STAND, SIT, STAY (ELEPHANT EXERCISE PREPARATION) (2022, Lin
Yi-chun, video installation, 30min, A+30)
1.งานวิดีโอที่ Jim Thompson ชอบสุดขีด
นึกว่าวิดีโอนี้มาเพื่อปะทะกับ “คุณหมีปาฏิหาริย์” THE MIRACLE OF TEDDY BEAR
เพราะวิดีโอนี้พูดถึง “วัตถุปากมาก” เหมือนกัน
หรือนำเสนอสิ่งของต่าง ๆ ตามท้องถนนที่พูดได้มากมาย เพราะฉะนั้นตอนดูวิดีโอนี้เราก็เลยนึกถึง
“คุณหมีปาฏิหาริย์”
วิดีโอนี้มีสองจอ จอละ 15 นาที ซึ่งดูพร้อมกันไม่ได้ ต้องแยกดูทีละจอ
ทั้งสองจอเน้นนำเสนอ street hawkers ในไต้หวัน
คือตัวภาพจะเป็นท้องถนนในไต้หวันที่มี street hawkers หรือรถเข็นของพวกเขาอยู่ในซีนด้วย
แล้วจะมีซับไตเติลหลากสีสันขึ้นมา ตัวซับไตเติลจะเป็นเหมือนบทสัมภาษณ์วัตถุต่าง ๆ
ตามท้องถนนที่คนถ่ายวิดีโอไปเจอ
คือตอนดูวิดีโอนี้ช่วงแรก ๆ เรานึกว่าตัวบทสัมภาษณ์มันคือการสัมภาษณ์ “คนขายของข้างทาง”
นะ แต่พอดูไปเรื่อย ๆ ก็พบว่าบทสัมภาษณ์มันแปลก ๆ เราก็เลยเพิ่งสำเหนียกว่า
ผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ใช่คน แต่เป็นวัตถุต่าง ๆ ต่างหาก
อย่างตอนนึง ผู้ให้สัมภาษณ์พูดประมาณว่า “พอตอนสาย ๆ จะมีคนมา wash other colleagues carefully” หรืออะไรทำนองนี้ เราก็งงว่า ตอนสาย ๆ จะมีคนมาล้างตัวพ่อค้าแม่ค้าทำไม
เพื่ออะไร มันสะกด wash สลับกับ watch หรือเปล่า
แต่พอตอนหลังเราก็สำเหนียกได้ว่า colleagues นี่ก็คงเป็นวัตถุเหมือนกับตัวผู้ให้สัมภาษณ์นั่นแหละ
55555
2.อีกไอเดียที่เราชอบสุด ๆ คือวิดีโอไม่ได้บอกโดยตรงว่าสิ่งของที่ให้สัมภาษณ์ในแต่ละซีนคืออะไร
เพราะในภาพแต่ละภาพมันมีสิ่งของเยอะมากในภาพนั้น อย่างในฉาก “wash other colleagues” นี่ เราก็เห็นทั้งศาลเจ้า, ธงหน้าศาลเจ้า, รถเข็นขายของหน้าศาลเจ้า,
พื้นถนนหน้าศาลเจ้า อะไรทำนองนี้ แล้วผู้ให้สัมภาษณ์ในแต่ละซีนเป็นใคร
เราก็เลยเดาว่า คำใบ้มันอยู่ใน “สี” ของซับไตเติลนี่แหละ
เพราะสีของซับไตเติลมันเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เราก็เลยเดาว่า
ถ้าหากซับไตเติลเป็นสีอะไร วัตถุที่ให้สัมภาษณ์
ก็น่าจะเป็นสีเดียวกับซับไตเติลนั้น อย่างในฉาก “wash other colleagues” นี่ ซับไตเติลขึ้นเป็นสีเทา และก็มีวัตถุสีเทาเพียงอันเดียวในซีนนั้น
ซึ่งก็คือ “เสาหน้าศาลเจ้า” เราก็เลยเดาว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ในซีนนั้น คือ “เสา”
นี่แหละ ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิดนะ
3.การพยายามมองหาผู้ให้สัมภาษณ์ในแต่ละซีน ก็เลยสนุกสนานมาก ๆ
สำหรับเรา นึกถึงหนังแบบ DROWNING BY NUMBERS (1988, Peter Greenaway) ที่หนังเล่าเรื่องการฆาตกรรมไปด้วย
และแอบใส่ตัวเลขต่าง ๆ เข้ามาในแต่ละซีนด้วย เหมือนเล่นเกมกับผู้ชม
ให้ผู้ชมตามเนื้อเรื่องไปด้วย พร้อมกับค้นหาตัวเลขที่ซ่อนอยู่ในแต่ละซีนไปด้วย
ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเราเข้าใจวิดีโอนี้ถูกหรือเปล่านะ 55555
อย่างบางฉากเราก็เห็นซับไตเติลเป็นสีเขียว และในฉากนั้นก็มีวัตถุอยู่มากมาย
แต่วัตถุสีเขียวเพียงอันเดียวในฉากก็คือ “เชือกฟางเส้นเล็ก ๆ เชือกนึง”
เราก็เลยเดาว่าเชือกฟางน่าจะเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ในฉากนั้น
ซึ่งถ้าหากวิดีโอนี้เป็นตามที่เราคาด ผู้ให้สัมภาษณ์ในวิดีโอก็มีหลากหลายมากมาย
ทั้งรถเข็นขายของที่มีผ้าคลุมไว้ (ผู้ให้สัมภาษณ์ในฉากนั้นเรียกตัวเองว่า the masked man) , พื้นฟุตบาท,
ลูกไฟดิสโก้หน้าร้านขายของ, etc.
