ฉันเสียใจ วันนี้ฉันไปดู LES
PEPITES (2016, Xavier de Lauzanne) ที่ Alliance ปรากฏว่าเจอปัญหาซับไตเติลภาษาอังกฤษขึ้นมาแค่บรรทัดแรก
แต่ไม่ขึ้นบรรทัดที่สอง แล้วมันเป็นหนังสารคดีที่บทสัมภาษณ์เยอะมากน่ะ เราก็เลยเหมือนได้อ่านแค่ครึ่งประโยคแรก
แต่ไม่รู้ว่าครึ่งประโยคหลัง subjects แต่ละคนพูดว่าอะไร
พอดูไปได้ราว 15 นาที เราก็เลยเดินไปบอกเจ้าหน้าที่ที่ฉายหนัง
แต่เขาก็ไม่รู้จะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี เราเองก็ไม่รู้จะแก้ปัญหานี้อย่างไรดีเหมือนกัน
เราไม่ค่อยรู้ระบบอะไรพวกนี้ด้วย ไม่กล้าไปแตะปุ่มอะไรของเขา กลัวทุกอย่างพังพินาศ
เหมือนมีคนดูคนอื่น ๆ อีก 5 คนในโรงนะ ซึ่งเป็นฝรั่งหมด เขาอาจจะฟังภาษาฝรั่งเศสออกก็ได้
ก็เลยเหมือนไม่มีปัญหาอะไรกัน
แต่ยังไงเจ้าหน้าที่ที่ฉายหนังก็รับทราบปัญหานี้จากเราแล้วล่ะ
เขาบอกว่าเขาจะแจ้งทาง Alliance ให้รู้เรื่องนี้ หรืออะไรทำนองนี้
ส่วนเราก็ออกจากโรงเพื่อไปช้อปปิ้งตามห้างสรรพสินค้าในทันที เพราะพอมันเป็นหนังสารคดีที่เราไม่รู้ว่า subjects พูดอะไร
เราก็คิดว่าดูต่อไปก็ไม่มีประโยชน์ เอาเวลาไปช้อปปิ้งดีกว่า
ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้วนะที่เราเจอปัญหานี้
ครั้งแรกเกิดกับหนังเรื่อง MINGA AND THE SPOON (2017, Claye Edou,
Cameroon) ที่เราได้ดูที่ Alliance
ในวันที่ 6 มิ.ย. 2020 ส่วนครั้งที่สองเกิดกับหนังเรื่อง FRENCH
WAVES ที่เราได้ดูที่ Alliance ในวันที่ 20
มิ.ย. 2020 ไม่นึกว่าจะเจอปัญหาแบบนี้อีกเป็นครั้งที่สาม ฮือฮือ
อันนี้ที่เราเคยเขียนไว้ตอนดู FRENCH WAVES
https://www.facebook.com/photo/?fbid=10223781586830994&set=a.10223742745819993
MY TRUE FRIEND: THE BEGINNING (2022, Atsajun Sattakovit, A+)
16 ห้าว 19 เดือด
ช่วยด้วยค่ะ
ดิฉันเป็นโรคบ้าผู้ชายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย555555
1.ถือเป็น guilty pleasure เรื่องนึงของเรา เพราะถึงแม้หนังมันอาจจะไม่ดี
แต่เราก็ enjoy กับการดูผู้ชายในหนังมาก ๆ ต้องขอชมทีม casting
ของหนังเรื่องนี้ที่มีสเปคหนุ่มๆ ตรงกับเรา
ซึ่งก็อาจจะไม่ตรงกับสเปคของผู้ชมคนอื่น ๆ แต่อย่างใด 55555
2.เหมือนสิ่งที่เราคาดหวังว่าจะได้จาก “บอกโลกให้รู้ว่ากูรักมึง”
(2022,
Poj Arnon) เรากลับได้จากหนังเรื่องนี้แทน และสิ่งที่เราคาดหวังว่าจะได้จากหนังเรื่องนี
เรากลับไปได้มันจาก LA BOUM 2 (1982, Claude Pinoteau, France, A+25) แทน 55555
