากบู๊แทนพระเอกในหนังเรื่องนี้ เป็น “หญิงสาว” ใช่ไหมนะ หรือเราเข้าใจผิด

 

Tuesday, April 01, 2025

SHE WORKS HARD FOR THE MONEY

 

Favorite Music Video: SHE WORKS HARD FOR THE MONEY – Donna Summer (1983, Brian Grant)

 

พอได้ดูกับได้ฟัง MV เพลงนี้แล้วก็ทำให้ย้อนรำลึกขึ้นมาได้ว่า เราเติบโตมากับการฟังเพลงแนว feminist และเพลงแนวเห็นใจชีวิตผู้หญิงในทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 อย่างเช่นเพลง

 

1. GIRLS JUST WANT TO HAVE FUN (1983) – Cyndi Lauper

 

2. SISTERS ARE DOIN’ IT FOR THEMSELVES (1985) – Eurythmics

 

3. SUPERWOMAN (1989) – Karyn White

 

4. ALL WOMAN (1991) – Lisa Stansfield

 

5. SUCCESS HAS MADE A FAILURE OF OUR HOME (1992) – Sinéad O’Connor

 

พอเราไปอ่าน wikipedia เกี่ยวกับที่มาของเพลง SHE WORKS HARD FOR THE MONEY แล้วก็พบว่า มันน่าสนใจดีด้วย เพราะว่า Donna Summer ได้รับแรงบันดาลใจในการแต่งเพลงนี้จากการที่เธอได้พบ “พนักงานทำความสะอาดห้องน้ำหญิง” ชื่อ Onetta Johnson โดยบังเอิญในเดือนก.พ. 1983 โดยในคืนนั้นดอนน่า ซัมเมอร์ได้ไปเข้าห้องน้ำหญิงในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ซึ่งในห้องน้ำมีการเปิดทีวีเสียงดัง แต่ดอนน่าก็พบว่า มีพนักงานทำความสะอาดห้องน้ำหญิงคนหนึ่งฟุบหลับอยู่อย่างเหนื่อยล้าในซอกมุมหนึ่งของห้องน้ำ แล้วดอนน่าก็คิดในใจว่า ”She works hard for the money.” แล้วก็นึกขึ้นมาได้ในทันทีว่า เธอสามารถนำสิ่งนี้มาแต่งเป็นเพลงใหม่ได้

 

ดอนน่าก็เลยแต่งเพลงนี้ขึ้นมา แล้วเพลงนี้ก็กลายเป็นชื่ออัลบั้มใหม่ของดอนน่า  แล้วดอนน่าก็เชิญ Onetta Johnson ซึ่งเป็นพนักงานทำความสะอาดห้องน้ำหญิงคนนั้น ให้มาถ่ายรูปร่วมกับดอนน่าในปกหลังของอัลบั้มด้วย

Monday, March 31, 2025

DORAEMON: NOBITA’S DIARY ON THE CREATION OF THE WORLD (1995, Tsutomu Shibayama, Japan, animation, 97min, A+30)

 

รายงานผลประกอบการประจำวันอาทิตย์ที่ 30 มี.ค. 2025

 

วันนี้เราออกมาดูหนังในโรงภาพยนตร์ 5 เรื่อง ตอนแรกเรานึกว่าวันนี้คนในห้างสรรพสินค้าจะน้อย เรานึกว่าคนอาจหวาดกลัวแผ่นดินไหวกัน ปรากฏว่าคนในห้างสรรพสินค้ายังคงแน่นเหมือนเดิม (หรือเปล่า) โดยเฉพาะที่สามย่านมิตรทาวน์ที่เราหาที่นั่งว่างใน FOOD COURT ไม่ได้เลยตอนเที่ยง

 

1. A ROAD TO A VILLAGE (2023, Nabin Subba, Nepal, 106min, A+30)

 

ดูที่ HOUSE SAMYAN รอบ 10.00 น.

 

2. PRESENCE (2024, Steven Soderbergh, 84min, A+30)

 

ดูที่ HOUSE SAMYAN รอบ 12.55 น.

 

3. EMILIA PÉREZ (2024, Jacques Audiard, France/Mexico, 132min, A+25)

 

ดูที่ HOUSE SAMYAN รอบ 14.35 น.

 

4. PINK FLOYD: LIVE AT POMPEII (1972, Adrian Maben, documentary, Belgium/West Germany/France, A+25)

 

ดูที่ BACC รอบ 18.45

 

5. DORAEMON: NOBITA’S DIARY ON THE CREATION OF THE WORLD (1995, Tsutomu Shibayama, Japan, animation, 97min, A+30)

 

ดูที่พารากอน รอบ 21.00 น.

