'83 (2021, Kabir Khan, India, A+30)
1.เหมือนช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ เราได้ดู "หนังกีฬา" จากอินเดียเยอะมาก ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมอินเดียถึงผลิตหนังกลุ่มนี้ออกมามากกว่าประเทศอื่น ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราเดาว่าอาจจะเป็นเพราะ "กระแสชาตินิยม" ขายได้ดีในอินเดียมั้ง ซึ่งกระแสชาตินิยมนี้ สามารถทำออกมาในแบบ "หนังแอคชั่น", "หนังพีเรียด ประวัติการรบพุ่ง" และ "หนังกีฬา" ก็ได้
ซึ่งในบรรดาหนัง 3 กลุ่มนี้ เราโอเคกับหนังกีฬามากสุด และเกลียดหนังแอคชั่นมากสุด เพราะในหนังแอคชั่นของอินเดีย ตัวร้ายมักเป็นปากีสถาน ส่วนหนังพีเรียดของอินเดียนั้น เหมือนเรารู้สึกว่ามันยกย่อง king, queen เป็นคน ๆ ไป แต่ไม่ได้แฝงความชาตินิยมแบบหนังพีเรียดของไทย และเราดูแล้วก็ไม่อินเท่าหนังกีฬาของอินเดีย อาจจะเป็นเพราะเราไม่รู้ประวัติศาสตร์ของแต่ละแคว้นในอินเดีย
2.ปัจจัยที่ทำให้เราค่อนข้างโอเคกับหนังกีฬาของอินเดีย คงเป็นเพราะส่วนใหญ่มันสร้างจากเรื่องจริงด้วยแหละ และพอมันสร้างจากเรื่องจริง อุปสรรคใหญ่ที่พระเอก/นางเอกในหนังกลุ่มนี้ต้องเผชิญ ก็คือ "คู่แข่งจากต่างชาติที่มีตัวตนจริง"
ซึ่งมันจะแตกต่างจากหนังแอคชั่น เพราะในหนังแอคชั่นนั้น "ผู้ร้าย" ของหนังมักจะถูกนำเสนอว่า เป็นคนชั่วร้ายเลวระยำโหดเหี้ยมมาก ๆ เพราะมันเป็น fiction ที่ผู้สร้างหนังจะสร้างตัวละครยังไงก็ได้
แต่พอเป็นหนังกีฬาที่สร้างจากเรื่องจริง ผู้สร้างหนังก็เลยไม่สามารถนำเสนอ "นักกีฬาชาวต่างชาติที่มีตัวตนจริง หรือดัดแปลงจากคนที่มีตัวตนจริง" ให้เป็นคนเลวระยำสัสหมาแบบหนังแอคชั่นได้ ผู้สร้างหนังอินเดียส่วนใหญ่ก็เลยทำได้แค่สร้างตัวละครนักกีฬาชาวต่างชาติเหล่านี้ให้ดูมีบุคลิกน่ากวนตีน หรือน่าหมั่นไส้เท่านั้น
และในการที่จะปลุกระดม "เลือดรักชาติอินเดีย" ในกลุ่มผู้ชมให้เดือดพล่านได้นั้น ผู้สร้างหนังก็เลยจำเป็นต้องเน้นย้ำ "ความเก่งกาจทางการกีฬา" อย่างรุนแรง ของชาวต่างชาติเหล่านี้ไปด้วย เพราะยิ่งชาวต่างชาติเหล่านี้ "เก่งกาจ" มากเท่าไหร่ ฉากการแข่งขันก็จะยิ่งสนุกขึ้นมากเพียงนั้น และชัยชนะของนักกีฬาอินเดียในตอนท้าย ก็จะยิ่งน่าภาคภูมิใจมากเพียงนั้น
เราก็เลยรู้สึกว่า "หนังรักชาติ" 2 genres นี้ มันตรงข้ามกันในแง่นึง เพราะ หนังรักชาติแบบหนังแอคชั่น จะเน้นย้ำ "ความโหดเหี้ยมเลวระยำสัสหมาของตัวร้ายชาวต่างชาติ" แต่หนังรักชาติแนวกีฬา จะเน้นย้ำ "ความเก่งกาจอย่างสุด ๆ ของคู่แข่งชาวต่างชาติ" เพื่อเป็นเครื่องมือในการยกย่องเชิดชูนักกีฬาชาวอินเดีย ซึ่งแน่นอนว่าเรายอมรับได้กับวิธีการแบบหนังกีฬามากกว่าแบบในหนังแอคชั่น
3. และใน '83 นี้ก็เหมือนกัน เพราะเราก็ enjoy มากพอสมควรกับการได้ดูความเก่งกาจแบบแทบจะเหนือมนุษย์ ของนักเล่นคริกเก็ตจาก West Indies ในหนังเรื่องนี้ เหมือนกับที่ได้ดูความเก่งกาจของนักเล่นแบดมินตันชาวสเปนใน SAINA (2021, Amole Gupte) และนักมวยปล้ำชาวไนจีเรียใน DANGAL (2016, Nitesh Tiwari)
4. น่าสนใจมากที่หนังนำเสนอว่า อินทิรา คานธี ใข้คริกเก็ตในการมอมเมาชาวอินเดีย เพราะหนังเล่าว่า ช่วงปี 1983 มีการก่อจลาจลในอินเดียเยอะมาก อินทิรา คานธีเลยหาทางถ่ายทอดสดงานแข่งขันคริกเก็ตไปให้ทุกหัวระแหงในอินเดีย ชาวบ้านจะได้มัวแต่ลุ้นการแข่งขันคริกเก็ต แล้วไม่ออกมาก่อจลาจลกัน
5.เพิ่งรู้ว่านักกีฬาอินเดียหลายคนกินมังสวิรัติ
---
เห็นเพื่อนโพสท์ถึงนิยายเล่มนี้ เราก็เลยนึกขึ้นได้ว่า ตอนเด็ก ๆ เราก็ชอบนิยายเล่มนี้อย่างสุด ๆ เหมือนกัน FIVE CHILDREN AND IT (1902, E. Nesbit) หรือ สัตว์ประหลาดสารพัดนึก
นิยายอีกเรื่องที่เราชอบสุด ๆ เป็นนิยายแปลที่เคยลงเป็นตอน ๆ ในนิตยสาร "สตรีสารภาคพิเศษ" ประมาณช่วงปลายทศวรรษ 1970 และมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การแข่งขันนักมายากล ที่ตัวละครส่วนใหญ่เป็นนักมายากล ยกเว้นพระเอก ที่เป็นพ่อมด และเขาใช้ magic จริง ๆ ไม่ได้ใช้เครื่องกลใด ๆ ในการแสดง แต่เราจำชื่อเรื่องไม่ได้แล้ว มีใครรู้บ้างว่ามันคือนิยายเรื่องอะไร เราจำได้แต่ว่า หน่วยเงินในเรื่องเป็น "กินนี"
---
TOUCHING THE SKIN OF EERINESS (2013, Ryusuke Hamaguchi, Japan, 54min, A+30)
พิศวงมาก ๆ ดูแล้วนึกถึง Kiyoshi Kurosawa กับ Claire Denis
--
THE KING'S MAN (2021, Matthew Vaughn, A+25)
Spoilers alert
--
--
--
--
--
1.ชอบมาก ๆ ที่เส้นเรื่องมันดูเหมือน "หนังชีวิต" มากกว่าหนังแอคชั่น เพราะเหมือนหนังมันเน้น "ความคิดของตัวละครที่เปลี่ยนแปลงไป" มากกว่าการหาทางเอาชนะกลุ่มผู้ร้ายน่ะ
เหมือนหนังมันเน้นพัฒนาการของตัวละครพ่อกับลูกชาย โดยเริ่มจาก
1.1 Orlando Oxford สู้เพื่อจักรวรรดิอังกฤษ
1.2 Orlando รู้สึกว่าตัวเองฆ่าคนที่ปกป้องบ้านเมืองของตัวเอง เขาก็เลยหันมาทำงานการกุศล
1.3 เมียเขาตายในสงครามที่ South Africa เขารับปากเมียก่อนตายว่าจะกันลูกชายจากสงคราม
1.4 เขายอมให้ลูกชาย (Conrad) ไปอ่อย Rasputin
1.5 เขาไม่ยอมให้ Conrad ไป WW I
1.6 Conrad ไป WW I เจอความเลวร้าย แล้วตระหนักว่า ตัวเองอาจจะคิดผิด
1.7 Orlando ปล่อยเนื้อปล่อยตัวหลังลูกตาย
1.8 Orlando มีกำลังใจฮึดสู้อีกครั้ง
เหมือนถ้าเป็นหนังแอคชั่นโดยทั่วไป เส้นเรื่องมันจะไม่เป็นแบบนี้น่ะ อันนี้ดูเส้นเรื่องแล้วนึกว่าหนังชีวิตแบบ FOR THE BOYS (1991, Mark Rydell) 55555
2. ชอบสุด ๆ ที่หนังให้ Conrad ตาย
3. ชอบฉากการต่อสู้ของ Rasputin มาก ๆ คลาสสิคมาก
4. แต่ก็ไม่ได้ชอบถึงระดับ A+30 นะ เพราะแอบขัดใจที่ Lenin อยู่ฝ่ายผู้ร้าย แต่ชื่อหนังมันก็บอกอยู่แล้วเนอะว่า หนังมันอยู่ฝายไหน 55555
--
A WRITER'S ODYSSEY (2021, Lu Yang, China, A+30)
VERY SERIOUS SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1. หนังมันเป็น propaganda ของรัฐบาลจีนหรือเปล่า เพราะหนังนำเสนอตัวละครผู้ร้ายที่ทำให้นึกถึงผู้บริหารบริษัท ALIBABA หรือบริษัท internet ยักษ์ใหญ่แห่งต่าง ๆ ของจีน และพอหนังนำผู้บริหารบริษัทแบบนี้ไปเทียบกับ "ปีศาจแดง" หรือ "ขุนพลใหญ่ที่กระด้างกระเดื่องต่อฮ่องเต้" มันก็เลยเหมือนกับว่า หนังเรื่องนี้นำเสนอ Jack Ma ว่ากระด้างกระเดื่องต่อฮ่องเต้สี จิ้นผิง
2. พอหนังจบแล้วเรางงอยู่แป๊บนึง เหมือนตามเรื่องไม่ทัน 55555 แล้วเราก็เลยพยายามนั่งคิดปะติดปะต่อเรื่องเองในช่วงนั่งดู ending credit ได้ดังนี้ ซึ่งไม่รู้ว่าเราเข้าใจถูกหรือเปล่า
2.1 Li Mu ฆ่าพ่อแม่ของ Lu Kongwen และพยายามหาทางฆ่า Lu Kongwen แบบเนียน ๆ
2.2 ลูกสาวของ Guan Ning ที่เราจำไม่ได้ว่าชื่ออะไร น่าจะประมาณ เสี้ยวจวี้จื่อ หรืออะไรทำนองนี้ (เหมือนใน imdb จะเขียนว่าชื่อ tangerine) ถูกลักพาตัวไปขาย แต่โดนโจรมอมยาหนักเกินไป โจรนึกว่าเด็กหญิงคนนี้ตายไปแล้ว ก็เลยทิ้งไว้ข้างทาง แต่เธอไม่ตาย และได้อยู่อาศัยกับเด็กชายพเนจรในเมืองนึง เธอจำเพลงกล่อมเด็กที่พ่อร้องให้ฟังเป็นประจำได้ เธอกับเด็กชายก็เลยร้องเพลงนี้เป็นประจำ โดยในเพลงนั้นมีชื่อเธออยู่ด้วย
3. เมืองนี้เป็นเมืองที่ Lu Kongwen อาศัยอยู่ เขาก็เลยได้ยินเพลงนี้ และนำชื่อ เสี้ยวจวี้จื่อ ที่เขาได้ยินในเพลงไปใช้เป็นชื่อตัวละครในนิยายที่เขาแต่ง
2.4 Li Mu ชอบแฮคข้อมูลลูกค้าของเขา เขาก็เลยรู้ว่า Guan Ning ตามหาลูกสาวที่หายไปนาน 6 ปี และลูกสาวคนนั้นมีชื่อเดียวกับตัวละครในนิยายของ Lu Kongwen เขาก็เลยแต่งเรื่องหลอก Guan Ning ว่านิยายของ Lu Kongwen ทำให้เขาป่วย เพื่อหลอกให้ Guan Ning ไปฆ่า Lu Kongwen เพื่อแลกกับข้อมูล dna เด็กหญิง 5 คนที่อาจจะเป็นลูกสาวของ Guan Ning เสร็จแล้วเขาก็จะฆ่า Guan Ning ปิดปาก แล้วทำแผนว่า Guan Ning ฆ่าตัวตาย เพราะ Guan Ning เป็นบ้า
2.5 แต่พอ Guan Ning ไปที่เมืองที่ Lu Kongwen อาศัยอยู่เขาก็เลยได้เจอ เสี้ยวจวี้จื่อ ตัวจริงด้วย
3. แต่ดูหนังแล้ว เราก็ตามไม่ทันนะว่า ทำไม Guan Ning ถึงฝันเห็นเมืองประหลาด หรือเป็นกระแสจิตลูกสาวที่ส่งมาให้เขา หรืออะไร
4.ถ้าใครตามเรื่องทัน แล้วมีข้อมูลอะไรจะเสริม ก็บอกมาด้วยนะ 55555
5.เราว่าหนังสนุกดี ก็เลยชอบหนังมากพอสมควร ถึงแม้เรารู้สึกว่า Guan Ning โง่ที่ไปเชื่อ Li Mu ในช่วงแรก 55555
--
CODA (2021, Sian Heder, A+30)
1.ชอบที่หนังนำเสนอการกดทับ 3 อย่างนี้
1.1 สังคม--คนหูหนวก ครอบครัวนางเอกไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน, นางเอกถูกล้อเลียนในโรงเรียน
1.2 พ่อแม่--ลูก ลูกถูกใช้เป็นแรงงานมากเกินไป พ่อแม่หวังพึ่งพาและเรียกร้องจากลูกมากเกินไป ไม่รับฟังความต้องการของลูก โดยในที่นี้คนหูหนวกเป็นฝ่ายกดทับคนหูดี เพราะคนหูดีมีสถานะเป็นลูก
1.3 พ่อค้าคนกลาง (ถ้าเข้าใจไม่ผิด) -- ชาวประมงรายย่อย โดยที่กฎหมายและเจ้าหน้าที่รัฐก็มีส่วนกดทับชาวประมงรายย่อยด้วย โดยวิธีแก้ก็คือการรวมตัวกันเป็นสหกรณ์
2. อินกับ CODA มากกว่า BEYOND SILENCE (1996, Caroline Link, Germany) และ LA FAMILLE BERLIER (2014, Eric Lartigau, France) น่าจะเป็นเพราะเรามักจะอินกับหนังที่ตัวละครประสบความยากลำบากในการทำมาหาเลี้ยงชีพ และเรารู้สึกว่าความยากลำบากของครอบครัวนี้ในการประกอบอาชีพประมงมันส่งผลทางอารมณ์มาก ๆ ต่อเรา คือถึงแม้คุณหูดี คุณก็ถูกกดทับจากพ่อค้าคนกลางและระบบกฎหมายอยู่ดี แต่การที่คุณหูหนวกก็ยิ่งเพิ่มปัญหาในการสื่อสารกับยามชายฝั่งและเพื่อนร่วมงานมากยิ่งขึ้นไปอีก
คือเหมือนเราจำไม่ได้แล้วว่าตัวละครใน BEYOND SILENCE กับ LA FAMILLE BERLIER ประกอบอาชีพอะไร แต่ถ้าหากนึกถึง CODA สิ่งแรกที่เรานึกถึงคืออาชีพประมง และการที่นางเอกต้องแหกขี้ตาตื่นตอนตีสามเพื่อไปจับปลาก่อนไปเรียนหนังสือ
คือเอาจริงแล้วเราอาจจะไม่ได้อินกับเรื่องคนหูหนวกมากนักน่ะ เพราะฉะนั้นพอ CODA มันมีเรื่อง "ความยากลำบากในการหาเงินมายังชีพ" อยู่ด้วย หนังก็เลยมีจุดที่ทำให้เราอินกับหนังอย่างสุด ๆ ได้
3.ชอบเพลง BOTH SIDES NOW อย่างรุนแรง
4.เพิ่งสังเกตว่าหนังเกี่ยวกับชนบทอเมริกา มักจะมีหน้าผาหินสูงให้ตัวละครกระโดดลงจุ่มน้ำ ซึ่งแตกต่างจากหนังไทยที่ตัวละครอาจไปเที่ยวน้ำตก เพราะภูมิประเทศของไทยกับอเมริกาแตกต่างกัน
คือพอเห็นผาหินจุ่มน้ำในหนังเรื่องนี้ ก็เลยนึกถึง IT กับ BREAKING AWAY (1979, Peter Yates) ที่มีผาหินให้กระโดดแบบนี้คล้าย ๆ กัน
--
FLOWERS OF SHANGHAI (1998, Hou Hsiao-hsien, Taiwan, A+30)
1. ชอบที่หนังมันเน้นเรื่องการเงินของเหล่านางโลมอย่างรุนแรง เหมือนนางโลมแต่ละคนต้องหาวิธีล่อหลอกเอาเงินหรือของมีค่าจากผู้ชายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ทำให้ผู้ชายรำคาญ มันไม่ใช่เรื่องง่ายแบบเย็ดหนึ่งครั้งจ่ายเท่าไหร่ หรือมีเงินเดือนแน่นอนตายตัว แต่มันต้องมีกลเม็ดมากพอสมควร ดูแล้วนึกถึงคุณแม่ Praiya Suriya มาก ๆ
2.ชอบมากที่แม่เล้าก็บ้าผู้ชายหนุ่ม ๆ และเสียเงินเพื่อเสพกามจากหนุ่ม ๆ ถึงแม้เหตุการณ์พวกนี้ไม่ได้ถูกนำเสนอโดยตรงในหนัง
3.ชอบการกำกับแสงในหนังมาก ๆ เพราะมันเป็นยุคที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่แสงตะเกียงในหนังต้องสว่างมากพอที่จะทำให้เห็นของประกอบฉากที่สวยงามมากมาย นึกว่าต้องปะทะกับ A FAREWELL TO HEMINGWAY (2008, Svetoslav Ovtcharov, Bulgaria) ที่จัดแสงได้งดงามสุด ๆ เหมือนกัน
4.เหมาะฉายควบกับ A GEISHA (1953, Kenji Mizoguchi) มาก ๆ
--
A LEAN SOUL (2020, Chu Hsien-jer, Taiwan, documentary, A+25)
1.นึกถึงคำพูดของเมอฤดีที่ว่า "ศิลปินมีไว้ให้ชื่นชมผลงาน แต่อย่าไปรู้จักเป็นการส่วนตัว" เพราะคุณจะพบว่าเขาเป็นคนเหี้ยมาก
2. ชอบการ visualize นิยายของ Qi Deng Sheng นึกว่าต้องปะทะกับ MISHIMA: A LIFE IN FOUR CHAPTERS (1985, Paul Schrader)
--
MICKEY ON THE ROAD (2020, Lu Mian-mian, Taiwan, A+25)
Spoilers alert
--
-'
--
-'
--
สงสาร Mickey ตอนแรกดีใจไปกับเธอ ที่เหมือนมีนักธุรกิจหนุ่มหล่อน่ารักมาชอบเธอ แต่ไป ๆ มา ๆ เขากลับเป็นคนติงต๊อง โธ่ เสียดายของ
No comments:
Post a Comment