คือสิ่งที่เราคาดหวังว่าจะได้จาก “บอกโลกให้รู้ว่ากูรักมึง”
คือการได้เสพสุขจากการดูหนุ่มๆ หล่อ ๆ น่ะ แต่ปรากฏว่าหนุ่ม ๆ ในหนังเรื่องนั้นไม่ตรงสเปคเราเท่าไหร่
และตัวหนังก็ไม่สามารถดึง sex appeal ของนักแสดงออกมาได้มากนักด้วยในความเห็นของเรา
แต่หนุ่ม ๆ ใน “16 ห้าว 19 เดือด” นี่ตรงสเปคเรามาก ๆ ทั้งเพชร
ธำรงชัย ในบท “ก้า”, ภูร์ เพียงพอ ในบท “แชมป์”, วชิรวิชญ์ อรัญธนวงศ์ ในบท “กัน”,
คนที่แสดงเป็นน้องชายของกันก็หล่อมาก แต่เด็กไปหน่อย
และก็มีตัวประกอบอีกคนนึงที่รับบทเป็นลูกสมุนของก้าในโรงเรียน คนนั้นก็น่ารักดี
ส่วนตัวละครคนอื่น ๆ ก็เจริญหูเจริญตาพอสมควร 55555
อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่เราคาดหวังจากหนังเรื่องนี้คือความ nostalgia ถึงทศวรรษ
1980 ซึ่งหนังเรื่องนี้ก็ตอบสนองเราได้มากในระดับนึง แต่ไม่มากเท่าที่ควร
ซึ่งก็เป็นเพราะหนังมันไปให้เวลากับเรื่องการตีรันฟันแทงด้วย (ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของหนังนะ)
ในขณะที่ใจจริงแล้วเราอยากดูรายละเอียดปลีกย่อยเล็ก ๆ น้อย ๆ ของชีวิตในทศวรรษ
1980 มากกว่า อย่างเช่น เครื่องแต่งกาย, ลานสเก็ต, ตู้โทรศัพท์สาธารณะ,
การ์ตูนญี่ปุ่น, ท่าเต้นรำ, เพลง อะไรพวกนี้ อย่างไรก็ดี เราก็ได้รับการตอบสนองความ
nostalgia นี้ผ่านทาง “เพลง” ในหนังเรื่อง LA BOUM 2 แทน
3.สิ่งที่ผู้ชมหลายคนเกลียด อาจจะเป็นสิ่งที่เราชอบก็ได้นะ นั่นก็คือ “โทนสีลูกกวาด”
ของหนังเรื่องนี้ 55555 คือหน้าหนังมันดูเหมือนหนังบู๊ นักเลงห้าวเดือด 4 คิงส์ทำนองนั้นน่ะ
ถ้าหากใครอยากดูอะไรบู๊ ๆ ทำนองนี้ก็คงผิดหวัง
แต่ใจจริงแล้วเราไม่ชอบดูหนังบู๊ ๆ นักเลง ๆ อยู่แล้วล่ะ
ที่เราเข้าไปดูหนังพวกนี้ก็เพราะเราจะดูผู้ชายต่างหาก
เพราะฉะนั้นพอความบู๊ในหนังเรื่องนี้มันไม่เยอะหรือไม่มันส์สะใจเท่าไหร่
เราก็เลยไม่มีปัญหาอะไรกับจุดนี้เลย 55555
และเราว่าโทนของหนังมันออกมาแปลก ๆ ด้วยนะ
มันดูสีสันสดใสเป็นสีลูกกวาดน่ะ ซึ่งแตกต่างจากโทนหม่น ๆ ใน “บอกโลกให้รู้ว่ากูรักมึง”
และ “4 คิงส์” เป็นอย่างมาก คือเอาจริง ๆ แล้วการดูหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงความสุขที่ได้จากการ
“ดู” นิตยสาร “เธอกับฉัน” ในทศวรรษ 1980 น่ะ เราใช้คำว่า “ดู” นะ ไม่ได้ใช้คำว่า “อ่าน”
เพราะปกติแล้วเราซื้อนิตยสาร “เธอกับฉัน” เพื่อ “ดู” รูปนายแบบหล่อ ๆ
เราไม่ได้เน้น “อ่าน” เนื้อหาข้างใน 55555
เหมือนหนังเรื่องนี้ก็เลยแยกเป็น 2 ส่วนสำหรับเรา
ซึ่งก็คือส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องผู้ชายต่อยตี
ซึ่งก็คงเป็นสิ่งที่ผู้ชมคาดหวังจากหนังเรื่องนี้ แต่จริง ๆ
แล้วเป็นส่วนที่เราไม่สนใจอะไร 55555
ส่วนอีกส่วนหนึ่งก็คือชีวิตการไปเที่ยวลานสเก็ต เต้นรำกัน อ่านการ์ตูน
แอ็คท่าหล่อ ๆ ไปเรื่อย ๆ ซึ่งนี่แหละคือสิ่งที่เราต้องการจากหนัง คล้าย ๆ
กับสิ่งที่เราต้องการจากนิตยสาร “เธอกับฉัน” คือดูหนุ่มๆ หล่อ ๆ แอ็คท่าไปเรื่อย ๆ
ในโทนสีลูกกวาด ดูห้าว ๆ แบบปลอม ๆ ไม่ต้องสมจริงอะไร
เหมือนใจจริงแล้วเราก็อยากให้มันมีแต่ส่วนที่เป็นชีวิตลานสเก็ตไปเลยนะ
เป็น LA
BOUM เวอร์ชั่นไทยไปเลย แต่เราก็เข้าใจที่หนังมันไม่ได้ออกมาเป็นแบบที่เราต้องการ
เพราะชีวิตของคนจริง ๆ ที่เป็นที่มาของหนังเรื่องนี้
ก็คงมีทั้งส่วนที่เป็นเรื่องตีรันฟันแทง และส่วนที่เป็นเรื่องเที่ยวสนุกไปเรื่อย ๆ
หนังก็เลยต้องมีทั้งสองส่วนนี้อยู่ในเรื่องเดียวกัน
4.จริง ๆ แล้วเราสนใจบทสัมภาษณ์ของคนต่าง ๆ ในช่วง end credit มาก ๆ
คือถ้าหนังเรื่องนี้เป็นการสัมภาษณ์ “อดีตนักเลง” ซักครึ่งเรื่อง ให้พวกเขาสาธยายชีวิตของตนเองในยุคนั้นอย่างละเอียด
เราก็ไม่ว่าอะไร แต่เราว่า subjects อาจจะไม่กล้าให้สัมภาษณ์เรื่องพวกนี้มากนักก็ได้
เพราะสิ่งที่พวกเขาเคยทำในอดีตอาจจะรวมถึงสิ่งที่ผิดกฎหมายด้วย
5.ชอบมาก ๆ ด้วยที่หนังเรื่องนี้ออกฉายไล่เลี่ยกับ “4 คิงส์”
มันก็เลยเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างบางอย่าง เพราะพระเอกของหนังเรื่องนี้เป็น “คนรวยมาก”
น่ะ เพราะฉะนั้นถึงแม้หนังสองเรื่องนี้จะพูดถึงการตีรันฟันแทงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องจริงเหมือนกัน
แต่หนังทั้งสองเรื่องมันก็สะท้อนให้เห็นถึงสถานะทางสังคมที่แตกต่างกันมากของตัวละคร
6.คือดูจบแล้ว
เราก็เอาหนังเรื่องนี้มาจินตนาการเนื้อเรื่องในหัวต่อในทันที เพราะจริง ๆ
แล้วเราสงสารและ identify ตัวเองกับ “เพื่อนนางเอก” น่ะ
หญิงสาวที่บ้าผู้ชายหล่อ ๆ เธอไม่สวย หน้าตาตลก ๆ และมีบทบาทเหมือนเป็นเพียงแค่เพื่อนนางเอก เธอเป็นเพียงแค่ตัวตลกเท่านั้น
และดูเหมือนเธอจะหายตัวไปเฉย ๆ ในครึ่งหลังของเรื่อง
เราก็เลยจินตนาการว่า ถ้าหากเราต่อเติมหนังเรื่องนี้ได้ตามใจชอบ
เราก็อยากให้เธอได้กับลูกสมุนคนนึงของก้าในโรงเรียน คนที่หล่อ ๆ น่ารัก ๆ เราอยากเห็น
“ตัวประกอบ” หรือ “ตัวตลก” แบบนี้ได้มีความสุข ได้หนุ่ม ๆ หล่อ ๆ เป็นผัวกับเขาบ้าง 555
No comments:
Post a Comment