 

สรุปว่า วันนี้ 3 อันดับแรก เราชอบ A ROAD TO A VILLAGE, PRESENCE และ DORAEMON: NOBITA’S DIARY ON THE CREATION OF THE WORLD อย่างสุดขีด ตอนนี้ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าเราชอบเรื่องไหนมากที่สุดใน 3 เรื่องนี้

 

ส่วนอันดับ 4 ของวันนี้คือ PINK FLOYD: LIVE AT POMPEII

 

คือเราแทบไม่เคยฟังดนตรีของ Pink Floyd มาก่อน พอเราได้ฟังดนตรีของวงนี้ในหนังเรื่องนี้เราก็รู้สึกตื่นตะลึงมาก ๆ รู้สึกว่ามันไพเราะมาก ๆ แต่เราอยาก “หลับตาฟังดนตรี แล้วจินตนาการภาพอะไรบ้า ๆ บอ  ๆ ในหัวด้วยตัวเอง” มากกว่า 5555 เรารู้สึกเฉย ๆ กับ “ภาพ” ที่เราได้เห็นในหนังเรื่องนี้

 

ส่วนอันดับ 5 ของวันนี้คือ EMILIA PÉREZ ซึ่งเราชอบความ “น้ำเน่า” และความ musical ของมันมาก ๆ และก็ชอบ “ไอเดีย” บางอย่างของหนังด้วย แต่เรารู้สึกว่าหนังมันไม่ convincing เราในบางส่วน เราก็เลยไม่ได้ชอบมันถึงขั้น A+30

 

ซึ่งเราก็มีปัญหาคล้าย ๆ อย่างนี้กับ SPERMAGEDDON (2025, Rasmus A. Sivertsen, Tommy Wirkola, animation, Norway, 80min, A+25) เหมือนกัน เพราะเราก็ชอบ “ความคิดสร้างสรรค์” ของ SPERMAGEDDON มาก ๆ แต่หนังมันขาดความ convincing ในบางจุด เราก็เลยไม่ได้ชอบมันถึงขั้น A+30

 

ส่วน A ROAD TO A VILLAGE นั้นเราดูแล้วนึกถึง OHAYO (1959, Yasujiro Ozu, Japan, A+30) มาก ๆ นึกว่าเป็นคู่หนังที่เหมาะนำมาเปรียบเทียบกัน และเราก็ตัดสินไม่ได้ว่าเราชอบหนังเรื่องไหนมากกว่ากัน แต่เราชอบตอนจบของ A ROAD TO A VILLAGE อย่างรุนแรงมาก ๆ

 

ส่วน PRESENCE นั้น เราก็ชอบสุดขีด โดยเฉพาะตอนจบของหนัง สิ่งแรกที่เราทำหลังจากดูหนังเรื่องนี้จบ คือเข้า google เพื่อเสิร์ชหารูป Eddy Maday ถอดเสื้อ แต่เราหารูปเขาตอนถอดเสื้อไม่ได้เลย มันอะไรกันคะเนี่ย

 

ส่วน DORAEMON: NOBITA’S DIARY ON THE CREATION OF THE WORLD นั้น เราดูแล้วหวีดสุดขีดมาก ๆ เพราะเราไม่ได้ตั้งความหวังอะไรกับหนังเรื่องนี้ไว้เลย นึกว่ามันคงเป็นหนังสำหรับเด็กที่ไม่เข้าทางเรา ปรากฏว่าดูแล้วหวีดสุดขีด ดูแล้วนึกว่า ETERNALS (2021, Chloé Zhao) ผสมกับ DOCTOR STRANGE IN THE MULTIVERSE OF MADNESS (2022, Sam Raimi) แต่ว่า DORAEMON มาก่อนหน้าหนังกลุ่มนี้ของ Marvel ราว 20 กว่าปี นึกไม่ถึงว่าหนังชุด DORAEMON จะล้ำยุคล้ำสมัยอย่างรุนแรงมาก ๆ

Sunday, March 30, 2025

WHY I AM PARANOID WHEN I SEE CRACKS ON A WALL

 

พอเกิดเหตุตึกถล่มเมื่อวานนี้แล้ว เราก็เลยนึกถึงหนึ่งในเหตุการณ์ที่ฝังใจและสร้างความหวาดกลัวให้เราอย่างสุดขีดมาก ๆ เมื่อ 32 ปีก่อน นั่นก็คือเหตุการณ์ตึกโรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่มที่นครราชสีมาในวันที่ 13 ส.ค. 1993 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 137 ราย จำได้ว่าตอนนั้นเรากับเพื่อนๆ ติดตามข่าวนี้ด้วยความระทึกขวัญมาก เพราะอยู่ดี ๆ มันก็ถล่มลงมาเอง โดยไม่มีปัจจัยภายนอกอย่างเช่น แผ่นดินไหวใด ๆ มาเป็นแรงผลักดัน ข่าวนี้ก็เลยเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึก paranoid มาก ๆ เวลาเห็นรอยร้าวตามอาคารต่าง ๆ

 

ข้างล่างนี้เป็นข้อมูลที่ copy มาจาก

https://www.thairath.co.th/scoop/flashback/2716230

https://www.sanook.com/news/8973934/

 

“หลังจากเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ได้ตรวจพบหลักฐานการประชุมเมื่อปี 2530 ระบุว่าได้เกิดรอยร้าวตามฝาผนัง ซึ่งกรรมการบริหารทราบดี แต่ปกปิดและโบกปูนปิดไว้ กระทั่งปี 2534 ได้ต่อเติมห้องพักบนชั้น 5-6 เพื่อให้ทันกับการประชุมไลออนส์ ต่อมาก็มีรอยร้าวที่บันไดขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่ได้รับความสนใจที่จะแก้ไข”

 

 ได้มีการต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้น เป็นอาคาร 6 ชั้น พร้อมห้องประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ที่ชั้น 6 และยังมีอีก 3 โครงการที่จะทำเพิ่ม คือ ปรับปรุงคาเฟ่ใหม่ทั้งหมด และจะสร้างอาคารจอดรถ สูง 8 ชั้น จอดรถได้ 400 คัน ด้วยงบสูงถึง 30 ล้านบาท กับเตรียมจัดงานใหญ่ฉลองครบรอบ 10 ปีโรงแรมฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2536 แต่กลับมาเกิดเหตุการณ์สลดโรงแรมพังถล่มขึ้นเสียก่อนในวันที่ 13 สิงหาคม 2536 จากสาเหตุการก่อสร้างอาคารและการอนุญาตแบบแปลนก่อสร้างอาคารที่ไม่ถูกต้องตามหลัก พรบ.ควบคุมอาคาร ต่อเติมโรงแรมเพิ่มอีก 3 ชั้น ทำให้เสารับน้ำหนักตัวอาคารไม่ไหว อีกทั้งโครงสร้างเสายังไม่ได้เชื่อมยึดติดกัน ทำให้เสาที่ตั้งอยู่บนคาน แบกรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้คานหลุดออกจากหัวเสาที่ชั้น 2 และโครงสร้างอาคารบนหัวเสายุบตาม ส่งแรงดึงรั้งกระทบเสาต้นข้างเคียงให้หักล้มตามมาในที่สุด”

 

“ช่วงเวลาชุลมุนพบหญิงตั้งครรภ์รายหนึ่ง แพทย์ลงความเห็นจำเป็นต้องทำคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากท่อนแขนซ้าย ถูกของหนักทับอาการสาหัส การทำคลอดกลางเศษซากตึกถล่มเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทุกคนเฝ้าลุ้นและภาวนาให้แม่และเด็กรอดปลอดภัย แต่ไม่กี่อึดใจเสียงดีใจของทีมกู้ภัยดังขึ้น หลังเด็กชายลืมตาดูโลก โดยตั้งชื่อว่า ด.ช.ปาฏิหาริย์ แต่มีชีวิตได้เพียง 9 วัน ก็สิ้นลม”

 

WHY I AM PARANOID WHEN I SEE CRACKS ON A WALL

 

พอเราเจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวานนี้ และเห็นคลิปเหตุการณ์ตึกถล่มในกรุงเทพเมื่อวานนี้ เราก็เลยย้อนนึกถึงความหวาดกลัวสุดขีดของเราที่มีต่อเหตุการณ์ “ตึกถล่ม” ตั้งแต่เรายังเป็นเด็ก ซึ่งในตอนเด็ก ๆ นั้น ความหวาดกลัวของเราที่มีต่อเหตุการณ์ตึกถล่ม ก็น่าจะมีสาเหตุมาจากละครโทรทัศน์เรื่อง “คอนโดมิเนียม” (1984, กำกับโดย สุพรรณ บูรณะพิมพ์) ที่ออกอากาศทางช่อง 7 และภาพยนตร์เรื่อง THE TOWERING INFERNO ตึกนรก (1974, John Guillermin, 165min)

 

และความหวาดกลัวของเราที่เกิดจาก fiction อย่างเช่นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ก็เพิ่มพูนขึ้นไปอีกเมื่อเราได้รับรู้ “ข่าว” ตึกถล่มจริง ๆ ในเวลาต่อมา โดยเฉพาะข่าว

 

1.เหตุการณ์โรงแรมนิวเวิลด์ถล่มที่สิงคโปร์ในปี 1986 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 33 ราย โดยก่อนเกิดเหตุโรงแรมถล่มนี้ มี “สัญญาณเตือน” ปรากฏขึ้นมาก่อนในรูปแบบของรอยร้าวตามตัวอาคาร ก่อนที่อาคารโรงแรมจะถล่มในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา

 

2. เหตุการณ์โรงแรมรอยัล พลาซ่าถล่มที่จังหวัดโคราชในปี 1993 ซึ่งก่อนเกิดเหตุนี้ก็มีสัญญาณเตือนปรากฏออกมาในรูปแบบของ “รอยร้าว” ตามตัวอาคารเช่นกัน เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 137 ราย

https://www.thairath.co.th/scoop/flashback/2716230?fbclid=IwY2xjawJU7L9leHRuA2FlbQIxMAABHV72oB3GV2O35hJFstaHMIc3YRgl00Jbp3keWer0u4rHZ0SxEhGC9nGFvg_aem_NGe6d9R0ssxJZptZgMn0Bw

 

3.เหตุการณ์ห้างสรรพสินค้า Sampoong ถล่มที่กรุงโซล เกาหลีใต้ในวันที่ 29 มิ.ย. 1995 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 502 คน โดยก่อนที่ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้จะถล่มนั้น ก็มี “สัญญาณเตือน” ปรากฏขึ้นในรูปแบบของรอยร้าวที่เพดานชั้น 5 ของห้างสรรพสินค้าในเดือนเม.ย.ปี 1995

 

