HOME VILLAGE (1983, Seijiro Koyama, Japan, A+30)
--สมควรแล้วที่ Yoshi Kato คว้ารางวัลดารานำชายจากหนังเรื่องนี้มาได้ในเทศกาลภาพยนตร์มอสโคว์
เพราะมันเป็นการแสดงที่สุดขีดจริงๆ
--ดีใจที่ Japan Foundation ยังคงฉายหนังด้วยฟิล์ม
16 มม.อยู่เป็นประจำ รู้สึกประหลาดดีเหมือนกันที่การดูหนังด้วยฟิล์ม 16 มม.ที่
Japan Foundation, Goethe กับ Alliance
มันเคยเป็นเหมือน “ชีวิตประจำสัปดาห์” ของเราในยุคนึง
แต่อยู่ดีๆสิ่งที่เราทำเป็นประจำทุกสัปดาห์ มันก็ค่อยๆกลายเป็น “ของหายาก”
โดยที่เราไม่รู้ตัว
--ชอบ Kiki Kirin มากๆ
เธอเป็นดาราหญิงคนโปรดของเราจริงๆ
--ถึงแม้เราจะชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+30 แต่เราก็ว่า Seijiro
Koyama ไม่ใช่ผู้กำกับที่มีพรสวรรค์นะ คือเราว่าเรื่องนี้เขาได้ “องค์ประกอบ”
ที่ดีน่ะ ซึ่งก็คือนักแสดงนำชายของเรื่องนี้ได้รับบทที่เหมาะกับตัวเองจริงๆ
การแสดงของนักแสดงนำชายมันเลยช่วยสร้างอารมณ์ผูกพันกับคนดูได้
คือตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้
เรารู้สึกว่าตัวละครเอกของเรื่องมันเหมือนเป็นคนจริงๆน่ะ เราก็เลยรู้สึกห่วงใยเขา
(แต่จริงๆแล้วเราลุ้นให้เขาตายๆไปเสียที เพราะเราคิดว่าการตายเท่านั้นที่จะช่วยให้พระเอกพ้นทุกข์ได้จริงๆ)
และต้องคอยเตือนตัวเองในขณะที่ดูว่า มันเป็นตัวละครนะ มันไม่ใช่คนจริงๆ
เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องรู้สึกเครียดหรือเป็นทุกข์ไปกับตัวละครในเรื่องมากนักหรอก
--ในแง่นึงเราว่า Seijiro Koyama อาจจะประสบปัญหาคล้ายๆ
Gerhard Lamprecht ผู้กำกับหนังเยอรมันยุคไวมาร์ที่เราชอบมากๆก็ได้นะ
คือเราว่าสองคนนี้เป็นผู้กำกับที่มีฝีมือในระดับนึงน่ะ แต่ขาด “พรสวรรค์”
หนังของสองคนนี้ก็เลยขาด magic บางอย่างที่จะทำให้ตัวหนังมันรุนแรงสุดตีนได้
แต่เราชอบ Lamprecht มากกว่า Seijiro Koyama เยอะนะ เพราะหนังของ Lamprecht มันมีเนื้อเรื่องที่เข้าทางเรามากพอสมควร
ถึงแม้ฝีมือการกำกับของเขาอาจจะไม่ “มหัศจรรย์” เหมือนอย่าง G. W. Pabst ก็ตาม
ปัญหานึงที่เราพบใน HOME VILLAGE และเป็นสิ่งที่เราพบในหนังของ
Gerhard Lamprecht เหมือนกัน ก็คือว่า ตัวละครในหนังเรื่อง HOME
VILLAGE มันเป็น “คนดีที่ธรรมดาๆ” น่ะ
มันเหมือนกับว่าตัวละครในหนังเรื่อง HOME VILLAGE มันขาด “รายละเอียดเฉพาะตัว”
ยังไงไม่รู้ คือเราว่า คนธรรมดาแต่ละคน ถ้าหากเราพิจารณาดูจริงๆ
มันจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่ซ้ำกันน่ะ คือจริงๆแล้ว “คนธรรมดา”
ทุกคนมันมีความพิเศษเฉพาะตัวอยู่ในตัวเองน่ะ และทุกคนมันมีซอกหลืบเร้นลับอะไรบางอย่างในใจตัวเองอยู่
มีจุดอ่อนจุดแข็งในตัวเองอยู่ แต่หนังอย่าง HOME VILLAGE และหนังบางเรื่องของ
Lamprecht มันเหมือนกับว่าตัวละครส่วนใหญ่มันมีหน้าที่แค่ทำให้พล็อตเรื่องดำเนินไปในแนวทางที่วางไว้เท่านั้น
เพราะฉะนั้น “รายละเอียดปลีกย่อย”
ของตัวละครที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับพล็อตเรื่อง
ก็เลยเหมือนถูกตัดออกไปหมดเลย ตัวละครหลายๆตัวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อมีหน้าที่รองรับพล็อตเรื่องเท่านั้น
เพราะฉะนั้นตัวละครพวกนี้มันก็เลยไม่น่าจดจำในสายตาของเรา
และมันทำให้หนังขาดพลังที่สำคัญบางอย่างไป
--ถ้าจำไม่ผิด เราเคยดูหนังของ Seijiro Koyama อีกสองเรื่อง ซึ่งได้แก่ HACHIKO MONOGATARI (1987) กับ
FARAWAY SUNSET (1992, สร้างจากนิยายของ Kaneto
Shindo) แต่เราจำได้ว่าเราค่อนข้างเฉยๆกับการกำกับในหนังสองเรื่องนี้
ถึงแม้ว่าเราจะชอบ “เนื้อเรื่อง” ของ HACHIKO MONOGATARI เป็นอย่างมากก็ตาม
(มันคือเนื้อเรื่องเดียวกับ HACHI: A DOG’S TALE ที่กำกับโดย
Lasse Hallström)
Japan Foundation ชอบเอาหนังของ Seijiro Koyama มาฉายอีกสองเรื่องนะ ซึ่งก็คือเรื่อง SADAKO STORY (1989) กับ
THE PALE HAND (1990) แต่เราไม่เคยไปดูหนังสองเรื่องนี้
No comments:
Post a Comment