THE SOUND OF DEVOURING DUST
(2021, Jessada Chan-yaem, 34min, A+30)
นครฝุ่น
(ที่เราเขียนข้างล่างนี้เอามาจาก message ที่เราเคยเขียนคุยกับตัวผู้กำกับนะ
เพราะฉะนั้นภาษาที่เราใช้ในนี้อาจจะดูแตกต่างจากที่เราเขียนคุยกับตัวเองในบันทึกความทรงจำถึงหนังเรื่องอื่น
ๆ 55555)
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.ชอบสุด ๆ ในหลาย ๆ
ส่วนเลยครับ อันแรกเลยก็คืองานด้านภาพ ที่ถ่ายได้ทรงพลังดีงามมาก
ตั้งแต่ฉากแรกที่เป็นห้อง ก็ถ่ายออกมาแล้วได้บรรยากาศดี แล้วฉากต่อมาที่เป็นการถ่ายผ่านกระจกมัว
ๆ ในห้องน้ำนี่สุดยอดมาก ๆ เป็น visual ที่ดีมาก
ชอบการเล่นกับ effect ทางภาพด้วยครับ
อย่างฉากจูบกันแล้วซ้อนกันเป็น 4 คนนี่ติดตามาก ๆ
การเลือนภาพเข้าด้วยกันก็ดีงามมากครับ
โดยเฉพาะการเลือนภาพจากตอนที่รถวิ่งแล้วเห็นแสงไฟรถ เข้ากับภาพรอยแตกปริบนฝาผนัง
ถือเป็นอีกหนึ่ง visual
ที่ติดตามาก ๆ จากหนังเรื่องนี้
2.ชอบกลวิธีการเล่าเรื่องผ่านทางเสียงกับภาพที่ไม่สัมพันธ์กันซะทีเดียวด้วยครับ
นึกถึงพวกหนังของ Marguerite Duras ซึ่งเป็นวิธีการที่ผมชอบมาก
ๆ เพราะงานด้านภาพของหนังมันก็ทรงพลัง น่าดูมาก ๆ อยู่แล้ว
และเสียงเล่าเรื่องของหนัง ทั้งเสียง voiceover ของผู้หญิง+ผู้ชาย
และเสียงตัวละครในฉากนึง
มันก็ช่วยกระตุ้นจินตนาการผู้ชมให้นึกภาพในหัวควบคู่กันไปด้วย
ตัวเรื่องที่เล่าผ่านทางเสียงก็ทรงพลังมาก
ๆ ครับ ทั้งเรื่องของหญิงสาวที่ถูกตบตีอย่างรุนแรง, เรื่องของผู้ชายที่ได้ยินเสียงเปรต,
เรื่องของผู้ชายที่รู้สึกว่าเวลาวนอยู่แค่ 12.00-15.00 น.
และเรื่องของผู้ชายที่ฝันว่าตัวเองเป็นเด็กผู้หญิงที่ต้องไปทำงานที่จังหวัดเพชรบูรณ์
3. ชอบ sound
effect อย่างสุดๆ ด้วยครับ มันทรงพลังมาก
และบางช่วงมันก็ดูเหมือนมีหลาย layer มาก ๆ
ชอบที่บางครั้งเหมือนมีเสียงเครื่องดนตรีแว่วมาเบาๆ และตอนท้ายของหนังก็เหมือนมีเสียงโทรศัพท์ด้วย
4.ชอบที่มี “สี”
ขึ้นมาในฉากนึงด้วยครับ ฉากนั้นทรงพลังมาก ๆ ที่เป็นผู้ชายนอนอยู่บนเตียง ลืมตา
แต่เหมือนอึดอัด ขยับตัวไม่ได้
5.ประเด็นของหนังก็น่าคิดมาก
ๆ เริ่มตั้งแต่ “ฝุ่น” ที่ทำให้นึกถึง 3 อย่าง ซึ่งได้แก่
5.1 ปัญหาสิ่งแวดล้อม
PM2.5
5.2 ปัญหาการเมืองไทย
ฝุ่นในที่นี้อาจจะคล้าย ๆ สลิ่ม 55555
5.3 พอตอนหลังตัวละครต่าง
ๆ ในเรื่องเล่าสลายกลายเป็นฝุ่น อันนี้ก็ทำให้นึกถึง ashes หรืออัฐิ
เพราะสุดท้ายทุกคนก็ต้องตายไป ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ไม่รู้ว่าหนังตั้งใจหรือเปล่า แต่
“ฝุ่น” ในหนังทำให้นึกถึง 3 อย่างดังที่ว่ามานี้ครับ
6.ชอบที่หนังพูดถึงปัญหาการเกณฑ์ทหารด้วย
7.สิ่งที่ไม่รู้ว่าหนังตั้งใจหรือเปล่า
แต่เราดูแล้วนึกถึง ก็คือเรื่องการสังหารหมู่เสื้อแดงในปี 2010 ซึ่งหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจก็ได้
ปัจจัยที่ทำให้นึกถึงเรื่องการสังหารหมู่เสื้อแดงก็คือ
7.1 เสียงประหลาดกลางใจเมือง
เพราะตัวละครบอกว่าตัวเองอยู่กลางเมือง เปรตไม่น่าจะเข้ามาได้
แล้วเสียงร้องขอความช่วยเหลือที่ตัวละครได้ยินกลางเมืองน่าจะมาจากที่ใด
หรือว่าเป็นเสียงของวิญญาณผู้ที่ถูกสังหารหมู่ในปี 2010
7.2 หลังจากฉากที่ตัวละครจูบกัน
เราเห็นตัวละครเหมือนนอนอยู่บนพื้น หรือนอนอยู่บนเตียง เหมือนตายแล้ว
เหมือนมีแสงแฟลชจาก camera ถ่ายรูปตัวละครที่นอนตายอยู่
และตัวละครก็มีรอยฟกช้ำอย่างรุนแรงที่แผ่นหลังด้วย
ส่วนเสียง sound effect ในฉากนั้นเหมือนเสียงยิงปืน
ภาพกับเสียงในฉากนั้นก็เลยทำให้เราคิดถึงเรื่องการสังหารหมู่เสื้อแดงขึ้นมา
เพราะมันคือเสียงของ “ปืนยิง” บวกกับภาพของศพคน
การที่ตัวละครเหมือนนอนตายโดยโพสท่าต่าง
ๆ กันไป ก็ทำให้นึกถึงการตัดต่อแบบในหนังเรื่อง LAST YEAR AT MARIENBAD ด้วยครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมชอบมาก ๆ
มันเป็นการตัดต่อหรือการนำเสนอฉากที่ดูทั้งจริงและไม่จริงในเวลาเดียวกัน
7.3 การใส่ฉากรูปสลักของกลุ่มคนเข้ามาต่อจากฉากนั้น
ก็ทำให้นึกถึงประเด็นทางการเมืองด้วยเช่นกัน ชอบมาก ๆ
ด้วยที่มีการเลือนฉากนางรำเข้ามาต่อจากฉากนี้
7.4 การที่ตัวละครฝันถึงเด็กที่ต้องไปทำงานที่เพชรบูรณ์
แล้วมีการพูดประโยคที่ว่า “คนพวกนั้นมืชื่อ แต่จะมีค่าอะไรถ้าไม่ถูกจดจำ”
ก็เป็นประโยคที่ทำให้นึกถึงการสังหารหมู่เสื้อแดงเช่นกันครับ
8.ชอบที่หนังนำเสนอพระอาทิตย์ในทางไม่ดีด้วย
เพราะพระอาทิตย์ในหนังเหมือนสร้างความแสบร้อนเผาไหม้ให้กับตัวละคร
ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกดี เพราะปกติแล้วพระอาทิตย์มักไม่ค่อยถูกนำเสนอในทางลบ
9.ฉากที่ติดตาที่สุดฉากนึง
คือฉากที่เราเห็นชิงช้าอันนึงยังแกว่งไกวอยู่ แต่ไม่มีคนนั่งอยู่บนชิงช้าแล้ว
เป็นฉากที่ทรงพลังมาก หลอนมาก ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วอาจเป็นเพียงแค่ “แรง”
ที่ยังหลงเหลืออยู่ หลังจากที่มีคนผลักชิงช้าก่อนหน้านั้น
10. ชอบรายละเอียดเล็ก
ๆ น้อย ๆ บางอย่างในหนังด้วย อย่างเช่นการให้ตัวละครตัวนึงไอโขลกตลอดเวลา
11.ตอนแรกนึกว่าฉากสุดท้ายเป็นการ
replay ฉากแรก เพราะเสียงเล่ามันเหมือนกัน แต่ปรากฏว่าไม่ใช่
เพราะฉากแรกตัวละครเหมือนเอาผ้าเช็ดตัวมาเช็ดจู๋ด้วย (ถ้าเข้าใจไม่ผิด)
แล้วก็ค้างผ้าเช็ดตัวไว้ที่จุดนั้น ก่อนที่จะตัดเป็นหน้าตัวละคร
แต่ฉากสุดท้ายตัวละครเหมือนไม่ได้เช็ดจู๋ แต่ปล่อยให้ผ้าเช็ดตัวตกลงพื้นไป 555
แต่ผมมองไม่ออกว่าตัวละครที่เช็ดตัวในฉากสุดท้ายเป็นผู้ชายคนเดียวกับในฉากแรกหรือเปล่า
แต่ผมเดาว่าอาจจะเป็นคนละคนกัน
12. ชอบการใช้ไซต์ก่อสร้างในช่วงท้ายด้วย
ตรงนี้จะทำให้นึกถึงหนังสั้นเรื่องนึงโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งก็คือหนังสั้นเรื่อง
“นครอัศจรรย์” MIGHT (2011, วชร กัณหา, 30min) ที่เหมือนเป็นการถ่ายไซต์ก่อสร้างในกรุงเทพทั้งเรื่อง
ประกอบกับเสียงบรรยายของทนายความคนนึงที่พยายามช่วยเหลือคนเสื้อแดงที่ถูกคดีเผาอาคารราชการในอุบลในปี
2010 มั้ง ถ้าหากเราจำไม่ผิด คือเหมือนหนังทั้งสองเรื่องนี้เป็นหนังการเมืองไทยเหมือนกัน
และมีการใช้ภาพไซต์ก่อสร้างในกรุงเทพในฐานะสัญลักษณ์หรืออะไรสักอย่างเหมือนกัน 5555
แต่ในกรณีของ MIGHT นั้นหนังใช้แต่ภาพไซต์ก่อสร้างไปเลยนาน
30 นาที
13.อีกสิ่งหนึ่งที่หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงโดยไม่ได้ตั้งใจ
ก็คือทำให้นึกถึงบทกวี “ก่อนลั่นดาล” ของคุณไอดา อรุณวงศ์ในนิตยสาร “อ่าน”
ฉบับเดือนก.ค.-ธ.ค. 2013 ครับ
โดยผ่านทางตัวละครหญิงสาวในเรื่องที่เล่า เพราะหญิงสาวคนนั้นถูกตบตี
แต่เธอก็ไม่โต้ตอบ ได้แต่เงียบ หรือร้องไห้ คือสิ่งที่หญิงสาวในเรื่องเล่านั้นถูกกระทำ
มันทำให้นึกถึงบทกวีท่อนที่ว่า
“ยอมเจียม ยอมเงียบ
ยอมหยุด
จมจนจ่อม จมจนทรุด
จนที่สุดของการข่มเหง
เป็นจำเลยไม่จำนรรจ์ลั่นบรรเลง
โจทก์มันสูง โจทก์มันเก่ง
โจทก์มันเทวดา”
สรุปว่าชอบหนังอย่างสุด ๆ ครับ
No comments:
Post a Comment