หนึ่งในประเด็นที่เราแอบสงสัยมานานหลายปีแล้วก็คือว่า
ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์สามารถสะท้อนปัญหาทางสุขภาพของคนในแต่ละประเทศได้หรือเปล่า
เพราะตอนที่เราเป็นเด็กนั้น (ทศวรรษ 1980) ละครทีวีญี่ปุ่นและหนังญี่ปุ่นหลาย ๆ เรื่อง
นำเสนอตัวละครนางเอกที่ป่วยเป็นมะเร็ง หรือป่วยหนักด้วยโรคอะไรบางอย่าง
(แต่ไม่ได้ป่วยเป็นมะเร็งเพราะระเบิดนิวเคลียร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง)
โดยเฉพาะละครทีวีเรื่อง AKAI GIWAKU (RED SUSPICION) (1975, Masaharu Segawa) ที่นำแสดงโดย
Momoe Yamaguchi กับ Tomokazu Miura และออกอากาศทางช่อง
7 ในไทย หรือหนังญี่ปุ่นที่สร้างในยุคนั้น อย่างเช่น MEMORIES OF YOU (1988, Shinichiro
Sawai, A-) และ THE PALE HAND (1990, Seijiro Koyama, A+30)
และพอมาถึงยุคนี้ เราก็ยังคงเจอหนังญี่ปุ่นหลาย ๆ
เรื่องที่มีตัวละครป่วยหนักอยู่ อย่างเช่น BE SURE TO SHARE (2009, Sion Sono) ที่พ่อของพระเอกป่วยเป็นมะเร็งขั้นสุดท้าย,
HANA’S MISO SOUP
(2015, Tomoaki Akune) ที่มีตัวละครสำคัญ
(Ryoko Hirosue) ป่วยเป็นมะเร็งขั้นสุดท้าย, WHAT’S FOR DINNER, MOM? (2016,
Mitsuhito Shiraha) ที่พ่อของนางเอกตายเพราะมะเร็งปอด,
HER LOVE BOILS
BATHWATER (2016, Ryota Nakano) ที่มีนางเอก (Rie Miyazawa) ป่วยเป็นมะเร็งขั้นสุดท้าย,
SUNNY: OUR HEARTS
BEAT TOGETHER (2018, Hitoshi One, A+30) ที่มีตัวละครหญิงคนสำคัญป่วยเป็นโรคมะเร็งขั้นสุดท้าย, THE LAST 10 YEARS (2022, Michihito Fujii,
A+) ที่นางเอกป่วยหนัก, etc.
แต่เรากลับพบว่า ในช่วงเวลาราว 13 ปีที่ผ่านมาที่เราตามดูหนังกระแสหลักของอินเดียที่เข้ามาฉายในโรงภาพยนตร์ในไทยนั้น
เราแทบไม่เคยเจอตัวละครสำคัญป่วยเป็นมะเร็งเลย และแทบไม่เคยเจอหนังที่มีพล็อตหลักเกี่ยวกับการป่วยหนักใกล้ตายของตัวละครก่อนวัยอันควรเลยด้วย
ยกเว้นเพียงแค่เรื่อง THE SKY IS PINK (2019, Shonali Bose) ที่มีตัวละครเด็กหญิงป่วยเป็นโรค
pulmonary
fibrosis (พังผืดที่ปอด) คือเราว่าหนังแบบ THE SKY IS PINK นั้นถือเป็นหนังแนวที่พบได้ง่ายมาก
ๆ ในหนังญี่ปุ่นน่ะ แต่เราแทบไม่เคยพบในหนังอินเดียเลย
เราก็เลยเหมือนได้ข้อสรุปว่า ตัวละครในหนังญี่ปุ่นและละครทีวีญี่ปุ่นนั้น
ป่วยเป็นมะเร็งกันเยอะสุดๆ เยอะมาก ๆ แต่ตัวละครในหนังอินเดียนั้น
แทบไม่เคยป่วยเป็นมะเร็งเลย เราก็เลยสงสัยว่า สิ่งนี้มันสะท้อนความเป็นจริงทางสุขภาพของคนในประเทศนั้น
ๆ จริงหรือเปล่า แล้วมะเร็งมันมีสาเหตุเกิดมาจากอะไรกันแน่นะ
เพราะเรารู้สึกว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่สะอาดสะอ้าน ทุกอย่างเป็นระบบระเบียบดีมาก สัดส่วนคนจนก็ดูน้อยกว่าประเทศอื่น
ๆ ในเอเชีย แต่อินเดียเป็นประเทศที่ดูเผิน ๆ แล้วสกปรกมาก ๆ ทุกอย่างอีเหละเขละขละไปหมด
คนจนยากแค้นเข็ญใจก็เยอะมาก ๆ
เมื่อกี้เราเลยลอง search internet ดู
แล้วก็ได้ข้อสรุปว่าหนัง/ละครญี่ปุ่น กับหนังอินเดีย
มันคงสะท้อนความเป็นจริงทางสุขภาพของคนในประเทศตนเองได้ในระดับหนึ่งจริง ๆ นั่นแหละ
เพราะอัตราการเป็นมะเร็งของคนญี่ปุ่นอยู่ที่ 282.9 ต่อ 100,000 คน
ส่วนอัตราการเป็นมะเร็งของคนอินเดียนั้นอยู่ที่ 96.4ต่อ 100,000 คน
หรือเท่ากับว่าอัตราการเป็นมะเร็งของคนญี่ปุ่นอยู่สูงกว่าคนอินเดียราว 3 เท่า
ส่วนอัตราการเป็นมะเร็งของคนไทยอยู่ที่ 161.7 ต่อ
100,000 คน ซึ่งสูงกว่าอัตราการเป็นมะเร็งของคนอินเดียถึง 1.7 เท่า
https://www.wcrf.org/cancer-trends/global-cancer-data-by-country/
แต่เราก็ไม่แน่ใจว่า การที่คนอินเดียมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งน้อยกว่าคนญี่ปุ่นถึง
3 เท่านี้ สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนอินเดียเสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่น ๆ
เร็วกว่าคนญี่ปุ่นด้วยหรือเปล่านะ เพราะอายุขัยโดยเฉลี่ยของคนอินเดียอยู่ที่ 67 ปี แต่อายุขัยโดยเฉลี่ยของคนญี่ปุ่นอยู่ที่
84 ปี ส่วนอายุขัยโดยเฉลี่ยของคนไทยอยู่ที่ 79 ปี
https://data.worldbank.org/indicator/SP.DYN.LE00.IN
พอได้เห็นข้อมูลแบบนี้ แล้วมันก็ลบความเชื่อผิด ๆ
ของเราที่ว่า ตัวละครที่ป่วยเป็นมะเร็งใน หนัง/ละครทีวีญี่ปุ่น เป็นเพียงแค่ cliché หรือเป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อเรียกน้ำตาผู้ชมเพียงอย่างเดียวนะ
เพราะคนญี่ปุ่นป่วยเป็นมะเร็งในสัดส่วนที่สูงมากจริง ๆ นั่นแหละ มันก็เลยสะท้อนออกมาให้เห็นในหนัง/ละครทีวีญี่ปุ่น
ส่วนคนอินเดียนั้นก็ป่วยเป็นมะเร็งน้อยมากจริง ๆ นั่นแหละ เราก็เลยเหมือนไม่เคยเจอตัวละครที่ป่วยเป็นมะเร็งเลยในหนังอินเดียที่เราเคยดูมา
ถ้าใครจำได้ว่ามีหนัง/ละครทีวีญี่ปุ่นเรื่องไหนอีกบ้าง
ที่มีตัวละครป่วยเป็นมะเร็ง ก็มาใส่ชื่อหนังไว้ใน comment ได้นะ
ภาพจาก RED SUSPICION
กรี๊ดดดดดดดดด ขอบพระคุณมาก ๆ ครับ ผมเคยดู 4
เรื่องในจำนวนนี้ แต่ลืมเนื้อเรื่องไปแล้ว เมื่อกี้ไปเช็คข้อมูลดูแล้วก็ใช่จริง ๆ
ด้วย
CRYING
OUT LOVE, IN THE CENTER OF THE WORLD (2004, Isao Yukisada) นางเอกป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจริง
ๆ ด้วย
NADA SOU SOU
(2006, Nobuhiro Doi) ตัวละครทำงานหนักจนป่วยตาย
MIDNIGHT
SUN (2006, Norihiro Koizumi) นางเอกเหมือนเจอแสงแดดไม่ได้
SKY OF
LOVE (2007, Natsuki Imai) พระเอกป่วยเป็นมะเร็ง
--------------
Favorite
Actor – Vincent Macaigne
Vincent
Macaigne เรารู้สึกว่าเขาคือ Gérard Depardieu คนใหม่
เขาไม่ใช่ดาราหนุ่มที่หล่อมาก แต่เขาเล่นหนังดีมาก ก็เลยส่งผลให้เขาได้รับบทดี ๆ
เป็นประจำเหมือน Gérard Depardieu และเรารู้สึกว่าทั้งสองมักรับบทเป็นผู้ชายที่เป็น
“คนธรรมดาทั่ว ๆ ไป” ไม่ใช่หนุ่มหล่อเสน่ห์แรงที่สาว ๆ ต้องเหลียวมอง
ตอนนี้เราเพิ่งได้ดูหนังที่ Vincent Macaigne แสดงไปแค่
8
เรื่อง ซึ่งได้แก่
1.THE NIGHT DOCTOR (2020, Elie Wajeman, A+30)
2. THE
THINGS WE SAY, THE THINGS WE DO (2020, Emmanuel Mouret, A+30)
3. STRUGGLE
FOR LIFE (2016, Antonin Peretjatko, A+30)
4.TWO
FRIENDS (2015, Louis Garrel, A+30)
5.EDEN
(2015, Mia Hansen-Løve, A+30)
6.THE
RENDEZ-VOUS OF DÉJÀ-VU (2013, Antonin Peretjatko, A+30)
7.AGE OF
PANIC (2013, Justine Triet, A+30)
8.LA
RÉPÉTITION (2001, Catherine Corsini)
รู้สึกว่า Vincent Macaigne เล่นเป็นตัวละครได้หลากหลายดีด้วย
เขาเล่นเป็นผู้ชายที่อารมณ์ร้อนจนน่ากลัวแบบใน AGE OF PANIC ก็ได้,
เล่นบทตลกในหนังของ Antonin Peretjatko ก็ได้, เล่นบทดราม่าเป็นผู้ชายที่จริงจังกับชีวิตแบบใน THE NIGHT DOCTOR ก็ได้
หรือเล่นบทโรแมนติกในหนังของ Emmanuel Mouret ก็ได้
ภาพซ้ายเป็น Gerard Depardieu จาก NATHALIE GRANGER (1972, Marguerite
Duras, A+30) ส่วนภาพขวาคือ Vincent Macaigne
---------------
ข้อสงสัยเกี่ยวกับ ANIMISM AND JAPANESE ANIMATIONS
เมื่อไม่กี่วันก่อน เราเพิ่งได้ดูหนังเรื่อง THE POWER OF ANIME (2023, พิมพิชญา
รุ่งพิสิฐไชย, documentary,
31min, A+30) ซึ่งเป็นหนังสารคดีจากนิสิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
(ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด) และเป็นหนังสารคดีที่เราชอบสุด ๆ
เพราะมันพูดถึงประเด็นที่เราสนใจ ซึ่งก็คือเรื่องการ์ตูนและอะนิเมชั่นของญี่ปุ่น
และอิทธิพลของสิ่งนี้ในไทย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่ดีของ SOFT POWER จากญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จอย่างสุดขีด
สิ่งที่เราชอบในหนังสารคดีเรื่องนี้ก็มีเช่น
1.การพูดถึงหนัง
animation เรื่องแรก
ๆ ของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1910
2.การพูดถึงอิทธิพลของ EVANGELION ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่รู้มาก่อน
เพราะเราอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น + ดูละครทีวีการ์ตูนญี่ปุ่นในทศวรรษ 1980 เป็นหลัก เพราะฉะนั้นอะไรที่มันดัง
ๆ ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา เราก็เลยแทบไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ นอกจากการ์ตูน
SAILOR MOON กับ “ปริศนาปลาทอง” GOLDFISH WARNING! (1991-1992,
Junichi Sato)
3.การสัมภาษณ์บุคคลต่าง
ๆ ที่หลากหลายในไทย นอกเหนือไปจาก cosplayers อย่างเช่นนักวิชาการ,
ผู้บริหารบริษัทการ์ตูน, webmaster, influencer, otaku และนักพากย์
คือเหมือนก่อนหน้านี้เราได้ดูแต่หนังสารคดีไทยเกี่ยวกับ
COSPLAYERS น่ะ คือเหมือนในช่วง
15 ปีที่ผ่านมาเราได้ดูหนังสารคดีไทยเกี่ยวกับ cosplayers ไปแล้วราว
5 เรื่อง อะไรทำนองนี้ ซึ่งเรื่องแรก ๆ ที่เราได้ดูน่าจะเป็น THE DOCUMENTARY OF COSPLAYER (2012,
Krittiporn Petchnamkeow, A+30) จากคณะ ICT ม.ศิลปากร
และหลังจากนั้นก็มีหนังสารคดีไทยเกี่ยวกับ cosplayers ออกมาอีกเรื่อย
ๆ เป็นระยะ ๆ
ส่วนหนังสารคดีไทยเกี่ยวกับโอตะคุนั้น
เหมือนเราเคยดูเรื่องนึงนะ ที่ตัวผู้กำกับเป็นโอตะคุเอง แต่เราจำชื่อเรื่องไม่ได้แล้วว่ามันคือเรื่องอะไร
มีใครจำได้บ้าง นอกจากนี้ ก็มีหนัง fiction ไทยเกี่ยวกับโอตะคุออกมาบ้าง
อย่างเช่นเรื่อง SOMEWHERE
ONLY WE KNOW (2019, สุทธิวัฒน์ ศิริฟ้า,
A+25) กับหนังเรื่อง
THE RAINBOW
(2019, ธนากร สุขโกมล, A+)
เราก็เลยชอบสุด ๆ ที่หนังสารคดีเรื่อง THE POWER OF ANIME นี้ขยับขยายออกไปสัมภาษณ์คนกลุ่มอื่น
ๆ ด้วย นอกเหนือจาก cosplayers and otaku
4.แต่ส่วนที่เกี่ยวกับ cosplayers ในหนังเรื่องนี้เราก็ชอบสุด
ๆ นะ เพราะเหมือนหนังสารคดีไทยเกี่ยวกับ cosplayers เรื่องอื่น
ๆ ที่เราเคยดูมา มันพูดถึงช่วงเวลาในทศวรรษ 2010 ซึ่งเป็นช่วงที่ cosplayers ได้รับความนิยมเป็นอย่างดีในไทย
และคนไทยที่เดินห้างสรรพสินค้าโดยทั่วไปมีความเข้าใจกันดีแล้วว่า cosplayers คืออะไร
แต่หนังสารคดีเรื่องนี้สัมภาษณ์คนที่เคยอยู่ในรุ่นบุกเบิกของ cosplayers ในไทยด้วยน่ะ
ซึ่งเขาก็เล่าว่า ในยุคบุกเบิกนั้น มันลำบากมาก
เพราะคนทั่วไปในไทยยังไม่รู้ว่านี่คืออะไร เพราะฉะนั้นเวลา cosplayers ในยุคบุกเบิกไปเดินในห้างสรรพสินค้าเพื่อจะไปที่งานประกวด
เขาก็ต้องเผชิญกับสายตาของผู้คนจำนวนมากที่มองมาที่เขาว่าเป็นตัวประหลาด, คนบ้า หรืออะไรทำนองนี้
ซึ่งเราชอบอะไรตรงนี้มาก ๆ เพราะมันเหมือนกับ cosplayers ในยุคบุกเบิกมันก็เหมือนกับ
pioneers ในวงการต่าง
ๆ (อย่างเช่น Apichatpong
Weerasethakul ในวงการหนังอาร์ตของไทย
หรือผู้กำกับหลาย ๆ คนในวงการหนังทดลอง) ที่ต้องเผชิญกับแรงเสียดทานอย่างรุนแรง
เผชิญกับแรงต่อต้านจำนวนมาก เผชิญกับ “ความไม่เข้าใจ” ของผู้คนจำนวนมากในสังคมที่พร้อมจะแสดงความเห็นในทางลบต่อพวกเขา
แต่ถ้าหากพวกเขาทนต่อแรงเสียดทาน, แรงต่อต้าน และกระแสความเห็นในทางลบจากผู้คนในสังคมจำนวนมากได้
พวกเขาก็จะสามารถหักร้างถางพงและกรุยทางให้กับคนอื่น ๆ ในรุ่นต่อ ๆ มาให้เดินตามพวกเขาได้อย่างสบายใจ
ซึ่ง cosplayers ในยุคบุกเบิกก็ทำได้สำเร็จแล้วจริง
ๆ เพราะต่อมาในทศวรรษ 2010 นั้น cosplayers ก็ค่อย ๆ กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมไทยไปแล้ว
5.ชอบการสัมภาษณ์คุณธนพ ตันอนุชิตติกุล อดีตพิธีกรรายการทีวีชื่อดังในทศวรรษ
1990 เป็นอย่างมาก เพราะเราไม่เคยรู้จักเขามาก่อน เหมือนเนื้อหาในส่วนนี้ช่วยให้ข้อมูลแก่เราเป็นอย่างดีเกี่ยวกับวงการการ์ตูนในไทยตั้งแต่ทศวรรษ
1990 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่เราแทบไม่ได้อ่านการ์ตูนญี่ปุ่นแล้ว อย่างเพลง “ปีกรัก”
นี่เราก็ไม่รู้จักมาก่อน ถึงแม้เราอาจจะเคยได้ยินผ่าน ๆ หูมาบ้างก็ตาม
6.ชอบการสัมภาษณ์ “นักพากย์ animation” มาก
ๆ ด้วย เพราะเราก็เหมือนแทบไม่เคยรู้เรื่องราวของพวกเขามาก่อนเช่นกัน
7.ชอบที่หนังเรื่องนี้มันพูดถึงการ์ตูนญี่ปุ่นที่เราไม่รู้จักด้วย
อย่างเช่น THE
DISASTROUS LIFE OF SAIKI K. ไซคิหนุ่มพลังจิตอลเวง
(2012-2018,
Shuichi Aso) และ BLACK CLOVER (2017-2021, TV series)
หนังสารคดีเรื่องนี้พูดถึงองค์ประกอบต่าง ๆ
ที่มีส่วนทำให้การ์ตูนและ animation ของญี่ปุ่นประสบความสำเร็จอย่างมาก
ๆ ด้วย แต่ยังมีประเด็นหนึ่งที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้พูดถึง เราก็เลยอยากจะจดบันทึกเอาไว้เสียหน่อย
นั่นก็คือประเด็นที่ว่า “การที่ชาวญี่ปุ่นตั้งแต่โบราณเชื่อถือใน animism เป็นอย่างมาก
มีส่วนในการทำให้ Japanese
animations ประสบความสำเร็จหรือไม่”
คือเราเคยคุยกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นคนนึงน่ะว่า
เราสงสัยว่าทำไม animations
ของญี่ปุ่นถึงประสบความสำเร็จมากกว่าชาติอื่น ๆ
และเพื่อนชาวญี่ปุ่นคนนั้นก็ตอบเราว่า เขามีทฤษฎีว่า
มันเป็นเพราะชาวญี่ปุ่นอยู่กับความเชื่อแบบ animism มานานหลายพันปีแล้ว
คือเหมือนชาวญี่ปุ่นในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา เวลาที่พวกเขามอง “วัตถุต่าง ๆ ตามธรรมชาติ”
อย่างเช่น ก้อนหินต่าง ๆ, ต้นไม้ต่าง ๆ, แม่น้ำลำธาร etc. ซึ่งเป็นวัตถุที่ไม่ใช่คนหรือสัตว์
วัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ดูเหมือนไม่ได้มีชีวิตจิตใจ พวกเขามองว่าจริง ๆ
แล้ววัตถุเหล่านั้นมี “วิญญาณ” หรือมีอะไรเหนือธรรมชาติสิงสู่อยู่น่ะ หรือเหมือนมีพลังเหนือธรรมชาติบางอย่างที่ผูกพันเชื่อมโยงกับ
“วัตถุ” เหล่านี้ (ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิดนะ) เพราะฉะนั้นเวลาที่พวกเขามอง “สิ่งต่าง
ๆ ที่เคลื่อนไหวไม่ได้ด้วยตนเอง” อย่างเช่น ก้อนหินหรือต้นไม้ พวกเขาก็ไม่ได้มองแค่ว่า
“มันเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวไม่ได้” หรือเป็นเพียงแค่ “สสาร” แต่พวกเขามองว่ามีวิญญาณหรือพลังงานสิงสู่อยู่ในสสารนั้นด้วย
และความเชื่อที่สืบทอดกันมานานหลายพันปีแบบนี้ หรือมุมมองที่มีต่อโลกแบบนี้
มันก็เลยส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นทำ animations ได้ดีหรือเก่งกว่าคนชาติอื่น
ๆ ด้วย เพราะ animation
หลาย ๆ เรื่องมันก็คือการทำให้สิ่งที่ไม่เคลื่อนไหวกลายเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวได้เหมือนกัน
มันคือการ treat วัตถุหรือสิ่งต่าง
ๆ ที่ไม่เคลื่อนไหวให้ดูราวกับ “มีชีวิต” หรือ “มีจิตวิญญาณ” ขึ้นมาได้เหมือน ๆ
กัน
ซี่งเราก็คล้อยตามทฤษฎีของเพื่อนชาวญี่ปุ่นคนนี้อย่างมาก
ๆ นะ เราเชื่อว่ามันเป็นแบบนั้นเหมือนกัน
เราก็เลยอยากจดบันทึกประเด็นนี้เอาไว้ด้วย เพราะประเด็นเรื่อง animism นี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกพูดถึงในหนังเรื่อง
THE POWER OF
ANIME แต่เราเชื่อว่ามันน่าจะเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้
Japanese
animations ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดเช่นกัน
แต่เราก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทั้งในเรื่อง animism และ Japanese animations นะ
(อย่างเช่นหนัง GHIBLI
นี่เราก็เคยดูแค่ไม่กี่เรื่อง) ไม่รู้ว่าเพื่อน ๆ
คนอื่น ๆ มีความคิดเห็นอย่างไรต่อประเด็นนี้บ้าง
ส่วนตัวเรานั้น มีทฤษฎีอีกด้วยว่า ความเชื่อเรื่อง
animism ที่สืบทอดกันมานานหลายพันปีในญี่ปุ่นนี่แหละ
น่าจะมีส่วนสำคัญในการทำให้ “หนังผี” ของญี่ปุ่นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
หรือได้ใจเรามาก ๆ ด้วย ซึ่งตรงข้ามกับ “หนังผี” ของเกาหลีใต้
ที่ไม่ค่อยได้ใจเราเท่าไหร่ (คือหนังผีของเกาหลีใต้บางเรื่องเราก็ชอบอย่างสุด ๆ นะ
อย่างเช่น THE RED
SHOES (2005, Kim Yong-gyun)) แต่โดยภาพรวมแล้วเราว่าหนังผีของเกาหลีใต้สู้หนังผีญี่ปุ่นไม่ได้เลย
เห็นใน wikipedia บอกว่า
ในญี่ปุ่นมีชาวคริสต์แค่ 1% ส่วนในเกาหลีใต้มีชาวคริสต์
23% ซึ่งเราว่าความเชื่อทางศาสนาก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกัน
ที่ทำให้ “หนัง
supernatural horror” หรือ “หนังผี/ปีศาจ”
ของแต่ละชาติ มีความแตกต่างกันออกไป และการที่ญี่ปุ่นมีชาวคริสต์น้อยกว่าประเทศอื่น
ๆ แต่ชาวญี่ปุ่นผูกพันกับความเชื่อแบบ animism มานานหลายพันปีแล้ว
ก็อาจจะเป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกันที่ทำให้ “หนังผี”
ของญี่ปุ่นมีพลังรุนแรงบางอย่างที่เป็นตัวของตัวเองมาก ๆ unique มาก ๆ ไม่ซ้ำกับชาติอื่น
ๆ (ลองนึกถึง “ผีร่ม” ของญี่ปุ่นดูสิ 55555)
Edit เพิ่ม: นึกออกแล้วว่า
หนังสารคดีเกี่ยวกับโอตะคุที่เราเคยดู คือหนังเรื่อง BKK WOTA แบงค็อกโอตะ
เปย์หัวใจไปสู่ฝัน (2018, Chris Kobayashi, documentary, A) ของลาดกระบัง
---------------
TRIPLE
BILL FILM WISH LIST
3 หนังสั้นที่เหมือนใช้ฉากเดียว ซีนเดียว ตัวละครคุยกันทั้งเรื่อง
แต่เนื้อเรื่องเดือดมาก เข้มข้นมาก คนเขียนบทเขียนดีสุด ๆ
1.SENT AND SEEN (2021, Nontawat Piwkhao, 27min, A+30)
ผู้ชายคนหนึ่งคุยกับเพื่อน ๆ
ทางโทรศัพท์ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียด ทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ
2.YESTERDAY
(2022, Suriya Chokwiriya, 25min, A+30)
ผัวเมียทะเลาะกันอย่างรุนแรงหลังเอากัน
3. THE WAY
TO QUESTION MARK? (2023, ชีววุฒิ,
20min, A+30)
นักศึกษากลุ่มหนึ่งกำลังจะทำหนังสั้น
ก็เลยประชุมกันว่าจะเลือกบทภาพยนตร์ของเพื่อนคนใดมาทำเป็นหนังสั้น
แล้วนักศึกษากลุ่มนี้ก็เลยทะเลาะกันอย่างรุนแรงสุดขีด และมีการถกกันเรื่องศาสนาอิสลามด้วย
เข้าใจว่าหนังเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก 12 ANGRY MEN (1957, Sidney Lumet)
ชอบนักแสดงชายในภาพนี้ใน THE WAY TO QUESTION MARK? มาก ๆ
แต่ไม่แน่ใจว่าเขาคือพระเอกหนังเรื่อง YESTERDAY ด้วยหรือเปล่า
-------------
REVOIR
PARIS (2022, Alice Winocour, France, A+30)
Spoilers
alert
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
ตัวประกอบตัวนึงในหนังเรื่องนี้หนักที่สุด
มันคือตัวละครหญิงสาวที่อยู่ดี ๆ
ก็ไปกล่าวหานางเอกว่าล็อกประตูห้องน้ำในช่วงที่เกิดเหตุการณ์กราดยิงในร้านอาหาร จนส่งผลให้คนจำนวนมากถูกฆ่าตายเพราะเข้าไปหลบในห้องน้ำไม่ได้
คือโลกนี้มันก็โหดร้ายพอแล้วที่มี “ฆาตกรโรคจิต”
กราดยิงฆ่าคนตายหลายสิบคนในร้านอาหารโดยไม่มีสาเหตุ แล้วมันก็ยังมี “ผู้รอดชีวิต” ที่อยู่ดี
ๆ ก็ไปกล่าวหาคนอื่นอย่างผิด ๆ ว่าเป็นสาเหตุให้คนตายจำนวนมากอีก
--------------
Films
seen on the 42nd week of the year 2023 (15-21 Oct)
1.REMEMBERING FAN CHAN (2023, Tani Thitiprawat, documentary,
A+30)
2.FALCON LAKE (2022, Charlotte Le Bon,
France, A+30)
3.AGE OF PANIC (2013, Justine Triet, France, A+30)
4.NORTH CIRCULAR (2022, Luke McManus, Ireland, documentary,
A+30)
ชอบแนวคิดของหนังสารคดีเรื่องนี้มาก ๆ ที่บอกว่า “ผู้ชนะเขียนประวัติศาสตร์
ผู้แพ้เขียนบทเพลง” คือผู้ชนะที่ได้กลายเป็นผู้มีอำนาจ/รัฐบาลในสังคม คือคนที่มีอำนาจควบคุมตำราเรียนประวัติศาสตร์
แต่ประชาชนตัวเล็กตัวน้อยนี่แหละที่สามารถเขียนบทเพลงเพื่อบอกเล่าเรื่องราวความทุกข์ยากที่แท้จริงของประชาชนที่ไม่ได้ถูกบรรจุอยู่ในตำราเรียนประวัติศาสตร์
และหนังเรื่องนี้ก็นำเสนอบทเพลงบางบทเพลงที่สะท้อนความทุกข์ยากของประชาชนชาวไอริชในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมาด้วย
จุดนี้ของ NORTH CIRCULAR ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง
SONGS OF
REVOLUTION (2017, Bill Mousoulis, Greece, documentary), นึกถึงบทเพลง
FAMINE (1994) ของ Sinead O’Connor และนึกถึงวงไฟเย็น
กับวง Rap Against
Dictatorship ด้วย
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10213237326351072&set=a.10212224482110599
หนังเรื่องนี้พูดถึง THE LAUNDRY ในไอร์แลนด์ด้วย
ซึ่ง THE LAUNDRY ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง
“ร้านซักรีด” แต่หมายถึง “สถานดัดสันดานหญิง” แบบที่ปรากฏอยู่ในหนังเรื่อง THE MAGDALENE SISTERS (2002, Peter
Mullan, UK/Ireland) อย่างไรก็ดี ตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ที่โรง
HOUSE SAMYAN ในเทศกาลหนังไอร์แลนด์
เราไม่ได้สังเกตว่า “ซับไตเติลภาษาไทย” แปลคำว่า THE LAUNDRY ว่าอะไร
เขาแปลอย่างถูกต้องว่าเป็นสถานดัดสันดานหญิงหรือเปล่า 5555 เพราะเหมือนตอนช่วงต้น
ๆ ของหนังเรื่องนี้เราสังเกตเห็นว่า หนังมันพูดถึงคนที่ถูกส่งเข้าโรงพยาบาลบ้า
โดยใช้คำว่า institutionalized
แต่เหมือนซับไตเติลภาษาไทยจะแปลในทำนองที่ว่า “คนคนนั้นถูกทำให้คลั่งสถาบัน”
หรืออะไรทำนองนี้ แทนที่จะแปลว่า “คนคนนั้นถูกส่งเข้าโรงพยาบาลบ้า” เราก็เลยได้ข้อสรุปตั้งแต่ในช่วงต้นเรื่องว่า
เราจะต้องเพ่งสมาธิไปที่ซับไตเติลภาษาอังกฤษ อย่าไปอ่านซับไตเติลภาษาไทย
เราก็เลยไม่ได้สังเกตอีกต่อไปว่าซับไตเติลภาษาไทยของหนังเรื่องนี้มีอะไรผิดพลาดอีกบ้างหรือเปล่า
5.REVOIR PARIS (2022, Alice 5.Winocour, France, A+30)
6.TARGET (2023, Park Hee-kon, South
Korea, A+30)
7.ARICA (2020, Lars Edman, William Johansson, Sweden/Chile,
documentary, A+30)
นึกว่าหนักกว่า ERIN BROCKOVICH (2000, Steven
Soderbergh)
8.THE QUIET GIRL (2022, Colm Bairéad, Ireland, A+30)
นึกว่าต้องปะทะกับ A GIRL RETURNED (2021, Giuseppe
Bonito, Italy, A+30) เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็เล่าเรื่องของเด็กหญิงที่ต้องการจะอยู่อาศัยกับครอบครัวบุญธรรม
มากกว่าที่จะอาศัยอยู่กับพ่อแม่ที่แท้จริงของตัวเอง
9.WAITING FOR THE SUN (2017, Kaspar Astrup Schröder,
Denmark/China, documentary, A+30)
ชีวิตเด็กแต่ละคนในสถานดูแลเด็กหนักมาก สะเทือนใจกับเด็กหญิงตัวเล็ก
ๆ คนนึงที่เรียกเพื่อนของตัวเองว่า “แม่” ตลอดเวลา เพราะเธอคงอยากมีแม่จริง ๆ และเรารู้สึกผูกพันกับเด็กหญิงอีกคนที่ถูกสั่งให้ทิ้งข้าวของ
ทิ้งตุ๊กตาจำนวนมาก เมื่อเธอต้องย้ายเข้าบ้านหลังใหม่ตามเกณฑ์อายุของเธอที่โตขึ้น (เหมือนเธออายุครบ
10 หรือ 12 ขวบ) ซึ่งถ้าหากเราจำไม่ผิด เธอมีตุ๊กตาหมีตัวนึงที่เธอไม่ทิ้ง
และเธอกอดมันแน่นตอนเข้านอนในบ้านใหม่ในสถานดูแลเด็กแห่งนี้ เรารู้สึกเหมือนอินกับเธอมาก
ๆ ตรงจุดนี้ เหมือน “โลกในใจ” ของเธอมันคงเหน็บหนาวและอ้างว้างมาก ๆ จริง ๆ
และการได้กอดตุ๊กตาหมีแน่น ๆ ในตอนเข้านอนคือสิ่งเดียวที่สามารถให้ความอบอุ่นทางใจได้ในโลกที่อ้างว้างนี้
10.LITTLE NICHOLAS (2022, Amandine Fredon
+ Benjamin Massoubre, France, animation, A+30)
11.HOPELESS (2023, Kim Chang-hoon, South Korea, A+30)
12.LATE AFTERNOON (2017, Louise Bagnall, Ireland, animation, A+30)
หนังเกี่ยวกับหญิงชราที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์
และหนังถ่ายทอดมันออกมาได้อย่างงดงาม เหมาะฉายควบกับ Loose Threads (2023,ชญานิศ สิริไพบูลย์พงศ์, เจสซิก้า
จูนเนช่า , animation, 1.41
นาที, A+25) และ STILL THE SAME ประกายแสงในเงา (2021, Thanadol Choothong, 18min, A+30) มาก ๆ
13.RUTHLESS (2021, Matthew McGuigan, UK, short film, A+25)
14. DEATH
IS ALL AROUND อยากตาย
อย่าตาย (มรณาคาเฟ่) (2023,
Thananat Sukjarearn, D )
สรุปว่าใน 42 สัปดาห์แรกของปี เราดูหนังไปแล้ว 684 + 14 = 698 เรื่อง
แต่เป็นหนังสั้นหลายเรื่อง
No comments:
Post a Comment