1021 (2014, Vicknesh Saravanan, Singapore, C)
เป็นหนังทมิฬเรื่องที่สองของสิงคโปร์
แต่เราดูแล้วก็รู้สึกว่าหนังอาจจะมีดีแค่ในแง่ความเป็น “cultural object” ของมันนะ
สิ่งที่น่าสนใจในหนังก็รวมถึงการสะท้อนภาพสิงคโปร์ได้ต่ำช้ามากๆ
ราวกับว่าอยู่ในหนังอย่าง BAD LIEUTENANT: PORT OF CALL – NEW ORLEANS
(2009, Werner Herzog, A+30) และเราว่าโทนซีเรียสของหนังเรื่องนี้มัน
work ในบางฉาก แต่พอมันมารวมกับ “ความสะใจในฉากรุนแรง” แล้ว
มันให้ความรู้สึกที่ “มากเกินไป” สำหรับเรา
คือหนังเรื่องนี้เป็นหนัง feel bad แต่มันไม่ใช่หนัง feel
bad แบบ Michael Haneke หรือ Robert
Bresson เพราะหนังกลุ่มนั้นมันจะหลีกเลี่ยงการนำเสนอภาพความรุนแรง
แต่หนังเรื่องนี้มันเป็นหนัง feel bad แบบ “อำมหิตพิศวาส”
(2006, ศรัณยู วงษ์กระจ่าง) ที่เหมือนคนทำจะสะใจกับการนำเสนอภาพความรุนแรงในหนังด้วย
ซึ่งหนังที่คนทำสะใจกับการนำเสนอภาพความรุนแรงนี่ บางเรื่องมันก็ work สำหรับเรานะ
อย่างเช่นหนังบางเรื่องของ Alwa Ritsila เพราะหนังของ Alwa
มันมีความคัลท์, ความตลกขบขัน หรือ “ความไม่จริง” อยู่สูงน่ะ และเราว่าไอ้
“ความคัลท์/ตลก/ไม่จริง” นี่มันช่วยลดความรู้สึก feel bad ในใจเรา
เวลาเราเห็นฉากรุนแรงในหนังของ Alwa
แต่พอความรุนแรงมันมารวมกับ “โทนซีเรียส” แบบในหนังเรื่อง 1021 แล้ว
มันก็เลยเกิดความรู้สึกล้นเกินอย่างมากๆน่ะ
เราก็เลยรู้สึกเสียดายหนังเรื่องนี้มากๆ เราว่าถ้าหากผู้กำกับรักษาโทนซีเรียสไว้ตามเดิม
แต่เพลามือในการนำเสนอความรุนแรงในหนังลงไปได้บ้าง หนังมันจะออกมาโอเคขึ้น
ถ้าใครอยากรู้ว่าเราชอบวิธีการนำเสนอ “เนื้อเรื่องที่รุนแรง”
ในหนังอย่างไร ขอให้ดูหนังอย่าง THE BLUE HOUR (2015, Anucha Boonyawatana) และ L’ARGENT (1983, Robert Bresson) เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด
เพราะในหนังทั้งสองเรื่องนี้ มันมีการฆ่ากันอย่างรุนแรงในหนัง
แต่หนังสามารถนำเสนอการฆ่ากันอย่างรุนแรงออกมาด้วยวิธีการที่โอเคมากๆๆๆ
ในขณะที่หนังอย่าง 1021 คือตัวอย่างของวิธีการที่ไม่โอเคมากๆสำหรับเราในการนำเสนอภาพความรุนแรง
อย่างไรก็ดี ทุกอย่างมันก็มีข้อยกเว้นนะ หนังสิงคโปร์อย่าง PAIN (1994, Eric Khoo, A+30) ก็นำเสนอภาพที่รุนแรงมากๆเช่นกัน แต่เรากลับชอบมันมากๆ
เพราะเรารู้สึกเหมือนกับว่า คนทำไม่ได้ “สะใจ” กับความรุนแรงในหนังน่ะ
ในขณะที่หนังอย่าง 1021 นี่เราไม่แน่ใจว่า คนทำสะใจหรือเปล่า
No comments:
Post a Comment