ANGKANA (2015, Narasit Kaesaprasit,
A+25)
1.ไม่รู้ว่าเราใช้ approach ที่ผิดพลาดในการดูหนังเรื่อ งนี้ในการดูรอบแรกหรือเปล่า เพราะตอนแรกเรานึกว่ามันจะเ ป็นหนังแนว allegory ที่ตัวละครและสถานการณ์ต่าง ๆในเรื่องอาจจะใช้เป็นภาพสะ ท้อนสังคม/ การเมืองในวงกว้าง แต่พอดูๆไปแล้วก็พบว่า เอ๊ะ เราเริ่มตีความมันไม่ออก
และจริงๆแล้วหนังเรื่องนี้อ าจจะไม่ได้เป็น allegory ของอะไรก็ได้
แต่เป็นแค่การเล่าเรื่องของ ครอบครัวครอบครัวหนึ่งเท่านั้น
สิ่งนี้อาจจะเป็นเพราะว่า เราเคยดูหนังเรื่อง “ในยามหัวค่ำ...ครอบครัวหนึ ่งกำลังทานมื้อเย็น”
(2014, Narasit Kaesaprasit) มาก่อนน่ะ ซึ่งในหนังเรื่องนั้น
สิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัว ในหนังเหมือนเป็นภาพสะท้อนก ารเมืองไทยในวงกว้าง
เราก็เลยนึกในตอนแรกว่า ANGKANA จะเป็นแบบเดียวกันนี้ด้วย
2.ชอบสิ่งที่วิทยากรท่านหนึ ่งพูดมากๆ
ที่บอกว่าหนังเรื่องนี้คุมโ ปรดักชั่นให้ออกมาทิศทางเดี ยวกันได้ทุกองค์ประกอบ
อะไรทำนองนี้ เพราะตอนที่เราดู เราไม่ได้สังเกตถึงจุดนี้ แต่พอมาคิดดู
เราก็พบว่ามันจริง และเราก็พบว่า สิ่งที่ติดตาเรามากที่สุดคื อสีผ้าม่านในห้องนอนของนางเ อก
ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทำไมมันถึงต ิดตาเรามากที่สุด แต่สาเหตุหนึ่งคงจะเป็นเพรา ะว่าหนังเรื่องนี้มี
art direction/ set decoration ที่ดีพอสมควร
สีผ้าม่านในหนังเรื่องนี้มันเลยติดตาเร ามากๆ ทั้งๆที่มันไม่มีความสำคัญอ ะไรต่อตัวเนื้อเรื่องโดยตรง
3.นางเอกเล่นดีมากๆ
4.ชอบความแรงของหนังเรื่องน ี้นะ
ทำให้นึกถึงพวกหนังที่กำกับ โดย Catherine Breillat จริงๆแล้วมีหนังม.บูรพาอีกส องเรื่องในปีนี้ที่ทำให้นึก ถึงหนังของผู้กำกับฝรั่งเศส ที่โด่งดังในทศวรรษ
1990 เหมือนกัน ซึ่งได้แก่เรื่อง I WANT YOU TO BE
(Bundit Sintanaparadee) ที่ทำให้นึกถึงหนังกลุ่ม “หญิงสาวที่หัวรั้นอย่างรุน แรงในเรื่องความรัก” ของ
Benoît Jacquot อย่างเช่นเรื่อง THE SCHOOL OF FLESH
(1998), RIGHT NOW (2004) และ 3 HEARTS (2014) ในขณะที่ DON’T WORRY, BE HAPPY (Anuwat Amnajkasem) ก็ทำให้เรานึกถึง LATE AUGUST, EARLY SEPTEMBER (1998, Olivier
Assayas) ที่นำเสนอเศษเสี้ยวต่างๆในช ีวิตของตัวละครกลุ่มหนึ่งขณ ะที่พวกเขาอยู่ในช่วงของ
“การเรียนรู้และการเปลี่ยนผ ่าน” อะไรบางอย่างในชีวิต
5.สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ไม่รู้ว่าเป็นข้อดีหรือเ ปล่าของ ANGKANA ก็คือว่า
ท่าทีของหนังที่มีต่อตัวละค รตัวนี้มันแตกต่างไปจากหนัง กลุ่ม “แม่บ้าน” ที่เราเคยดูมาน่ะ
เพราะเราไม่รู้ว่าเราควรจะส งสารหรือสมเพชอังคณาดี หรือควรจะรักหรือเกลียดอังค ณาดี
เหมือนหนังเปิดโอกาสให้เราค ิดยังไงกับอังคณาก็ได้
ซึ่งสิ่งนี้แตกต่างจากหนังก ลุ่มแม่บ้านที่เราเคยดูมา
เพราะหนังกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ม ักจะรักตัวละครนางเอก และเปิดโอกาสให้คนดู sympathize
หรือ identify กับตัวละครแม่บ้านผู้ถูกกดข ี่
โดยหนังในกลุ่มนี้ก็มีเช่น
5.1 THE FALSE STEP (1939, Gustaf Gründgens, Germany) ที่เล่าเรื่องของเอฟฟี่ บรีสต์ หญิงสาววัยแรกแย้มที่ถูกพ่อ แม่จับหมั้นกับผู้ชายสูงวัย แต่ชีวิตแต่งงานของเธอล้มเห ลว เพราะสามีไม่สนใจเธอ
เธอก็เลยหันไปคบชู้แทน
5.2 AND THEN (1985, Yoshimitsu Morita) ที่เล่าเรื่องของหญิงสาวผู้ เปล่าเปลี่ยวและมีสามีที่ยา กจนและนิสัยไม่ดี
เธอแอบชอบเพื่อนของสามี แต่เธอก็แทบไม่กล้าแสดงออกอ ะไรเลย
เธอเก็บอารมณ์ความรู้สึกอย่ างนิ่งสนิทมากๆ การแสดงออกที่มากที่สุดของเ ธอมีเพียงแค่การดื่มน้ำจากแ จกันดอกไม้ในฉากหนึ่งเท่านั ้น
(ถ้าจำไม่ผิด)
5.3 BREMEN FREEDOM (1972, Rainer Werner Fassbinder, Germany) ที่สร้างจากเรื่องจริงของแม ่บ้านผู้ถูกกดขี่
เธอก็เลยลุกขึ้นมาสังหารหมู ่ประชาชนตายไปราว 15 คน
หรือถ้าหากไม่ได้เป็นหนังกล ุ่มแม่บ้านผู้ถูกกดขี่
หนังหลายเรื่องที่เราได้ดูก ็จะเป็นเรื่องของแม่บ้านที่ กดขี่ลูกๆของตนเอง
อย่างเช่น โอ้ มาดา (1977, ชนะ คราประยูร) หรือ MY
SON (2006, Martial Fougeron)
พอเปรียบเทียบกับหนังสองกลุ ่มนี้แล้ว
เราก็จะเห็นว่า ANGKANA มันแตกต่างจากหนังสองกลุ่มน ี้
และมันเหมือนรวมส่วนผสมของห นังสองกลุ่มนี้เข้าด้วยกัน
เพราะมันมีทั้งความน่าสงสาร ของตัวอังคณาที่ไม่ได้รับคว ามรักจากสามี
แต่หนังก็ไม่ได้ทำให้เราสงส ารเธอ โดยเฉพาะเมื่อได้เห็นสิ่งที ่เธอปฏิบัติต่อลูกชาย
นอกจากนี้ ANGKANA ยังแตกต่างจากหนังกลุ่มแม่บ ้านผู้ถูกกดขี่อย่างเห็นได้ ชัดในแง่ที่ว่า
หนังหลายเรื่องในกลุ่มนี้ จะแสดงให้เห็นถึง “ความรัก”
ของนางเอกที่มีต่อชายชู้ แต่อังคณาในเรื่องนี้ไม่ได้ เป็นชู้กับใคร
นอกจาก “กับตัวเอง” เราก็เลยรู้สึกว่าเนื้อเรื่ องของหนังเรื่องนี้มันแหวกแ นวและมันน่าสนใจมากๆ
6.แต่ปัจจัยที่ทำให้เรายังไ มได้ชอบหนังเรื่องนี้อย่างส ุดๆอาจจะเป็นเพราะว่า
เราไม่สามารถ identify กับตัวอังคณาได้ด้วยแหละ
ซึ่งเป็นเพราะว่าโดยปกติแล้ วเรามักจะ identify กับตัวละครแม่บ้านที่ลุกขึ้ นสู้หรือลุกขึ้นทำตามใจปราร ถนาของตัวเองมากกว่าตัวละคร แม่บ้านที่ปล่อยชีวิตให้ไหล ไปแบบในหนังเรื่องนี้
แต่นั่นก็คงจะเป็นจุดประสงค ์ของผู้กำกับอยู่แล้วล่ะ
เพราะผู้กำกับคงไม่ต้องการใ ห้ผู้ชม identify กับตัวอังคณาอยู่แล้ว
7.แต่การที่หนังวางตัวเป็นก ลาง ไม่เข้าข้างหรือประณามการกร ะทำของตัวละคร
มัน work สำหรับเราในระดับนึงในช่วงท ้ายของหนังนะ
ในส่วนที่พ้นจากตัวอังคณาไป แล้ว คือเราชอบที่หนังไม่ได้บอกอ ย่างชัดเจนว่าตัวละครพ่อ-แม ่เลี้ยง-ลูกชาย-ลูกสาว
“ทำผิดศีลธรรม และสมควรถูกลงโทษ” อะไรทำนองนี้ในช่วงท้ายของห นังน่ะ
เพราะเอาเข้าจริงแล้ว เราก็ไม่ได้รู้สึกว่าพ่อกับ แม่เลี้ยงทำผิดอะไรที่พลอดร ักกันแบบนั้น
และการกระทำของพี่ชาย-น้องส าวในฉากสุดท้าย ก็เป็นสิ่งที่ debate ได้ด้วยว่า ผิดหรือไม่ผิด เพราะมันอาจจะผิดมาตรฐานทาง ศีลธรรมของสังคมส่วนใหญ่
แต่เอาเข้าจริงแล้วมันก็ไม่ ได้ไปหนักหัวใคร หรือสร้างความเดือดร้อนให้ก ับใคร
เราก็เลยชอบท่าที “เป็นกลาง” ในช่วงท้ายของหนัง
สรุปว่า ANGKANA เป็นหนังที่เนื้อเรื่องแรงด ี
และมีความน่าจดจำทั้งในส่วน ของเนื้อเรื่อง, การสร้างตัวละครที่แรงมากโด ยเฉพาะเมื่อเทียบกับตัวละคร หญิงอื่นๆในหนังไทย,
การแสดงของนักแสดงนำ และการถ่ายภาพในบางฉาก
(เราว่าช่วงท้ายของหนังถ่าย ภาพได้น่าติดตามาก) แต่ท่าทีที่เป็นกลางของหนัง เหมือนจะส่งทั้งผลดีและผลเส ียต่อตัวเรา
เพราะเรารู้สึกมีระยะห่างจา กหนังและตัวละครในหนังในระด ับนึงน่ะ
และไม่สามารถ identify หรือมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละ ครตัวใดได้
เราก็เลยเหมือนยังไม่อินสุด ๆกับหนังเรื่องนี้ แต่เรากลับชอบท่าทีที่เป็นก ลางของหนังในช่วงท้ายของหนั ง
1.ไม่รู้ว่าเราใช้ approach ที่ผิดพลาดในการดูหนังเรื่อ
สิ่งนี้อาจจะเป็นเพราะว่า เราเคยดูหนังเรื่อง “ในยามหัวค่ำ...ครอบครัวหนึ
2.ชอบสิ่งที่วิทยากรท่านหนึ
3.นางเอกเล่นดีมากๆ
4.ชอบความแรงของหนังเรื่องน
5.สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ไม่รู้ว่าเป็นข้อดีหรือเ
ซึ่งสิ่งนี้แตกต่างจากหนังก
5.1 THE FALSE STEP (1939, Gustaf Gründgens, Germany) ที่เล่าเรื่องของเอฟฟี่ บรีสต์ หญิงสาววัยแรกแย้มที่ถูกพ่อ
5.2 AND THEN (1985, Yoshimitsu Morita) ที่เล่าเรื่องของหญิงสาวผู้
5.3 BREMEN FREEDOM (1972, Rainer Werner Fassbinder, Germany) ที่สร้างจากเรื่องจริงของแม
หรือถ้าหากไม่ได้เป็นหนังกล
พอเปรียบเทียบกับหนังสองกลุ
6.แต่ปัจจัยที่ทำให้เรายังไ
7.แต่การที่หนังวางตัวเป็นก
สรุปว่า ANGKANA เป็นหนังที่เนื้อเรื่องแรงด
No comments:
Post a Comment