เหตุการณ์ห้างสรรพสินค้าถล่มนี้เคยถูกนำเสนอในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง NON-FICTION DIARY (2013, Jung Yoon-suk, 90min, A+30) ที่เคยเข้ามาฉายในกรุงเทพด้วย

 

4. เหตุการณ์ตึกเวิลด์เทรดถล่มที่นครนิวยอร์คในวันที่ 11 ก.ย.ปี 2001 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3000 คน แต่เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของฝ่ายอาคาร

 

ก็เลยสรุปได้ว่า การที่เรากลายเป็นคนที่ paranoid เวลาเห็นรอยร้าวตามอาคารต่าง ๆ ก็มีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ในข้อ 1-3 นี่แหละ ทั้งเหตุการณ์ “โรงแรมนิวเวิลด์” ถล่มที่สิงคโปร์ในวันที่ 15 มี.ค. 1986 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 33 ราย, เหตุการณ์โรงแรมรอยัล พลาซ่าถล่มที่จังหวัดนครราชสีมาในปี 1993 และเหตุการณ์ห้างสรรพสินค้าถล่มที่กรุงโซลในปี 1995 เพราะทั้งสามเหตุการณ์นี้ มันมี “สัญญาณเตือน” ก่อนถล่ม ซึ่งได้แก่รอยร้าวตามจุดต่าง ๆ ของอาคาร

 

Before the Hotel New World (Lian Yak Building) in Singapore collapsed on March 15, 1986, signs of structural problems included persistent cracks in columns, walls, and floors, as well as crumbling concrete.

 

ข้อมูลในย่อหน้าข้างล่างนี้ มาจาก

https://www.nlb.gov.sg/main/article-detail?cmsuuid=ea8bc1f2-ae27-4208-beb6-7ff88715f3ea

 

On 22 March 1986, then President Wee Kim Wee appointed a commission of inquiry to investigate the cause of the collapse. In the final report released on 16 February 1987, the panel concluded that the collapse was due to the inadequate structural design of the building. The problem was further exacerbated by new installations on the roof, and the appearance of persistent cracks in columns, walls and floors weeks before the collapse. 

 

ข้อมูลในย่อหน้าข้างล่างนี้ มาจาก

https://news.northeastern.edu/2021/07/02/what-are-the-warning-signs-before-a-building-collapses/

 

Q:You’ve spoken of the 1986 collapse of the Hotel New World in Singapore that killed 33 people as another kind of warning example.

 

A: In that building the occupants were seeing that concrete on the garage floor is crumbling. They were going to the owner, who happened to be the building designer, and he was telling them, ‘No, it’s fine.’ And then the building collapsed. So if you see something is wrong, you need to take action.

 

สาเหตุของการถล่มของโรงแรมนิวเวิลด์ จาก wikipedia

“ the original structural engineer had made an error in calculating the building's structural load. The structural engineer had calculated the building's live load (the weight of the building's potential inhabitants, furniture, fixtures, and fittings) but the building's dead load (the weight of the building itself) was completely omitted from the calculation. This meant that the building as constructed could not support its own weight. Three different supporting columns had failed in the days before the disaster, the other columns – which took on the added weight no longer supported by the failed columns – could not support the building.”

 

หลังจากเกิดเหตุการณ์โรงแรมนิวเวิลด์ถล่ม รัฐบาลสิงคโปร์ก็เลยตรวจสอบอาคารหลายแห่ง และก็พบว่าอาคารหลายแห่งไม่ปลอดภัย ทางรัฐบาลก็เลยอพยพคนออกจากอาคารเหล่านั้น และทำลายอาคารเหล่านั้นทิ้ง

 

Following this disaster, all buildings built in the 1970s in Singapore were thoroughly checked for structural faults, with some of them declared structurally unsound and evacuated for demolition, including the main block of Hwa Chong Junior College and Catholic High School campus at Queen Street.

 

ในส่วนของห้างสรรพสินค้าที่กรุงโซลนั้น สัญญาณเตือนในรูปแบบของรอยร้าวก็เกิดขึ้นเช่นกัน

 

In April 1995, cracks began to appear in the ceiling of the fifth floor in the south wing, but the only response by Lee Joon and staff management was to move merchandise and stores from the top floor to the basement.

 

On the morning of June 29, the number of cracks in the area increased dramatically, prompting store management to close parts of the top floor. However, the management failed to shut the building down or issue formal evacuation orders, as the number of customers in the building at the time was unusually high, and management did not want to lose the day's revenue. When civil engineering experts were invited to inspect the structure, a cursory check revealed that the building was at risk of collapse. The facility's manager also examined the slab in one of the fifth-floor restaurants only hours before the collapse. Five hours before the collapse, the first of several loud bangs was heard emanating from the top floors, as the vibration of the air conditioning caused the cracks in the slabs to widen further. Amid customer complaints about the vibration, the air conditioning was turned off, but the cracks in the floors had already grown to 10 cm (3.9 in) wide.

