Saturday, January 22, 2022

MY FEELINGS FOR EXPERIMENTAL FILMS

 

ความรู้สึกของเราที่มีต่อ “หนังที่ไม่ได้เน้นการเล่าเรื่อง” และหนังทดลอง

 

พอดีเขียนคุยกับน้องคนนึง แล้วก็เลยคิดว่าตัวเองอยากจดความรู้สึกของเราที่มีต่อหนังกลุ่มนี้ไว้ดีกว่า

 

1. FAVORITE QUOTES

 

1.1 Luis Bunuel – “จินตนาการคืออภิสิทธิ์สำคัญซึ่งอธิบายไม่ได้ เช่นเดียวกับเหตุบังเอิญต่าง ๆ ที่จุดมันขึ้นมา ผมพยายามมาทั้งชีวิตที่จะยอมรับมโนภาพต่าง ๆ ที่ผุดขึ้นมา โดยไม่พยายามวิเคราะห์มัน”

 

“ผมยังมีจินตนาการอยู่ และผมจะอยู่ในป้อมปราการแห่งความไร้เดียงสาของมันไปตราบจนวาระสุดท้าย ความโหยหาที่จะ “เข้าใจ” ทุกสิ่งทุกอย่างนี้ทำให้ผมเกิดความรู้สึกสยดสยอง ยิ่งผมแก่ตัว ผมก็ยิ่งรักสิ่งที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายมากขึ้นทุกที”

(จากหนังสือฟิล์มไวรัส เล่ม 1 ปี 1998)

 

1.2 Wim Wenders – “ผมไม่ชอบการจัดแจงชนิดที่ต้องบีบภาพทุกภาพในหนังให้เข้าไปอยู่ในเรื่องราวเพียงเรื่องหนึ่ง มันเป็นอันตรายต่อภาพเหล่านั้นอย่างยิ่ง เพราะมักจะทำให้ภาพขาด ชีวิต ไป ในความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราวและภาพ ผมมองเรื่องราวเหมือนเป็นผีดิบอะไรสักอย่าง ที่พยายามดูดเลือดออกจากภาพจนเหือดแห้ง ภาพคือสิ่งที่มีความรู้สึกละเอียดอ่อนมาก เหมือนหอยทากที่หดกลับทันทีที่คุณแตะโดนเขาของมัน มันไม่ได้มีเขาไว้เพื่อเป็น ม้าลากเกวียน ที่จะมาแบกและขนส่งสาส์นหรือสาระ หรือความมุ่งหมาย หรือศีลธรรมจรรยาใด ๆ แต่นั่นล่ะคือ สิ่งที่เรื่องราวต้องการจากมัน”

(จากหนังสือฟิล์มไวรัส เล่ม 1 ปี 1998)

 

1.3 Alexander Kluge -- "Understanding a film completely is conceptual imperialism which colonizes its objects. If I have understood everything then something has been emptied out.

We must make films that thoroughly oppose such imperialism of consciousness. I encounter something in film which still surprises me and which I can perceive without devouring it. I cannot understand a puddle on which the rain is falling—I can only see it; to say that I understand the puddle is meaningless. Relaxation means that I myself become alive for a moment, allowing my senses to run wild: for once not to be on guard with the policelike intention of letting nothing escape me.”

 

1.4 Alain Robbe-Grillet พูดถึงการใส่ “เศษเสี้ยว” ซึ่งเป็นเศษเสี้ยวที่ไม่ได้ช่วยต่อเติมให้เกิดภาพรวมที่สมบูรณ์ คนอ่านนิยายหรือคนดูภาพยนตร์เมื่อเห็นเศษเสี้ยวเหล่านี้ จะไม่สามารถนำเศษเสี้ยวเหล่านี้ไปจัดเรียงใหม่ให้กลายเป็นภาพรวมที่สมบูรณ์เหมือนการต่อ jigsaw ได้ เพราะพวกเขาจะพบว่าเศษเสี้ยวบางอันมันไม่เข้ากัน ประกบเข้าด้วยกันไม่ได้ หรือมีเศษเสี้ยวที่ล้นเกินมา “เศษเสี้ยวที่ต่อต้านความสมบูรณ์ของภาพรวมหรือของเรื่องเล่า” แบบนี้จะทรงพลังมาก ๆ เพราะพลังของมันจะไม่ถูกลดทอนลงด้วย “ความหมาย”