ชอบคำให้สัมภาษณ์ของ “ป้ายราคาถุงน่อง” มาก ๆ
เหมือนป้ายราคาถุงน่องจะให้สัมภาษณ์เรื่อง “การสอนภาษาไต้หวันในโรงเรียน”
หรืออะไรทำนองนี้
4.แต่มีฉากนึงที่เราไม่แน่ใจ เพราะซับไตเติลขึ้นเป็นสีม่วง
แล้วเรามองหาวัตถุสีม่วงในฉากนั้นไม่เจอเลยในช่วงแรก ๆ เราเห็นแต่วัตถุสีอื่น ๆ
ในฉาก ส่วนคำให้สัมภาษณ์ก็บรรยายถึงความต้องการไปเที่ยวต่างจังหวัดไปเรื่อย ๆ
จนกระทั่งพอกล้องถอยห่างออกมาเรื่อย ๆ เราถึงเห็นลังสีม่วงแอบซ่อนอยู่ใน
background ของฉากนั้น
เราก็เลยไม่แน่ใจว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ในฉากนั้นคือลังสีม่วงหรือเปล่า
5.อีกจุดที่ชอบสุด ๆ ในงาน video installation นี้ก็คือ “ม้านั่ง”
ที่วางอยู่ประมาณ 10 อันสำหรับให้นั่งดูวิดีโอ คือมองเผิน ๆ ม้านั่งพวกนี้เหมือนเป็นม้านั่งที่ใช้ในการนั่งกินก๋วยเตี๋ยวข้างทาง
แต่พอเข้าไปดูใกล้ ๆ
ก็พบว่าม้านั่งแต่ละอันมันเหมือนเป็นงานศิลปะที่มีการประดิดประดอยอะไรต่าง ๆ
อยู่ด้วย ประทับใจสุด ๆ ที่ศิลปินสร้างงานศิลปะขึ้นมาในรูปลักษณ์คล้าย ๆ “ม้านั่งกินก๋วยเตี๋ยวข้างถนน”
การให้ความสำคัญกับม้านั่งข้างถนนแบบนี้ ทำให้นึกถึง one of my most favorite films I
saw last year ด้วย ซึ่งก็คือภาพยนตร์เรื่อง BANGKOK CHAIR
HACKS: THE DOCUMENTARY (2021, Mayyanee Techaumporn)
ANGSUMALIN48/ANG48/ALLIANCE OF NIPPON GIRLS 48 (2022, Chulayarnnon
Siriphol, 25min, video installation, A+30)
1.เหี้ยมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
(คำชม) 555555
2.ขำจนหยุดไม่ได้กับการใส่หน้าของเข้เข้าไปแทนใบหน้าของจินตหรา
สุขพัฒน์ ใน “คู่กรรม” (1988, รุจน์ รณภพ) แล้วเข้ก็ทำอารมณ์ในแต่ละซีนได้อย่างรุนแรง
เข้าถึงบทบาทมาก ๆ แถมเข้ยังใส่ใบหน้าของตัวเองเข้าไปแทนใบหน้าของ Nora Aunor ใน THREE
YEARS WITHOUT GOD (1976, Mario O’Hara, Philippines) ด้วย รุนแรงมาก
ๆ ชอบมาก ๆ ด้วยที่วิดีโอนี้ผสมคู่กรรมสองเวอร์ชั่น (อีกอันคือเวอร์ชั่นณ เดชน์) กับ
THREE YEARS WITHOUT GOD เข้าด้วยกัน
3.ชอบการใช้ฟุตเตจเก่า ๆ
ตอนที่นักศึกษาไทยออกมาต่อต้านการซื้อสินค้าญี่ปุ่นในปี 1972 ด้วย
คือเหมือนเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่เราเคยได้ยิน
แต่ไม่เคยเห็นฟุตเตจอะไรพวกนี้มาก่อน เพราะฟุตเตจที่แพร่หลายคือฟุตเตจเหตุการณ์ 14
ต.ค. 2516 กับ 6 ต.ค. 2519 มากกว่า
4.ดูแล้วนึกถึงไมเคิล เชาวนาศัยมาก ๆ เลยด้วย
เพราะการที่เข้เข้าไปแทนที่ “จินตหรา สุขพัฒน์” กับ Nora Aunor ในงานวิดีโอนี้
ทำให้นึกถึงไมเคิลที่ชอบถ่ายภาพเลียนแบบคนต่าง ๆ และไมเคิลก็เคยทำหนังเรื่อง BUNZAI
CHAIYO, EPISODE II: THE ADVENTURE OF IRON PUSSY (1999) ที่พูดถึงอิทธิพลของญี่ปุ่นในแง่ลบด้วย
5.แต่เราคิดว่างานวิดีโอชิ้นนี้ของเข้คงไม่ได้มีเจตนาโจมตีญี่ปุ่นหรอกนะ
แต่จุดประสงค์ของวิดีโอนี้คืออะไร เราก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่เราคิดว่ามันน่าสนใจดีที่ญี่ปุ่นเหมือนเคยทำเลวระยำตำบอนกับไทยไว้ในสงครามโลกครั้งที่สอง
แต่ “พลังของ soft power” จากนิยายเรื่อง “คู่กรรม” ก็ส่งผลให้การรับรู้ของประชาชนคนไทยจำนวนมากบิดเบือนไปจากความเป็นจริง
พอดูวิดีโอนี้ เราก็เลยนึกถึงพลังของ soft power ภายในประเทศไทย
ที่น่าจะมีส่วนบิดเบือนความคิดของคนในชาติที่มีต่อความจริงหลาย ๆ
อย่างทางประวัติศาสตร์ให้ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงด้วยเหมือนกัน
6.เห็นใน staement ที่ติดไว้
มันบอกว่าวิดีโอนี้มีสองจอ แต่เราได้ดูแค่จอเดียวนะ
มันมีจอทีวีอันนึงตั้งอยู่ด้านหน้าจอฉายวิดีโออันใหญ่ด้วย
แต่จอทีวีนี้ดับสนิทตลอดเวลา เราก็เลยไม่รู้ว่าเกิดความผิดพลาดอะไรขึ้นมาหรือเปล่า
แต่ได้ดูแค่จอใหญ่จอเดียวก็คุ้มมาก ๆ แล้ว
Edit เพิ่ม: สรุปว่าในส่วนของเหตุการณ์ปี 1972 (พ.ศ.
2515) ในวดีโอนี้นั้น
ไม่ใช่ "ฟุตเตจ" แต่เป็น "ภาพนิ่ง" จ้ะ
----
ถ้า “คุณหมีปาฏิหาริย์” ถูกสร้างเป็นละครเมื่อราว 35 ปีก่อน
ดิฉันขอเชียร์ให้ อำพล ลำพูน รับบทพี่ณัฐ ส่วนอธิป ทองจินดา รับบทเต้าหู้ค่ะ
555555
-----------------
FAST & FEEL LOVE (2022, Nawapol Thamrongrattanarit, A+30)
spoilers alert
--
--
--
--
--
1. เนื้อเพลง SUPERWOMAN (1989) ของ
Karyn White
https://www.youtube.com/watch?v=A4C4NiVKrXk
“Early
in the morning I put breakfast at your table
And make sure that your coffee has it's sugar and
cream
Your eggs are over easy, your toast done lightly
All that's missing is your morning kiss that used to greet me
Now you say the juice is sour, it used to be so sweet
And I can't help but to wonder if you're talking 'bout me
We don't talk the way we used to talk, it's hurtin' so deep
I've got my pride, I will not cry
But it's making me weak
I'm not your superwoman
I'm not the kind of girl that you can let down
And think that everything's okay
Boy, I am only human
This girl needs more than occasional hugs
As a token of love from you to me, ooh, baby
I fought my way through the rush hour trying to make
it home just for you
I want to make sure that your dinner will be waiting for you
But when you get there you just tell me you're not hungry at all
You said you'd rather read the paper and you don't want to talk
You like to think that I'm just crazy when I say that you've changed
I'm convinced I know the problem
You don't love me the same
You're just going through the motions and you're not being fair
I've got my pride, I will not cry
Still I can't help but care
I'm not your superwoman (oh, no, no, no)
I'm not the kind of girl that you can let down (think that everything is okay)
And think that everything's okay
Boy, I am only human (I'm only human)
This girl needs more than occasional hugs
As a token of love from you to me
I'm not your superwoman (hoo, hoo, hoo, ooh, ooh, hoo)
I'm not the kind of girl that you can let down (hey, don't let me down)
And think that everything's okay (don't you let me down)
Boy, I am only human (I'm only human, yeah)
This girl needs more than occasional hugs
As a token (ooh, ooh) of love from you to me
Ooh baby, look into the corners of your mind
I'll always be there for you through good and bad times
But I can't be that superwoman that you want me to be
I'll give my everlasting love if you'll return love to me
I'm not your superwoman
”
2. เนื้อเพลง ALL WOMAN (1991) ของ
Lisa Stansfield
https://www.youtube.com/watch?v=2xsqmX9xsWE
“He's
home again from another day
She smiles at him as he walks through the door
She wonders if it will be okay
It's hard for her when he doesn't respond
He says babe you look a mess
You look dowdy in that dress
It's just not like it used to be
Then she says...
I may not be a lady
But I'm all woman
From monday to sunday I work harder than you know
I'm no classy lady
But I'm all woman
And this woman needs a little love to make her strong
You're not the only one
She stands there and lets the tears flow
Tears that she's been holding back so long
She wonders where did all the loving go
The love they used to share when they were strong
She says yes I look a mess
But I don't love you any less
I thought you always thought enough of me to always be impressed
I may not be a lady
But I'm all woman
From monday to sunday I work harder than you know
I'm no classy lady
But I'm all woman
And this woman needs a little love to make her strong
You're not the only one
He holds her and hangs his head in shame
He doesn't see her like he used to do
He's too wrapped up in working for his pay
He hasn't seen the pain he's put her through
Attention that he paid
Just vanished in the haze
He remembers how it used to be
When he used to say
You'll always be a lady
'Cos you're all woman
From monday to sunday I love you much more than you know
You're a classy lady
'Cos you're all woman
This woman needs a loving man to keep her warm
You're the only one
You're a classy lady
'Cos you're all woman
So sweet the love that used to be
So sweet the love that used to be
We can be sweet again...
”
3.เนื้อเพลง SUCCESS HAS MADE A FAILURE OF OUR
HOME (1992) ของ Sinead O’Connor
https://www.youtube.com/watch?v=4fQJgNW-lfE
“We
used to go out walking hand in hand
You told me all the big things you had planned
It wasn't long 'til all your dreams came true
Success put me in second place with you
You have no time to love me anymore
Since fame and fortune knocked upon our door
And I spend all my evenings all alone
Success has made a failure of our home
If we could share an evening now and then
I'm sure we'd find true happiness again
You never hold me like you used to do
Oh, it's funny what success has done to you
You have no time to love me anymore
Since fame and fortune knocked upon our door
And I spend all my evenings all alone
Success has made a failure of our home
Success has made a failure of our home
I never changed, I'm still the same
I never changed, stop what you're saying
You're killing me, and am I not your girl?
Am I not your girl?
”
4.คือพอดูหนังจบ ก็รู้สึกขำขันมาก ๆ
ที่หนังทำให้นึกถึงเนื้อเพลงที่เราชอบสุด ๆ 3 เพลงนี้โดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจ 55555
โดยเฉพาะเนื้อเพลง SUPERWOMAN ที่เข้ากับตัวละครนางเอกมาก ๆ
และเนื้อเพลงบางท่อนใน ALL WOMAN กับ SUCCESS HAS
MADE... ก็ทำให้เรานึกถึงความรู้สึกเจ็บช้ำน้ำใจของนางเอกเช่นกัน
ทั้งประโยคที่ว่า “From
monday to sunday I work harder than you know” และ “Success put me in second place with you.”
โดยเนื้อเพลงของ SUCCESS นั้นจริง ๆ
แล้วอาจจะไม่เข้ากับหนังเรื่องนี้ซะทีเดียว แต่ถ้าหากเปลี่ยนคำว่า success ทุกคำในเนื้อเพลงนี้เป็น “attempting to succeed” แล้วมันก็จะเข้ากับหนังมาก
ๆ
คือ
3 เพลงนี้จัดอยู่ในกลุ่มเพลงที่เราชอบที่สุดตลอดกาลนะ เราก็เลยชอบมาก ๆ
ที่หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึง 3 เพลงที่เราชอบสุด ๆ นี้โดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจ
และหนังมันยังไปไกลกว่าที่เราคาดมาก ๆ ด้วย คือตอนที่เราฟัง 3 เพลงนี้ในทศวรรษ
1990 นั้น เรา
identify กับตัวละครฝ่ายหญิงในทั้งสามเพลงน่ะ และเรามองตัวละครฝ่ายชายในเพลงทั้งสามว่าเป็นคนไม่ดี,
materialistic, capitalistic เห็นแก่ความสำเร็จในหน้าที่การงานมากกว่าจิตใจของเมีย
อะไรทำนองนี้
ปรากฏว่าพอดู
FAST & FEEL LOVE แล้ว
เรากลับเข้าใจทั้งสองฝ่าย คือเหมือนหนังทำให้เราเข้าใจตัวพระเอกว่าทำไมถึงเป็นคนแบบนี้น่ะ
หรือหนังทำให้เรามองว่าเขาเป็น “มนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาคนนึงที่มีข้อบกพร่อง” ไม่ได้เป็น “ผู้ร้าย”
แบบที่เราเคยมองตัวละครฝ่ายชายในเนื้อเพลงทั้งสาม
มันก็เลยเป็นหนึ่งในสิ่งที่ผิดคาดมาก ๆ สำหรับเรา ที่หนังเรื่องนี้ทำให้เราเปลี่ยนทัศนคติอะไรบางอย่างได้
5.ถึงแม้เราจะชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ
A+30 แต่ก็ชอบน้อยกว่า HAPPY OLD
YEAR (2019), DIE TOMORROW (2017), FREELANCE (2015), THE MASTER (2014) และ MARY IS HAPPY, MARY IS HAPPY (2013) นะ 555555 เหมือนตอนนี้เราชอบหนังเรื่องนี้ในระดับเดียวกับ
BNK48: GIRLS DON’T CRY (2018) และอาจจะชอบมากกว่า 36 (2012)
ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเราไม่ค่อยอินกับ 36 แต่ในแง่นึงเราก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ความอินหรือไม่อินของเรามันไม่ค่อยตรงกับคนอื่น
ๆ ส่วนเรื่องที่ชอบที่สุดในกลุ่มนี้คงเป็น
MARY IS HAPPY, MARY IS HAPPY มั้ง
6.ถึงแม้เราจะชอบหนังเรื่องนี้น้อยกว่าหนังหลาย
ๆ เรื่องของเต๋อ แต่ก็ถือว่าเป็นหนังที่ชอบสุด ๆ เรื่องนึงน่ะแหละ เพราะอะไรหลาย ๆ
อย่างด้วยกัน อย่างเช่นการที่หนังทำให้เรารู้สึกเหมือนเข้าใจทั้งพระเอกนางเอกอย่างที่เราเขียนไปแล้วในตอนต้น
คือเหมือนจริง
ๆ แล้วเราเป็นคนที่ไม่ค่อยอินกับ “หนังรัก” น่ะ แต่กับเรื่องนี้เราชอบสุด ๆ เพราะเรารู้สึกว่าตัวละครมันไม่ได้เป็น
unconditional love น่ะ มันไม่ได้รักกันแบบ
“ฉันรักเธอโดยไม่มีข้อแม้” แต่ความรักของพระเอกนางเอกในหนังเรื่องนี้เหมือนเป็น “ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ”
มันไม่ใช่ love conquers all หรือ love is everything
แบบในหนังรักหลาย ๆ เรื่องที่เราไม่อิน แต่มันเป็น love is
business น่ะ พระเอกรักนางเอก แต่ความรักที่มีต่อนางเอกมันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเขา
เพราะเขาก็รักการเล่น cup stacking ในระดับที่ใกล้เคียงหรือมากกว่าความรักที่มีต่อนางเอกด้วย
และเขาก็เหมือน require ในทางอ้อมว่า
ถ้าหากเธออยากเป็นแฟนเขาต่อไป เธอก็ควรจะ support เขาในการบรรลุเป้าหมายทางอาชีพให้ได้ด้วย
เราก็เลยชอบมาก
ๆ ที่หนังสร้างตัวละครพระเอกแบบนี้ขึ้นมา คือถ้าหากหนังมันเลือกเส้นทางง่าย ๆ
มันคงสร้างตัวละครพระเอกแบบ “หนังรัก” หรือพระเอกแบบ “หนังคริสต์มาส” ขึ้นมา
ซึ่งก็คือพระเอกแบบที่รักนางเอก แต่หลงผิดไปกับ “การทำงานหาเงิน” มากเกินไป
แต่ในที่สุดก็สำนึกผิด หนังหอยหลอดหอยแครงแบบนี้ชอบให้บทเรียนซ้ำ ๆ ซาก ๆ กับคนดูว่า คนเราไม่ควรจะให้ความสำคัญกับ “เงิน” มากกว่า “ครอบครัว”
และจบแบบหนังคริสต์มาส THE
FAMILY MAN (2000, Brett Ratner) อะไรทำนองนี้ 5555
ซึ่งเอาจริง
ๆ แล้วพระเอกของ FFL
ก็เหมือนจะได้จิตสำนึกแบบหนังคริสต์มาสในตอนจบนะ (ประโยคที่เขาพูดกับตัวเองว่า
“เจจะเป็นครอบครัวของผมตลอดไป” หรืออะไรทำนองนี้ ถ้าจำไม่ผิด) ซึ่งเราก็อี๋ ๆ
หรือไม่ชอบจุดนี้มากพอสมควร
มันก็เลยเป็นปัจจัยนึงที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้น้อยกว่าหนังเรื่องอื่นๆ ของนวพล
แต่การที่ทั้งพระเอกกับนางเอกต่างก็ดูเหมือนจะหาทางมีความสุขกับชีวิตได้ต่อไป
โดยไม่ต้องมาครองรักกันแต่อย่างใด และการที่นางเอกไม่ยอมกลับไปหาพระเอก
มันเป็นสิ่งที่เราชอบมาก ๆ เราว่าเราเข้าใจตัวละครแบบนี้น่ะ หรือเราสามารถ identify
กับตัวละครแบบนี้ได้น่ะ คือเราจะไม่ identify มากนักกับตัวละครที่ว่า
“ถ้าหากเธอจากฉันไป ฉันคงต้องตาย” แต่เราจะเข้าใจหรือ identify ได้กับตัวละครที่เป็นแบบว่า “ถ้าหากเธอจากฉันไป ฉันก็เศร้าใจ
แต่ฉันก็จะใช้ชีวิตของตัวเองต่อไป และพร้อมจะเปิดใจหาคนรักใหม่ได้” อะไรทำนองนี้
55555 เราก็เลยมีทั้งจุดที่ชอบและไม่ชอบในตอนจบของหนังเรื่องนี้
อย่างไรก็ดี
เราชอบสุด ๆ ที่พระเอกของหนังเรื่องนี้ไม่ใช่คนที่ตัดสินใจได้ง่ายๆ ว่า “การเล่นกีฬา”
สำคัญกว่า “ความรัก” แต่เป็นคนที่สับสนมากพอสมควรในการจัดลำดับความสำคัญว่า “ความรักที่มีต่อเมีย”
สำคัญกว่า
passion ที่ตนเองมีต่อสิ่งอื่น ๆ หรือเปล่า
คือดูแล้วแอบนึกถึงประโยคที่เพื่อนบางคนเคยพูดถึง
cinephiles บางคนว่า “ความรักในการดูหนังจะไม่ยอมเป็นเมียน้อยให้กับใคร”
อะไรทำนองนี้ คือ cinephiles บางคนอาจจะรักการดูหนังมากกว่ารักเมียตัวเองหรือมากกว่า
“การพยายามหาคนรัก” ก็ได้ เพราะความรักในการดูหนัง สำหรับบางคนแล้วมีสถานะเป็น “เมียหลวง”
55555
เพราะฉะนั้นถึงแม้เราไม่ได้มี
passion ต่อกีฬาแบบเดียวกับพระเอก
แต่ในแง่นึงเราก็เข้าใจคนที่มี passion ต่อบางสิ่งบางอย่าง
(อย่างเช่น ศิลปะ หรือการทำงานศิลปะ) และpassion
นั้นสำคัญกว่า “คนรัก” หรือ “ความพยายามที่จะต้องหาคนรัก”
7.ในส่วนของนางเอกนั้น
เราก็ชอบมาก ๆ ที่เธอไม่ได้รักพระเอกแบบไม่ลืมหูลืมตา เธอไม่ใช่คนประเภทที่ว่า “ความฝันของฉันคือการได้
(เป็นขี้ข้าของคุณเพื่อที่จะได้) ทำให้ความฝันของคุณเป็นจริง” เธอไม่ใช่คนที่ “ดำรงอยู่เพียงเพื่อคอย
support แชมเปี้ยน” แบบใน “หนังเกี่ยวกับนักกีฬาที่สร้างจากชีวิตจริง”
หลายเรื่องที่เราเคยดูมาน่ะ
คือคนทุกคนมันมีความฝันน่ะแหละ
แต่พอคนบางคนมันเก่ง แล้วมันก็อาจจะทะนงตัว และลืมไปว่า คนอื่น ๆ
ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อทำให้มึงบรรลุความฝันของมึง เพราะคนอื่น ๆ เขาก็มีความฝันของตัวเองเช่นกัน
เขาไม่ได้ดำรงอยู่เพื่อช่วยเหลือมึงให้บรรลุความฝัน เขาดำรงอยู่เพื่อบรรลุความฝันของตัวเขาเองต่างหาก
เขาไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นขี้ข้ามึงค่ะ
คือเหมือนหนังเรื่องนี้มันเข้ากับความคิดของเราข้างต้นน่ะ
โดยผ่านทางตัวละครนางเอกที่ทิ้งพระเอกไป
เพราะเธอเลือกที่จะดำรงอยู่เพื่อความฝันของตัวเอง ไม่ใช่เพื่อเป็นขี้ข้าของใคร
หรือเพื่อความฝันของผัว
คือเราคิดว่านางเอกก็รักพระเอกน่ะแหละ แต่
love is not everything. Love doesn’t conquer all. เราคิดว่าสำหรับเธอแล้ว
love is business เหมือนกัน เธอไม่ได้ต้องการ financial
payment จากพระเอก (แบบที่สาวใช้ต้องการ) แต่เธอต้องการ EMOTIONAL
PAYMENT จากพระเอก นี่คือ transaction ที่เธอต้องการในธุรกิจความรักนี้
แบบที่เนื้อเพลงข้างต้นว่าไว้ “This girl needs more than occasional hugs
As a token of love from you to me, ooh, baby”
และเมื่อพระเอกไม่ได้จ่าย emotional payment ให้กับเธออย่าง adequately
กูก็ไปสิคะ กูจะอยู่แบบขาดทุนในความสัมพันธ์นี้ทำไม
มึงมีความฝันของมึง แต่กูก็มีความฝันของกูค่ะ จบมั้ยคะ
8.แต่เราก็ไม่ได้ identify
ตัวเราเองกับทั้งพระเอกและนางเอกนะ คือถึงแม้เราจะสะใจและดีใจมาก ๆ
ที่นางเอกไม่ยอมคืนดีกับพระเอก แต่เราก็ไม่ใช่คนที่อยากมีลูกแบบนางเอกน่ะ 55555
แต่เราก็เข้าใจว่าคนบางคนคงเป็นแบบนางเอกแหละมั้ง ดูแล้วนึกถึงตัวละครนางเอกในหนังเรื่อง
LET’S DANCE (2007, Noemie Lvovsky) ที่อยากมีลูกอย่างรุนแรงมาก
9.อีกจุดที่ชอบมาก
ๆ ในหนังเรื่องนี้ ก็คือการที่มันไม่ได้จัดตัวเองเป็น “หนังกีฬา” หรือ “หนังรัก”
แบบเพียว ๆ แต่เป็นเหมือนส่วนผสมของทั้งสองอย่างน่ะ มันก็เลยตอบโจทย์เรามาก ๆ
คือช่วง
10 ปีที่ผ่านมา เราได้ดูหนังเกี่ยวกับ “นักกีฬาระดับโลกที่สร้างจากชีวิตจริง”
หลายเรื่อง โดยเฉพาะหนังอินเดีย อย่างเช่น M.S.
DHONI: THE UNTOLD STORY (2016, Neeraj Pandey), DANGAL (2016, Nitesh Tiwari), SAAND
KI AANKTH (2019, Tushar Hirashandani), PANGA (2020, Ashwiny Iyer Tiwari), SAINA
(2021, Amole Gupte), ’83 (2021, Kabir Khan), etc.
ซึ่งเราชอบหนังกลุ่มข้างต้นนี้มาก
อินเดียทำหนังกีฬาออกมาได้สนุกดีงามจริง ๆ แต่พอมันเป็น “หนังกีฬา” และมัน “สร้างจากเรื่องจริง”
มันก็เลยเผชิญกับข้อจำกัดสำคัญอันนึงสำหรับเรา นั่นก็คือ
มันไม่มีพื้นที่ให้กับตัวละครแบบ “เจ” น่ะ หรือถ้าหากมีตัวละครแบบ “เจ”
มันก็จะกลายเป็นตัวร้ายไปโดยปริยาย เพราะในหนัง genre นี้นั้น เป้าหมายสูงสุดของหนังและตัวละครก็คือความสำเร็จได้รับชัยชนะเป็นแชมเปี้ยน
เพราะฉะนั้นสมาชิกครอบครัวที่ไม่ยอม support สิ่งนี้ก็จะมีสถานะเป็น
“อุปสรรคขัดขวาง” หรือเป็น “ตัวร้าย” ซึ่งแน่นอนว่าการทำแบบนี้ในหนังกีฬามันคือการลดรูปความซับซ้อนของความเป็นมนุษย์และลดรูปความซับซ้อนของโลกแห่งความเป็นจริงไป
ในการที่เราจะทำหนังกีฬาหรือจะดูหนังกีฬาให้สนุกนั้น เราก็จะต้อง “ปิดตาข้างนึง”
หรือลืม ๆ ความซับซ้อนในความเป็นมนุษย์ตรงจุดนี้ไปซะ
เพราะฉะนั้น
FAST & FEEL LOVE ก็เลยเหมือนตอบโจทย์ของเราตรงจุดนี้มาก
ๆ เหมือนมันช่วยเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปจากหนังกีฬาเรื่องอื่น ๆ ที่เราได้ดูในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
และเราว่าการผสม
genre หนังกีฬากับหนัง romantic และหนัง comedy แบบนี้มันยากด้วยแหละ มันเหมือนการ “เหยียบเรือสองแคม”
มั้ง มันรักษา balance ได้ยากกว่าปกติมาก ๆ
10.ถึงเราจะไม่ได้
identify ตัวเองกับพระเอก แต่เราชอบมาก ๆ
ที่หนังเรื่องนี้เหมือนใส่ “รายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ในชีวิต” เข้ามาเยอะมาก
มันก็เลยมีบางจุดที่เราอินกับตัวละครได้ อย่างเช่น ความ sensitive เรื่อง “เสียง” อย่างรุนแรงมาก ซึ่งเราก็เป็นเหมือนพระเอก
คือเราทำงานไม่ได้ถ้าหากมีเสียงดังรบกวน อย่างเช่น ล่าสุดพัดลมที่เราเพิ่งซื้อมาสัปดาห์เดียวส่งเสียงดัง
เราก็เลยทำงานไม่ได้ เราพยายามแก้ แต่แก้ไปแล้ว 30 นาทีก็ไม่หาย
เราก็เลยแก้ปัญหาด้วยการ “เปิดแอร์” แล้วก็ปิดพัดลม พยายามทำงานต่อไป
แต่ในใจก็ไม่มีสมาธิ มันมีคำถามในใจตลอดเวลาว่า “เราจะแก้พัดลมด้วยตัวเองได้มั้ย”
เราจะวาง steps ยังไงในการแก้ไขปัญหานี้
คือแบบต้องใช้เวลานานมากในการสร้างสมาธิในการทำงานเพื่อไม่ให้กังวลกับปัญหานี้
แล้วพอเราทำงานเสร็จในวันนั้น เราก็เปิดคลิปต่าง ๆ ในยูทูบเพื่อดูวิธีที่แม่บ้านสามารถซ่อมพัดลมด้วยตัวเอง
แล้วก็ทำตามในคลิป แล้วก็แก้ปัญหาได้
คือพอเราเห็นพระเอกเรื่องนี้มีความ
sensitive เรื่องเสียงอย่างรุนแรง
แล้วต้องการ “สมาธิ” อย่างมาก ๆ เราก็อินหรือเข้าใจกับจุดนี้มาก ๆ
ไม่รู้ว่าอาการแบบที่เราเป็นนี่เกิดจาก
“ระบบประสาท” หรือเปล่านะ อย่างเช่นในรายงานข่าวนี้
https://www.bbc.com/thai/features-50438225
11.
ถึงเราไม่ได้ identify ตัวเองกับตัวละคร
แต่เราก็ไม่รู้สึกเหินห่างจากหนังแบบที่ผู้ชมคนอื่นๆ รู้สึกนะ
แล้วก็ไม่ได้รู้สึกว่าหนังขำมากด้วย คือความตลกของนวพลทำให้เรารู้สึก “เพลิดเพลิน”
แต่ไม่ได้ “ขำ” อย่างรุนแรงน่ะ
แต่เราก็ไม่รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ถีบเราออกห่างแต่อย่างใด
ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นเพราะ sense แบบการ์ตูนญี่ปุ่นของหนังเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยหรือเปล่า
เพราะก่อนหน้านี้เราก็ชอบ sense แบบการ์ตูนญี่ปุ่นใน “ส้มป่อย”
อย่างรุนแรงมาก เหมือนเรา relate กับความเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นในหนังเรื่องนั้นมาก
ๆ เพราะฉะนั้นเราก็เลยเดาว่า หรือว่านี่เป็นสาเหตุนึงที่ทำให้เราดูหนังเรื่องนี้อย่างเพลิดเพลิน
อย่างเช่นตัวละครผู้จัดการสาวของพระเอกนี่
เราดูแล้วนึกถึงตัวละครประเภท “พี่สาวผู้หิวเงิน” ในการ์ตูน RANMA 1/2 (Rumiko Takahashi) อะไรทำนองนี้
เราก็เลยชอบตัวละครตัวนี้มาก ถึงแม้ตัวละครมันไม่ได้มีความลึกอะไรมากมาย แต่มันมี
character ที่มีเสน่ห์ดี แค่นี้เราก็พอใจแล้ว
12.
ทั้ง “เมทัล” และ “ใบหลิว” นี่ก็ถือเป็นตัวละครที่มีเสน่ห์สุดๆ เลยสำหรับเรา รักตัวละครทั้งสองตัวนี้มาก
ๆ อาจจะแบบเดียวกับที่รักตัวละครแบบ Kinoko
Sarada ในการ์ตูน DR. SLUMP หรืออะไรทำนองนี้
13.ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็คิดถึงหนังเรื่องอื่น ๆ ด้วยนะ ซึ่งได้แก่
13.1
+13.2 NATHALIE GRANGER (1972,
Marguerite Duras) + JEANNE DIELMAN, 23, QUAI DU COMMERCE, 1080 BRUXELLES (1975,
Chantal Akerman, Belgium)
เพราะหนังทั้งสามเรื่องนี้ทำให้เราเห็น
“การทำงานบ้าน” หรือคุณค่าของการทำงานบ้านอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนเหมือนๆ กัน
ถึงแม้ FAST & FEEL LOVE เป็นหนังรวดเร็ว ส่วนหนังสองเรื่องนี้ช้ามาก 55555 และถึงแม้ว่า
FAST & FEEL LOVE มองจากมุมมองของผู้ชาย
ส่วนหนังสองเรื่องนี้มองจากมุมมองของผู้หญิง
13.3
POPULAIRE (2012, Régis Roisard, France)
หนังย้อนยุคเรื่องนี้เล่าเรื่องเกี่ยวกับหญิงสาวที่ค้นพบว่าตัวเองมีพรสวรรค์
และพยายามแข่งขันชิงแชมป์ “พิมพ์ดีดเร็ว” โดยไต่เต้าจากระดับท้องถิ่นขึ้นไปเรื่อย
ๆ จนถึงระดับโลก
แต่เธอก็เผชิญกับปัญหาเรื่องความรักอย่างรุนแรงไปด้วยในขณะเดียวกัน
คือโดยทฤษฎีแล้ว
เราควรจะอินกับ POPULAIRE
นะ เพราะมันเป็นการแข่งขันของผู้หญิง
และกูก็ต้องนั่งพิมพ์ดีดอยู่ทุกวัน แต่ปรากฏว่า FAST & FEEL LOVE ชนะขาดลอยในแง่ความอิน หรือในแง่การส่งผลกระทบทางอารมณ์ความรู้สึกต่อตัวเราน่ะ
คือ
POPULAIRE มันไม่ได้แย่นะ
แต่เหมือนหนังเรื่องนี้มันเดินตามสูตรสำเร็จของหนังเมนสตรีมมั้ง
คือเราว่าถ้าหากเอา POPULAIRE มาฉายเทียบกับ FAST
& FEEL LOVE เราจะรู้สึกว่าตัวละครใน POPULAIRE นี่เป็น “ตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหวังผลทางอารมณ์ต่อผู้ชม” จริง ๆ
ในขณะที่ FAST & FEEL LOVE นั้น
ถึงแม้ตัวละครจะดูเป็นการ์ตูนมาก ๆ แต่มันยังทำให้เรารู้สึกว่ามันมี “ความจริงบางอย่างของชีวิต”
ในแบบที่สะเทือนใจเราอยู่ภายใต้ความเป็นการ์ตูนของตัวละคร
13.4
THE END OF THE PALE HOUR (2021, Hana Matsumoto) ในแง่ความตรงข้ามกัน เพราะ FAST & FEEL LOVE นำเสนอตัวละครที่เป็นแชมป์โลก
แต่ THE END OF THE PALE HOUR นำเสนอชายหนุ่มที่หวังจะมีชีวิตที่ดีขึ้น
หวังจะประสบความสำเร็จในความรัก
แต่เขาก็ไม่ประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องความรักหรือหน้าที่การงาน เขาพยายามแล้ว
แต่เขาก็เป็นได้แค่พนักงานต๊อกต๋อยต่อไปเท่านั้น แต่เขาก็ยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไป
คือเหมือน
FAST & FEEL LOVE ทำให้เราชอบ THE
END OF THE PALE HOUR มากขึ้น 5555555
คือเหมือนพอเราได้ดูชีวิตของแชมป์โลกแล้ว เราก็เลยเห็นคุณค่าของหนังที่พูดถึง “ชายหนุ่มพนักงานต๊อกต๋อย
ที่จนหนังจบแล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตแต่อย่างใด” เพิ่มขึ้นมาก ๆ
14.
เอาล่ะ ทีนี้ก็มาถึงหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้
นั่นก็คือ หนังเรื่องนี้มันไปกระตุ้น “ความรู้สึกผิด” ที่ฝังลึกในจิตใจเราในช่วง
30 ปีที่ผ่านมานี่แหละ
คือพอดูหนังเรื่องนี้
เราว่าเอาจริง ๆ แล้ว เราก็เคยทำแบบ “เกา” ในบางครั้งน่ะ เราไปเรียกร้องให้คนอื่น
ๆ มาตอบสนองความต้องการของเราในสิ่งที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะจาก “เพื่อน ๆ” ของเรา เราเป็นคนที่เห็นแก่ตัวคนนึงแบบเกานั่นเอง
เราคงไม่มาสาธยายให้หมดหรอกว่า
เราเคยทำพฤติกรรมแบบเกามาแล้วกี่ร้อยครั้งในอดีต โดยเป็นการเรียกร้องจากเพื่อน ๆ
แต่ขอยกมาแค่ตัวอย่างนึงก็แล้วกัน
ในช่วงต้นทศวรรษ
1990 นั้น บ้านเรายากจน ไม่มีเงินติดตั้งเคเบิลทีวี ทีวีบ้านเรารับได้แต่ช่อง 3 5
7 9 11 แต่ทีวีบ้านเพื่อนเราติดเคเบิลทีวี ดูมิวสิควิดีโอต่างประเทศได้
เราก็เลยขอให้เพื่อนคนนั้นอัดมิวสิควิดีโอจากต่างประเทศให้เราดูเป็นประจำ
คือช่วงนั้นเราก็ไม่ได้คิดอะไร
เราคิดแต่ว่า “ฉันอยากดูมิวสิควิดีโอต่างประเทศ”
เพราะฉะนั้นฉันก็เลยขอให้เพื่อนช่วย และเพื่อนก็ดูเหมือนจะเต็มใจช่วย
ดูเหมือนว่าเขาไม่ได้ลำบาก และเขาก็ทำแบบนี้อยู่ 2-3 ปี คอยอัดมิวสิควิดีโอต่างประเทศให้เราดู
แต่พอเราโตขึ้น
มาถึงยุคที่มียูทูบ มิวสิควิดีโอต่าง ๆ หาดูง่ายแบบพลิกฝ่ามือ และพอเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่
และพบว่า “เวลาว่าง” เป็นของที่หายากอย่างสุด ๆ เราเครียดกับเรื่อง “เวลา”
อย่างรุนแรงในแต่ละวัน และพอเรานึกย้อนไปถึงอดีต เราก็พบว่า “นี่กูทำอะไรลงไปเนี่ย”
กูไม่ได้นึกถึงเวลาที่เพื่อนต้องเสียไปให้เราเลยนะ
เขาต้องมาเสียเวลาให้เราไปมากเท่าไหร่ แล้วทำไปแล้วได้ประโยชน์อะไร
เพียงเพื่อตอบสนองความอยากดู MV
ของกูเท่านั้นเหรอ ทำไมกูถึงสนใจแต่กิเลสของกู
แต่ไม่เคยสำเหนียกเลยว่า กิเลสเหี้ย ๆ
ของกูทำให้เพื่อนต้องเสียเวลาชีวิตไปมากเท่าไหร่
อันนี้เป็นแค่ตัวอย่างนึงนะ
ยังมีกรณีอื่น ๆ อีกในชีวิตของเราที่เหมือนเราไปเบียดบังเวลาของเพื่อนๆ เพียงเพื่อมาตอบสนองกิเลสไร้สาระของเรา
เพราะฉะนั้นพอเราดู
FAST & FEEL LOVE มันก็เลยเหมือนตอกย้ำปมความรู้สึกผิดในใจของเราอันนี้อย่างรุนแรงมาก
ๆ มันก็เลยเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+30 จ้ะ
No comments:
Post a Comment