 

An emergency board meeting was held when it became clear that the building's collapse was inevitable. The directors suggested that all staff and customers should be evacuated, but Lee Joon violently refused to do so for fear of revenue losses. However, Lee Joon and the executives left the building safely before the collapse occurred.

https://en.wikipedia.org/wiki/Sampoong_Department_Store_collapse#Documentary

++++++++++++++

ขอสารภาพตามตรงว่า ตอนที่เราดูหนังสารคดีเรื่อง “สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า” INTERVIEWS WITH FORMER THAI COMMUNIST PARTY MEMBERS WHO RETURNED TO THE CITY (1985, produced by Kraisak Choonhavan, documentary, 705 min) ที่หอภาพยนตร์ ศาลายานั้น เรารู้สึกว่าคุณหมอเหวงตอนวัยหนุ่มน่ารักมาก ๆ ดูแล้วเราก็แอบรู้สึกอิจฉาคุณธิดา ถาวรเศรษฐ อยู่ในใจ 55555

Saturday, March 29, 2025

THE BIGGEST EARTHQUAKE IN BANGKOK

 

ตอนนี้นึกถึงละครโทรทัศน์ที่ฝังใจเราในวัยเด็กเรื่องนี้มาก ๆ CONDOMINIUM (1984, Supan Buranapim) ที่เคยออกอากาศทางช่อง 7 ละครโทรทัศน์เรื่องนี้นำแสดงโดยกาญจนา จินดาวัฒน์, ฉัตรชัย เปล่งพานิช, มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา, สมภพ เบญจาธิกุล, อภิชาติ หาลำเจียก, เปียทิพย์ คุ้มวงศ์, สุชาดา อีแอม, วรารัตน์ เทพโสธร

 

ละครเรื่องนี้สร้างจากนิยายของ “สีฟ้า” ที่เคยลงเป็นตอน ๆ ในนิตยสาร “สตรีสาร” เนื้อเรื่องก็เกี่ยวกับตัวละครมากมายในคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในยุคที่เพิ่งเริ่มมีการสร้างคอนโดมิเนียมในไทย (ต้นทศวรรษ 1980) และต่อมาคอนโดมิเนียมแห่งนี้ก็ถล่มลงมา (เราจำไม่ได้ว่าเพราะอะไร น่าจะเพราะมันก่อสร้างมาไม่ดี) ซึ่งส่งผลให้ตัวละครบางตัวเสียชีวิต

 

ซึ่งละครโทรทัศน์เรื่องนี้ก็ใส่เรื่องการถล่มของคอนโดมิเนียมมาไว้ในไตเติลฉากเปิดละครเลย โดยผู้สร้างละครโทรทัศน์แบบหลายตอนจบเรื่องนี้ไม่ได้มองว่ามันเป็นการ spoil เนื้อเรื่องแต่อย่างใด แต่มองว่ามันเป็นจุดขายของละครเรื่องนี้ ผู้ชมรู้ได้ตั้งแต่ต้นเรื่องเลยว่า ในตอนท้าย ๆ ของละครเรื่องนี้ คอนโดมิเนียมแห่งนี้จะต้องถล่มลงมาอย่างแน่นอน

 

ซึ่งการที่เราได้ดูละครทีวีเรื่องนี้ตั้งแต่เด็ก (ตอนนั้นเรามีอายุราว 10—11 ขวบ) มันก็เลยเหมือนสร้างความหวาดกลัว “ตึกถล่ม” ให้กับเราตั้งแต่เด็ก ๆ เราก็เลยเหมือนพอเห็นรอยร้าวอะไรตามตึกต่าง ๆ เราก็จะเริ่มหวาดระแวงขึ้นมาในทันที

 

เราแอบเดาว่า นิยายและละครทีวีเรื่องนี้ อาจจะได้รับแรงบันดาลใจบางส่วนมาจาก THE TOWERING INFERNO (1974, John Guillermin, 165min) ด้วย

https://www.youtube.com/watch?v=kr5i1OeFUhs&t=195s

 

บันทึกความทรงจำสำหรับวันศุกร์ที่ 28 มี.ค. 2025

 

วันนี้ตอนแรกกะว่าจะออกไปดูหนัง 4 เรื่อง ซึ่งได้แก่ A WORKING MAN ที่พารากอน รอบ 11.30 น. แล้วหลังจากนั้นเราก็กะว่าจะไปดูหนัง 2 เรื่องที่เอสเอฟ บิ๊กซี บางพลี ซึ่งได้แก่ “ตำนานหน้ากากผีตาโขน” (รอบ 16.00 น.) กับ THE HAUNTED APARTMENT ผีนรก 610 แล้วก็อาจจะปิดวันด้วย DORAEMON: NOBITA’S DIARY ON THE CREATION OF THE WORLD ที่เมเจอร์ เอกมัย

 

เราก็เลยออกไปดู A WORKING MAN (2025, David Ayer, UK/USA, 116min) รอบ 11.30 น. แต่กว่าหนังจะฉายก็ราว ๆ เที่ยงตรง พอเราดูไปได้ครึ่งค่อนเรื่อง ราวบ่ายโมงกว่า ๆ เราก็รู้สึกว่าที่นั่งมันสั่นไหว เราก็นึกว่ามีคนถีบเบาะ หรือไม่เราก็มีอาการบ้านหมุน เราก็เลยยังไม่คิดอะไร แต่ต่อมาที่นั่งมันก็สั่นไหวแรงมาก ๆ เหมือนเรากำลังนั่งอยู่บนเกลียวคลื่น เราก็ไม่แน่ใจว่าเรารู้สึกคนเดียวหรือเปล่า เราก็เลยหันไปดูผู้ชมที่นั่งแถวหลัง ๆ เห็นมีบางคนเริ่มลุกขึ้นยืน เราก็เลยรู้ทันทีว่า เราไม่ได้รู้สึกอยู่คนเดียว มันสั่นไหวอย่างรุนแรงจริง ๆ

 

แต่ตอนนั้นเราไม่นึกว่ามันเป็นแผ่นดินไหวนะ เพราะเราไม่เคยเจอแผ่นดินไหวแรง ๆ แบบนี้มาก่อนตลอดอายุ 52 ปีของเรา เราก็เลยนึกว่ามีคนวางระเบิดพารากอน เรานึกว่าอาจจะมีคนวางระเบิดชั้นล่าง ๆ แล้วมันสั่นสะเทือนขึ้นมาถึงชั้นบนหรือเปล่า แล้วเราก็สงสัยว่าตึกมันจะถล่มลงมาหรือเปล่า แล้วเราก็กลัวด้วยว่า มันอาจจะมีผู้ก่อการร้ายมากราดยิงคนตามชั้นต่าง ๆ หรือเปล่า เพราะฉะนั้นกูเผ่นก่อนล่ะ กูไม่รอให้มีใครมากราดยิงกูหรอกนะ I won’t die without a fight

 

เราก็เลยรีบเผ่นออกจากโรงหนังในทันที แล้วก็เห็นมีบางคนเดินออกจากโรงหนังเช่นกันด้วยอาการงุนงง เราเดินออกไปตรงจุดสำหรับฉีกตั๋วหนัง แล้วก็เห็นโคมไฟ chandelier ตรงหน้าโรงหนังสยามภาวลัยสั่นไหวอย่างรุนแรงสุดขีดมาก ๆ  เราก็เลยงง ๆ ว่า ฉันควรหลบตรงไหนดี สรุปมันคือแผ่นดินไหวหรือมันคือวางระเบิดก่อการร้ายกันแน่เนี่ย

 

แล้วก็มีพนักงานโรงหนังสยามพารากอนคนนึง รีบเดินมาบอกผู้ชมที่ยืนออ ๆ ดู chandelier สั่นไหวอย่างรุนแรงสุดขีดตรงนั้น ให้รีบลงทางหนีไฟ แล้วเธอก็ชี้ทางให้พวกเราไปยังทางหนีไฟในโรงหนัง ซึ่งเราไม่เคยสังเกตมาก่อนว่ามันอยู่ตรงจุดนี้ของโรงหนัง

 

เราก็เลยรู้สึกขอบคุณพนักงานโรงหนังสยามพารากอนมาก ๆ ที่ควบคุมสติได้ดีมาก และคำนึงถึงชีวิตของผู้ชมมาก ๆ คือแทนที่เธอจะเผ่นก่อนเพื่อรักษาชีวิตของตนเองเป็นลำดับแรก ในเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดแบบนี้ เธอกลับรีบมาชี้ทางให้ผู้ชมจำนวนมากไปยังทางหนีไฟได้อย่างถูกต้อง คือถ้าหากเธอไม่มาชี้ทางให้ เราก็ไม่รู้หรอกว่า ทางหนีไฟมันอยู่ตรงจุดนี้ของโรงหนัง เหมือนเธอเห็นชีวิตของลูกค้าสำคัญกว่าชีวิตของตนเอง เราก็เลยรู้สึกขอบคุณพนักงานคนนี้มาก ๆ ค่ะ

 

พอเราลงทางหนีไฟมาเรื่อย ๆ จนถึงชั้นล่างสุด และออกมาอยู่นอกตัวอาคารแล้ว เราก็เดินตามคลื่นมหาชนจำนวนมากไปเรื่อย ๆ โดยไม่รู้ว่า พวกเขาจะเดินไปไหนกันแน่ ตอนนั้นเราก็ยังไม่แน่ใจอยู่ดีนะว่า มันเกิดแผ่นดินไหวหรือก่อการร้ายกันแน่ เราเดินงง ๆ ไปเรื่อย ๆ จนเจอเพื่อน cinephile คนนึงโดยบังเอิญ เขามาดูหนังเรื่อง PRESENCE (2024, Steven Soderbergh, 84min) ที่พารากอน ซึ่งเขาก็ดูไม่จบเช่นกัน

 

เรากับเพื่อน cinephile ก็เลยหาที่ยืนบริเวณแถวใกล้ ๆ โรงเรียนวัดปทุมวนาราม เพื่อดูลาดเลาว่าพวกเราควรทำอะไรต่อดี พอเราเห็นคนจำนวนมากออกมาจากหลายอาคารในเวลาเดียวกัน เราถึงค่อยแน่ใจว่ามันเกิดแผ่นดินไหว ไม่ใช่การวางระเบิด

 

เราก็พยายามเช็คข่าวแผ่นดินไหว แต่ปรากฏว่าตอนนั้นโทรศัพท์ใช้การไม่ได้เลย เพื่อนเราโทรหาใครก็ไม่ได้เลย เราเข้า google ก็ไม่ได้ line ก็เหมือนส่งข้อความไม่ไป ส่วน facebook ก็ขึ้นฟีดแต่สิ่งที่คนอื่น ๆ โพสท์ในช่วงก่อนเที่ยงวัน พอเราลอง search คำว่า แผ่นดินไหวใน facebook มันก็ขึ้นแต่ข่าวแผ่นดินไหวเมื่อ 2-3 วันก่อน

 

เราก็เลยเดาว่า ตอนนั้นระบบการสื่อสารคงล่ม ซึ่งก็ไม่รู้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริเวณนั้นมีผู้คนหลายพันหลายหมื่นคนจากหลายอาคารมายืนออ ๆ อยู่ในจุดเดียวกันและพยายามใช้โทรศัพท์พร้อมกันหรือเปล่า

 

เราพยายามโพสท์วิดีโอที่เราถ่ายไว้ตอนช่วง 13.30-13.34 น. แต่กว่าระบบสื่อสารจะใช้ได้ จน facebook สามารถลงวิดีโอของเรา ก็เป็นเวลา 14.17 น.แล้ว

 

เพื่อน cinephile ของเรากลับบ้านไม่ได้ เพราะบ้านของเขาอยู่แถวบางนา แล้วรถไฟฟ้ามันใช้ไม่ได้ เราก็เลยพาเพื่อนของเรา เดินจากพารากอนมาออกถนนใหญ่ตรงหน้า central world แล้วก็พาเดินไปตามถนนเพชรบุรีเรื่อย ๆ แล้วก็มากินข้าวแถวอพาร์ทเมนท์ของเราแถวราชเทวี แล้วเราก็พาเพื่อนมานั่งพักที่อพาร์ทเมนท์ รอเวลาไปเรื่อย ๆ เผื่อรถไฟฟ้าจะใช้งานได้ โชคดีที่ตึกอพาร์ทเมนท์ของเราซึ่งมี 6 ชั้น ดูเหมือนไม่ได้รับความเสียหายอะไรเลยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวนี้

 

ช่วงบ่ายช่วงเย็นช่วงค่ำวันนี้ เราก็เลยอยู่กับเพื่อนคนนี้ เราพาเขาออกไปหาอาหารกินมื้อเย็น แล้วก็กลับมาดูหนังกันต่อที่ห้อง โดยวันนี้เราดูวิดีโอเทปลิขสิทธิ์ของ CVD เรื่อง SILKWOOD (1983, Mike Nichols, A+30) ซึ่งเป็นวิดีโอเทปที่น่าจะมีอายุนานกว่า 30 ปีแล้ว แต่ปรากฏว่า วิดีโอเทปม้วนนี้มันยังดูได้อยู่

 

พอดู SILKWOOD เสร็จ มันก็เป็นเวลาราว 5 ทุ่ม รถเลิกติดแล้ว เราก็เลยส่งเพื่อนเราขึ้นรถเมล์กลับบ้านไป

 

ตอนนี้เราก็หวังว่า เราจะไม่มีอาการ vertiginous syndrome อีกครั้งนะ คือเราเคยมีอาการนี้เมื่อราว 20 ปีก่อนน่ะ ตอนนั้นเราทำงานอยู่ชั้น 35 แล้วมันมีแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มากที่จีนหรืออินโดนีเซียนี่แหละ ซี่งมันส่งแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพ แล้วเรานั่งทำงานอยู่ชั้น 35 ในตอนนั้น มันก็เลยรู้สึกได้ชัด (แต่ความรุนแรงในตอนนั้นก็น้อยกว่าครั้งนี้มาก ๆ นะ เหมือนครั้งนี้รุนแรงกว่าครั้งนั้นราว 10-20 เท่า) ตอนนั้นเราจำได้ว่า แม่บ้านที่ทำงานชั้น 35 หกล้มลงไปเลย

 

แล้วพอเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนั้นผ่านไป (เราจำปีแน่นอนไม่ได้ น่าจะเป็นราวปี 2005-2007) เราก็มีอาการเวียนหัวคล้ายบ้านหมุนเป็นครั้งคราว ราวสัปดาห์ละครั้ง คือบางครั้งเวลาเรานั่งอยู่เฉย ๆ เราก็จะรู้สึกเหมือนเรากำลังนั่งอยู่บนเรือที่โคลงเคลงไปมา เราจะรู้สึกแบบนี้อยุ่ราว ๆ 5-30 นาที ก่อนที่จะกลับเป็นปกติ

 

เราก็เลยไปหาหมอ หมอก็ตรวจแล้วบอกว่า เราเป็น vertiginous syndrome หมอบอกว่า ตอนที่มันเกิดแผ่นดินไหว ประสาทหูของเรา (พวกน้ำในหูของเรา) มันปรับตัวให้เข้ากับแผ่นดินไหวโดยอัตโนมัติ แล้วประสาทหูของเรามันไม่ปรับเข้าสู่โหมดปกติในเวลาต่อมา

 

หมอบอกว่า อาการของเราก็จะคล้าย ๆ กับกลาสีเรือ ที่ประสาทหูของพวกเขาจะปรับให้เข้ากับเรือที่โคลงเคลงโดยอัตโนมัติ แต่พอพวกเขาขึ้นบก ประสาทหูของพวกเขาอาจจะยังไม่ปรับเข้าสู่โหมดปกติในทันที (ถ้าหากเราจำที่หมอพูดไม่ผิดนะ)

 

หมอบอกว่า อาการของเราจะหายไปเอง ซึ่งมันก็เป็นตามที่หมอบอกจริง ๆ แต่มันต้องใช้เวลานานถึง 1 ปีแน่ะสำหรับเรา ก่อนที่อาการ vertiginous syndrome ของเราจะหายไป

 

เราก็เลยหวังว่า อาการที่เราเคยเป็นเมื่อ 20 ปีก่อนจะไม่กลับมาอีก

 

 

 

 

Friday, March 28, 2025

RIP MASAHIRO SHINODA (1931-2025)

 

RIP MASAHIRO SHINODA (1931-2025)

 

เราเคยดูหนังที่เขากำกับแค่ 4 เรื่อง ซึ่งได้แก่

 

1.DOUBLE SUICIDE (1969)

ดูในรูปแบบวิดีโอเทปจากร้านแว่น

 

2.DEMON POND (1979)

เราได้ดูหนังเรื่องนี้ตอนมันมาฉายที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา ในเทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่นในวันที่ 18 พ.ย.ปี 2000

 

3.TAKESHI: CHILDHOOD DAYS (1990)

หนังเรื่องนี้เคยมาฉายหลายรอบที่ Japan Foundation ถนนอโศก เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดที่สุด

 

เราเคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ในเว็บบอร์ด SCREENOUT ในปี 2005 ตามนี้ด้วย

 

“รู้สึกว่าหนังเรื่อง TAKESHI: CHILDHOOD DAYS (1990, MASAHIRO SHINODA, A) จะมีดีวีดีขายในกรุงเทพค่ะ แต่ดิฉันได้ดูหนังเรื่องนี้ที่มูลนิธิญี่ปุ่น หนังเรื่องนี้มีส่วนคล้าย MUDDY RIVER เล็กน้อย เพราะมีเนื้อหาเกี่ยวกับมิตรภาพของเด็กชายสองคนในช่วงหลังสงครามโลก แต่ TAKESHI: CHILDHOOD DAYS อาจจะไม่ทรงพลังเท่า MUDDY RIVER (ในความเห็นของคนทั่วไป) อย่างไรก็ดี ดิฉันรู้สึกว่า MUDDY RIVER โหดร้ายไปหน่อยสำหรับดิฉัน เพราะมีฉากการทำร้ายสัตว์ ซึ่งดิฉันไม่ชอบดูฉากเหล่านี้เท่าไหร่

สิ่งที่ทำให้ชอบ TAKESHI: CHILDHOOD DAYS มากเป็นพิเศษ ก็คือการที่ตัวละครหลักในหนังสองเรื่องนี้ กระตุ้นให้ดิฉันเอาไปจินตนาการแต่งเติมเสริมต่อเรื่องเองอย่างมากๆ เพราะหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับมิตรภาพระหว่างเด็กชายสองคน โดยคนหนึ่งเป็นเด็กชายที่ดูเถื่อนๆแมนๆหน่อย ส่วนอีกคนก็ดูเป็นเด็กชายที่นุ่มนิ่ม ต้องการการปกป้องคุ้มครอง บอกแค่นี้ก็คงจะรู้ว่าหนังเรื่องนี้กระตุ้นให้ดิฉันเกิดจินตนาการแต่งเรื่องแต่งราวต่อไปในทิศทางใด ทั้งๆที่ตัวหนังเองไม่ได้มีความเป็นเกย์เลยแม้แต่น้อย”

 

4.SHARAKU (1995)

เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดที่สุด เราได้ดูหนังเรื่องนี้ตอนมันมาฉายในเทศกาลหนังเอเชียที่ศาลาเฉลิมกรุง เป็นหนังที่ดูแล้วกราบตีนของจริง ฉากที่ชอบสุดๆในเรื่องนี้คือฉากที่มีขบวนนักแสดงละครเร่กับขบวนเกอิชา ค่อยๆเคลื่อนตัวมาจากคนละทิศทางกันจนเกือบจะมาปะทะกันกลางเมือง

 

อยากให้มีคนจัดงาน retrospective ของ Masahiro Shinoda มาก ๆ เพราะเขาเคยกำกับหนังมาแล้ว 33 เรื่อง แต่เราได้ดูไปเพียงแค่ 4 เรื่อง อยากดูหนังอีกหลาย ๆ เรื่องของเขาอย่างรุนแรง ทั้ง MOONLIGHT SERENADE (1997), THE DANCER (1989), GONZA THE SPEARMAN (1986), MACARTHUR’S CHILDREN (1984), HIMIKO (1974), THE PETRIFIED FOREST (1973), SILENCE (1971), PALE FLOWER (1964)

 

สมัยก่อนเราชอบจำชื่อของเขาสลับกับ Masaki Kobayashi (HARAKIRI, KWAIDAN, THE HUMAN CONDITION)

 

รูปจาก DEMON POND