 

 And so incompatible fragments may be two versions of a same piece, as when in a story for which one has been given almost all the pieces, there is one piece too many that may be a new version of one of the pieces one has already been given. In this case, the fragment is a fragment in the modern sense; an object that is not in any way a symbol of the totality of the world but which appears itself as impossible to be linked to anything else. It works by virtue of its presence rather than through a meaning. It is very interesting to see that this presence is felt all the more strongly as the meaning is increasingly effaced or minimized."

 

1.5 Emily Dickinson -- If I read a book and it makes my whole body so cold no fire can warm me, I know that is poetry. If I feel physically as if the top of my head were taken off, I know that is poetry. These are the only ways I know it. Is there any other way?

 

“ถ้าฉันอ่านหนังสือเล่มนึง แล้วหนังสือเล่มนั้นทำให้ร่างกายของฉันรู้สึกหนาวยะเยือกจนไม่มีแม้แต่ไฟใดที่จะทำให้ฉันรู้สึกอบอุ่นขึ้นมาได้ ฉันก็รู้ได้เลยว่าหนังสือเล่มนั้นคือบทกวี หรือถ้าหากหนังสือเล่มใดทำให้ฉันรู้สึกราวกับว่าหัวของฉันถูกตัดสะบั้นให้หลุดออกไป ฉันก็รู้ได้เลยว่าหนังสือเล่มนั้นคือบทกวี”

 

2.สาเหตุนึงที่เราชอบดูหนังทดลองหรือ “หนังที่ไม่ได้เน้นการเล่าเรื่อง”เป็นอย่างมาก อาจจะเป็นเพราะว่าหนังกลุ่มนี้มันก็ให้ความสุขสุด ๆ กับเราได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเนื้อเรื่องแต่อย่างใด

 

คือเหมือนกับว่าความสุขของเรามันเกิดจากอะไรได้หลาย ๆ อย่างน่ะ โดยที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องหรือ message คำสั่งสอนใด ๆ ที่ผู้สร้างหนังต้องการจะบอกกับเราก็ได้ ความสุขของเราอาจจะเกิดจากอะไรก็ได้มากมายในโลกนี้ อย่างเช่น

 

2.1 paintings ซึ่ง paintings ก็ไม่ได้เล่าเรื่อง แต่มันก็ให้ความสุขกับเราได้ผ่านทางความงามของ “ภาพ”, ของสีสัน, ของจินตนาการของผู้วาดภาพ หรือ paintings บางอันที่เป็นภาพแบบ abstract มันก็ให้ความสุขกับเราได้โดยที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคือภาพของอะไร คือ “ภาพ” มันให้ความสุขกับเราได้อย่างสุด ๆ อยู่แล้วโดยไม่ต้องอิงแอบกับเนื้อเรื่อง

 

2.2 เสียงดนตรี ทั้งดนตรีคลาสสิค, ดนตรี dance techno อย่าง BLUE ROOM ของ The Orb หรือเพลงของ Future Sound of London หรือดนตรีบรรเลงใด ๆ อย่าง THE SUN IN THE STREAM ของ Enya มันก็ไม่เห็นจะต้องมีเนื้อร้อง คือเสียงดนตรีมันให้ความสุขอย่างสุด ๆ กับเราได้อยู่แล้ว โดยไม่ต้องอิงแอบกับ “เนื้อร้อง” หรือ “ความหมาย”

 

2.3 บทกวี ที่ไม่ได้เน้นการเล่าเรื่อง แต่สามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราอย่างรุนแรงได้

 

2.4 สิ่งต่าง ๆ บนโลกนี้ ที่เปี่ยมไปด้วยความงดงาม – ก้อนเมฆบนท้องฟ้า,ใบไม้ไหว ลมรำเพยแผ่วพลิ้ว สยิวใบหญ้า, แสงแดดลอดผ่านม่านหน้าต่างเข้ามา, etc. โลกนี้เต็มไปด้วยความงดงามต่าง ๆ มากมาย ที่ให้ความสุขกับเราได้อย่างสุด ๆ โดยไม่ต้องมี “เนื้อเรื่อง” ใดๆ ไปครอบมันเอาไว้

