GHOSTS IN APICHATPONG’S HOMETOWN (2021, Jutha Saovabha, 8min, A+25)
ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่
1.สิ่งหนึ่งที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้
ซึ่งเป็นสิ่งที่ตัวหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ ก็คือการที่เรารู้สึกว่า
หนังเรื่องนี้จัดเป็นหนึ่งในหนังไม่กี่เรื่อง ที่เรารู้สึกว่า
“เหมาะจะดูออนไลน์ผ่านจอคอม” มากกว่าดูในโรงภาพยนตร์ 55555
ซึ่งมันเป็นสิ่งที่สวนทางกับหนังทั่วไป เพราะหนังทั่วไปมักจะเปล่งประกายหรือทรงพลังสุดขีดเมื่อได้ฉายในโรงภาพยนตร์จอใหญ่ยักษ์
แต่มีหนังไม่กี่ประเภทที่เรารู้สึกว่าเป็นข้อยกเว้น
โดยหนึ่งในหนังกลุ่มนี้ก็คือหนังสั้นหลายเรื่องที่ฉายในเทศกาลมาราธอนปีนี้ ซึ่งเป็นหนังที่ทั้งเรื่องถ่ายทำโดยใช้โปรแกรม
ZOOM ซึ่งเรารู้สึกว่าหนัง ZOOM เหล่านี้พอดูผ่านจอคอมที่บ้านมันอาจจะทำให้เรารู้สึกอินกับหนังมากขึ้นหรือเปล่า
เราก็ไม่แน่ใจ
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้เหมาะดูผ่านจอคอม
เป็นเพราะว่า หนังเรื่องนี้มีการใส่ภาพปริศนาเข้ามาในหนังเป็นระยะ ๆ ในช่วงนึงของเรื่อง
เป็นภาพที่ปรากฏแวบเดียว เพียงเสี้ยววินาทีเดียว มันปรากฏหลายครั้ง
แต่แต่ละครั้งมันปรากฏสั้นมาก ๆ จนเราไม่สามารถสำเหนียกได้ว่า
เราเห็นภาพอะไรกันแน่ เรารู้แต่ว่าเราเห็นภาพปริศนาบางอย่าง
แต่เราไม่รู้ว่าเราเห็นภาพอะไร
ซึ่งถ้าหากหนังเรื่องนี้ฉายในโรงภาพยนตร์จอใหญ่
ที่เราไม่สามารถควบคุมการฉายได้ด้วยตนเอง เราก็จะต้องค้างคาใจตลอดไปว่า
เราเห็นภาพอะไรกันแน่ในหนังเรื่องนี้
แต่พอเรานั่งดูหนังเรื่องนี้ผ่านจอคอมที่บ้าน กูก็กด pause เอาสิคะ
เพื่อดูว่าหนังเรื่องนี้ใส่ภาพปริศนาอะไรเข้ามา 55555
เราก็เลยรู้สึกว่า ในแง่ความเป็น experimental film การใช้เทคนิคแบบนี้เป็นอะไรที่น่าสนใจมาก
ๆ เพราะมันเป็นหนังที่กระตุ้นให้คนดูรู้สึกอยากกด pause เพื่อดูให้ชัด
ๆ ว่าตัวเองเห็นภาพอะไรกันแน่ ซึ่งเป็นเทคนิคที่เราไม่เคยเจอมาก่อน
และเราไม่รู้ด้วยว่าจริง ๆ แล้วผู้กำกับตั้งใจจะกระตุ้นให้คนดูรู้สึกแบบนี้หรือเปล่า
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เราชอบจุดนี้ของหนังมาก ๆ ค่ะ
เรารู้สึกว่ามันแปลกใหม่ดีสำหรับเรา และมันเป็นไอเดียที่น่าสนใจ
และมันถือเป็นหนึ่งในหนังไม่กี่เรื่องที่อาจจะเหมาะสำหรับการดูผ่านจอคอมที่บ้านที่เราสามารถกด
pause ได้ แทนที่จะดูในโรงภาพยนตร์จอใหญ่
หรือดูผ่านทางการแพร่ภาพทางทีวีที่เราไม่สามารถกด pause ได้
2.ชอบการใช้ภาพในบางช่วงของหนังมาก ๆ
3.ฉากพระนำสวดมนต์ให้กับคนจำนวนมากในสวนสาธารณะ
(หรือเปล่า) เราก็ชอบมาก เพราะเราไม่เคยสัมผัสกับกิจกรรมแบบนี้มาก่อน
4.ชอบการพูดถึงอนุสาวรีย์ของสฤษดิ์มาก ๆ
5.ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าแต่ละสถานที่ในหนังเรื่องนี้เคยปรากฏในหนังเรื่องไหนของอภิชาติพงศ์มาก่อนหรือเปล่า
6.ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ghosts ในหนังเรื่องนี้หมายถึงอะไร
แต่ดูแล้วนึกถึงหนังสั้นไทยเรื่องนึงที่เรานึกชื่อเรื่องไม่ออกในตอนนี้ เพราะหนังสั้นเรื่องนั้นเปรียบเทียบ
“ประชาธิปไตย” ว่าเป็นเหมือนกับ “ผี” ในไทย คือไม่มีตัวตนจริง แต่สามารถสัมผัสหรือรับรู้ได้เพียงราง
ๆ เท่านั้น หรืออาจจะเคยมีตัวตนจริง แต่ตอนนี้ตายไปแล้ว เหลือแต่วิญญาณลอยไปลอยมา
555555 (ใครนึกชื่อหนังสั้นเรื่องนั้นออก ก็บอกเราได้ด้วยนะ ที่มีตัวละครเหมือนเจน
ญาณทิพย์ เดินไปในตึกร้าง และสัมผัสวิญญาณของประชาธิปไตยได้ราง ๆ)
7.อีกสิ่งนึงที่น่าสนใจ คือเราคิดว่า
ถึงแม้หนังเรื่องนี้จะพูดถึงขอนแก่นในฐานะ hometown ของอภิชาติพงศ์
แต่เอาจริง ๆ แล้วเราก็ไม่แน่ใจว่า hometown ในที่นี้อาจจะมีความหมายครอบคลุมถึงประเทศไทยทั้งประเทศได้ด้วยเหมือนกันหรือเปล่า
เพราะปัญหาการเมืองในขอนแก่นก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกับปัญหาของประเทศไทยทั้งประเทศ
8.แต่เราก็ไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้ถึงขั้น A+30 นะ
เพราะเราคิดว่า gaze ของหนังอาจจะไม่ตรงกับ wavelength
ของเราซะทีเดียวน่ะ เพราะโดยรวม ๆ แล้วเราไม่รู้สึกพิเศษกับภาพหลาย
ๆ ภาพหรือหลาย ๆ ฉากในหนังมากนัก
แต่ดูแล้วก็นึกถึงหนังบางเรื่องของ Wichanon Somumjarn และ
Teeranit Siangsanoh เหมือนกันนะ โดยเฉพาะหนังของ Wichanon
ที่ถ่ายภาพสิ่งต่าง ๆ ตามถนนหนทางในภาคอีสานเหมือนกัน
แต่เหมือนเราจะจูนตัวเองให้เข้ากับหนังของวิชานนท์ได้มากกว่าหนังเรื่องนี้นิดนึง
ไม่แน่ใจว่า เป็นเพราะเราพยายามหาความหมายจากแต่ละฉากในหนังเรื่องนี้มากเกินไปหรือเปล่า
เหมือนเราพยายามจะหาว่าแต่ละฉากในหนังเรื่องนี้สื่อถึงอะไร แต่เราตีความไม่ได้
เราก็เลยไม่ได้ enjoy กับแต่ละฉากในหนังเรื่องนี้มากนัก
แต่เวลาเราดูหนังช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ของ Wichanon เรารู้สึกว่ามันเป็น
video diary ที่อาจจะไม่มีความหมายแฝงในแต่ละฉาก เราก็เลย enjoy
กับมันได้มากกว่านิดนึง
ส่วนหนังของ Teeranit นั้น
ก็มีหลายเรื่องที่ถ่ายชาวบ้านทำกิจวัตรประจำวันไปเรื่อย ๆ เป็นเวลายาวนานเหมือนกัน
แต่เหมือน gaze ของ Teeranit มันตรงกับ
wavelength ของเราอย่างรุนแรง เราก็เลยรู้สึกรื่นรมย์มาก ๆ
เวลาดูฉากกิจวัตรประจำวันของชาวบ้านในหนังหลาย ๆ เรื่องของคุณ Teeranit
No comments:
Post a Comment