ONCE
UPON A TIME IN BANGKOK, THERE USED TO BE CINEPHILIC HEAVENS CALLED
“INTERNATIONAL FILM FESTIVALS”. (รำลึกถึงหนังที่ชอบสุด ๆ
ที่เคยดูในเทศกาลภาพยนตร์ของพี่วิคเตอร์ เกรียงศักดิ์ ศิลากอง)
6.SILENCE…WE’RE ROLLING (2001,
Youssef Chahine, Egypt)
เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในเทศกาลภาพยนตร์
Bangkok International Film Festival ในปี 2003 ที่พี่วิคเตอร์เป็น programmer ถือเป็นครั้งแรกในชีวิตที่เราได้ดูหนังของ
Youssef Chahine ปรมาจารย์ด้านภาพยนตร์จากอียิปต์
เปิดหูเปิดตาเป็นอย่างยิ่ง
จำได้ว่าตั้งตัวไม่ทัน
จูนแทบไม่ติด มันไม่ใช่หนังที่เรา “ชอบทันที” ในขณะที่ดูหรือดูจบปุ๊บแล้วชอบปั๊บ
เพราะหนังของ Chahine
นี่เป็น wavelength ที่ประหลาดมาก ๆ
เราแทบไม่เคยเจอมาก่อนเลย คือตอนนั้นเราชินแล้วกับหนังบันเทิงของฮอลลีวู้ด,
หนังทดลอง และหนัง contemplative films หรือหนังช้า
ๆ แบบหนังของ Marguerite Duras + Chantal Akerman แต่หนังของ
Chahine นี่เป็นอะไรที่เราไม่เคยคุ้นมาก่อน
อาจจะเป็นเพราะยุคนั้นเราแทบไม่เคยดูหนัง Bollywood มาก่อนด้วยมั้ง
คือหนังมัน
energetic มากๆ เอะอะมะเทิ่งต๊ะติ๊งโหน่งมาก
ทำไมบางฉากมันเร็วปรื๋อแบบนั้น อะไรกันเนี่ย วุ่นวายไปหมด เกิดอะไรขึ้นคะ เพราะฉะนั้นตอนดูเราก็เลยเหมือนจูนไม่ติด
แต่พอดูจบแล้วเวลาผ่านไปสักระยะนึง เราก็ต้องขอบคุณประสบการณ์ของ wavelength
ใหม่ๆ แบบนี้ เพราะประสบการณ์แบบนี้นี่แหละที่เหมือนช่วยขยายผัสสะด้านภาพยนตร์ของเราให้กว้างยิ่งขึ้นเรื่อย
ๆ
อยากให้มีคนจัด
retrospective ของ Youssef
Chahine อย่างสุด ๆ เพราะเขากำกับหนังไปแล้ว 45 เรื่อง แต่เราเคยดูไปแค่ 3 เรื่อง ซึ่งก็คือ SILENCE…WE’RE
ROLLING, หนังสั้น SEPTEMBER 11: EGYPT (2002)
และ ALEXANDRIA…NEW YORK (2004)
ชอบสิ่งที่พี่สนธยา
ทรัพย์เย็นเขียนถึง Youssef Chahine
อย่างสุด ๆ เห็นด้วยมาก ๆ ว่า Chahine เหมือนอยู่ตรงกลางระหว่าง
Pedro Almodovar กับ Rainer Werner Fassbinder โดยเฉพาะ SILENCE…WE’RE ROLLING นี่เหมาะฉายควบกับ THE
FLOWER OF MY SECRET (1995, Pedro Almodovar) มาก ๆ เพราะทั้งสองเรื่องนำเสนอรักวุ่น
ๆ ของหญิงวัยกลางคนเหมือนกัน
https://www.facebook.com/filmvirusprogram/photos/a.354671201557571/1508795909478422/
เราว่าจุดเด่นอย่างนึงของ SILENCE…WE’RE ROLLING ก็คือว่ามันเป็น “เมโลดราม่า”
แต่มันออกมา “ดี” น่ะ คือปกติแล้วเวลาพูดถึง “เมโลดราม่า” เรามักจะคิดว่ามันต้อง “ต่ำ”
หรือ “น้ำเน่า” อะไรแบบนี้ แต่จริง ๆ แล้วหนังที่มีส่วนผสมของความเป็น “เมโลดราม่า”
อยู่ด้วย ก็อาจจะออกมาดีมาก ๆ ก็ได้ อย่างเช่น
1.หนังของ Youssef Chahine
2.หนังของ Douglas
Sirk
3.หนังของชนะ คราประยูร
4.7TH HEAVEN (1927, Frank Borzage)
5.ROCCO AND HIS BROTHERS (1960,
Luchino Visconti, Italy)
6.INSIANG (1976, Lino Brocka,
Philippines)
7.NAUFRAGIO (1978, Jaime Humberto
Hermosillo, Mexico)
8.DRUGSTORE ROMANCE (1979, Paul
Vecchiali, France)
9.หนามยอกอก (1979,
กรสวัสดิ์)
10.A MARRIED WOMAN (1982, Alberto
Bojórquez, Mexico)
11.น้ำเซาะทราย (1986,
ชาลี อินทรวิจิตร)
12.MELO (1986, Alain Resnais, France)
13.นางนวล THE
SEAGULL (1987, ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล) จากบทประพันธ์ของ Anton
Chekhov
14.คนเริงเมือง (1988,
เริงศิริ ลิมอักษร, TV Series)
15.DANZÓN (1990, María Novaro,
Mexico)
16.THE FLOWER OF MY SECRET
17.THE HEART OF ME (2002, Thaddeus O’Sullivan,
UK)
18.GILLES’WIFE (2004, Frédéric Fonteyne,
Belgium)
19.TUMHARI SULU (2017, Suresh
Triveni, India)
คือหนังในรายชื่อข้างบน
บางเรื่องก็เป็น “เมโลดราม่า” จริง ๆ แต่บางเรื่องก็ไม่ได้เป็น “เมโลดราม่า” นะ
แต่มันเป็นหนังที่มีเนื้อเรื่องที่เอื้อต่อการทำออกมาเป็นเมโลดราม่ามาก ๆ แต่ผู้กำกับสามารถเอาเนื้อเรื่องแบบเมโลดราม่ามาทำเป็นหนังที่ออกมาแล้วทุกอย่างพอดิบพอดี
ลงตัวสวยงามได้
No comments:
Post a Comment