 

3.เพราะฉะนั้นหนังทดลองหลาย ๆ เรื่องก็เลยให้ความสุขสุด ๆ กับเราได้ เพราะพอมันปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจาก “เนื้อเรื่อง”, “คำสั่งสอน” และ “ความหมาย” องค์ประกอบอื่น ๆ ของหนัง ซึ่งก็คือ “ภาพเคลื่อนไหว”, “เสียง” , “การตัดต่อ”, etc. ก็เลยเหมือนสำแดงเดชของมันได้อยางเต็มที่ และให้ความสุขกับเราได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องถูกลดทอนด้วยเนื้อเรื่อง

 

3.1 หนังที่ให้ความสุขกับเราด้านภาพเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ ก็อาจจะมีเช่น THE DANTE QUARTET (1987, Stan Brakhage), ENGRAM OF RETURNING (2015, Daïchi Saïto, Canada)

 

3.2 หนังที่ให้ความสุขกับเราในด้านภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้อย่างเต็มที่ ก็อาจจะมีเช่นหนังของ Takashi Makino,  PAMELA POUR TOUJOURS (2003, Alain Bourges), WHY DO YOU JUMP? (2011, Korn Kanogkekarin)

 

3.3 หนังที่ให้ความสุขกับเราในด้านภาพเคลื่อนไหว, เสียง และการตัดต่อได้อย่างเต็มที่ ก็อาจจะมีเช่นหนังของ Alain Robbe-Grillet, หนังของ Carmelo Bene และหนังอย่าง TIME OF THE LAST PERSECUTION (2012, Taiki Sakpisit)

 

4.เราว่า ความสุขสุด ๆ ของเรา ในหลาย ๆ ครั้งมันเกิดจาก “สิ่งที่เราไม่เข้าใจ”, “สิ่งที่เราอธิบายไม่ได้”, “สิ่งที่เราถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดไม่ได้” น่ะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราเดาว่ามันเกี่ยวข้องกับจิตใต้สำนึกของเรา คือเหมือนทั้งจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกของเราต่างก็เป็นส่วนประกอบของจิตวิญญาณเรา และหนังเล่าเรื่องหลาย ๆ เรื่องมันให้ความสุขกับเราผ่านทางการกระทบกับจิตสำนึกของเรา เราดูหนังเล่าเรื่องแล้วเราเข้าใจเนื้อเรื่อง, ความหมาย และสารของผู้สร้างหนัง เราสามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือข้อความได้โดยง่ายว่า เราชอบหนังเรื่องนี้เพราะมันตอบสนองความเงี่ยนของเรา, มันสะใจเรา, etc. อาจจะคล้าย ๆ กับการอ่านนิยายประโลมโลกย์โดยทั่วไป

 

แต่จิตใต้สำนึกก็เป็นส่วนสำคัญสุด ๆ ในจิตวิญญาณของเราด้วยเช่นกัน และมันมีส่วนสำคัญอย่างมาก ๆ ต่ออารมณ์, ความรู้สึก, ความคิดของเราด้วย มันมีหลายครั้งที่เราไม่เข้าใจหรือไม่สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดเราถึงรู้สึกแบบนั้นหรือคิดแบบนี้

 

ซึ่ง “หนังไม่เล่าเรื่อง” หลาย ๆ เรื่อง, หนังทดลอง, บทกวี, งานศิลปะบางชิ้น มันเหมือนสร้างความรู้สึกเปี่ยมสุขสุด ๆ ให้กับเราได้ หรือสร้างความรู้สึก sublime มาก ๆ ให้กับเราได้ โดยที่เราไม่เข้าใจหรือไม่สามารถอธิบายมันได้เลยว่า เพราะเหตุใดมันถึงทำให้เรารู้สึกแบบนั้นได้  มันเหมือนกับว่า หนังทดลอง, บทกวี และงานศิลปะเหล่านี้ มันสามารถลงลึกไปถึงจิตใต้สำนึกของเราได้น่ะ หรือเจาะลึกเข้าถึงส่วนลึกบางอย่างในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งเป็นส่วนที่เราไม่เข้าใจมัน

 

ตัวอย่างหนังในกลุ่มนี้ก็อาจจะรวมถึง

 

4.1 หนังหลาย ๆ เรื่องของ Teeranit Siangsanoh, Wachara Kanha และสำนักงานใต้ดิน อย่างเช่น

 

เฟื่อง (2010, The Underground Office)

https://www.youtube.com/watch?v=vfPYYMQODlI&t=166s

 

PHENOMENON (2012, Teeranit Siangsanoh)

https://www.youtube.com/watch?v=c_xv2n02-TM&t=4s

 

ชิงชัง (2012, Wachara Kanha)

https://www.youtube.com/watch?v=m3y9Kklh5ww

 

GRINDHOUSE FOR UTOPIA (2013, Tani Thitiprawat)

 

4.2 หนังของ Werner Schroeter อย่างเช่น EIKA KATAPPA (1969) และ THE DEATH OF MARIA MALIBRAN (1972)

 

4.3 ALL MY LIFE (1966, Bruce Baillie)

 

4.4 HIGH KUKUS (1973, James Broughton)

 

4.5 TAKE THE 5:10 TO DREAMLAND (1976, Bruce Conner)

 

4.6 BLIGHT (1996, John Smith, UK)

 

4.7 THE BOY FROM MARS (2003, Philippe Parreno)

 

4.8 LIFE IS SHORT 2 (2006, Tossapol Boonsinsukh)

 

4.9 COMING ATTRACTIONS (2010, Peter Tscherkassky, Austria)

 

4.10 3 DREAMS OF HORSES (2018, Mike Hoolboom, Canada)

 

4.11 A PERSONAL ODYSSEY (2018, Phasitpol Kerdpool)      

กาลเทศะ (พสิษฐ์พล เกิดพูล)

 

5. หนังหลายเรื่องก็ทำให้เราเพลิดเพลินไปกับโลกแห่งความฝันและจินตนาการของผู้สร้างหนังได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาเนื้อเรื่องเป็นหลัก เพราะเราว่าจิตมนุษย์มันไม่ได้คิดถึงสิ่งต่าง ๆ เรียงกันตามลำดับเวลาหรือต่อเนื่องกันไปเป็นเหตุผลเสมอไปน่ะ จิตมนุษย์ ซึ่งรวมถึง “ความคิด”, “กระแสสำนึก”, “ความทรงจำ”, “จินตนาการ”, “ความทรงจำผสมกับจินตนาการ”, “ความฝัน”, “ความใฝ่ฝัน”, etc. บางทีมันต้องการการถ่ายทอดออกมาในแบบที่เป็นอิสระอย่างเต็มที่  ไม่ต้องถูกกดทับด้วยเหตุผลหรือเนื้อเรื่อง

 

หรือหนังบางเรื่องมันอาจจะมีเนื้อเรื่องและความหมายก็จริง แต่ผู้สร้างหนังกลุ่มนี้ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเนื้อเรื่องและความหมายของมันมากนัก แต่ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบอื่นๆ  ของหนังมากกว่า เพราะฉะนั้นเราจึงรู้สึกตกตะลึงพรึงเพริดกับ “จินตนาการแบบค่อนข้างเป็นอิสระ” ของผู้สร้างหนังกลุ่มนี้ มากกว่าเนื้อเรื่องในหนังกลุ่มนี้

 

หนังกลุ่มนี้ก็มีเช่น

 

5.1 BLOOD OF A POET (1930, Jean Cocteau, France)

 

5.2 หนังของ Maya Deren

 

5.3 หนังของ Kenneth Anger

 

5.4 THE COLOUR OF POMMEGRANATES (1969, Sergei Paradjanov, Soviet Union)

 

5.5 THE GRANDMOTHER (1970, David Lynch)

 

5.6 MIRROR (1975, Andrei Tarkovsky, Soviet Union)

 

5.7 FREAK ORLANDO (1981, Ulrike Ottinger, West Germany)

 

5.8 KALYI (1993, Fred Kelemen, Germany)

 

5.9 LOOK OF LOVE (2006, Yoshiharu Ueoka, Japan)

 

5.10 PHANTOM LOVE (2007, Nina Menkes)

 

5.11 I FORGOT THE TITLE (2009, Christelle Lheureux, France)

 

5.12 DROWSINESS (2019, Shitsanuphong Sornkeaw ชิษณุพงศ์ ศรแก้ว, 74min)

 

6.หนังหลายเรื่องก็ทำให้เราสนุกไปกับการใช้จินตนาการของตัวเองได้ด้วย เพราะหนังกลุ่มนี้มักจะกระตุ้นจินตนาการของผู้ชม โดยอาจจะผ่านทางการใช้ภาพและเสียงที่ไม่สอดคล้องกันในแต่ละฉาก  คือหนังเล่าเรื่องส่วนใหญ่มันจะนำเสนอภาพและเสียงที่สอดคล้องกัน แต่หนังของ Marguerite Duras หลาย ๆ เรื่อง มันใช้ภาพที่ดูเหมือนเล่าเรื่อง และใช้เสียงที่ดูเหมือนเล่าเรื่อง แต่มันจะไม่สอดคล้องกันซะทีเดียว อย่างเช่นเราเห็นฉากคนกลุ่มหนึ่งนั่งและยืนนิ่ง ๆ อยู่ในบ้านเป็นเวลา 5 นาที แต่เราได้ยินเสียงบรรยายถึงพระอาทิตย์ขึ้นที่แม่น้ำคงคาไปเรื่อย ๆ การใช้ภาพและเสียงที่ไม่ได้สอดคล้องกันแบบนี้ในหนังหลาย ๆ เรื่องของ Duras มันช่วยกระตุ้นจินตนาการของผู้ชมได้อย่างรุนแรงมาก ทั้งใน INDIA SONG, HER VENETIAN NAME IN DESERTED CALCUTTA, THE TRUCK, AGATHA AND THE UNLIMITED READINGS

 

หรือหนังไทยอย่าง POLITICALLY LAWYER AND NARRATIVE CINEMA (2009, Chaloemkiat Saeyong) และ GAZE AND HEAR (2010, Nontawat Numbenchapol) ก็มีการใช้ภาพกับเสียง หรือภาพกับ text ที่ไม่สอดคล้องกัน เพื่อกระตุ้นจินตนาการผู้ชมเช่นกัน

 

หรือหนังบางเรื่องก็สามารถกระตุ้นจินตนาการผู้ชมผ่านทางวิธีการอื่น ๆ ด้วย อย่างเช่น LE MONDE VIVANT (2003, Eugene Green) ที่ตัวละครชี้ไปที่หมา แล้วบอกว่าเป็นสิงโต แล้วผู้ชมก็มีหน้าที่จินตนาการเอาเองว่า หมาที่เห็นในจอภาพยนตร์คือสิงโตตามเนื้อเรื่องในหนัง

 

หรือหนังบางเรื่อง ก็ใช้วิธีถ่าย location ต่าง ๆ ในปัจจุบัน แล้วให้ผู้ชมจินตนาการเอาเองว่ามันเป็น location ในอดีตตามท้องเรื่อง อย่างเช่นหนังเรื่อง LUDWIG’S COOK (1972, Hans-Jürgen Syberberg, West Germany) และ MANUS CHANYONG ONE NIGHT AT TALAENGGAENG ROAD (2008, Phaisit Phanphruksachat)

 

หรือหนังบางเรื่อง ก็ใช้วิธีถ่ายภาพนิ่งแบบหนังสือการ์ตูน หรือ  storyboard แล้วกระตุ้นให้ผู้ชมจินตนาการ “ภาพเคลื่อนไหว” ขึ้นมาในหัวของตัวเอง โดยผ่านทางภาพแบบ storyboard ที่ผู้ชมได้เห็น โดยหนังในกลุ่มนี้ก็มีเช่น BAND OF NINJA (1967, Nagisa Oshima, Japan) และ A LITTLE JELLY (2019, Supakit Seksuwan, 61min)

 

7.เราชอบหนังบางเรื่องอย่างสุดๆ เพราะหนังเหล่านี้สามารถสะกดจิตเราอย่างรุนแรงได้ คือหนังบางเรื่องมันมี wavelength ตรงกับเรา (ซึ่งเรื่องนี้ก็คงเกี่ยวข้องกับจิตใต้สำนึก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เข้าใจ) และมันถ่ายบางสิ่งบางอย่างเป็นเวลานาน แต่ผู้สร้างหนังกลับไม่ทำให้เราเบื่อ แต่สามารถสะกดจิตเราให้ตรึงตราไปกับภาพนิ่ง ๆ (หรือภาพที่แทบไม่ได้มีผลในการเล่าเรื่องใด ๆ) ที่อยู่ตรงหน้าได้  มันทำให้เราเหมือนเข้าฌาน และรู้สึก sublime, เปี่ยมสุข หรือรู้สึกอะไรบางอย่างอย่างรุนแรงโดยที่ไม่สามารถอธิบายได้

 

หรือหนังบางเรื่องก็อาจจะใช้วิธีการคล้าย ๆ กัน แต่ไม่สามารถสะกดจิตเราได้อย่างรุนแรง แต่ภาพที่เห็นก็ยังคงมีพลังเสน่ห์ดึงดูดบางอย่างที่ทำให้เราไม่รู้สึกเบื่อ คือหนังกลุ่มหลังนี้อาจจะไม่ทำให้เรารู้สึกเหมือนเข้าฌาน แต่เราก็สามารถดูภาพในหนังไปได้เรื่อย ๆ พร้อมกับคิดถึงเรื่องอะไรอื่น ๆ ไปได้เรื่อย ๆ

 

หนังกลุ่มสะกดจิตเราก็มีเช่น

 

7.1 WINDOWS (1999, Apichatpong Weerasethakul)

 

7.2 PISCINE (Jean-Baptiste Bruant and Maria Spangaro, 2002)

 

7.3 AFTERNOON (2005, Poopaan Sornwismongkol)

 

7.4 AUTOHYSTORIA (2007, Raya Martin, Philippines)

 

7.5 PERU TIME (2008, Chaloemkiat Saeyong)

 

7.6 DOUBLE TIDE (2009, Sharon Lockhart)

 

7.7 RUHR (2009, James Benning)

 

7.8 PSYCHOHYDROGRAPHY (2010, Peter Bo Rappmund)

 

7.9 ZOETROPE (2011, Rouzbeh Rashidi, Ireland)

 

7.10 SLEEP HAS HER HOUSE (2017, Scott Barley, UK)

 

8. หนังบางเรื่องก็ทำให้เรารู้สึกดื่มด่ำหรือจมลึกไปกับบรรยากาศของหนังอย่างสุด ๆ คือเหมือนกับว่าตัวละครที่สำคัญที่สุดในหนังกลุ่มนี้ไม่ใช่คน แต่เป็น “สถานที่” หรือ “บรรยากาศ” และหนังกลุ่มนี้ก็เข้ากับความสุขของเราที่เขียนไว้ในข้อ 2.4 เพราะว่าความสุขที่เราได้รับจากโลกนี้ มันไม่จำเป็นต้องมาจาก “เนื้อเรื่อง” แต่มันมาจากการเฝ้าดูแสงแดดส่องลอดผ้าม่านเข้ามาเรื่อย ๆ ก็ได้ หรือเฝ้าดูก้อนเมฆเคลื่อนคล้อยไปเรื่อยๆ  ก็ได้ หนังกลุ่มบรรยากาศนี้ก็เลยเข้าทางเรามาก ๆ มันเหมือนทำให้เราได้สัมผัสกับความสุขเปี่ยมล้นผ่านทางพลังทางบรรยากาศของหนัง

 

หนังในกลุ่มนี้ก็มีเช่น

 

8.1 HOTEL MONTEREY (1973, Chantal Akerman)

 

8.2 THE CORRIDOR (1994, Sharunas Bartas, Lithuania)

 

8.3 VACANCY (1999, Matthias Muller, Germany)

 

8.4 LISTENER’S TALE (2007, Arghya Basu, India)

 

8.5 ONE NIGHT (2008, Zart Tancharoen)

 

8.6 PASSING THROUGH THE NIGHT (2011, Wattanapume Laisuwanchai)

 

8.7 ฐานของแสงเท่ากับรังสีของแสง (2012, Wachara Kanha)

https://www.youtube.com/watch?v=hlsgzOZNkho&t=841s

 

8.8 FINAL STAGE (THE TIME FOR ALL BUT SUNSET – BGYOR) (2017, Nicolaas Schmidt, Germany)

 

8.9 หนังไอร์แลนด์ของ Dean Kavanagh

 

8.10 หนังของ Weerapong Wimuktalop

 

9.หนังทดลองบางเรื่องก็อาจจะมี “ความหมาย” ซ่อนอยู่ และกระตุ้นให้เราใช้ความคิดอย่างมาก ๆ ในการตีความ หรือพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เห็น โดยเฉพาะหนังการเมือง แต่สิ่งสำคัญก็คือว่า ถึงเราจะไม่เข้าใจมัน หรือตีความมันไม่ออก หนังเรื่องนั้นก็เหมือนสร้างความพึงพอใจให้เราได้อย่างมากๆ อยู่ดี เพราะมันเหมือน satisfy เราในทางอารมณ์หรือในทางจิตใต้สำนึกโดยที่เราไม่เข้าใจมันไปแล้ว

 

หนังในกลุ่มนี้ก็มีเช่น

 

9.1 หนังของ Jean-Luc Godard

 

9.2 หนังของ Jean-Marie Straub

 

9.3 หนังของ Alexander Kluge

 

9.4 ECHTZEIT (1983, Hellmuth Costard, Jürgen Ebert, West Germany)

 

9.5 BOYS ARE BACK IN TOWN (2015, Eakalak Maleetipawan)

 

9.6 BY THE TIME IT GETS DARK (2016, Anocha Suwichakornpong)

 

9.7 SONG X (2017, Pathompon Tesprateep)

 

9.8 A PICTURE OF DESTRUCTION (2019, Kanat Nimvijit ฆนัท นิ่มวิจิตร)

 

9.9 WHEN ONE, AND THEN THREE (2019, Tanwarat Sombatwattana)

เมื่อหนึ่งแล้วจึงสาม (ธัญวรัตน์ สมบัติวัฒนา)

 

10. หนังทดลองบางเรื่องก็ทำให้เราสนุกไปกับการไม่รู้ไม่เข้าใจอะไรอีกแล้ว  55555 อย่างเช่น

 

10.1 VIDEO 50 (1978, Robert Wilson, West Germany)

 

10.2  WHAT HAPPENED TO MAGDALENA JUNG? (1983, Christoph Schlingensief, West Germany)

 

10.3 BOONTHING  (1991, Hamer Salwala, Saipin Kulkanokwan, & Orawan Ovathasarn )

 

10.4 ESCAPE FROM POPRAYA 2526 (2007, Phaisit Phanphruksachat),

 

10.5 SWEETHEART GARDEN (2009, Tanatchai Bandasak)

 

11. และหนังทดลองบางเรื่องก็ทำให้เรามีความสุขกับการได้เห็นว่า ภาพยนตร์มันไม่มีขีดจำกัด ผู้สร้างหนังสามารถสร้างหนังได้ด้วยแนวทางต่าง ๆ มากมายในแบบที่เราไม่เคยคาดฝันมาก่อนว่าจะมีคนทำได้ อย่างเช่น

 

11.1 VINYL (1965, Andy Warhol)

 

11.2 Berlin (10 Nov. 1974 - 28 Jan. 1975) - Exercises in Nine Parts: Dreaming Under Water of Things Afar (1975, Rebecca Horn, West Germany)

 

11.3 A WALK THROUGH H (1979,  Peter Greenaway, UK)

 

11.4 A WHOLE NIGHT (1982, Chantal Akerman, Belgium)

 

11.5 THE DAY OF THE FULL MOON (1998, Karen Shakhnazarov, Russia)

 

11.6 WHAT THE WATER SAID, NOS. 13 (1998, David Gatten)

 

11.7 DANGER (DIRECTOR’S CUT) (2008, Chulayarnnon Siriphol)

 

11.8 ARABIAN NIGHTS (2015, Miguel Gomes, Portugal)

 

11.9 EXPEDITION CONTENT (2020, Veronika Kusumayarti, Ernst Karel)

 

11.10 “1. ศาลายา กระฉึก กระฉัก 2563” (2021, Manussak Dokmai)

 

 

No comments: