Friday, November 10, 2023

FAVORITE SCENES IN 2023

 

FAVORITE SCENE

 

เนื่องจากเราชอบ “ฉากบางฉาก” ในหนังบางเรื่องมาก ๆ เราก็เลยคิดว่า เราควรจดบันทึกเอาไว้เลยดีกว่าว่า เราชอบฉากไหนในหนังเรื่องไหนอย่างรุนแรงมากเป็นพิเศษ

 

หนี่งในฉากที่ชอบที่สุดในปีนี้ ก็คือฉากในหนังเรื่อง HOPELESS (2023, Kim Chang-hoon, South Korea, A+30) ในฉากที่ Yeon-gyu (Hong Sa-bin) แอบลอบมอง Chi-geon (Song Joong-ki) ขณะที่เขาเปลือยท่อนบน ซ่อมเครื่องยนต์อยู่

 

รู้สึกว่าฉากนี้มัน homoerotic ดี ขณะที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยเชียร์ให้ชายหนุ่มสองคนนี้เอากันซะที 55555

 

ชอบความสัมพันธ์ระหว่าง troubled adult-troubled youth ในหนังเรื่องนี้ด้วย ที่ “ผู้ใหญ่ที่เคยเป็นเด็กมีปัญหา” พยายามช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาคล้าย ๆ กับตัวเองในอดีต รู้สึกว่าความสัมพันธ์ระหว่างชายหนุ่มสองคนใน HOPELESS ในแง่หนึ่งมันก็เทียบเคียงได้กับความสัมพันธ์ระหว่างทนายสาวกับลูกความใน JUSTICE GAME (2023, ธนิตศักดิ์ เตรียมชัยกิติกุล, 46min, A+25) และความสัมพันธ์ระหว่างนางเอกสองคนใน WHEN MARGAUX MEETS MARGAUX (2018, Sophie Fillières, France)

-----

 

จดบันทึกไว้ว่า LA YESTERDAY POMERIGGIO (สุขเดช ครุฑศรีคง, 16min) เป็นหนังไทยเรื่องที่ 3 ที่ได้ดูในปีนี้ที่มีการพาดพิงถึง Andrei Tarkovsky ส่วนหนังไทยอีก 2 เรื่องที่พาดพิงถึง Tarkovsky ก็คือ “เราต่างเหมือนกัน” (สุรยุทธ์ ตั้งไพวรรณ, 55min, A+30) ที่พาดพิงถึง STALKER และ L’ESSENTIEL (เปรมวงศ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, A+30) ที่พาดพิงถึง SOLARIS

 

เราของดให้เกรด LA YESTERDAY POMERIGGIO นะ เพราะพอดีเราพลาดดูบางช่วงของหนัง เพราะเราติดธุระบางอย่างในตอนที่ดูหนังเรื่องนี้

 

แต่แอบสงสัยว่า LA YESTERDAY POMERIGGIO น่าจะได้รับอิทธิพลบางอย่างมาจากหนังของ Warat Bureephakdee หรือเปล่า 555

 

FAVORITE SCENE

 

2.หนึ่งในฉากที่ชอบที่สุดในปีนี้ คือฉากใน MONSTER (2023, Hirokazu Koreeda, Japan, A+30) ในซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ตัวละครครูใหญ่ (Yuko Tanaka) ยื่นเท้าออกไปเพื่อทำให้เด็กผู้หญิงตัวเล็ก ๆ สะดุดหกล้ม แล้วพอครูใหญ่หันมาเห็นว่า Saori (Sakura Ando) จ้องมองดูอยู่ ครูใหญ่ก็ยิ้มให้ Saori เหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ฉันไม่ได้เพิ่งทำอะไรที่เลวร้ายมาก ๆ ลงไป

 

คือเราดูฉากนี้แล้วช็อคมาก นึกไม่ถึงว่าตัวละครครูใหญ่จะทำอะไรแบบนี้ได้ หนักที่สุด แล้วเราก็เลยสงสัยมาจนบัดนี้ว่า ตกลงแล้วครูใหญ่ขับรถทับหลานสาวตายจริงหรือเปล่า 55555 เพื่อน ๆ คิดว่าครูใหญ่ขับรถทับหลานสาวตายหรือเปล่าคะ หรือจริง ๆ แล้วครูใหญ่ตกเป็นเหยื่อของการถูกนินทาใส่ร้ายของผู้คนในจุดนี้

 

ตลกดีที่หลังจากดู MONSTER เราก็พบว่าเราแตกต่างจากผู้ชมส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก เพราะหลังจากนั้นผู้ชมส่วนใหญ่มีแต่พูดถึงฉากครูใหญ่เป่าเครื่องเสียงกับเด็กแล้วพูดคำคม ซึ่งเราไม่อินและไม่รู้สึกอะไรกับฉากนี้เลย แต่ฉากนี้กลับสร้างความประทับใจให้ผู้ชมส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก ส่วนเรานั้นประทับใจอย่างสุดขีดกับฉากครูใหญ่ใน supermarket เพราะมันทำให้เราช็อคกับความโหดเหี้ยมในจิตใจมนุษย์ที่ภายนอกดูเป็นคนธรรมดา ๆ เหมือนกับเรา แต่เราเหมือนยังไม่เห็นใครประทับใจอย่างรุนแรงกับฉากนี้เหมือนเราเลย

 

ขอยกให้ฉากครูใหญ่ใน supermarket เป็นหนึ่งในฉากสุดโปรดตลอดกาลของเราเหมือนกับฉาก NA NA HEY HEY KISS HIM GOODBYE ใน MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg) ซึ่งเป็นหนังที่เราชอบที่สุดในทศวรรษ 2010 ค่ะ เหมือนทั้งสองฉากนี้นำเสนอ “ความโหดเหี้ยมอย่างคาดไม่ถึงของตัวละครเพศหญิง” เหมือน ๆ กัน

 

DILEMMA I LIKE: THE DARK SIDE OF THE WEAK

 

หนึ่งใน dilemma ที่เรามักพบในหนัง โดยเฉพาะหนังสยองขวัญ ก็คือการที่ “ตัวละครที่เป็นคนดี แต่เป็นคนอ่อนแอ เป็นคนที่มักโดนตัวละครชั่ว ๆ bully ข่มเหง รังแก ทำร้าย” หันไปพึ่งพาอำนาจมืด เพื่อจะได้ปกป้องตัวเองจากการโดนทำร้าย และอำนาจมืดนั้นก็ให้ความช่วยเหลือ ด้วยการจัดการกับตัวละครชั่ว ๆ แต่การหันไปขอความช่วยเหลือจากอำนาจมืดก็นำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนที่เลวร้ายอย่างรุนแรง

 

คือถึงแม้ว่าเราจะพบพล็อตแบบนี้เป็นประจำในหนังจนมันอาจจะไม่ original เราก็ชอบพล็อตแบบนี้มากน่ะ เพราะเราว่ามัน “จริง” ดี และมันเป็น dilemma ที่เราเองก็ไม่สามารถให้คำตอบได้ เพราะเราว่าเราเข้าใจตัวละครที่เป็น “คนดี แต่โดนทำร้าย” เขาต้องเลือกว่าเขาจะยอมโดนทำร้าย ข่มเหง รังแกอย่างรุนแรงต่อไป หรือว่าจะยอมหันไปพึ่งพาอำนาจมืด มันเป็นทางเลือกที่ยากมาก ๆ เป็น dilemma จริง ๆ สำหรับเรา

 

เอาจริง ๆ แล้วกรณีอย่างนี้เราคิดถึงเรื่อง Palestine-Hamas-Israel ด้วย เพราะเรารู้สึกว่าอิสราเอลเป็นฝ่ายทำร้ายชาวปาเลสไตน์ก่อน ชาวปาเลสไตน์ในบางพื้นที่ก็อาจจะเผชิญกับ dilemma ที่ยากลำบาก ว่าจะยอมรับความช่วยเหลือจากกลุ่มที่อาจจะเป็นกลุ่มก่อการร้ายหรือไม่

 

และในอีกแง่หนึ่ง dilemma ที่เรามักพบในหนังสยองขวัญแบบนี้ มันสอดคล้องกับความเชื่อของเราด้วยที่ว่า จริง ๆ แล้วมนุษย์ทุกคนมีด้านมืดอยู่ในตัว คือ “อำนาจมืด” ที่อยู่ในหนังสยองขวัญหลาย ๆ เรื่องนั้น จริง ๆ แล้วเรามองว่าในแง่หนึ่งมันก็อาจจะเป็นสัญลักษณ์แทน “ด้านมืด” ในจิตมนุษย์แต่ละคนก็ได้ มนุษย์หลาย ๆ คนอาจจะเป็นคนอ่อนแอ ไม่กล้าสู้คน หงอ ยอมถูกกดขี่ แต่เมื่อถึงวันหนึ่ง คนที่อ่อนแอ ถูกรังแกเหล่านั้นก็อาจจะยอมปลดปล่อยด้านมืดในตัวเองออกมา ยอมปล่อยให้ความมืดเข้าครอบงำจิตใจ เพื่อจะได้ลุกขึ้นตอบโต้ด้วยตัวเองต่อกลุ่มคนที่มารังแกอย่างสาสมในที่สุด อะไรแบบนี้

 

ตัวอย่างหนัง/ละครที่นำเสนอ dilemma อะไรแบบนี้

 

1.เจ้านาง (1994, ละครทีวีช่อง 5)

 

2.DOGVILLE (2003, Lars von Trier, Denmark)

 

3.HALLOWEEN ENDS (2022, David Gordon Green)

 

4.PIGGY (2022, Carlota Pereda, Spain)

 

5.COBWEB (2023, Samuel Bodin)

 

6.THE GIRL WITH RED UMBRELLA (2023, กชสม เอี่ยมศิริ, 30min, A+5)

 

ในกลุ่มข้างต้นนั้น เราว่า DOGVILLE ดีสุด แต่เราอาจจะชอบ PIGGY มากที่สุดนะ เพราะเราว่า PIGGY มันเป็นเรื่องราวกึ่ง ๆ ความรักระหว่างหญิงสาวที่ถูกรังแกกับฆาตกรโรคจิตหนุ่มน่ะ เราว่ามันเป็นความโรแมนติกที่ disturbing, controversial, weird และ dilemma มาก ๆ เราก็เลยชอบสุด ๆ

 

แต่เราก็รู้สึกว่า PIGGY กับ COBWEB เหมือนจะนำเสนอตัวละครฝ่าย bully ในแบบที่ดูรุนแรงเกินจริงไปหน่อยหรือเปล่า เราก็ไม่แน่ใจนะ คือฝรั่งมัน bully กันอย่างรุนแรงแบบในหนังสองเรื่องนี้จริงๆ  เหรอ หรือว่าหนังแค่ต้องสร้างตัวละครฝ่าย bully ให้ชั่วมาก ๆ คนดูจะได้สะใจกับฉากสยองขวัญเวลาตัวละครฝ่ายดี+อำนาจมืด ลุกขึ้นตอบโต้กลับ 555

 

ใครจำได้ว่ามีหนัง/ละครเรื่องไหนอีกที่ใช้ dilemma แบบนี้ ก็มาเติมในช่อง comment ได้นะ

 

FAVORITE SCENE

 

3. the radio show scene near the end of KILLERS OF THE FLOWER MOON (2023, Martin Scorsese, 206min, A+30)

 

จริง ๆ แล้วเราชอบหนัง KILLERS OF THE FLOWER MOON ทั้งเรื่อง แต่ชอบฉากใกล้จบมากที่สุด ที่เป็นฉาก radio show เพราะว่า

 

3.1 เราว่าเนื้อหาส่วนใหญ่ในฉากนี้ ที่เป็นการเล่า “ชะตากรรมของตัวละครในอีกหลายสิบปีต่อมา” ส่วนใหญ่แล้วมันมักขึ้นเป็น text ให้อ่านบนจอในหนังเรื่องอื่นๆ  น่ะ เราก็เลยรู้สึกว่ามันเก๋สุด ๆ ที่แทนที่จะสรุปประวัติชีวิตตัวละครเป็น text หนังเรื่องนี้กลับนำเสนอออกมาเป็นแบบ radio show

 

3.2 เราว่าเราแทบไม่เคยเห็น radio show อะไรแบบนี้มาก่อนเลยด้วย เพราะมันไม่ใช่แค่ radio broadcast ที่มีคนมาอ่านข่าวใส่ไมค์ในห้องจัดรายการวิทยุ แต่เป็นการแสดงบนเวทีที่มีผู้ชมด้วย เราเลยว่ามันเป็นอะไรที่เราแทบไม่เคยเจอในหนังเรื่องอื่น ๆ มาก่อน

 

3.3 ชอบการนำเสนอ “วิธีการสร้างเสียงประกอบ” ต่าง ๆ มาก ๆ

 

3.4 และเหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับตัวเราเองเป็นการส่วนตัวก็คือว่า เราว่าวิธีการของฉากนี้มันคล้าย “หนังทดลอง” น่ะ 55555 ซึ่งเราชอบหนังทดลองอย่างสุด ๆ อยู่แล้ว และเราว่าวิธีการของฉากนี้มันไม่ได้เล่าเรื่องด้วยภาพโดยตรง แต่ปล่อยให้ผู้ชมจินตนาการภาพในหัวของตัวเอง คือผู้ชมได้ยินเสียงจากภาพยนตร์, ผู้ชม “เห็นภาพบนจอภาพยนตร์” และผู้ชมก็ “เห็นภาพในหัวที่ตัวเองจินตนาการขึ้นมา” ไปด้วยในขณะเดียวกันตามที่ตัวละครบนเวทีเล่าเรื่องให้ฟัง ซึ่งวิธีการแบบนี้มันเหมือนหนังทดลองมาก ๆ

 

เราก็เลยชอบฉากนี้อย่างสุดขีด คือดูแล้วแอบจินตนาการเล่น ๆ ว่า บางที Martin Scorsese อาจจะอยากทำหนังทดลองด้วยหรือเปล่านะ แต่รู้ดีว่าหนังทดลองมันขอทุนยาก ทำหนัง narrative เล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมามันหาเงินมาสร้างได้ง่ายกว่า เขาก็เลยทำหนัง narrative แบบตรงไปตรงมาสัก 190 นาที แล้วขอทำหนังที่คล้าย ๆ หนังทดลองแปะไว้หน่อยในช่วง 16 นาทีสุดท้าย 55555

 

ซึ่งจริง ๆ แล้ว Scorsese คงไม่ได้คิดแบบย่อหน้าข้างต้นหรอก แต่เราจินตนาการเล่น ๆ แบบนี้แล้วมันมีความสุขดี

 

คือดูฉากจบของ KILLERS OF THE FLOWER MOON แล้วคิดถึงหนังเรื่อง A MISCHIEVOUS SMILE LIGHTS UP HER FACE (2009, Christelle Lheureux, France, 110min, A+30) มาก ๆ ที่เอา THE BIRDS (1963, Alfred Hitchcock) มาเล่าใหม่ โดยให้ผู้ชมดูตัวละครกลุ่มหนึ่งเดินไปเดินมา แล้วตัวละครแต่ละตัวก็ผลัดกันเล่าเรื่อง THE BIRDS จากปากของตนอง แล้วปล่อยให้ผู้ชมจินตนาการภาพในหัวขึ้นมาเองพร้อมกับจ้องจอภาพยนตร์ไปด้วยในขณะเดียวกัน

 

3.5 ชอบที่ผู้กำกับบางคนผูกพันกับสื่อวิทยุหรือละครวิทยุ หรือมีความ nostalgia บางอย่างกับสื่อวิทยุ ถ้าหากเราจำไม่ผิด นอกจาก Martin Scorsese แล้ว ผู้กำกับที่ผูกพันกับสื่อวิทยุก็รวมถึง

 

3.5.1 Apichatpong Weerasethakul ที่เคยนำ “ละครวิทยุ” มาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในภาพยนตร์ของเขา อย่างเช่นใน LIKE THE RELENTLESS FURY OF THE POUNDING WAVES (1996)

 

3.5.2 Lav Diaz ถ้าหากเราจำไม่ผิด มันมีฉากการทำงานในรายการวิทยุอย่างยาวนานในหนังเรื่อง EVOLUTION OF A FILIPINO FAMILY (2004, Philippines, 10hrs 43min, A+30)

 

Edit เพิ่ม 3.5.3 นึกถึงหนังเรื่อง WELCOME BACK, MR. MCDONALD (1997, Koki Mitani, Japan) ด้วย


FAVORITE ACTRESS: Bonnie Wong Man-Wai

 

ดีใจสุดขีดที่เราได้เห็น Bonnie Wong Man-Wai อีกครั้งในหนังเรื่อง MAD FATE (2023, Soi Cheang, Hong Kong, A+30) ในบทแม่ของ Siu-Tung เพราะเราชอบนักแสดงคนนี้อย่างสุดขีด แต่เหมือนเราไม่ได้เห็นเธอมานานมาก ๆ แล้ว

 

ก่อนหน้านี้เราเคยชอบเธออย่างสุดขีดจากบท “เหมยเชาฟง” ในมังกรหยก (THE LEGEND OF THE CONDOR HEROES) (1983) และบท “ดาบอสุรี ฉิ้งอั้งมี่” ใน “แปดเทพอสูรมังกรฟ้า” (THE DEMI-GODS AND SEMI-DEVILS) (1982)

----

อยากให้ 3 ตัวร้ายจากภาพยนตร์เรื่อง SMILE (2022, Parker Finn), TEE YOD (2023, Taweewat Wantha) กับ COBWEB (2023, Samuel Bodin) มาปะทะกันในงานประกวด “นางสาวยิ้มสยาม นางงามยิ้มสยอง”

 

 

No comments: