Sunday, August 16, 2015

BANGSAN RAMA

LAVA (2014, James Ford Murphy, animation, A+30) + INSIDE OUT (2015, Pete Docter + Ronaldo Del Carmen, animation, A+30)

PARASYTE: PART 2 (2015, Takashi Yamazaki, Japan, A+30)

--หญิงลักษณ์ is Thai (2015, เตชิต สว่างศิริลักษณ์ + วีระวรรณ เกตุท่าเสม็ด, A+5) กับ TT (2015, อนุสรณ์ ลิ้มประเสริฐ, A+25) เหมือนเป็นตัวแทนของหนังการเมืองสองแนวที่เราอาจจะพบได้ในหนังไทย นั่นก็คือแนวตรงไปตรงมา กับแนวพิศวง และทั้งสองแนวก็มีข้อดีข้อด้อยต่างๆกันไป โดยแนวตรงไปตรงมาแบบ “หญิงลักษณ์ is Thai” นั้นมันจะสื่อ message ได้ตรงไปตรงมา ผู้ชมทุกคนหรือเกือบทุกคนได้รับ message จากหนัง แต่ถ้าหาก message นั้นมันไม่น่าสนใจพอ หนังมันก็อาจจะไม่น่าสนใจตามไปด้วย เราว่าคนทำหนังกลุ่ม “ตรงไปตรงมา” ที่เด่นที่สุดของไทยอาจจะเป็น Prap Boonpan

ส่วน “หญิงลักษณ์ is Thai” นั้นเราชอบฉากเล่น OX มากๆ เราว่าฉากนั้นเป็นฉากที่ตลกและน่ารักดี และแทบไม่เคยเห็นในหนังเรื่องอื่นๆมาก่อน เพราะส่วนใหญ่ “เกม” ที่พบในหนัง โดยเฉพาะในหนังการเมืองไทย มักจะเป็นเกม “หมากรุก” ส่วนฉากวิ่งไล่จับกันก็เป็นฉากที่ติดตามากๆ และเราชอบการที่หนังมีลักษณะคล้ายๆ “ละครใบ้” อยู่ด้วย ในแง่ที่เราจะไม่เห็น “บ้าน” และ IPAD ในหนังเลย แต่ตัวละครจะทำเหมือนกับว่ามี IPAD อยู่ในมือ ซึ่งลักษณะการแสดงแบบนี้ทำให้เรานึกถึงละครใบ้

ส่วนหนังการเมืองแนวพิศวงของไทยอย่าง TT นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นหนังที่เราชอบสุดๆ แต่มันจะมีข้อเสียคือ “ดูแล้วไม่เข้าใจ” แต่มันไม่เป็นปัญหาสำหรับเรา เพราะความสุขของเราที่ได้จากการดูหนังไม่ได้ขึ้นอยู่กับ “ความเข้าใจ” เสมอไป แต่มันมักจะขึ้นอยู่กับ “ความสุขที่ได้ใช้ความคิดต่อไปเรื่อยๆหลังจากดูหนังจบ” มากกว่า

--ถ้าเปรียบหนังเรื่อง “อาจารย์” (2015, ปิยะวัฒน์ อัตถากร, A+) เป็นผู้ชายที่จะมาเอากับเรา เราก็รู้สึกว่าเขาเป็นผู้ชายที่เล้าโลมได้ดีพอสมควร แต่พอถึงเวลาจะเอากันจริงๆเขาหลั่งเร็วเกินไป 555 คือหนังสร้างบรรยากาศ/สถานการณ์ได้ดีพอสมควรน่ะ แต่เหมือนเราจะคาดหวังว่าฉากไคลแมกซ์มันต้องมีอะไรรุนแรงกว่านี้ แต่ปรากฏว่าพอถึงฉากไคลแมกซ์จริงๆมันกลับปึ้บจบไปเลย เรานึกว่าหนังจะจบด้วยการที่พระเอกถูกยามข่มขืนซะอีก 555

--STAY US (2015, สุภาณี ลอยร่อน” กับ “ส้มกลิ่น” (2015, วีระวรรณ เกตุท่าเสม็ด) เป็นหนังที่น่าสนใจดี คือในฐานะของคนนอกที่ไม่รู้จักตัวผู้ตาย เราจะพบว่าสิ่งที่เราประทับใจในหนังก็คือการที่หนังนำเสนอ moments ธรรมดาๆของคนๆหนึ่งนี่แหละ moments ของเพื่อนๆขณะคุยกันในเรื่องสัพเพเหระ ขี่จักรยานเที่ยวเล่นกัน วาดภาพบนกำแพงด้วยกัน คือเรามักจะชอบหนังที่นำเสนอ “กิจวัตรประจำวัน” ของมนุษย์ไปเรื่อยๆน่ะ และปรากฏว่าหนังสองเรื่องนี้ก็มีอะไรเข้าทางเราแบบนั้น โดยเฉพาะ “ส้มกลิ่น” ที่เข้าทางเรามากๆ และเราว่าไอ้ moments ธรรมดาๆในชีวิตประจำวันที่เราได้ใช้ร่วมกับเพื่อนนี่แหละ ไม่ว่า moments ที่ได้ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนมัธยมหรือเพื่อนมหาลัย ที่มันจะกลายเป็น “สิ่งที่มีค่ามากขึ้นเรื่อยๆ” เมื่อเวลาผ่านไป คือถึงแม้เพื่อนเราไม่ตาย แต่พอเราเรียนจบมหาลัย ทำงาน มีผัว เราก็จะแทบไม่มีเวลามาชิลๆกับเพื่อนเหมือนเมื่อก่อนอยู่ดี และไอ้ความทรงจำของการได้ขี่จักรยานหรือทำอะไรด้วยกันตอนอยู่มหาลัย มันก็จะเป็นสิ่งที่มีค่ามากๆ ไม่ว่าเพื่อนเราจะยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม

เราว่าฉากจบที่เป็นเพื่อนเลือนหาย แล้วเป็นเพื่อนสองคนวาดภาพที่กำแพง มันเศร้าสุดๆเลยนะ เราว่ามันทรงพลังกว่าการให้ตัวละครพูดบรรยายความเศร้าออกมาตรงๆน่ะ เพราะในบางกรณี “คำพูด” มันอาจจะระบายความเศร้าออกมาได้ไม่หมด หรือมันอาจจะ “สื่อ” ความรู้สึกถึงคนดูได้ไม่หมด แต่การนำเสนอความเศร้าผ่านทางการวาดภาพที่กำแพงนี่ มันดูเป็นอะไรที่ไม่ฟูมฟาย แต่มันสามารถ impact เราได้อย่างรุนแรงมาก

--“แว่นตา” (2015, เตชิต สว่างศิริลักษณ์ + ชนะชัย แสงจันทร์, A+20) อย่างที่อาจารย์ดองบอกไว้ คือหนังแนวนี้มีคู่แข่งเยอะมากๆ เพราะมีผู้กำกับหนังสั้นไทยหลายคนที่ทำหนังแนวนี้ และหลายคนก็ทำออกมาได้ดีมากๆ

เราว่า “แว่นตา” ทำออกมาได้ดีมากๆแล้วแหละ เพียงแต่มันอาจจะยังไม่สุดตีนเท่าหนังเรื่องอื่นๆที่ออกมาใน genre เดียวกัน เหมือนหนังบางเรื่องที่มันสุดตีนจริงๆมันมีการออกแบบซีนหรือการร้อยเรียงซีนได้ทรงพลังกว่านี้น่ะ


SONG FROM YESTERDAY (A+) เหมือนพอมันมารวมๆกันแล้วพลังมัน drop ยังไงไม่รู้ แต่เราว่าส่วนของภาส พัฒนกำจรน่าสนใจมากๆ เหมาะจะทำออกมาเป็นหนังยาว 

No comments: