Saturday, November 18, 2023

TWO SUB-GENRES OF THAI SHORT FILMS: CONVERSATION BY ACCIDENT AND ANIMALS BY ACCIDENT

ฉลองเทศกาล Diwali กับลูกหมีด้วยการสั่งขนมหวาน Boondi Laddu มาให้ลูกหมีหยิบแดกทีละชิ้นระหว่างนั่งดูเทศกาลหนังสั้นมาราธอนออนไลน์ค่ะ ปรากฏว่าลูกหมีแอบหยิบแดกไปแล้วตั้งแต่ก่อนเทศกาลหนังสั้นจะเริ่มฉายตอนบ่ายโมง ลูกหมีบอกว่า “อาหย่อย”

 

สั่งจากร้าน Amritsr สุขุมวิทซอย 11 ชอบกล่องใส่ขนมหวานมาก ๆ

 

Films seen in the 40th week of the year 2023 (1-7 OCT)

 

Films seen for the first time

 

1.MY LOVE AFFAIR WITH MARRIAGE (2022, Signe Baumane, Luxembourg/USA/Latvia, animation, A+30)

 

ชอบหนังแนวนี้อย่างสุด ๆ นั่นก็คือหนังแนว educational film ที่ไม่ได้ทำออกมาเป็นสารคดีน่าเบื่อ แต่ทำออกมาเป็น fiction ที่บันเทิงไปด้วยในขณะเดียวกัน นึกถึงหนังอย่าง “ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง” (2013, Chulayarnnon Siriphol) ที่ให้ความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม แต่ทำออกมาเป็นหนัง fiction เหนือจริง

 

ส่วน MY LOVE AFFAIR WITH MARRIAGE นั้นเป็นหนังที่ให้ความรู้เยอะมากเกี่ยวกับระบบประสาท, สมอง และสารเคมีต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะเมื่อมนุษย์แต่ละคนมีการสัมผัสทางร่างกายในรูปแบบแตกต่างกันไปต่อคนในครอบครัวและสามี แต่เนื่องจากเราไม่มีสามี เพราะฉะนั้นพอเราดูหนังเรื่องนี้แล้วเราก็เลยสงสัยมาก ๆ ว่า เวลาที่เรากอดลูกหมี, เวลาที่เราจุ๊บลูกหมี หรือเวลาที่เราให้ลูกหมีจุ๊บเรา มันส่งผลให้สมองของเราหลั่งสารเคมีอะไรออกมาบ้าง และสารเคมีเหล่านั้นมันส่งผลกระทบต่อร่างกายและอารมณ์ของเราอย่างไรบ้าง 555

 

2.SKIES OF LEBANON (2020, Chloé Mazlo, France, A+30)

 

ชอบการการสร้างฉากแบบละครเวทีในหนังเรื่องนี้มาก ๆ คือไม่ต้องเน้นความสมจริงใด ๆ อีกต่อไป นึกถึงเทคนิคแบบที่ใช้ใน PERCEVAL LE GALLOIS (1978, Éric Rohmer, France)

 

ดูแล้วนึกถึง MY SUNNY MAAD (2021, Michaela Pavlátová, Czech, animation, A+30) เพราะหนังเรื่อง SKIES OF LEBANON เล่าเรื่องของสาวสวิตเซอร์แลนด์ที่แต่งงานกับหนุ่มเลบานอนและใช้ชีวิตในเลบานอนในช่วงสงครามกลางเมือง ส่วน MY SUNNY MAAD เล่าเรื่องของสาวเช็กที่แต่งงานกับหนุ่มอัฟกันและไปใช้ชีวิตอยู่ในแอฟกานิสถานด้วยกันท่ามกลางภัยคุกคามจากตาลีบัน

 

3.ASLEEP (2023, Premwong Rattanadilok Na Phuket เปรมวงศ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, short film, A+30)

 

หวีดร้องสุดเสียง อันนี้คือหนังทดลองแนวที่เราชอบสุดขีดเหมือนอย่างที่เราเขียนไปแล้วตอนที่พูดถึง L’ESSENTIEL (2023, เปรมวงศ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, short film, A+30)

 

 ตอนนี้ตัดสินไม่ได้ว่าระหว่าง ASLEEP กับ L’ESSENTIEL เราชอบหนังเรื่องไหนมากกว่ากัน แต่อาจจะชอบ ASLEEP มากกว่า เพราะภาพท้องฟ้าตอนกลางคืนในหนังเรื่องนี้มันลากยาวมาก มันก็เลยฝังลึกในความทรงจำได้มากกว่าฉากสั้น ๆ ใน L’ESSENTIEL

 

ไม่แน่ใจว่าหนังเรื่องแรกของคุณ Premwong ที่เราได้ดู คือหนังเรื่อง THAILAND’S NATIONAL IDENTITY (2020, A+) หรือเปล่า รู้สึกว่าคุณ Premwong คือหนึ่งในผู้กำกับที่มาแรงที่สุดสำหรับเราในปีนี้

 

4.THE UNDERTAKER สัปเหร่อ (2023, Thiti Srinual, A+30)

 

เป็นหนังที่เราจดจำมันได้มากกว่าปกติ เพราะพอคนไปดูหนังเรื่องนี้เยอะ ๆ แล้วทยอยเขียนถึงหนังเรื่องนี้เยอะ ๆ มันก็เลยพลอยช่วยกระตุ้นความทรงจำของเราที่มีต่อหนังเรื่องนี้เป็นระยะ ๆ ตามไปด้วย 555 คือถ้าหากหนังเรื่องนี้ทำรายได้แค่ 10 ล้านบาท แล้วคนอื่น ๆ ไม่ค่อยเขียนถึงมัน เราก็อาจจะจำอะไรต่าง ๆ ในหนังเรื่องนี้ไม่ได้มากเท่านี้

 

ชอบความเป็นสารคดีเกี่ยวกับอาชีพสัปเหร่อที่แทรกอยู่ในหนังเรื่องนี้มาก ๆ เพราะเราสนใจเรื่องราวพวกนี้ และก็ชอบฉากการถอดจิตในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ด้วย มันดูหลอนแบบสวย ๆ ดี

 

ส่วนจุดที่เราไม่ชอบในหนังเรื่องนี้ก็เหมือนกับหนังเรื่องอื่น ๆ ในไทบ้านเดอะซีรีส์นั่นแหละ นั่นก็คือไม่มีตัวละครผู้หญิงที่เรา identify ด้วยได้ หรือตัวละครผู้หญิงมันดูเป็นหุ่นเชิดอะไรสักอย่าง

 

ปรากฏว่า “หนังอีสาน” ที่เราดูแล้วอินที่สุด identify ด้วยได้มากที่สุดในช่วงนี้ก็ยังคงเป็น “บั้งไฟสไลเดอร์” THE ROCKET ANGELS (2022, Tayakee Promkomol, A+30) เพราะตัวละครเอกเป็นกลุ่มกะเทยที่มีความตั้งใจจริงในการทำงานมากพอสมควร ไม่ได้เป็นกะเทยที่มาเพื่อเรียกเสียงฮาไปวัน ๆ

 

5.THE FISH (2016, Jonathas de Andrade, Brazil, video installation, A+30)

 

6.“VIIMANE KÜLASTUS” THE LAST VISIT การพบพาน...ครั้งสุดท้าย (2023, Keawalee Warutkomain, short animation, A+30)

 

หนังอะนิเมชั่นที่งดงามมากแต่เศร้ามาก ๆ ชอบไอเดียของการใช้ “หน้าหนังสือ” แทนผืนผ้าใบ

 

7.CHICO & RITA (2010, Fernando Trueba, Tono Errando, Javier Mariscal, Spain, animation, A+30)

 

8.SUNDAY LUNCH (2015, Céline Devaux, France, animation, A+30)

 

9.MIDNIGHT REMINISCENCE (2023, Kulapat Aimmanoj, short film, A+30)

 

10.โอ๊ย อีหลอก! (ดูก) อยากบอกว่ารักครับ (2021, พีรณัฐ กาญจนวงศ์, 32min, A+30)

 

ชอบตัวละครเกย์หนุ่มที่ไปจีบพระเอก แล้วพระเอกเลยแสร้งทำตัวเป็นกะเทยสาว เกย์หนุ่มตกใจเลยหนีกลับไป แต่วันหลังเขาก็กลับมาจีบพระเอกใหม่เพราะเขายังคงต้องการพระเอกอยู่ถึงแม้พระเอกอาจจะเป็นกะเทยสาวก็ตาม

 

11.ABOLISH หนังอินดี้แม่งกระจอก (2023, Tuhm Isarachon, Jessadawut Hemtanon, documentary, A+30)

 

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=ujG9_6X3nv4&t=14s

 

ชอบการที่คนดูทั้งโรงส่งเสียงดังลั่นตอนที่พูดถึง “จักรวาล นิลธำรงค์” มาก ๆ คิดว่าเป็นหนังที่การดูคนเดียวไม่สนุกเท่ากับการดูกับคนดูทั้งโรงที่เข้าใจ context ต่าง ๆ ของสิ่งที่คนในหนังพูดคุยกัน 555

 

เหมือนหนังกลุ่ม ACCIDENTAL CONVERSATION นี้ที่บันทึกเสียงสนทนาของคนต่าง ๆ โดยที่ไม่ได้เป็นการสัมภาษณ์โดยตรง แต่เป็นบทสนทนาที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ผู้กำกับไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ถือเป็นกลุ่ม sub-genre ที่น่าสนใจของหนังสั้นไทยเหมือนกันนะ และมันเป็นหนังกลุ่มที่เราไม่พบใน “หนังฉายโรง” ของไทยแน่ ๆ เพราะหนังฉายโรงของไทยที่โดยปกติมีความยาวราว 80 นาทีขึ้นไปนี้ คงไม่สามารถสร้างจากการบันทึกเสียงสนทนาของคนต่าง ๆ แบบ ACCIDENTAL CONVERSATION แบบนี้ได้

 

เหมือนหนังสั้นไทยใน sub-genre นี้ที่น่าสนใจเรื่องแรก ๆ น่าจะเป็น “น้ำใต้ท้องเรือ” (1999, Panu Aree) นะ ที่เป็นการบันทึกบทสนทนาเกี่ยวกับ superstitious beliefs บางอย่างขณะตัวคนพูดนั่งอยู่ในรถยนต์ที่แล่นไปเรื่อย ๆ โดยเราไม่ได้เห็นหน้าคนพูดเลยมั้งตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ส่วนหนังอีกเรื่องที่เราชอบสุด ๆ ใน sub-genre นี้ก็คือ วณิพกพเนจร A VAGRANT SINGING BEGGAR (2013, Poopaan Sornwismongkol, documentary, 33min) ที่บันทึกเสียง “คนบ้า” หน้า 7-Eleven ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด

 

นอกจากนี้ ก็มีหนังสั้นไทยอีกหลายเรื่องที่เป็นการบันทึกเสียง “คนขับรถแท็กซี่” ขณะพูดคุยกับตัวผู้กำกับ อย่างเช่นหนังเรื่อง “รถเริ่มสามห้า” (2016, Natthapong Prasri)  อยากให้มีคนรวบรวมหนังกลุ่ม ACCIDENTAL CONVERSATION นี้มาฉายด้วยกันมาก ๆ

 

12.ASMAHAN THE DIVA (2019, Chloé Mazlo, France, short film, A+30)

 

13.สายหยุด (2023, คงณัฐ ภัยชำนาญ, short animation, political film, A+30)

 

ชอบที่เอาการเต้น VOGUE กับการฟ้อนรำแบบไทยโบราณมาผสมเข้าด้วยกัน รู้สึกว่าหนังมีความเป็นกะเทยสูงมาก หรือไม่หนังก็ please ความเป็นกะเทยในตัวเรามาก ๆ 55555

 

14.PARSI (2018, Eduardo Williams & Mariano Blatt, Guinea-Bissau/Argentina/Switzerland, short film, A+30)

 

เป็นหนังของ Eduardo Williams เรื่องที่สองที่เราได้ดู ต่อจาก COULD SEE A PUMA (2011) ที่ติดอันดับ 6 ในลิสท์หนังสุดโปรดของเราประจำปี 2019 ชอบหนังทั้งสองเรื่องนี้อย่างสุด ๆ แต่เรายังไม่ได้ดู HUMAN SURGE (2016, Eduardo Williams) เลย

 

15.ฉัน, แมลงแห่งความสิ้นหวัง (2023, น้ำใส ข้าวบ่อ, short animation, political film, A+30)

 

16.DORAEMON THE MOVIE: NOBITA’S SKY UTOPIA (2023, Takumi Doyama, Japan, animation, A+30)

 

17.ทิ้งถ่วงไร้แสง (2023, ชีริน ทิศสุนทร, short film, A+30)

 

นึกว่าต้องฉายควบกับ REDLIFE (2023, Ekalak Klunson, A+30) เพราะเรารู้สึกว่าตัวละครใน ทิ้งถ่วงไร้แสง สามารถเดินสวนไปสวนมากับตัวละครใน REDLIFE แถววงเวียน 22 กรกฎาได้อย่างกลมกลืน

 

18.APOPHENIA VOLUME 1 (2023, สุริเยชินทร์ สุริยะโชติกุล, 31min, A+30)

 

ดูแล้วนึกถึง THE PHANTOM OF LIBERTY (1974, Luis Buñuel) ที่เป็นการเอาฉากเฮื้ยน ๆ มาเรียงร้อยต่อกันในแบบที่ดูเหมือนไร้เหตุผลเหมือนกัน แต่เราว่า APOPHENIA ยังทรงพลังไม่ถึง 10% ของ THE PHANTOM OF LIBERTY แต่ก็ถือเป็นการทดลองที่น่าสนใจมาก ๆ และมันดูแตกต่างจากหนังสั้นไทยเรื่องอื่น ๆ

 

19.IJÓ MIMÓ (2019, Ayson Heráclito, Brazil, video installation, A+30)

 

20.YOU WILL BE FINE (GROS CHAGRIN) (2017, Céline Devaux, France, short film, A+30)

 

21.THE PATH (2009, Vasco Araujo, Portugal, video installation, A+30)

 

เป็นหนังที่ใช้วิธีการคล้ายคลึงกับ PARSI ในแง่หนึ่ง เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้นำเอา “บทกวี” มาใช้ประกอบภาพ โดยที่ตัวบทกวีอาจจะไม่ได้สัมพันธ์กับภาพที่คนดูเห็นโดยตรง

 

22.DIRECTED BY (2023, Papat Aurdilokkul, short film, A+30)

 

23.QUICKSAND (2023, Andres Beltran, Colombia, A+25)

 

เราอินกับ “หนังเอาตัวรอด” แบบนี้มาก ๆ โดยเฉพาะ OPEN WATER (2003, Chris Kentis), FROZEN (2010, Adam Green), THE SHALLOWS (2016, Jaume Collet-Serra) แต่หนังที่เราชอบที่สุดในกลุ่มนี้ก็คงเป็น ALL IS LOST (2013, J.C. Chandor)

 

24.THE CREATOR (2023, Gareth Edwards, A+25)

 

เห็นตัวละคร “เด็กหญิงผู้ปลดปล่อย” ในหนังเรื่องนี้แล้วนึกว่าต้องปะทะกับ THE GIRL WITH ALL THE GIFTS (2016, Colm McCarthy, UK)

 

25. LAST DIVULGENCE (2023, Nongnapas Veeraphol, short film, A+25)

 

ชอบหนังมาก ๆ แต่จริง ๆ แล้วเราอยากให้หนังมันเป็นตัวละครพระเอกนางเอกคุยกันลากยาวตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องไปเลยก็ได้ โดยดัดแปลงให้ฉากการสนทนาดังกล่าวสามารถสะท้อนจิตวิญญาณส่วนลึกของตัวละครหรือสร้างความสะเทือนอารมณ์อย่างรุนแรงกว่านี้ได้ ส่วนฉากที่แสดงให้เห็นว่าเป็น “หนังซ้อนหนัง” นั้น เรารู้สึกก้ำกึ่งกับมัน เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ แต่ยังไม่ถึงขั้นชอบสุด ๆ

 

26.FELINAE (N.) SCIENTIFIC NAME OF CAT (2023, นงนภัส เตชะวณิชชา, short film, A+25)

 

27.DOMINIQUE A – SE DÉCENTRER (2018, Sébastien Laudenbach, music video, animation, France, A+25)

 

Films seen for the second time or the third time in WILDTYPE and BEYOND ANIMATION FILM FESTIVAL

 

1.ในวันฝนตก (2022, ชินานาง ธำรงธนกิจการ, short film, queer film, A+30)

 

หนังสามารถเล่าถึงประเด็นที่เล่าได้ยากมาก ๆ ออกมาได้อย่างดีงามมาก ๆ และชอบที่หนังแสดงให้เห็นทั้ง เด็กที่ถูก sexually abused, เด็กหญิงที่ sexually abuse คนอื่น และผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเชิงอำนาจทางความสัมพันธ์

 

2.THE RABBIT HOLE (2022, พรชนัน จันทรา, ลาดกระบัง, short film, political film, A+30)

 

ดูแล้วรู้สึกว่า ถ้าหากนำหนังเรื่องนี้มาเปรียบเทียบกับ THOMAS IS IN LOVE (2000, Pierre-Paul Renders, Belgium) แล้วมันก็คงจะสะท้อนยุคสมัยได้ดีเหมือนกัน เพราะ THOMAS IS IN LOVE เล่าเรื่องของชายหนุ่มที่เป็นโรค agoraphobia ไม่กล้าออกนอกบ้าน และหนังเบลเยียมเรื่องนี้สร้างออกมาในยุคที่อินเทอร์เน็ตเพิ่งเริ่มได้รับความนิยม เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ในแง่นึงก็อาจจะสะท้อนความกังวลว่า โลกอินเทอร์เน็ต,เทคโนโลยีต่าง ๆ อาจจะส่งผลให้คนอยู่บ้านกันมากยิ่งขึ้น ไม่ออกมาพบปะสุงสิงกับคนจริง ๆ กัน และพระเอกก็ต้องตัดสินใจว่า จะยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการออกไปนอกบ้าน เพื่อไปพบกับผู้หญิงที่เป็นคนจริง ๆ มีเนื้อหนังให้จับต้องได้จริง ๆ เพื่อจะได้เสร็จสมกับรักแท้หรือไม่

 

ส่วน THE RABBIT HOLE นั้นก็สะท้อนปัญหา dilemma ของวัยรุ่นไทยในยุคนี้ได้ดีมาก ๆ ระหว่างการอยู่บ้านเฉย ๆ กับการออกมาประท้วง ต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ เรียกร้องความเป็นธรรมทางการเมือง, etc. คือเหมือนในยุคปัจจุบันนี้เราไม่ได้กลัวอินเทอร์เน็ตกันแล้ว และคงมีผู้ชายไม่กี่คนในยุคนี้ที่เลือกที่จะเล่นอินเทอร์เน็ตแทนที่จะมี sex กับผู้หญิงที่ตนเองรักจริง เพราะฉะนั้นปัญหาของวัยรุ่นในยุคนี้จึงเป็นเรื่องของการเลือกว่าจะอยู่นิ่งเฉยหรือเรียกร้องสิทธิทางการเมืองมากกว่า

 

3.MY FIRST LOVE? (2022, ภาคภูมิ มานน้อย, short film, A+30)

 

ดีงามสุดๆ เราชอบการ cast ตัวละครแฟนสาวของพระเอกมาก ๆ ที่พอดูปุ๊บแล้วรู้เลยว่า พระเอกน่าจะมีปม Oedipus แน่ ๆ เพราะแฟนสาวของพระเอกมีลักษณะบางอย่างคล้ายแม่ของพระเอก

 

ตรงจุดนี้ทำให้นึกถึง A CHRISTMAS TALE (2008, Arnaud Desplechin) ที่เล่าเรื่องของ Junon (Catherine Deneuve) ซึ่งมีลูกชายชื่อ Ivan (Melvil Poupaud) และมีลูกสะใภ้ชื่อ Sylvia (Chiara Mastroianni) ซึ่งการที่หนังเรื่องนี้ cast นักแสดงมาแบบนี้มันแสดงให้เห็นเลยว่า Ivan อาจจะมีปม Oedipus เพราะ Chiara เป็นลูกสาวของ Catherine Deneuve ในชีวิตจริง มันก็เลยเหมือนกับว่า Ivan ต้องการเมียที่มีความคล้ายคลึงกับแม่ของตัวเองมาก ๆ

 

ดูแล้วนึกถึง THE GRIFTERS (1990, Stephen Frears) ด้วย ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างแม่ (Anjelica Huston) กับลูกชาย (John Cusack) โดยที่ตัวแม่เป็นคนกุมอำนาจ

 

4.KORO (2022, Karan Wongprakarnsanti, short film, A+30)

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10230800982711504&set=a.10230383642238253

 

5.YESTERDAY (2022, Suriya Chokwiriya, short film, A+30)

 

EXTREMELY TOXIC MASCULINITY ของจริง และหนังก็ถ่ายทำความสัมพันธ์แบบ toxic ของพระเอกนางเอกออกมาได้อย่างทรงพลังสุด ๆ นึกว่าสามารถปะทะกับ HYSTERIC (2000, Takahisa Zeze, Japan) และ 2/DUO (1997, Nobuhiro Suwa, Japan) ที่นำแสดงโดย Hidetoshi Nishijima

 

6.MEMORIAL OF COMMONER ความทรงจำของสามัญชน (2022, Theeranart Sutthiso, short film, political film, A+30)

 

เราได้ดูหนังเรื่องนี้ครั้งแรกตอนปลายปีที่แล้ว ซึ่งเป็นหนังที่ทำให้เราได้รู้ว่า มีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอยู่ที่ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิด้วย

 

7.THIS HISTORY IS AUTO-GENERATED: A TALE OF TWO THAILANDS (2022, Nanut Thanapornrapee, short animation, political film, A+30)

 

เราเคยดูแล้วตอนที่เป็น video installation แต่พอมาดูในรูปแบบภาพยนตร์มันก็ยังทรงพลังอยู่เหมือนเดิม

 

นึกว่าต้องฉายควบกับ LOST IN THE UNIVERSE อสูรกายจากความทรงจำครั้งอดีตกาล (2019, Kulapat Aimmanoj, 30min, A+30) ที่พูดถึงประเทศไทยในอนาคตที่ถูกแบ่งแยกออกเป็นสองประเทศเหมือน ๆ กัน โดยที่ทั้งสองประเทศมีความแตกต่างกันในทางการเมืองเหมือนเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้

 

8.MAALBEEK (2020, Ismaël Joffroy Chandoutis, short animation, documentary, France, A+30)

 

9.UTURN (2023, Prem Plittapolkranpim, short film, A+30)

 

10.RHYTHM OF THE REM (2022, Tanawat Phongpisantham, short film, A+30)

 

11.BLUE+BLOOD (2022, Krit Thongrod, short film, A+30)

 

ตอนนี้เราต้องพยายามไม่จำชื่อสลับกันระหว่าง

 

1.คุณนงนภัส วีระผล (LAST DIVULGENCE) กับคุณนงนภัส เตชะวณิชชา (FELINAE)

 

2.คุณสุริเยชินทร์ สุริยะโชติกุล (APOPHENIA VOLUME 1) กับคุณสุริยะ โชควิริยะ (YESTERDAY)

 

สรุปว่า ใน 40 สัปดาห์แรกของปี เราดูหนังไปแล้ว 638 + 27  = 665 เรื่อง แต่เป็นหนังสั้นหลายเรื่อง

 

เสียดายหนังเรื่อง ROOM SONG (2023, ธีรพจน์ มะเริงสิทธิ์, 30.32min) อย่างที่สุด เพราะเราชอบครึ่งแรกของหนังมาก ๆ เพราะพระเอกน่ารักดี เราชอบ แต่ครึ่งเรื่องหลังทำไมเราแทบไม่ได้ยินเสียงตัวละครคุยกันเลย ได้ยินแต่เสียงดนตรีประกอบหรือเสียง sound effect ทั้ง ๆ ที่ตัวละครก็คุยกันตลอดเวลา ไม่รู้ว่าหนังมันบันทึกเสียงผิดพลาดหรือ mix เสียงผิดพลาดหรือเปล่า เราก็เลยดูหนังเรื่องนี้ไม่รู้เรื่องอีกต่อไป เสียดายมาก ๆ เราก็เลยไม่สามารถระบุระดับความชอบที่มีต่อหนังเรื่องนี้ได้

 

DELPHINE’S PRAYERS (2021, Rosine Mbakam, Belgium/Cameroon, documentary, A+30)

 

หนังสารคดีเรื่องนี้มีให้ดูฟรีออนไลน์จนถึงวันอาทิตย์ที่ 19 พ.ย.นะ

https://dafilms.com/film/16154-delphine-s-prayers

 

ดูแล้วก็ต้องบอกว่า หนักที่สุด และขอยกให้ Rosine Mbakam เป็นหนึ่งในผู้กำกับที่มาแรงที่สุดในใจเราในปีนี้เคียงคู่กับ Premwong Rattanadilok Na Phuket จริง ๆ เพราะปีนี้เราได้ดูหนังของ Rosine Mbakam สองเรื่อง ซึ่งได้แก่เรื่องนี้กับ CHEZ JOLIE COIFFURE (2018) และชอบในระดับสุดขีดทั้งสองเรื่อง

 

DELPHINE’S PRAYERS ก็ยังคงพูดถึงหญิงแอฟริกาในเบลเยียมเหมือนกับ CHEZ JOLIE COIFFURE แต่คราวนี้ตัว subject ของ DELPHINE’S PRAYERS นั้นมีชะตาชีวิตที่หนักหนาสาหัสกว่าตัว subjects ของ CHEZ JOLIE COIFFURE เป็นอย่างมาก และหนังก็มีความ minimal ยิ่งไปกว่า CHEZ JOLIE COIFFURE เสียอีก เพราะใน CHEZ JOLIE COIFFURE นั้นเราได้เห็นความหลากหลายของลูกค้าหลายคนในร้านทำผม แต่ใน DELPHINE’S PRAYERS นี้ หนังทั้งเรื่องให้เราได้เห็นแค่ Delphine เล่าเรื่องราวชีวิตของเธอให้ผู้กำกับฟัง และได้เห็น “Delphine สื่อสารกับพระเจ้า” โดยไม่มีการตัดฉากไปภายนอกบ้าน, ไม่มี reenactment และไม่มีมนุษย์คนอื่น ๆ ปรากฏกายให้เห็นในหนังเลย มีแค่ Delphine เล่าเรื่องไปเรื่อย ๆ เท่านั้น แต่แค่นี้มันก็ทรงพลังอย่างสุดขีดคลั่งแล้ว

 

ส่วนชีวิตของ Delphine นั้น หนักที่สุด ขอให้ทุกคนไปดูกันเอาเอง เหมือนเป็นคำนิยามว่าชีวิตบัดซบของจริง โดยส่วนหนึ่งในเรื่องราวความบัดซบของชีวิตของเธอก็เช่น

 

1.เธอพยายามหาเงินมาประทังชีวิต เพื่อนของเธอชวนเธอไปขายตัวตอนเธออายุ 13 ปี แต่เธอไม่ตัดสินใจขายตัว แต่อยู่มาวันหนึ่งเธอก็ถูกผู้ชายข่มขืนตอนอายุ 13 ปีจนตั้งครรภ์ แล้วพอเธอเล่าให้พ่อฟัง พ่อก็บอกว่าการที่เธอถูกข่มขืนเป็นความผิดของเธอเอง หลังจากนั้นเดลฟีนก็ไปหาเพื่อนของเธอ แล้วบอกว่า “ฉันพร้อมจะขายตัวแล้ว”

 

2. เรื่องราว “รักแท้” ของ Delphine ก็หนักที่สุด หนักมาก ๆ คือมีอยู่ช่วงนึงที่เดลฟีนเบื่อขายตัว เธอเลยมาขายข้าวโพดปิ้งข้างถนนหรืออะไรทำนองนั้นแทน แล้วอยู่ดี ๆ วันนึงก็มีหนุ่มหล่อชาวฝรั่งเศสเดินมาที่ถนนนี้ เขาโดนโสเภณีจำนวนมากล้อมหน้าล้อมหลังเพื่อพยายามจะขายตัวให้เขาให้ได้ แต่เขาเลือกที่จะมองข้ามโสเภณีจำนวนมาก และมาจีบเดลฟีนซึ่งเป็นแม่ค้าขายข้าวโพดปิ้งแทน

 

3. ถึงแม้เธอได้ย้ายมาอยู่เบลเยียมในภายหลัง เธอก็โดนคุกคามทางเพศอยู่ดี

 

มีฉากที่ “ผู้กำกับ” แสดงความเห็นของตัวเองที่มีต่อ Delphine ด้วย และมันทรงพลังอย่างสุดขีดมาก ๆ สำหรับเรา เพราะฉากนั้นผู้กำกับบอกว่า สมัยอยู่ที่ Cameroon เธอกับเดลฟีนคงไม่มีวันได้มารู้จักกัน เพราะเหมือนอยู่กันคนละสังคม แต่เมื่อผู้หญิงทั้งสองได้ย้ายมาอยู่เบลเยียมนั้น ทั้งเธอกับเดลฟีนต่างก็ถูกคนขาวเหยียดว่าเป็น “คนดำ” เหมือนกัน ทั้งสองก็เลยเหมือนอยู่ในสถานะเดียวกันเวลาอยู่ในเบลเยียม

 

เหมือนผู้กำกับพูดอะไรที่ซึ้งสุด ๆ สำหรับเราในฉากนี้ ฉากนี้สำหรับเราใน DELPHINE’S PRAYERS ก็เลยถือว่าเป็นฉากที่ทรงพลังอย่างสุดขีดพอ ๆ กับฉาก Laurence Coly หันมาสบตา Rama ในศาลใน SAINT OMER (2022, Alice Diop)

 

SHAMAN TRIANGLE FUZE (2023, รชต สระทองเทียน, documentary, 9min, A+30)

 

ชอบการออกแบบโทนสีของภาพให้ออกมาดู “เก่า ๆ” “ขลัง ๆ”

 

ไม่รู้เหมือนกันว่าพิธีกรรมในหนังเรื่องนี้คือพิธีกรรมอะไร แต่ดูแล้วนึกถึง “ผีกระด้ง” ของชาวมอญมาก ๆ เพราะก่อนหน้านี้เราเคยดูหนังสารคดีของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตเรื่อง “ประเพณีแห่ข้าวของชาวมอญ” (2017, Mix Production, documentary, A+10) ซึ่งพูดถึงผีกระด้งและผีสุ่มของชาวมอญ แต่เราก็จำไม่ได้แล้วว่าผีกระด้งในหนังสารคดีเรื่องนั้นคล้ายกับพิธีกรรมในหนังเรื่องนี้หรือเปล่า หรือว่าเพียงแค่มีการใช้กระด้งในการประกอบพิธีกรรมเหมือนกันโดยบังเอิญ

 

TRIPLE BILL FILM WISH LIST

 

หนังสั้นไทย 3 เรื่องที่พูดถึง HOW TO DEAL WITH PAINFUL MEMORIES IN SCI-FI WAYS

 

1. SUNSHINE ILLUSION (2021, Chanawat Jantamongkol, 30min, A+25)

 

ถ้าหากเราจำไม่ผิด หนังเรื่องนี้พูดถึงนางเอกที่ทะเลาะกับเพื่อนสาว แล้วเธอไม่อยากจำเรื่องที่เธอทะเลาะกับเพื่อน เธอเลยใช้เทคโนโลยียุคใหม่ในการดัดแปลงความทรงจำของตัวเธอเอง

 

2.MAYBE, NEVER ครั้งหนึ่งที่เราเคยรักกัน (2023, อมิตา งามสินจำรัส, 27min, A+15)

 

หนังไซไฟโลกอนาคต นางเอกพบว่าผัวเก่าของเธอใช้เทคโนโลยีลบความทรงจำที่มีต่อตัวเธอไปหมดแล้ว นางเอกเลยพยายามจะใช้เทคโนโลยีลบความทรงจำที่มีต่อผัวเก่าบ้าง

 

3.SUCCESS? (2023, พันธรัต งามแดน, 18min, A+30)

 

พระเอกพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ นานาในการลบความทรงจำของตัวเองที่มีต่อคนรักเก่า

 

จริง ๆ แล้วเรารู้สึกว่ามันมีหนังสั้นไทยเรื่องอื่นๆ อีกนะที่ออกมาทำนองนี้ ถ้าใครจำได้ว่ามีหนังสั้นไทยเรื่องไหนอีกที่พูดถึงประเด็นแบบนี้ก็มา comment ได้นะ

 

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าในบรรดาหนังสั้นไทยเหล่านี้ มีเรื่องไหนบ้างที่ได้รับอิทธิพลมาจาก THE FINAL CUT (2004, Omar Naim) และ ETERNAL SUNSHINE OF THE SPOTLESS MIND (2004, Michel Gondry)

 

SORE (2023, Phasitpol Kerdpool, documentary, A+30)

 

คุณ Phasitpol ยังคงไม่สร้างความผิดหวังให้แก่เรานับตั้งแต่หนังเรื่อง  A PERSONAL ODYSSEY กาลเทศะ ของเขา ติดอันดับ 1 ประจำปีของเราในปี 2018 เป็นต้นมา เขาทำหนังทดลองที่เข้าทางเรามาก ๆ แต่ SORE นี้อาจจะแตกต่างจากหนังทดลองเรื่องอื่น ๆ ของเขามากพอสมควร เพราะมันดูเหมือนเป็นสารคดีที่บันทึกภาพเหตุการณ์ที่พบเห็นโดยบังเอิญมากกว่า แต่มันก็เป็นหนังที่เราชอบสุด ๆ เหมือนหนังทดลองของเขา

 

ชอบมากที่หนังเรื่องนี้บันทึกเหตุการณ์ที่หมาตัวหนึ่งพยายามกัดแทะพระพุทธรูปอย่างรุนแรง ไม่รู้ปีศาจตนใดเข้าสิงหมาตัวนี้ นึกว่าฉากนี้ปรากฏอยู่ใน THE EXORCIST หรือ THE CONJURING ได้ แบบว่าเกิดอาเพศ หรือไม่ก็ปรากฏอยู่ในหนังของ Dario Argento แบบ MOTHER OF TEARS (2007) ได้ เพราะ MOTHER OF TEARS ก็พูดถึงอาเพศต่าง ๆ เช่นกัน 555

 

นอกจากหนังสั้นไทยกลุ่ม ACCIDENTAL CONVERSATION หรือ CONVERSATION BY ACCIDENT ที่เราเพิ่งเขียนถึงในวันศุกร์ไปแล้ว เราว่า sub-genre อีกอันที่เราชอบมาก ๆ ในหนังสั้นไทย ก็คือหนังกลุ่ม ANIMALS BY ACCIDENT นี่แหละ ที่เหมือนผู้กำกับคว้ากล้องมาถ่ายพฤติกรรมที่น่าสนใจของสัตว์โลกเอาไว้ โดยอาจจะไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งเราว่า SORE น่าจะเข้าข่ายหนังกลุ่ม ANIMALS BY ACCIDENT นี้ ส่วนหนังเรื่องอื่น ๆ ใน sub-genre นี้ก็คือหนังหลาย ๆ เรื่องที่กำกับโดยคุณอนันต์ เกษตรสินสมบัติ ที่ถือเป็น auteur ในด้านนี้ อย่างเช่นเรื่อง NESTING IS NOT EASY (2023) และหนังเรื่อง “นาทีชีวิต 2558” (2015, Phaisit Phanphruksachat) ที่บันทึกภาพควายติดปลักตมเอาไว้ ถ้าจำไม่ผิด

 

ส่วนหนังไทยที่เราถือว่าอาจจะเป็นผู้บุกเบิก sub-genre นี้ ก็คือหนังเรื่อง “ซาสี่” (2001, Nuttorn Kungwanklai)

 

จำได้ว่ามีหนังสั้นไทยเรื่องนึงที่บันทึกภาพงูขณะกำลังกินกบด้วย น่าจะเป็นหนังราวปี 2009-2010 แต่เราจำชื่อเรื่องไม่ได้แล้ว

 

ถ้าหากใครนึกถึงหนังสั้นไทยเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นแนว ANIMALS BY ACCIDENT นี้ได้อีก ก็มา comment เพิ่มเติมได้นะ

 

ส่วนหนังสั้นไทยใน sub-genre CONVERSATION BY ACCIDENT นั้น เราเขียนถึงไว้ที่นี่

https://web.facebook.com/photo?fbid=10232653984035379&set=a.10232633255917189

 


No comments: